- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 23-29 มีนาคม 2558
ข่าวสัปดาห์ วันที่ 23-29 มี.ค.58
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,323 บาท เพิ่มขึ้นจากราคากิโลกรัมละ
1,322 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,090 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สับปะรด
ผลผลิต เพิ่มขึ้น
ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดในเดือนมีนาคม 2558 ประมาณ 0.154 ล้านตัน หรือร้อยละ 9.05 ของปริมาณผลผลิตรวม 1.702 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 0.139 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 10.79 แต่ลดลงจาก 0.176 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 12.50
การส่งออก ลดลง
ปี 2558 เดือนมกราคม มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ ปริมาณรวม 0.144 ล้านตันสด ลดลงจากปริมาณ 0.177 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2557 หรือลดลงร้อยละ 18.64
ราคา สับปะรดโรงงาน เพิ่มขึ้น
สับปะรดบริโภค ทรงตัว
เนื่องจากในช่วงนี้มีผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาด
วันละประมาณ 4,500 - 5,000 ตัน ซึ่งผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานแปรรูปสับปะรดที่มีประมาณวันละ 10,000 ตัน ทำให้โรงงานแปรรูปปรับราคารับซื้อเพิ่มขึ้น โดยราคาสับปะรดที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ มีดังนี้
- สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 9.91 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.76 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.54 และเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.64 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 29.71
ข่าวสัปดาห์ 23-29 มี.ค. 58
ฝ้าย
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2558 ทำสัญญาสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 63.40 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 45.76 บาท เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 61.33 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 44.62 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.38 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.14 บาท
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดมีไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเริ่มมีมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 61.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 61.80 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.14 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.21 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 60.28 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 58 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.20
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อยังคงเงียบเหงา สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อยังคงออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการบริโภคเริ่มลดลง เพราะสถานศึกษาปิดภาคเรียน แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัม 38.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.86 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 38.80 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 35.66 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 41.84 บาท (ภาคเหนือไม่มีรายงานราคา) ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 7.50 บาท ทรงตัวกับสัปดาห์ที่ ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ยังคงเงียบเหงา ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษาปิดภาคเรียน ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมากและต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 232 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 236 บาท จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.69 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 267 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 240 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 213 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 268 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 231 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 331 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 333 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 303 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 368 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 305 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 319 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 103.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 104.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.11 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 101.51 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 104.33 บาท และภาคใต้ 113.43 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 80.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.80 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.77 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ข่าวรายสัปดาห์ 23 - 29 มี.ค. 58
ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 15.49 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 15.36 บาท ในสัปดาห์ที่
ผ่านมาร้อยละ 0.85
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.38 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 16.25 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.80
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ประมาณการเนื้อที่ปลูกถั่วเหลืองของสหรัฐอเมริกา ปี 2558/59
จากรายงานแนวโน้มการผลิตสินค้าเกษตรประจำปี 2558 ของกระทรวงเกษตรสหรัฐ รายงานว่าการปลูก ถั่วเหลือง ปี 2558/59 จะมีเนื้อที่ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับปี 2557/58 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขประมาณการนี้อาจมีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งในเดือนเมษายน 2558 สำหรับการประมาณการเนื้อที่ปลูกในครั้งนี้ได้สร้างความประหลาดใจให้กับนักวิเคราะห์ภาคเอกชนอย่างมาก เนื่องจากภาคเอกชนได้ประมาณการว่าเนื้อที่ปลูกถั่วเหลือง ปี 2558/59 จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนในการปลูกถั่วเหลืองต่ำกว่าการปลูกข้าวโพด ทำให้มีแนวโน้มว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดจะหันมาปลูกถั่วเหลืองทดแทน
ที่มา : รายงานแนวโน้มการผลิตสินค้าเกษตรประจำปี 2558, กระทรวงเกษตรสหรัฐ, มีนาคม 2558
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 981.20 เซนต์ (11.79 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 962.87 เซนต์ (11.68 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.90
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 326.03 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.66 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 320.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.59 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.67
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.10 เซนต์ (22.41 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 30.35 เซนต์ (22.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.47
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้งคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยราคากิโลกรัมละ 38.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.37 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.33
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ (ชนิดดี) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา (ชนิดรอง) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข่าวย้อนหลัง
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี