- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 20-26 ก.ค. 61
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2561 เห็นชอบในรายละเอียดโครงการด้านการตลาดจากโครงการเดิม จำนวน 3 โครงการ ดั้งนั้นรวมมีจำนวนโครงการฯ ทั้งสิ้น 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(2) ด้านการตลาด ได้แก่ 1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว 2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,998 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,987 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,422 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,576 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.03
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 35,650 บาท ราคาเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,115 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,924 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,117 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,128 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 204 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,114 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 397 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,196 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 82 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 387 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,816 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 389 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,930 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 114 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 390 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,915 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 394 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,096 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 181 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.1161
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2561/62 ประจำเดือนกรกฎาคม 2561 ว่าจะมีผลผลิต 487.798 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 488.604 ล้านตันข้าวสาร หรือลดลงร้อยละ 0.16 จาก
ปี 2560/61
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2561/62 ณ เดือนกรกฎาคม 2561 ว่าผลผลิต ปี 2561/62 จะมี 487.798 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2560/61 ร้อยละ 0.16 การใช้ในประเทศจะมี 487.058 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.22 การส่งออก/นำเข้าจะมี 49.379 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้น
จากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.80 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 143.754 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.08
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ กัมพูชา จีน กายานา ปารากวัย แอฟริกาใต้ ไทย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล อินเดีย และอุรุกวัย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน บราซิล เบอร์กินา คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ อียู กินี อิหร่าน อิรัก เคนย่า มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล และสหรัฐอาหรับเอมิเรส ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ กานา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังคลาเทศ จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และสหรัฐอเมริกา
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย และญี่ปุ่น
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม – จีน
ตามสถิติของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (Ministry of Agriculture and Rural Development: MARD) ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2061 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังจีนรวม 884,000 ตัน ลดลงร้อยละ 21.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 มีมูลค่า 440 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.6
นาย Nguyen Dinh Bich นักวิเคราะห์การตลาดข้าวเปิดเผยว่า ในเดือนมิถุนายน 2561 จีนนำเข้าข้าวเวียดนามเพียง 48,000 ตัน ซึ่งเป็นปริมาณต่ำที่สุดของเวียดนามที่ส่งออกข้าวไปยังจีนตั้งแต่ปี 2559 และลดลง 112,000 ตัน
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560
แม้ว่าปริมาณข้าวที่ส่งออกไปยังจีนลดลง แต่จีนยังเป็นประเทศนำเข้าข้าวอันดับ 1 ของเวียดนาม โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2561 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังจีน 3.6 ล้านตัน มูลค่า 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ผู้ค้าข้าวเวียดนามเปิดเผยว่า ปริมาณข้าวของเวียดนามที่ส่งออกข้าวไปยังจีนลดลงอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจาก
จีนควบคุมการนำเข้าข้าวอย่างเข้มงวด โดยเมื่อปลายปี 2560 จีนได้ปรับนโยบายการนำเข้าข้าว ส่งผลให้เหลือผู้ส่งออกข้าวในเวียดนามที่ได้รับอนุญาตส่งออกข้าวไปจีนเพียง 22 ราย จาก 150 ราย และเมื่อต้นปี 2561 จีนระงับการนำเข้า
จากบริษัทเวียดนาม 3 ราย จาก 22 ราย ดังกล่าว เนื่องจากข้าวหักมีการปะปนของเมล็ดวัชพืชสูงกว่ามาตรฐานที่จีนกำหนด
นาง Luu Thi Lan รองผู้อำนวยการบริษัท Gentraco JSC. เปิดเผยว่า ในปี 2560 เวียดนามส่งออกข้าวหัก
ไปยังจีนเพื่อใช้ในการผลิตขนมและไวน์ 700,000 ตัน แต่ในช่วงปลายปี 2560 จีนควบคุมการนำเข้าข้าว ทำให้การส่งออกข้าวเวียดนามหยุดชะงักลงและส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2561 นอกจากนั้นยังกล่าวเพิ่มว่า การส่งออกข้าวที่ลดลงยังเป็นผลมาจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2018 จีนได้ปรับขึ้นภาษีนำเข้าข้าวเหนียวจากร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 50 ซึ่งที่ผ่านมาในช่วงปี 2559 – 2560 เวียดนามส่งออกข้าวเหนียวไปจีนมากกว่า 1 ล้านตัน
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ฟิลิปปินส์
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งฟิลิปปินส์ (หรือ PSA) พบว่า ปริมาณการเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกภายในประเทศ
ในไตรมาสที่สองของปีนี้ลดลงร้อยละ 1.8 ซึ่งมีปริมาณ 4.05 ล้านตัน จาก 4.15 ล้านตันในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้พื้นที่ ปลูกข้าวยังลดลงเหลือเพียง 932,000 เฮกตาร์ จากปีที่แล้วที่มีพื้นที่ 947,000 เฮกตาร์
อย่างไรก็ตาม PSA คาดว่าจะมีการเก็บเกี่ยวเพิ่มเติมใน Isabela, Nueva Ecija , Laguna, Quezon, Mindoro Oriental และ Surigao Sur โดยจะมีการควบคุมดูแลโรคที่เกิดจากศัตรูพืช และปริมาณน้ำใช้อย่างเพียงพอในระยะเวลาการเพาะปลูก จากข้อมูลขององค์กรอาหารแห่งชาติ (หรือ NFA) พบว่า การเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกและการผลิตข้าวทั้งหมดในปีนี้น่าจะมีเพียง 12.26 ล้านตัน ในขณะที่การบริโภคข้าวในอาจมีมากถึง 14.1 ล้านตัน ดังนั้น ฟิลิปปินส์อาจต้อง
ใช้มาตรการการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นจากต่างชาติเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนข้าวเพื่อการบริโภคจำนวน 1.8 ล้านตัน
ที่ผ่านมา NFA กล่าวว่า ทางองค์กรกำลังเสนอให้คณะกรรมการนำเข้าข้าวเพิ่มอีก 500,000 ตัน เพื่อเพิ่มสต็อกบัฟเฟอร์และจัดจำหน่ายในตลาด ซึ่งจะทำให้การนำเข้าข้าวของหน่วยงาน NFA จนถึงขณะนี้มีมากถึง 1 ล้านตัน
Mr. Emmanuel Pinol รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรคาดว่า ในปีนี้ผลิตผลข้าวเปลือก
จะสูงเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากเกษตรกรจำนวนมากเพาะปลูกข้าวมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากราคาซื้อข้าวเปลือกที่สูงขึ้น
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.83 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.49 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.09 ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.19 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.16 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.16 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.46 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.55
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2561/62 ว่ามี1,094.08 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,069.67 ล้านตัน ในปี 2560/61 ร้อยละ 2.28 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อียิปต์ เวียดนาม แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา และเกาหลีใต้ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 155.58 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 150.71 ล้านตัน ในปี 2560/61 ร้อยละ 2.97 โดยบราซิล อาร์เจนตินา ยูเครน เซอร์เบีย แคนาดา และเม็กซิโก ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับ
ผู้นำเข้า เช่น เกาหลีใต้ เวียดนาม อียิปต์ โคลัมเบีย ซาอุดิอาระเบีย จีน แอลจีเรีย มาเลเซีย เปรู โมรอกโค บังคลาเทศ และชิลี มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 357.00 เซนต์ (4,715 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 343.28 เซนต์ (4,524 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.00 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 191.00 บาท
มันสำปะหลัง
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64, 10.69 และ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนกรกฎาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.15 ล้านตัน (ร้อยละ 4.21 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – มิถุนายน 2561) ปริมาณ 24.91 ล้านตัน (ร้อยละ 91.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงแป้งและลานมัน ปัจจุบันเชื้อแป้งเฉลี่ย 20-25% ทั้งนี้ลานมันส่วนใหญ่หยุดดำเนินการผลิตเพราะฝนตก ส่วนโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่หยุดเพื่อซ่อมแซมเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.34 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.35 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.43
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.70 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.71 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.18
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.22 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.18 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.56
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.35 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 238 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,882 บาท
ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 19 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 16,061 บาท
ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 37 บาท
ปาล์มน้ำมัน
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกรกฎาคมจะมีประมาณ 1.121ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.191 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.281 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.218 ล้านตัน ของเดือนมิถุนายน 2561 คิดเป็นร้อยละ 12.49 และร้อยละ 12.39 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.62 บาท ลดลงจาก กก.ละ 3.81 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.99
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.95 บาท ลดลงจาก กก.ละ 21.60 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.01
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มของมาเลเซียปรับตัวลดลงในรอบ 3 ปี
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนตุลาคม 2561 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,163 ริงกิตต่อตัน (534 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 0.5 เนื่องจากราคาน้ำมันพืชถั่วเหลืองอ่อนตัวลงส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันปาล์มดิบและความต้องการซื้อน้ำมันปาล์มดิบ ซึ่งราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี อยู่ที่ระดับ 2,140 ริงกิตต่อตัน สำหรับการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียในช่วง 25 วันแรกของเดือนกรกฎาคม 2561 ได้มีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,133.36 ดอลลาร์มาเลเซีย (17.79 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,179.48 ดอลลาร์มาเลเซีย (18.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.12
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 574.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19.26 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 599.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.17
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
อ้อยและน้ำตาล
ถั่วเหลือง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 855.40 เซนต์ (10.54 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 834.20 เซนต์ (10.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.54
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 329.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.05 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 328.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.15
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.20 เซนต์ (20.85 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 27.81 เซนต์ (20.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.40
ยางพารา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 813.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 815.60 ดอลลาร์สหรัฐ (26.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 722.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.92 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 724.20 ดอลลาร์สหรัฐ (23.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 570.80 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 572.20 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 419.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13.88 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 419.80 ดอลลาร์สหรัฐ (13.87 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 807.60 ดอลลาร์สหรัฐ (26.37 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 809.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.74 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.37 บาท
ถั่วลิสง
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 7.92
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 88.07 เซนต์
(กิโลกรัมละ 65.13 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 88.90 เซนต์ (กิโลกรัมละ 65.60 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.47 บาท
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,250 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,147 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สุกร
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่เริ่มมีมากขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดในภาวะปกติ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 57.72 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.28 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 56.40 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.30 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.25 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 58.13 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 58 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อชะลอตัวลงจากภาวะฝนตกในหลายพื้นที่ แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.05 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.03 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 8.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 23.53
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.17 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 11.76
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดไม่มากและใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคไข่ไก่ที่เริ่มมีมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 280 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 279 บาท จากสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 289 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 279 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 278 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 330 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 331 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 364 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 337 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 300 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 349 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.15 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 83.29 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.01 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท
กระบือ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.60ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศการผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 – 26 กรกฎาคม 2561) ไม่มีรายงานปริมาณ
จากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.20 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.71 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.49 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 89.64 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.48 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 158.28 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 163.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.36 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 152.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 162.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.78 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.90 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.88 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 170.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.40 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 20 – 26 ก.ค. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา