- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 16-22 พ.ค.59
ข่าวสัปดาห์ วันที่ 16 -22 พ.ค. 2559
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,625 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,690 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.85
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,238 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,250 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.96
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,075 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,093 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.65
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดแทบทุกพื้นที่ทำให้สุกรเจริญเติบโตช้า ส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.61 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 67.99 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.54 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 72.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.06 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,600 (บวกลบ 76 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงและสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 38.32 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 38.53 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.03 บาท และภาคเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานศึกษาต่างๆ เปิดภาคเรียน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคมีมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 288 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 283 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.77 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 299 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 285 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 285 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 298 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 25.00 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 321 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 301 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.64
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 356 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 348 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 370 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 338 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 381 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 103.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 103.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 110.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 104.67 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 99.17 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.00 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 83.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 84.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.54 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.05 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ข่าวสัปดาห์ 16 - 22 พ.ค. 59
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.74 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.58 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.99 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.84
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.54 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.42 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.28 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.21 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2559/60 ว่ามี 1,011.90 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 968.86 ล้านตันในปี 2558/59 ร้อยละ 4.44 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ และแคนาดา มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 133.78 ล้านตัน ลดลงจาก 133.89 ล้านตัน ในปี 2558/59 ร้อยละ 0.08 โดยบราซิล และปารากวัย ส่งออกลดลง ประกอบกับ ผู้นำเข้า เช่น ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป เวียดนาม ไต้หวัน อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ เวเนซุเอลา จีน และสหรัฐอเมริกา มีการนำเข้าลดลง (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2559 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 395.25 เซนต์ (5,540 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 378.76 เซนต์ (5,275 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.35 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 265.00 บาท
บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โลก
(คาดคะเนเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559)
หน่วย : ล้านตัน
รายการ |
ปี 2559/60 |
ปี 2558/59 |
ผลต่างร้อยละ |
สต็อกต้นปี |
207.87 |
207.88 |
-0.01 |
ผลผลิต |
1,011.07 |
968.86 |
4.36 |
นำเข้า |
133.78 |
133.89 |
-0.08 |
ส่งออก |
133.78 |
133.89 |
-0.08 |
ใช้ในประเทศ |
1,011.90 |
968.86 |
4.44 |
สต็อกปลายปี |
207.04 |
207.87 |
-0.40 |
ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี