- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 25-28 ต.ค.59
ข่าวสัปดาห์ วันที่ 17 - 23 ต.ค. 2559
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,697 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,703 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.36
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,415 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,322 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.03
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,057 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,014 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.24
ข่าวสัปดาห์ 17-23 ต.ค. 2559
ถั่วเขียว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 25.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.34
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 887.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.93 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 885.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,112.00 ดอลลาร์สหรัฐ (38.77 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,109.20 ดอลลาร์สหรัฐ (38.80 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 65.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.23 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 62.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.45 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 67.78 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,000 บาท (บวกลบ 64 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีฝนตกและเกิดภาวะน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ การจับจ่ายไม่คล่องตัว ส่งผลให้ความต้องการบริโภคยังคงอ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.51 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 38.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 34.20 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 38.00 บาท และภาคเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 300 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 299 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 318 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 311 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 295 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 301 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 321 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.12
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 354 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 356 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 341 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 373 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 338 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 359 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 104.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 103.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.09 แยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 109.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 105.29 ภาคกลาง กิโลกรัมละ 96.53 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 107.18 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 74.85 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ข่าวสัปดาห์ 17-23 ต.ค. 2559
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2559 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 70.76 เซนต์ (กิโลกรัมละ 55.05 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 67.95 เซนต์ (กิโลกรัมละ 53.05 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.14 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.00 บาท
ข่าวสัปดาห์ 17 - 23 ต.ค. 59
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 237.40 ดอลลาร์สหรัฐ (8,277 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 236.80 ดอลลาร์สหรัฐ (8,283 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 แต่ลดลง
ในรูปของเงินบาทตันละ 6.00 บาท
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2559/60 ว่ามี 1,018.93 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 958.01 ล้านตันในปี 2558/59 ร้อยละ 6.36 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ และแคนาดา มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 139.28 ล้านตัน ลดลงจาก 142.99 ล้านตัน ในปี 2558/59 ร้อยละ 2.59 โดย บราซิล ปารากวัย สหภาพยุโรป และเม็กซิโก ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เกาหลีใต้ เวียดนาม อิหร่าน ไต้หวัน มาเลเซีย ซาอุดิอาระเบีย จีน แอฟริกาใต้ และโดมินิกัน มีการนำเข้าลดลง (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2559 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 354.04 เซนต์ (4,919 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 342.92 เซนต์ (4,781 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.24 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 138.00 บาท
บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โลก
(คาดคะเนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2559)
รายการ |
ปี 2559/60 |
ปี 2558/59 |
ผลต่างร้อยละ |
สต็อกต้นปี |
210.05 |
208.92 |
0.54 |
ผลผลิต |
1,025.69 |
959.14 |
6.94 |
นำเข้า |
139.28 |
142.99 |
-2.59 |
ส่งออก |
139.28 |
142.99 |
-2.59 |
ใช้ในประเทศ |
1,018.93 |
958.01 |
6.36 |
สต็อกปลายปี |
216.81 |
210.05 |
3.22 |
ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ
ข่าวรายสัปดาห์ 17-23 ตุลาคม 2559
ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 13.11 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 12.71 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.15
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
การนำเข้าถั่วเหลืองของสหภาพยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยในปี 2558/59 สหรัฐอเมริกามีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 40 ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา และทำให้การนำเข้าจากสหรัฐอเมริกามีปริมาณมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา
มีการคาดการณ์ว่าสหภาพยุโรปจะนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองลดลงเหลือ 13.0 ล้านตันในปี 2559/60 และอุปทานเมล็ดถั่วเหลืองของอเมริกาใต้จะเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการนำเข้าและส่วนแบ่งตลาดของสหรัฐอเมริกาลดลง โดยคาดว่าสหภาพยุโรปจะนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองลดลงแต่จะนำเข้ากากถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น เนื่องจากสหภาพยุโรปต้องการเพิ่มแหล่งกากโปรตีนในประเทศ แต่ผลผลิตเรปซีดมีแนวโน้มลดลงและการสกัดน้ำมันเมล็ดทานตะวันมีการขยายตัวอย่างจำกัด จึงส่งเสริมให้นำเข้ากากโปรตีนเพิ่มขึ้นแทนการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองเพื่อสกัดน้ำมัน และเนื่องจากความต้องการน้ำมันในประเทศมีจำกัดสหภาพยุโรปจึงต้องระบายน้ำมันส่วนเกินไปยังแอฟริกาเหนือ แต่การที่อเมริกาใต้เพิ่มการสกัดน้ำมันทำให้สหภาพยุโรปต้องเผชิญกับการแข่งขันในตลาดน้ำมันถั่วเหลืองของแอฟริกาเหนือ ส่งผลให้สหภาพยุโรปต้องลดการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองสำหรับสกัดน้ำมันลง
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 977.34 เซนต์ (12.66 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 954.52 เซนต์ (12.44 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.39
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 304.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.73 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 297.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.56 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.30
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 35.31 เซนต์ (27.44 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 33.45 เซนต์ (25.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.56
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี