- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 10-16 ส.ค. 61
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(2) ด้านการตลาด มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,191 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,999 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.05
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,533 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,507 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,400 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,010 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,850 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,810 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,116 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,879 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,120 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,964 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 85 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 402 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,284 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 404 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,333 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 49 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 389 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,855 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 390 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,343 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 512 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 399 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,185 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 401 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,234 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 49 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.0453
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวขาว 5% สัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับสูงขึ้นจากตันละ 385 – 395 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นตันละ 395 – 400 ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากภาวะฝนตกต่อเนื่อง ส่งผลให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวฤดูการผลิตฤดูร้อน – ฤดูใบไม้ร่วง (the summer-autumn crop) เป็นไปอย่างล่าช้า ขณะที่ความต้องการข้าวจากต่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งคาดว่า ตลาดใหม่ๆ เช่น คิวบา ซีเรีย และอิรัก มีแนวโน้มนำเข้าข้าวมากขึ้น ประกอบกับมีกระแสข่าวว่า บริษัท the Southern Food Corp (Vinafood II) กำลังเร่งซื้อข้าวจากเกษตรกร เพื่อสต็อกไว้รองรับความต้องการข้าวจากต่างประเทศ
สมาคมอาหารเวียดนาม (the Vietnam Food Association; VFA) รายงานว่า การส่งออกข้าวในเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา มีประมาณ 409,000 ตัน มูลค่าประมาณ 179.452 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 30 และร้อยละ 25.3 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมของปีที่ผ่านมาที่ส่งออก 584,602 ตัน มูลค่า 240.345
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาที่ส่งออกประมาณ 761,000 ตัน มูลค่าประมาณ 371.368 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 46.25 และร้อยละ 51.68 ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2561 (มกราคม-กรกฎาคม) เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 3.698 ล้านตัน มูลค่า 1.788 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 และร้อยละ 27 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ส่งออกได้ 3.244 ล้านตัน มูลค่า 1.408 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ฟิลิปปินส์
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎร (The House of Representatives) ได้อนุมัติร่างพระราชบัญญัติการเก็บภาษีนำเข้าข้าวซึ่งคาดว่าจะช่วยลดอัตราเงินเฟ้อและทำให้ราคาอาหารลดลง ซึ่งในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ระบุว่า
มีการกำหนดปริมาณนำเข้าข้าวขั้นต่ำ (minimum access volume; MAV) เท่ากับปี 2555 คือปริมาณ 350,000 ตัน
จากปัจจุบันที่กำหนดไว้ที่ 805,000 ตัน โดยกำหนดอัตราภาษีนำเข้าจากประเทศใน ASEAN ที่ร้อยละ 35 และไม่มีการกำหนดปริมาณนำเข้า ส่วนอัตราภาษีนำเข้าจากประเทศสมาชิก WTO (MFN tariff rate) กำหนดไว้ที่ร้อยละ 40 และ
ถ้านำเข้านอกโควตาอัตราภาษีจะอยู่ที่ร้อยละ 180
ทั้งนี้ รูปแบบการนำเข้าในปัจจุบันจะเป็นการนำเข้าภายใต้ระบบ MAV (minimum access volume)
โดยกำหนดโควตาจำนวน 805,200 ตัน ซึ่งภายใต้การนำเข้าในระบบนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์จะจัดสรรโควตานำเข้าข้าวให้เอกชนเป็นผู้นำเข้า ทั้งนี้ โควตานำเข้ารายประเทศ (specific quota; CSQ) เช่น จากประเทศไทย และเวียดนาม ให้ประเทศละ 293,100 ตัน จากจีน อินเดีย ปากีสถาน ประเทศละ 50,000 ตัน ออสเตรเลีย 15,000 ตัน และจากประเทศ เอลซัลวาดอร์ 4,000 ตัน นอกจากนี้ ยังมีโควตาที่นำเข้าจากประเทศใดก็ได้อีก 50,000 ตัน
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the Philippine Statistics Authority; PSA) รายงานว่า ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2561 (เมษายน – มิถุนายน) ผลผลิตข้าวเปลือกจะลดลงประมาณร้อยละ 1.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อเดือนที่ผ่านมา สำนักงานสถิติแห่งชาติ (PSA) ประเมินว่า ผลผลิตข้าวเปลือกในช่วงไตรมาสที่สองของปี จะมีประมาณ 4.08 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากคาดว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตต่อพื้นที่เพาะปลูกจะลดลง
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ปากีสถาน
สถิติใหม่ของการส่งออกข้าวของปากีสถานปี 2561 สูงขึ้นร้อยละ 18 จากปีที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยหลักที่สนับสนุน ได้แก่ ความสามารถในการแข่งขันด้านราคา และความต้องการอย่างต่อเนื่องของตลาดหลัก นอกจากนี้ ปากีสถานไม่ใช้สารเคมีเหมือนประเทศผู้ผลิตอื่น โดยในปี 2560 สหภาพยุโรปประกาศลดระดับสารเคมีตกค้าง (Maximum Residual Level : MRL) Tricyclazole (เป็นสารเคมีที่ใช้กำจัดโรคไหม้ และโรคใบจุดอันมีสาเหตุมาจากเชื้อรา) ในข้าว ซึ่งเริ่มใช้
ในปี 2561 การที่ชาวนาปากีสถานไม่ใช้สารเคมีดังกล่าวนี้ เป็นช่องทางให้ปากีสถานส่งออกข้าวไปตลาดสหภาพยุโรป
ได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ ในเดือนมิถุนายน 2561 ซาอุดิอาระเบียได้มีการประกาศลดระดับสารเคมีในข้าวเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ศักยภาพในส่วนแบ่งตลาดของปากีสถานเพิ่มขึ้น ขณะที่อินเดียมีส่วนแบ่งตลาดลดลง
ปัจจุบัน สหภาพยุโรปนำเข้าข้าวจากปากีสถานเพิ่มเป็น 2 เท่า แต่นำเข้าจากอินเดียเพียง 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา : World Market and Trade, August 2018
ราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.84 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.05 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.98 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.46 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.64 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.82 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.13 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 271.50 ดอลลาร์สหรัฐ (8,971.85 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 278.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,175 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.34 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 203.15 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 360.56 เซนต์ (4,752 บาท/ตัน) จากบุชเชลละ 370.32 เซนต์ (4,874 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.64 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 121.79 บาท
มันสำปะหลัง
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64 ร้อยละ 10.69 และร้อยละ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.18 ล้านตัน (ร้อยละ 4.35 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – กรกฎาคม 2561) ปริมาณ 24.93 ล้านตัน (ร้อยละ 91.52 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น ทั้งนี้ลานมันเส้นส่วนใหญ่หยุดดำเนินการผลิตเพราะฝนตก และโรงงานแป้งมันสำปะหลังบางส่วนหยุดดำเนินการผลิตเพื่อซ่อมแซมเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.34 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.35 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.43
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ ละ 5.70 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.28
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.90 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.99 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.92
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.05 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 225 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,435 บาท
ราคาลดลงจากตันละ 230 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.17 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 156 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ปาล์มน้ำมัน
อ้อยและน้ำตาล
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
รายงานการผลิตน้ำตาลของบราซิล
บราซิล รายงานว่าทางภาคกลาง-ใต้ของบราซิลในปี 2560/2561 ผลผลิตน้ำตาลคริสตัลลดลงเหลือ 3.46 ตัน โดยโรงงานลดการผลิตน้ำตาลมุ่งเน้นการผลิตเอทานอล เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ทั้งนี้ในปี 2560/2561 บราซิลคาดว่าจะผลิตน้ำตาลออร์แกนิคได้สูงถึง 219,000 ตัน
ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์กและน้ำตาลทรายขาวตลาดลอนดอน
ถั่วเหลือง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 861.32 เซนต์ (10.60 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 886.76 เซนต์ (10.90 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.87
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 330.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.05 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 333.26 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.95
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.07 เซนต์ (20.71 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 28.42 เซนต์ (20.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.23
ยางพารา
1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1 ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.09 บาท เพิ่มขึ้นจาก 42.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.07 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.17
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.59 บาท เพิ่มขึ้นจาก 41.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.07 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.17
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.09 บาท เพิ่มขึ้นจาก 41.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.07 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.17
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.83 บาท ลดลงจาก 18.98 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.15 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.79
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.83 บาท ลดลงจาก 16.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.32 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.98
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.92 บาท เพิ่มขึ้นจาก 37.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.65 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.74
1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกันยายน
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1) ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.59 บาท เพิ่มขึ้นจาก 50.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.58 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.15
2) ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.44 บาท เพิ่มขึ้นจาก 48.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.58 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.18
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.43 บาท เพิ่มขึ้นจาก 44.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.48 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.06
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.85 บาท เพิ่มขึ้นจาก 34.76 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.26
ณ ท่าเรือสงขลา
1) ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.34 บาท เพิ่มขึ้นจาก 49.76 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.58 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.16
2) ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.19 บาท เพิ่มขึ้นจาก 48.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.58 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.19
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.18 บาท เพิ่มขึ้นจาก 44.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.48 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.06
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.60 บาท เพิ่มขึ้นจาก 34.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.26
2. ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.48 เซนต์สหรัฐฯ (48.41 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 146.35 เซนต์สหรัฐฯ (48.33 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.13 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.09
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 162.54 เยน (48.04 บาท) ลดลงจาก 165.70 เยน (48.72 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 3.16 เยน หรือลดลงร้อยละ 1.91
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.06 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 17.00 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.35
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 814.50 ดอลลาร์สหรัฐ (26.92 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 815.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 723.50 ดอลลาร์สหรัฐ (23.91 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 724.20 ดอลลาร์สหรัฐ (23.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 571.50 ดอลลาร์สหรัฐ (18.89 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 572.20 ดอลลาร์สหรัฐ (18.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 389.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12.85 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 389.60 ดอลลาร์สหรัฐ (12.86 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 809.50 ดอลลาร์สหรัฐ (26.72 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 809.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.71 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วลิสง
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.81 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 7.05
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 83.12 เซนต์(กิโลกรัมละ 61.19 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 88.05 เซนต์ (กิโลกรัมละ 64.89 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.60และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 3.70 บาท
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,335 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,325 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.75
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,146 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,147 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.09
สุกร
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าในช่วงนี้จะมีฝนตกชุกในหลายพื้นที่คาดว่าความต้องการบริโภคจะมีไม่มากนัก แต่จากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเริ่มมีมากขึ้น ขณะที่ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดในภาวะปกติ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 58.59 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.23 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 57.82 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 56.19 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.60 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 58.86 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,700 บาท (บวกลบ 62 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.15
ไก่เนื้อ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าในช่วงนี้จะมีฝนตกชุกในหลายพื้นที่คาดว่าความต้องการบริโภคจะมีไม่มากนัก แต่จากความต้องการบริโภคไก่เนื้อเริ่มมีมากขึ้น ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.70บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.22 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 38.97 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 10.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 19.05
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.00 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.11
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ ผ่านมา เนื่องจากในช่วงนี้มีภาวะฝนตกชุกในหลายพื้นที่ การจับจ่ายใช้สอยลดลงไม่คล่องตัว ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่ชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 279 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 280 บาท ของกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 290 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 278 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 277 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 326 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 325 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.31 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 339 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 300 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 348 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.24 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.81 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.54 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.26 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.05 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 10 – 16 สิงหาคม 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย
ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.55 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 42.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.92 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.31 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.61 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.16 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 156.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.54 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 153.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.33 บาท
2.5 ปลาทู
ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.89 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 10 – 16 ส.ค. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา