- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 21-27 ตุลาคม 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนตุลาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 2.172 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.04 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนตุลาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.003 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.06 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,723 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,747 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,552 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,609 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 38,550 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 38,225 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,450 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.13
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนตุลาคม 2567 ผลผลิต 530.435 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 521.517 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2566/67 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.71
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนตุลาคม 2567 มีปริมาณผลผลิต 530.435 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.71 การใช้ในประเทศ 528.065 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.30 การส่งออก/นำเข้า 56.314 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.03 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 182.192 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.32
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย จีน บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย กายานา อาร์เจนตินา สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ไทย เวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา ออสเตรเลีย และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม จีน ซาอุดิอาระเบีย ไอเวอรี่โคสต์ แอฟริกาใต้ อิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กานา โมซัมบิก คาเมรูน เนปาล สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อิรัก อินโดนีเซีย มาเลเซีย บราซิล และเม็กซิโก
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย ฟิลิปปนส์ ไทย ปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย และไนจีเรีย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) บังกลาเทศ
บังกลาเทศเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ภายใต้สถานการณ์ปกติสามารถผลิตข้าวได้ประมาณ 40 ล้านตันต่อปี เพื่อใช้บริโภคในประเทศ โดยมีประชากรประมาณ 170 ล้านคน ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรบังกลาเทศ รายงานว่าบังกลาเทศต้องเผชิญภาวะฝนตกหนัก และเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในเดือนสิงหาคมและตุลาคม โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคเหนือ ทำให้ผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายถึง 1.1 ล้านตัน ส่งผลให้รัฐบาลต้องเร่งนำเข้าข้าว 0.5 ล้านตัน ซึ่งคาดว่าจะอนุญาตให้ภาคเอกชนนำเข้าได้ในเร็วๆ นี้ นอกจากข้าวแล้ว
ยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสินค้าเกษตรอื่นๆ รวมถึงผักมากกว่า 0.2 ล้านตัน มูลค่าความเสียหายทางการเกษตรทั่วประเทศประมาณ 45,000 ล้านตากา (ประมาณ 12,780 ล้านบาท)
ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ตากา เท่ากับ 0.2840 บาท
2) ฟิลิปปินส์
นาย Raul Q. Montemayor ผู้จัดการสหพันธ์เกษตรกรเสรีของฟิลิปปินส์ (Federation of Free Farmers National) กล่าวว่า การประกาศยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติของอินเดียจะทำให้ปริมาณข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้นและส่งผลให้ราคาปรับลดลง โดยราคาส่งออกขั้นต่ำของอินเดียต่ำกว่าราคาที่
ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ เช่น เวียดนามและไทย ประมาณร้อยละ 10 หรืออยู่ที่ 500 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน (16,653 บาทต่อตัน) แต่ประเทศผู้นําเข้าจะยังไม่เลือกซื้อข้าวจากอินเดียเป็นลำดับแรกแม้จะมีราคาที่ต่ำกว่า เนื่องจากมีความกังวลเรื่องคุณภาพและความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ ในอดีตฟิลิปปินส์มีการนําเข้าข้าวจากปากีสถานมากกว่านําเข้าข้าวจากอินเดีย
นาย William D. Dar อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การที่ฟิลิปปินส์มีคำสั่ง Executive Order (EO) No. 62 เพื่อปรับปรุงโครงการภาษีใหม่ โดยมีการลดอัตราภาษีนำเข้าข้าวทั้งในโควตาและนอกโควตาลงเหลือร้อยละ 15 จากร้อยละ 35 จนถึงปี 2571 จะทำให้ประเทศผู้นำเข้ามีทางเลือกในการเลือกแหล่งที่มาของข้าวในราคาที่ถูกลง ประมาณ 6 – 7 เปโซต่อกิโลกรัม (3.30 – 3.85 บาทต่อกิโลกรัม) ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์จะนําเข้าข้าวประมาณร้อยละ 20 ของความต้องการข้าวในประเทศ หากข้าวของอินเดียมีคุณภาพใกล้เคียงกับข้าวของเวียดนามและไทย จะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจของประเทศผู้นำเข้าเพราะมีราคาถูก ขณะที่
นาย Fermin D. Adriano อดีตปลัดกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ คาดว่า ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามจะสามารถแข่งขันราคาที่ต่ำกว่าของอินเดียได้ ซึ่งจะทำให้ราคาข้าวโดยรวมปรับลดลง นอกจากนี้ เวียดนามเป็นผู้จัดหาข้าวรายใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ โดยทั้งสองรัฐบาลได้ลงนามในข้อตกลงร่วมการจัดหาข้าวเมื่อเดือนมกราคมที่ให้โควตาข้าวแก่ฟิลิปปินส์ปีละ 1.5 - 2 ล้านตัน เป็นเวลา 5 ปี
ข้อมูลจากสำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BAI) ณ วันที่ 19 กันยายน 2567 ฟิลิปปินส์มีการนําเข้าข้าวปริมาณ 3.09 ล้านตัน โดยเป็นการนําเข้าข้าวจากปากีสถานปริมาณ 157,044 ตัน ขณะที่กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) คาดว่า ในปี 2567 ฟิลิปปินส์จะนําเข้าข้าวสูงถึง 4.6 ล้านตัน
ที่มา สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.3060 บาท
และ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนตุลาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 2.172 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.04 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนตุลาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.003 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.06 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,723 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,747 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,552 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,609 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 38,550 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 38,225 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,450 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.13
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนตุลาคม 2567 ผลผลิต 530.435 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 521.517 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2566/67 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.71
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนตุลาคม 2567 มีปริมาณผลผลิต 530.435 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.71 การใช้ในประเทศ 528.065 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.30 การส่งออก/นำเข้า 56.314 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.03 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 182.192 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.32
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย จีน บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย กายานา อาร์เจนตินา สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ไทย เวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา ออสเตรเลีย และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม จีน ซาอุดิอาระเบีย ไอเวอรี่โคสต์ แอฟริกาใต้ อิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กานา โมซัมบิก คาเมรูน เนปาล สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อิรัก อินโดนีเซีย มาเลเซีย บราซิล และเม็กซิโก
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย ฟิลิปปนส์ ไทย ปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย และไนจีเรีย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) บังกลาเทศ
บังกลาเทศเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ภายใต้สถานการณ์ปกติสามารถผลิตข้าวได้ประมาณ 40 ล้านตันต่อปี เพื่อใช้บริโภคในประเทศ โดยมีประชากรประมาณ 170 ล้านคน ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรบังกลาเทศ รายงานว่าบังกลาเทศต้องเผชิญภาวะฝนตกหนัก และเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในเดือนสิงหาคมและตุลาคม โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคเหนือ ทำให้ผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายถึง 1.1 ล้านตัน ส่งผลให้รัฐบาลต้องเร่งนำเข้าข้าว 0.5 ล้านตัน ซึ่งคาดว่าจะอนุญาตให้ภาคเอกชนนำเข้าได้ในเร็วๆ นี้ นอกจากข้าวแล้ว
ยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสินค้าเกษตรอื่นๆ รวมถึงผักมากกว่า 0.2 ล้านตัน มูลค่าความเสียหายทางการเกษตรทั่วประเทศประมาณ 45,000 ล้านตากา (ประมาณ 12,780 ล้านบาท)
ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ตากา เท่ากับ 0.2840 บาท
2) ฟิลิปปินส์
นาย Raul Q. Montemayor ผู้จัดการสหพันธ์เกษตรกรเสรีของฟิลิปปินส์ (Federation of Free Farmers National) กล่าวว่า การประกาศยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติของอินเดียจะทำให้ปริมาณข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้นและส่งผลให้ราคาปรับลดลง โดยราคาส่งออกขั้นต่ำของอินเดียต่ำกว่าราคาที่
ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ เช่น เวียดนามและไทย ประมาณร้อยละ 10 หรืออยู่ที่ 500 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน (16,653 บาทต่อตัน) แต่ประเทศผู้นําเข้าจะยังไม่เลือกซื้อข้าวจากอินเดียเป็นลำดับแรกแม้จะมีราคาที่ต่ำกว่า เนื่องจากมีความกังวลเรื่องคุณภาพและความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ ในอดีตฟิลิปปินส์มีการนําเข้าข้าวจากปากีสถานมากกว่านําเข้าข้าวจากอินเดีย
นาย William D. Dar อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การที่ฟิลิปปินส์มีคำสั่ง Executive Order (EO) No. 62 เพื่อปรับปรุงโครงการภาษีใหม่ โดยมีการลดอัตราภาษีนำเข้าข้าวทั้งในโควตาและนอกโควตาลงเหลือร้อยละ 15 จากร้อยละ 35 จนถึงปี 2571 จะทำให้ประเทศผู้นำเข้ามีทางเลือกในการเลือกแหล่งที่มาของข้าวในราคาที่ถูกลง ประมาณ 6 – 7 เปโซต่อกิโลกรัม (3.30 – 3.85 บาทต่อกิโลกรัม) ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์จะนําเข้าข้าวประมาณร้อยละ 20 ของความต้องการข้าวในประเทศ หากข้าวของอินเดียมีคุณภาพใกล้เคียงกับข้าวของเวียดนามและไทย จะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจของประเทศผู้นำเข้าเพราะมีราคาถูก ขณะที่
นาย Fermin D. Adriano อดีตปลัดกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ คาดว่า ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามจะสามารถแข่งขันราคาที่ต่ำกว่าของอินเดียได้ ซึ่งจะทำให้ราคาข้าวโดยรวมปรับลดลง นอกจากนี้ เวียดนามเป็นผู้จัดหาข้าวรายใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ โดยทั้งสองรัฐบาลได้ลงนามในข้อตกลงร่วมการจัดหาข้าวเมื่อเดือนมกราคมที่ให้โควตาข้าวแก่ฟิลิปปินส์ปีละ 1.5 - 2 ล้านตัน เป็นเวลา 5 ปี
ข้อมูลจากสำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BAI) ณ วันที่ 19 กันยายน 2567 ฟิลิปปินส์มีการนําเข้าข้าวปริมาณ 3.09 ล้านตัน โดยเป็นการนําเข้าข้าวจากปากีสถานปริมาณ 157,044 ตัน ขณะที่กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) คาดว่า ในปี 2567 ฟิลิปปินส์จะนําเข้าข้าวสูงถึง 4.6 ล้านตัน
ที่มา สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.3060 บาท
และ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5503 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.27 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.13 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.22 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 295.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,809.00 บาท/ตัน) ไม่มีรายงานราคาของสัปดาห์ก่อน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2567/68 มีปริมาณ 1,223.32 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,217.35 ล้านตัน ในปี 2566/67 ร้อยละ 0.49 โดย จีน บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อาร์เจนตินา ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ และเอธิโอเปีย มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 190.69 ล้านตัน ลดลงจาก 196.67 ล้านตัน ในปี 2566/67 ร้อยละ 3.04 โดย ยูเครน สหภาพยุโรป รัสเซีย ปารากวัย แคนาดา เมียนมา และเซอร์เบีย ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก จีน สหภาพยุโรป อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย อังกฤษ แคนาดา ชิลี ตุรกี ไทย สาธารณรัฐโดมินิกัน บราซิล และอินโดนีเซีย มีการนำเข้าลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 416.00 เซนต์ (5,528.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 405.00 เซนต์ (5,328.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.72 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 200.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.14 ร้อยละ 12.52 และร้อยละ 3.69 ตามลำดับ โดยเดือน กันยายน 2567
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.66 ล้านตัน (ร้อยละ 2.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.36 ล้านตัน (ร้อยละ 57.36 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มาก สำหรับราคาหัวมันสำปะหลังสด มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น รวมทั้งความต้องการซื้อของคู่ค้าลดลง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มันเส้น ส่งผลให้
ความต้องการของผู้ประกอบการลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.99 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.50
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.79 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.76 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.52
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ6.53 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.61 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.21
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.80 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 15.99 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.19
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,810 บาทต่อตัน) ราคา ลดลงจาก ตันละ 238.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,950 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.09
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 480.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,040 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจาก ตันละ 482.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,070 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.52
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.113 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.200 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.291 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.233 ล้านตันของเดือนกันยายน คิดเป็นร้อยละ 13.79 และร้อยละ 14.16 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.32 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.87
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.72 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 12.11
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินโดนีเซียประกาศแผนประเทศที่จะเริ่มใช้น้ำมันไบโอดีเซล B40 ในเดือนมกราคม 2568 ทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันไบโอดีเซลจะเพิ่มขึ้นเป็น 16 ล้านกิโลลิตรในปี 2568 การปรับเพิ่มอัตราผสมน้ำมันปาล์มนี้จะส่งผลให้ปริมาณน้ำมันปาล์มในตลาดโลกตึงตัวมากขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,561.54 ริงกิตมาเลเซีย (35.87 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,357.64 ริงกิตมาเลเซีย (34.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.68
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,236.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (41.71 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,192.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (39.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.75
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- การเริ่มเปิดหีบในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ของอินเดียถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 จากปกติที่จะเริ่มในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เพื่อให้เกษตรกรและแรงงานมีเวลาสำหรับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของรัฐ อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งจะมีขึ้นอีกครั้งในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งอาจทำให้การเปิดหีบถูกเลื่อนออกไปอีกครั้งเป็นช่วงต้นเดือนธันวาคม 2567 ขณะเดียวกันการหีบอ้อยในรัฐซางลี (Sangli) อาจล่าช้าเนื่องจากฝนตกหนักและน้ำท่วมในไร่อ้อย
- สมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดีย (ISMA) กล่าวว่า การผลิตน้ำตาลทรายดิบในฤดูการผลิตปี 2567/68 คาดว่าจะสูงกว่า
ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ 33.30 ล้านตัน และอาจใกล้เคียงกับฤดูการผลิตปี 2566/2567 ที่ 34.00 ล้านตัน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกในรัฐกรณาฏกะ (Karnataka) และรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) สูงกว่าที่คาดการณ์จากปริมาณน้ำฝนที่ดี ขณะที่แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมน้ำตาลคาดการณ์ว่า การผลิตน้ำตาลของอินเดียจะอยู่ที่ 32.00 ล้านตัน หรือ 29.00 - 29.50 ล้านตัน ภายหลังจากการปรับเปลี่ยนนำอ้อยไปผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้น โดยน้ำตาลประมาณ 4.00 - 4.50 ล้านตัน จะถูกนำไปผลิตเป็นเอทานอลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการผสมเอทานอลร้อยละ 18 ของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้ผลผลิตน้ำตาลลดลงเหลือเพียง 27.50 ล้านตัน
อย่างไรก็ตามความล่าช้าในการปรับขึ้นราคาเอทานอลอาจมีแนวโน้มให้โรงงานน้ำตาลผลิตน้ำตาลมากขึ้นได้
- องค์การน้ำตาลระหว่างประเทศ (ISO) คาดการณ์ว่า ในฤดูการผลิตปี 2567/68 ภาวะน้ำตาลโลกส่วนขาด (Deficit)
จะอยู่ที่ 3.58 ล้านตัน แม้ผลผลิตน้ำตาลในบางประเทศจะสูงขึ้น เช่น ไทย และสหภาพยุโรป แต่ยังคงไม่เพียงพอชดเชยปริมาณผลผลิตน้ำตาลโลกที่ลดลงได้
(ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
- ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- การเริ่มเปิดหีบในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ของอินเดียถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 จากปกติที่จะเริ่มในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เพื่อให้เกษตรกรและแรงงานมีเวลาสำหรับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของรัฐ อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งจะมีขึ้นอีกครั้งในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งอาจทำให้การเปิดหีบถูกเลื่อนออกไปอีกครั้งเป็นช่วงต้นเดือนธันวาคม 2567 ขณะเดียวกันการหีบอ้อยในรัฐซางลี (Sangli) อาจล่าช้าเนื่องจากฝนตกหนักและน้ำท่วมในไร่อ้อย
- สมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดีย (ISMA) กล่าวว่า การผลิตน้ำตาลทรายดิบในฤดูการผลิตปี 2567/68 คาดว่าจะสูงกว่า
ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ 33.30 ล้านตัน และอาจใกล้เคียงกับฤดูการผลิตปี 2566/2567 ที่ 34.00 ล้านตัน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกในรัฐกรณาฏกะ (Karnataka) และรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) สูงกว่าที่คาดการณ์จากปริมาณน้ำฝนที่ดี ขณะที่แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมน้ำตาลคาดการณ์ว่า การผลิตน้ำตาลของอินเดียจะอยู่ที่ 32.00 ล้านตัน หรือ 29.00 - 29.50 ล้านตัน ภายหลังจากการปรับเปลี่ยนนำอ้อยไปผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้น โดยน้ำตาลประมาณ 4.00 - 4.50 ล้านตัน จะถูกนำไปผลิตเป็นเอทานอลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการผสมเอทานอลร้อยละ 18 ของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้ผลผลิตน้ำตาลลดลงเหลือเพียง 27.50 ล้านตัน
อย่างไรก็ตามความล่าช้าในการปรับขึ้นราคาเอทานอลอาจมีแนวโน้มให้โรงงานน้ำตาลผลิตน้ำตาลมากขึ้นได้
- องค์การน้ำตาลระหว่างประเทศ (ISO) คาดการณ์ว่า ในฤดูการผลิตปี 2567/68 ภาวะน้ำตาลโลกส่วนขาด (Deficit)
จะอยู่ที่ 3.58 ล้านตัน แม้ผลผลิตน้ำตาลในบางประเทศจะสูงขึ้น เช่น ไทย และสหภาพยุโรป แต่ยังคงไม่เพียงพอชดเชยปริมาณผลผลิตน้ำตาลโลกที่ลดลงได้
(ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 990.76 เซนต์ (12.28 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 985.12 เซนต์ (12.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.57
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 313.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.57 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 315.14 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.54
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 43.59 เซนต์ (32.41 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 42.14 เซนต์ (31.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.44
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 990.76 เซนต์ (12.28 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 985.12 เซนต์ (12.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.57
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 313.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.57 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 315.14 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.54
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 43.59 เซนต์ (32.41 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 42.14 เซนต์ (31.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.44
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1061.75 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1061.75 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 878.75 ดอลลาร์สหรัฐ (29.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 878.75 ดอลลาร์สหรัฐ (28.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,580.25 ดอลลาร์สหรัฐ (52.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,580.25 ดอลลาร์สหรัฐ (52.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1061.75 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1061.75 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 933.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.85 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 933.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.80 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.28 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.48 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.39
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,184 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,159 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.16
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,634 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,605 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.81
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.72 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.85 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.59 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.37 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.05 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.89 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.54 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.21 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท
ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ลดลงจากตัวละ 16.50 บาท คิดเป็นร้อยละ ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.06
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 375 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 380 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.32 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 365 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 385 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 412 ลดลงจากร้อยฟองละ 432 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.63 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 421 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 420 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 426 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 399 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 433 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 520 สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 510 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.96 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 79.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.05 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.59 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 100.70 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.45 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.91 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.72 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.85 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.59 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.37 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.05 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.89 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.54 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.21 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท
ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ลดลงจากตัวละ 16.50 บาท คิดเป็นร้อยละ ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.06
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 375 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 380 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.32 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 365 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 385 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 412 ลดลงจากร้อยฟองละ 432 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.63 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 421 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 420 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 426 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 399 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 433 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 520 สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 510 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.96 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 79.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.05 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.59 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 100.70 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.45 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.91 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 21 – 27 ตุลาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.52 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.98 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.28 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.21 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.68 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 149.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 62.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.46 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 21 – 27 ตุลาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.52 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.98 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.28 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.21 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.68 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 149.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 62.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.46 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา