- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 5-11 ต.ค. 61
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการ นบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,868 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,881 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,612 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,616 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,830 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,750 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.6229
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวขาว 5% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาทรงตัวอยู่ที่ตันละ 400-405 ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากช่วงนี้
ต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อ เพราะเป็นช่วงวันหยุดยาวของประเทศจีนที่เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของเวียดนาม
แต่การที่อุปทานข้าวในประเทศมีจำกัดและเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จึงช่วยพยุงราคาข้าวให้ทรงตัว อย่างไรก็ตาม วงการค้าข้าวคาดว่า ในเร็วๆ นี้ตลาดจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะคาดว่าความต้องการข้าวจากประเทศฟิลิปปินส์จะเพิ่มขึ้น ประกอบกับในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนนี้ ผลผลิตข้าวฤดูกาลใหม่จะเริ่มออกสู่ตลาดอีกครั้ง
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามาไม่มากนัก โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 367 - 373 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงประมาณ 1 - 3 ดอลลาร์สหรัฐ จากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ตันละ 370 - 374 ดอลลาร์สหรัฐ ประกอบกับช่วงนี้โรงสีรอผลผลิตข้าวฤดูกาลใหม่ที่กำลังจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนหน้า ก่อนที่จะเสนอราคาขายให้ผู้ซื้อต่างประเทศ โดยคาดว่าปริมาณผลผลิตข้าวฤดูกาลใหม่ (summer-sown rice) ที่กำลังจะออกสู่ตลาดนี้ จะมีประมาณ 99.24 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 1.8
สำหรับค่าเงินรูปีได้อ่อนค่าลงนับตั้งแต่ต้นปี ประมาณร้อยละ 13 นั้น ได้ส่งผลดีต่อการแข่งขันในตลาดกับประเทศผู้ส่งออกรายอื่นๆ เช่น ไทย และเวียดนาม เพราะผู้ส่งออกอินเดียสามารถเสนอขายข้าวได้ในราคาที่ต่ำกว่า
โดยในปีการผลิต 2560/61 นี้ (ตุลาคม 2560 - กันยายน 2561) องค์การอาหารแห่งชาติ (Food Corporation of India; FCI) สามารถจัดหาข้าวในฤดู Kharif marketing season ได้ประมาณ 38.177 ล้านตัน (ณ วันที่ 30 กันยายน) จากที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าไว้ 37.5 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมา (2559/60) ที่จัดหาได้ประมาณ 38.7 ล้านตัน (จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 33.0 ล้านตัน) โดยข้าวที่จัดหาได้ส่วนใหญ่มาจาก แคว้น Punjab ประมาณ 11.833 ล้านตัน และ Andhra Pradesh ประมาณ 3.994 ล้านตัน ส่วนที่เหลือมาจากแคว้นอื่นๆ เช่น Chattisgarh, Uttar Pradesh, Haryana, Odisha, และ West Bengal
ทั้งนี้ ในปีการตลาด 2560/61 รัฐบาลได้กำหนดราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับข้าวเกรดธรรมดา (common grade rice) อยู่ที่ตันละ 1,550 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณตันละ 236 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนข้าวเกรด A กำหนดไว้ที่ 1,590 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณตันละ 242 ดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
จีน
ส่านักข่าว Reuters รายงานว่า การประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ (the National Grain Trade Center) สามารถขายข้าวได้ 9,897 ตัน คิดเป็นร้อยละ 1.64 ของจำนวนที่นำมาประมูลทั้งหมดประมาณ 603,476 ตัน โดยราคาเฉลี่ยที่ประมูลคือ 2,006 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 290 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ส่วนการประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติไม่สามารถขายข้าวได้จากที่นำมาประมูลทั้งหมดประมาณ 817,664 ตัน
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2561 ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติได้นำข้าวเปลือกจากสต็อกของรัฐบาลออกมาประมูลขายประมาณ 78.98 ล้านตัน แต่สามารถขายได้ประมาณ 7.96 ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ 10.07 ของจำนวนที่นำออกมาประมูล โดยข้าวในปีการตลาด 2556/57 ราคาเฉลี่ยประมาณ 292 - 378 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และข้าวปีการตลาด 2558/59 - 2560/61 ราคาเฉลี่ยประมาณ 353 - 415 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่าในปีการตลาด 2561/62 (กรกฎาคม 2561 – มิถุนายน 2562) ประเทศจีนจะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 201.834 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นข้าวสารประมาณ 141.284 ล้านตัน มากกว่าที่คาดไว้ที่ 140.8 ล้านตัน แต่ลดลงจากปีก่อนหน้า (2560/61) ที่มีประมาณ 145.989 ล้านตัน
ด้านความต้องการบริโภคข้าวในปี 2561/62 คาดว่าจะมีประมาณ 145 ล้านตันข้าวสาร มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 143.5 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ 143.5 ล้านตัน เนื่องจากคาดว่าความต้องการนำไปใช้ในการผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้น ทางด้านภาวะราคาข้าวในประเทศช่วงนี้มีแนวโน้มอ่อนตัวลงจากการที่รัฐบาลระบายข้าวเก่าจากสต็อกสำรองของรัฐบาลออกสู่ตลาด ทำให้อุปทานข้าวในตลาดมีมากขึ้น ส่งผลให้ราคาขายส่งทั้งข้าวเปลือกและข้าวสารในตลาด โดยเฉพาะข้าวสายพันธุ์ Indica ปรับลดลงประมาณร้อยละ 3 และร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา
สำหรับการนำเข้าข้าวในปี 2561/62 คาดว่าจะมีประมาณ 5 ล้านตันข้าวสาร ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า
ที่ 5.5 ล้านตัน โดยปัจจุบันรัฐบาลจีนมีนโยบายในการเพิ่มแหล่งนำเข้าข้าว โดยใช้มาตรการด้านสุขอนามัย (phytosanitary protocols) และการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandums of Understanding) กับแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศล่าสุดที่รัฐบาลจีนได้ทำข้อตกลง คือ อินเดีย ซึ่งก่อนหน้านี้อินเดียสามารถส่งออกได้เฉพาะข้าวบาสมาติเท่านั้น แต่หลังจากที่ทั้งสองประเทศได้ลงนามในพิธีสารที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมแล้วเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ทำให้ในขณะนี้อินเดียสามารถส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติไปยังประเทศจีนได้แล้ว
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการ นบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,868 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,881 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,612 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,616 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,830 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,750 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.6229
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวขาว 5% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาทรงตัวอยู่ที่ตันละ 400-405 ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากช่วงนี้
ต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อ เพราะเป็นช่วงวันหยุดยาวของประเทศจีนที่เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของเวียดนาม
แต่การที่อุปทานข้าวในประเทศมีจำกัดและเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จึงช่วยพยุงราคาข้าวให้ทรงตัว อย่างไรก็ตาม วงการค้าข้าวคาดว่า ในเร็วๆ นี้ตลาดจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะคาดว่าความต้องการข้าวจากประเทศฟิลิปปินส์จะเพิ่มขึ้น ประกอบกับในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนนี้ ผลผลิตข้าวฤดูกาลใหม่จะเริ่มออกสู่ตลาดอีกครั้ง
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามาไม่มากนัก โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 367 - 373 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงประมาณ 1 - 3 ดอลลาร์สหรัฐ จากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ตันละ 370 - 374 ดอลลาร์สหรัฐ ประกอบกับช่วงนี้โรงสีรอผลผลิตข้าวฤดูกาลใหม่ที่กำลังจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนหน้า ก่อนที่จะเสนอราคาขายให้ผู้ซื้อต่างประเทศ โดยคาดว่าปริมาณผลผลิตข้าวฤดูกาลใหม่ (summer-sown rice) ที่กำลังจะออกสู่ตลาดนี้ จะมีประมาณ 99.24 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 1.8
สำหรับค่าเงินรูปีได้อ่อนค่าลงนับตั้งแต่ต้นปี ประมาณร้อยละ 13 นั้น ได้ส่งผลดีต่อการแข่งขันในตลาดกับประเทศผู้ส่งออกรายอื่นๆ เช่น ไทย และเวียดนาม เพราะผู้ส่งออกอินเดียสามารถเสนอขายข้าวได้ในราคาที่ต่ำกว่า
โดยในปีการผลิต 2560/61 นี้ (ตุลาคม 2560 - กันยายน 2561) องค์การอาหารแห่งชาติ (Food Corporation of India; FCI) สามารถจัดหาข้าวในฤดู Kharif marketing season ได้ประมาณ 38.177 ล้านตัน (ณ วันที่ 30 กันยายน) จากที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าไว้ 37.5 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมา (2559/60) ที่จัดหาได้ประมาณ 38.7 ล้านตัน (จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 33.0 ล้านตัน) โดยข้าวที่จัดหาได้ส่วนใหญ่มาจาก แคว้น Punjab ประมาณ 11.833 ล้านตัน และ Andhra Pradesh ประมาณ 3.994 ล้านตัน ส่วนที่เหลือมาจากแคว้นอื่นๆ เช่น Chattisgarh, Uttar Pradesh, Haryana, Odisha, และ West Bengal
ทั้งนี้ ในปีการตลาด 2560/61 รัฐบาลได้กำหนดราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับข้าวเกรดธรรมดา (common grade rice) อยู่ที่ตันละ 1,550 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณตันละ 236 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนข้าวเกรด A กำหนดไว้ที่ 1,590 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณตันละ 242 ดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
จีน
ส่านักข่าว Reuters รายงานว่า การประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ (the National Grain Trade Center) สามารถขายข้าวได้ 9,897 ตัน คิดเป็นร้อยละ 1.64 ของจำนวนที่นำมาประมูลทั้งหมดประมาณ 603,476 ตัน โดยราคาเฉลี่ยที่ประมูลคือ 2,006 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 290 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ส่วนการประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติไม่สามารถขายข้าวได้จากที่นำมาประมูลทั้งหมดประมาณ 817,664 ตัน
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2561 ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติได้นำข้าวเปลือกจากสต็อกของรัฐบาลออกมาประมูลขายประมาณ 78.98 ล้านตัน แต่สามารถขายได้ประมาณ 7.96 ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ 10.07 ของจำนวนที่นำออกมาประมูล โดยข้าวในปีการตลาด 2556/57 ราคาเฉลี่ยประมาณ 292 - 378 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และข้าวปีการตลาด 2558/59 - 2560/61 ราคาเฉลี่ยประมาณ 353 - 415 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่าในปีการตลาด 2561/62 (กรกฎาคม 2561 – มิถุนายน 2562) ประเทศจีนจะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 201.834 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นข้าวสารประมาณ 141.284 ล้านตัน มากกว่าที่คาดไว้ที่ 140.8 ล้านตัน แต่ลดลงจากปีก่อนหน้า (2560/61) ที่มีประมาณ 145.989 ล้านตัน
ด้านความต้องการบริโภคข้าวในปี 2561/62 คาดว่าจะมีประมาณ 145 ล้านตันข้าวสาร มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 143.5 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ 143.5 ล้านตัน เนื่องจากคาดว่าความต้องการนำไปใช้ในการผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้น ทางด้านภาวะราคาข้าวในประเทศช่วงนี้มีแนวโน้มอ่อนตัวลงจากการที่รัฐบาลระบายข้าวเก่าจากสต็อกสำรองของรัฐบาลออกสู่ตลาด ทำให้อุปทานข้าวในตลาดมีมากขึ้น ส่งผลให้ราคาขายส่งทั้งข้าวเปลือกและข้าวสารในตลาด โดยเฉพาะข้าวสายพันธุ์ Indica ปรับลดลงประมาณร้อยละ 3 และร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา
สำหรับการนำเข้าข้าวในปี 2561/62 คาดว่าจะมีประมาณ 5 ล้านตันข้าวสาร ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า
ที่ 5.5 ล้านตัน โดยปัจจุบันรัฐบาลจีนมีนโยบายในการเพิ่มแหล่งนำเข้าข้าว โดยใช้มาตรการด้านสุขอนามัย (phytosanitary protocols) และการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandums of Understanding) กับแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศล่าสุดที่รัฐบาลจีนได้ทำข้อตกลง คือ อินเดีย ซึ่งก่อนหน้านี้อินเดียสามารถส่งออกได้เฉพาะข้าวบาสมาติเท่านั้น แต่หลังจากที่ทั้งสองประเทศได้ลงนามในพิธีสารที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมแล้วเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ทำให้ในขณะนี้อินเดียสามารถส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติไปยังประเทศจีนได้แล้ว
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.77 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.96 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.41 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.33 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.50
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.48 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.02 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.10 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.89 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.52 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.34
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 300.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,787 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 289.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,306 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.59 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 481 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2
สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 366.16 เซนต์ (4,764 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 364.24 เซนต์ (4,670 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 94.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.40 ล้านไร่ ผลผลิต 29.98 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.57 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.03 ล้านไร่ ผลผลิต 27.88 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.61 ร้อยละ 7.53 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ โดยเดือนตุลาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.20 ล้านตัน (ร้อยละ 4.01 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 20.08 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.61 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.56 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.95
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.21 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.34 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.43
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.90 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.84 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.88
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.45 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,601 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (7,487 บาทต่อตัน) เท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 508 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,572 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (16,324 บาทต่อตัน) เท่ากับสัปดาห์ก่อน
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.40 ล้านไร่ ผลผลิต 29.98 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.57 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.03 ล้านไร่ ผลผลิต 27.88 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.61 ร้อยละ 7.53 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ โดยเดือนตุลาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.20 ล้านตัน (ร้อยละ 4.01 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 20.08 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.61 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.56 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.95
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.21 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.34 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.43
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.90 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.84 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.88
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.45 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,601 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (7,487 บาทต่อตัน) เท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 508 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,572 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (16,324 บาทต่อตัน) เท่ากับสัปดาห์ก่อน
ปาล์มน้ำมัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
รายงานการส่งออกน้ำตาลของสหภาพยุโรปสหภาพยุโรป (EU) ส่งออกน้ำตาลทรายขาวในเดือนสิงหาคม 2561 จำนวน 202,000 ตัน ลดลงจาก 223,000 ตัน ในเดือนกรกฎาคม ร้อยละ 9.42 แต่เพิ่มขึ้นจาก 122,000 ตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 65.57 รวมการส่งออกในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2560/2561 (ตุลาคม-กันยายน) มีจำนวน 3.14 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.22 ล้านตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยส่งออกไปยังประเทศอียิปต์ร้อยละ 16 อิสราเอลร้อยละ 11 ซีเรียร้อยละ 7 ศรีลังการ้อยละ 6 ตุรกีร้อยละ 5 เลบานอนร้อยละ 4 และมอริเตเนีย ร้อยละ 3 ตามลำดับ
ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 862.40 เซนต์ (10.47 บาท/กก.) สูงขึ้นจาก
บุชเชลละ 857.92 เซนต์ (10.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.52
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 313.62 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.37 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 308.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.63
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.95 เซนต์ (21.09 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 29.17 เซนต์ (20.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.75
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 25.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.17
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 12.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.25
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 795.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 813.20 ดอลลาร์สหรัฐ (26.13 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.19 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.18 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 733.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.93 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 744.60 ดอลลาร์สหรัฐ (23.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.50 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 579.60 ดอลลาร์สหรัฐ (18.91 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 588.20 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 425.40 ดอลลาร์สหรัฐ (13.88 บาท/กิโลกรัม) ราคาเฉลี่ยทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนตันละ 425.40 ดอลลาร์สหรัฐ (13.67 บาท/กิโลกรัม) แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.21 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 789.00 ดอลลาร์สหรัฐ (25.74 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 800.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.73 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.47 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 25.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.17
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 12.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.25
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 795.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 813.20 ดอลลาร์สหรัฐ (26.13 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.19 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.18 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 733.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.93 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 744.60 ดอลลาร์สหรัฐ (23.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.50 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 579.60 ดอลลาร์สหรัฐ (18.91 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 588.20 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 425.40 ดอลลาร์สหรัฐ (13.88 บาท/กิโลกรัม) ราคาเฉลี่ยทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนตันละ 425.40 ดอลลาร์สหรัฐ (13.67 บาท/กิโลกรัม) แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.21 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 789.00 ดอลลาร์สหรัฐ (25.74 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 800.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.73 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.47 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.66 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.47
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.66 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.47
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคาราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 76.85 เซนต์ (กิโลกรัมละ 55.99 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 76.27 เซนต์ (กิโลกรัมละ 54.76 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.23 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,751 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,641 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.70
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,493 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,378 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.35
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,097 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,131 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.01
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,493 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,378 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.35
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,097 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,131 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.01
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรใกล้เคียงกับปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย เพราะยังอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 59.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 56.87 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 60.50 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 62.06 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,700 บาท (บวกลบ 60 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรใกล้เคียงกับปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย เพราะยังอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 59.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 56.87 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 60.50 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 62.06 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,700 บาท (บวกลบ 60 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ ประกอบกับสถานศึกษาปิดภาคเรียน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไก่เนื้อลดลง แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย เพราะยังอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 32.51 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.32 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ ประกอบกับสถานศึกษาปิดภาคเรียน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไก่เนื้อลดลง แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย เพราะยังอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 32.51 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.32 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ค่อนข้างเงียบเหงา ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ ประกอบกับตลาดหลักของไข่ไก่สถานศึกษาปิดภาคเรียน ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้โน้มลดลง แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะลดลง เพราะยังอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 276 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 282 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 295 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 279 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.00 บาท ลดลงจากตัวละ 18.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 16.67
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 291 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.31
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ค่อนข้างเงียบเหงา ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ ประกอบกับตลาดหลักของไข่ไก่สถานศึกษาปิดภาคเรียน ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้โน้มลดลง แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะลดลง เพราะยังอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 276 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 282 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 295 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 279 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.00 บาท ลดลงจากตัวละ 18.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 16.67
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 291 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.31
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 330 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 328 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.61 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 350 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 339 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 305 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 348 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 330 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 328 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.61 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 350 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 339 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 305 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 348 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 87.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.78 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 83.31 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.08 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 87.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.78 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 83.31 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.08 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.82 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.83 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.82 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.83 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศการผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 5 – 11 ตุลาคม 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.68 บาท ราคาลดลงจาก กิโลกรัมละ 89.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม และราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 127.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.19 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 134.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.17 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 160.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 169.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 9.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 5 - 11 ต.ค. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 5 – 11 ตุลาคม 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.68 บาท ราคาลดลงจาก กิโลกรัมละ 89.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม และราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 127.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.19 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 134.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.17 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 160.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 169.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 9.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 5 - 11 ต.ค. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา