- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 20-26เม.ย.61
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.15 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,025.36 เซนต์ (11.91 บาท/กก.) ลดลง จากบุชเชลละ 1,044.20 เซนต์ ( 12.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.80
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 374.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.85 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 378.32 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.96
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 30.99 เซนต์ (21.60 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 31.34 เซนต์ (21.68 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.12
ถั่วลิสง
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.27 บาทของสัปดาห์ก่อน (วันที่ 6-12 เม.ย.2561) ร้อยละ 8.49
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.66 บาทของสัปดาห์ก่อน (วันที่ 6-12 เม.ย.2561) ร้อยละ 10.99
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.27 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 22.03 บาท
ของสัปดาห์ก่อน (วันที่ 6-12 เม.ย.2561) ร้อยละ 19.25
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 864.20 ดอลลาร์สหรัฐ (26.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 870.00 ดอลลาร์สหรัฐ (26.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 799.80 ดอลลาร์สหรัฐ (24.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 805.00 ดอลลาร์สหรัฐ (24.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 638.40 ดอลลาร์สหรัฐ (19.91 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 643.00 ดอลลาร์สหรัฐ (19.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 509.60 ดอลลาร์สหรัฐ (15.89 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 513.00 ดอลลาร์สหรัฐ (15.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 858.00 ดอลลาร์สหรัฐ (26.76 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 863.67 ดอลลาร์สหรัฐ (26.74 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.72 บาทและราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.12 บาท สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานราคา
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ10.50 บาท และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.78 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 353.20 ดอลลาร์สหรัฐ (11,016 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 355.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,989 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 27.00 บาท
2.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2560/61 ว่ามี 1,069.19 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,058.53 ล้านตัน ในปี 2559/60 ร้อยละ 1.01 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ แคนาดา เวียดนาม อิหร่าน และเกาหลีใต้ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 150.26 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 141.64 ล้านตัน ในปี 2559/60 ร้อยละ 6.09 โดยสหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา ปารากวัย และเมียนมาร์ ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เม็กซิโก อียิปต์ เกาหลีใต้ เวียดนาม อิหร่าน โคลัมเบีย แอลจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย จีน เปรู โมรอกโค ตุรกี และชิลี มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 381.68 เซนต์ (4,752 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 382.76 เซนต์ 4,729 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 23.00 บาท
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 83.66 เซนต์
(กิโลกรัมละ 58.32 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 83.10 เซนต์ (กิโลกรัมละ 57.49 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.83 บาท
ปาล์มน้ำมัน
- สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนเมษายนจะมีประมาณ 1.488
ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.253 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.239 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.210 ล้านตัน ของเดือนมีนาคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 20.10 และร้อยละ 20.48 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.83 บาทราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 19.00 บาท เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลง
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนกรกฎาคม 2561 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,389 ริงกิตต่อตัน (610.22 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 0.3 ซึ่งราคาน้ำมันปาล์มดิบลดลงต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ เนื่องจากความต้องการของประเทศผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มดิบชะลอตัวลง และการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบในช่วง 25 วันแรก ของเดือนเมษายนปรับตัวลดลงร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ราคาน้ำมันพืชถั่วเหลือง ซื้อขายล่วงหน้าตลาดซิคาโก้ส่งมอบในเดือนกรกฎาคม 2561 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.8 และในเดือนกันยายนราคาปรับตัวลดลงเช่นกัน เนื่องจากราคาน้ำมันพืชถั่วเหลืองที่มีส่วนแบ่งในตลาดน้ำมันพืชของโลก ส่งผลให้น้ำมันปาล์มดิบได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันบริโภคที่เป็นพืชแข่งขัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลงอยู่ที่ตันละ 2,392-2,415 ริงกิต
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,404.72 ดอลลาร์มาเลเซีย (19.68 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,391.53 ดอลลาร์มาเลเซีย (19.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 647.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20.47 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 659.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20.68 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.75
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
ปศุสัตว์
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดไม่มากผลจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนจัดและแปรปรวนในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตโน้มสูงขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 55.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.76 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 51.97 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 49.31 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.09 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 56.35 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 61 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 1,700 บาท (บวกลบ 61 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.88
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อไก่ แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.58บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.14 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.51 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.50 บาท ลดลงจากตัวละ 10.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 19.05
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนค่อนข้างมาก ส่งผลต่อสุขภาพแม่ไก่ออกไข่น้อยลง แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 267 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 251 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 274 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 274 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 262 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 291 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.87
ไข่เป็ด
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 330 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 329 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.29 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 305 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 349 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 91.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.16 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 92.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.45 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.81 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 99.56 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 71.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.99 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.85 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.70, 10.67 และ 1.06 ตามลำดับ โดยเดือนเมษายน 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.52 ล้านตัน (ร้อยละ 9.24 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – มีนาคม 2561) ปริมาณ 18.79 ล้านตัน (ร้อยละ 68.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นด้วย
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.52 บาท
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.28 บาท
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.23 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.25 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.28
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.03 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.95 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.50
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 252 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,860 บาท
ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 59 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 548 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 17,092 บาท
ราคาลดลงในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตันละ 128 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ทรงตัวในรูปเงินบาท
ประมง
- สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 – 26 เมษายน 2561 ) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 89.05 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจาก
กิโลกรัมละ 87.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.71 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ153.87 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 169.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 15.92 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 138.33 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 152.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 14.17 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.43 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.77 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ
140 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ
200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.68 บาท ราคาราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.08 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 20 – 26 เม.ย. 2561) ราคา เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดเดือนเมษายน2561 ประมาณ 0.277 ล้านตัน หรือร้อยละ 12.34 ของปริมาณผลผลิตรวม 2.248 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.226 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 22.66 และเพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.271 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.24
การส่งออก ลดลง
ปี 2561 (มกราคม-มีนาคม) มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 0.459 ล้านตันสด ลดลงจากปริมาณ 0.552 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2560 หรือลดลงร้อยละ 16.84 โดยเดือนมีนาคมส่งออกปริมาณ 0.151 ล้านต้นสด ลดลงจาก 0.152 ล้านตันสด ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.65 และลดลงจาก 0.183 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2560 ร้อยละ 17.48
ราคา ลดลง
ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูกาล มีผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งคุณภาพผลผลิตไม่ตรงกับความต้องการของโรงงานแปรรูป ทำให้โรงงานแปรรูปปรับราคา
รับซื้อลดลง โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ ดังนี้
- สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 2.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.39 และลดลงจากกิโลกรัมละ 6.17 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 52.18
- สับปะรดบริโภคกิโลกรัมละ 7.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.88 และลดลงจากกิโลกรัมละ 10.97 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 29.71
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,673 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,648 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.52
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,319 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,307 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.97
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,095 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,092 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.31
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต2560/61
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี 2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่) 3) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์4) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 5) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 25616) โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 7) โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ 8) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
(2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร 2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร 3) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี และ 4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ปีการผลิต 2560
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,229 บาท
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,839 บาท
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,130 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 33,850บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,910บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,517บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 3.14
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,150 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,869 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,143 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,383 บาท/ตัน)ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 486 บาท
ข้าวขาว 5%สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 459 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,316 บาท/ตัน)ราคาสูงขึ้นจากตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,023บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.32 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 293 บาท
ข้าวขาว 25%สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 443 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,817 บาท/ตัน)ราคาสูงขึ้นจากตันละ 436 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,497บาท/ตัน)ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.61 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 320 บาท
ข้าวนึ่ง 5%สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 445 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,880 บาท/ตัน)ราคาลดลงจากตันละ 449 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,899บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 19 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.1900
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2560/61 ประจำเดือนเมษายน 2561 ว่าจะมีผลผลิต487.462 ล้านตันข้าวสาร (727.3 ล้านตันข้าวเปลือก) สูงขึ้นจาก 486.151 ล้านตันข้าวสาร (725.5ล้านตันข้าวเปลือก) หรือสูงขึ้นร้อยละ 0.27 จากปี 2559/60
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลกกระทรวงเกษตรสหรัฐฯได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2560/61 ณเดือนเมษายน 2561 ว่าผลผลิต ปี 2560/61 จะมี 487.462 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2559/60 ร้อยละ 0.27 การใช้ในประเทศจะมี 480.145 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.34 การส่งออก/นำเข้าจะมี 48.636 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.36 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 144.424 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.34
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล เมียนมาร์ กัมพูชา จีน กายานา อินเดีย ปากีสถาน ปารากวัย และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อียู รัสเซีย อุรุกวัย สหรัฐอเมริกา และไทย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ คิวบา อียู กานา กินี อินโดนีเซีย อิรัก ญี่ปุ่น เคนย่า เนปาล ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ เซเนกัล และสหรัฐอาหรับเอมิเรส ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ บราซิล อิหร่าน มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังกลาเทศ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย ญี่ปุ่น ไทย และสหรัฐอเมริกา
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า ราคาส่งออกข้าวหอมมะลิประจำปี 2560/61 ค่อนข้างสูงเป็นประวัติการณ์ถึงตันละ 1,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 34,100 บาท เหตุผลเพราะความต้องการในตลาดโลกสูงกว่าปริมาณการผลิต เนื่องจากในปีที่ผ่านมาชาวนาที่ผลิตข้าวนาปีหันไปปลูกพืชชนิดอื่นจำนวนมาก โดยเฉพาะข้าวเหนียวที่ได้ราคาดีกว่า ทำให้ผลผลิตข้าวนาปีออกสู่ตลาดน้อยกว่าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ไว้ ขณะที่ตลาดโลกมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น เช่น อินโดนีเซียที่ผ่านมาไม่เคยนำเข้าข้าวจากต่างประเทศแต่ปีนี้มีการนำเข้า ฟิลิปปินส์ยังคงเป็นผู้ซื้อรายสำคัญ สำหรับราคาข้าวในประเทศจากเดิมเมื่อปีที่แล้วเกษตรกรเคยขายได้ราคาตันละ 10,000 บาท ตอนนี้ราคาพุ่งสูงขึ้นตันละกว่า 17,000-18,000 บาท
เราต้องยอมรับว่า สถานการณ์ในตลาดโลกปีนี้เอื้อให้ราคาข้าวดีขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อชาวนาที่ผลิตข้าว โดยเราคาดการณ์ว่าปีนี้จะสามารถส่งออกข้าวได้ประมาณ 9.5 ล้านตัน ซึ่งจะต้องประเมินผลอีกรอบในช่วงเดือนมิถุนายนนี้
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ปีนี้ราคาข้าวมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ตันละ 17,000-18,000 บาท ส่งผลให้ราคาข้าวถุงปรับตัวสูงขึ้นตามจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่าปีนี้ราคาข้าวที่เกษตรกรได้รับ ข้าวเปลือกเจ้าราคาอยู่ที่ 7,000-8,000 บาท ส่วนข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาจะไม่ต่ำกว่าตันละ 15,000 บาท ถือว่าเป็นราคาที่ดี จึงขอให้เกษตรกรให้ความสำคัญกับการผลิตข้าวให้มีคุณภาพดีและส่งเสริมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวไทย ส่วนการส่งออกข้าวปีนี้กระทรวงพาณิชย์คาดว่า จะอยู่ที่ 9-10 ล้านตัน
นายปราโมทย์ วณิชานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ราคาข้าวในตลาดโลกที่สูงขึ้นถือเป็นเรื่องดี แต่ไม่อยากให้มองเรื่องราคาเป็นประเด็นหลัก เพราะราคาข้าวนั้นไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดโลก ถ้าซัพพลายน้อยกว่าดีมานด์ราคาก็ดี แต่ถ้าดีมานด์น้อยกว่าซัพพลายราคาก็ตก ซึ่งที่ผ่านมาทุกรัฐบาลก็เน้นการสนับสนุนด้วยการให้เงินเป็นหลัก ทั้งการประกันราคาข้าวและรับจำนำข้าว ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ทุกรัฐบาลปฏิบัติกันจนเป็นประเพณีจนมองข้ามงานวิจัยและพัฒนา ทำให้ปัจจุบันเราไม่มีพันธุ์ใหม่ๆ มาตอบโจทย์ความต้องการของตลาด เมื่อเราผลิตแต่ข้าวพันธุ์เดิมๆ ก็ต้องไปแข่งขันด้านราคาเป็นหลัก จนบางปีข้าวไทยต้องยอมขายราคาต่ำกว่าเวียดนาม ทั้งที่ภาพลักษณ์ข้าวไทยนั้นดีกว่าข้าวเวียดนามมาก แต่แทนที่เราจะขายในตลาดพรีเมี่ยมที่ได้ราคาดีกว่า เราก็ทำไม่ได้เมื่อต้องเจอกับข้าวของเวียดนามที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ออกมาตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและขายในตลาดเดียวกับเรา
ข้าวไทยเปรียบเสมือนรถเบนซ์ จึงควรขายในตลาดคนรวย เช่น ตลาดยุโรป ญี่ปุ่น ฮ่องกง โดยตั้งราคาสูงๆ แต่ที่ผ่านมามีเพียงข้าวหอมมะลิเท่านั้นที่เราสามารถขายในระดับพรีเมี่ยมได้ ในขณะที่ข้าวขาวต้องขายในตลาดเดียวกับเวียดนามและต้องเน้นแข่งขันด้านราคาเป็นหลัก ทั้งที่หากเรามีการพัมนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิม เราจะขายได้ราคาดีกว่าเดิมและขายในตลาดที่เป็นพรีเมี่ยมได้ พร้อมกล่าวอีกว่า ปัญหาหนึ่งของชาวนาไทยคือราคาข้าวที่ขายได้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน และผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างต่ำ โดยเฉลี่ยเพียง 400-500 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนให้เกิดการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ซึ่งจะเป็นความมั่นคงในระยะยาว เช่น ข้าวในตลาดราคาตันละ 8,000 บาท หากชาวนาผลิตข้าวได้ 500 กิโลกรัมต่อไร่ เท่ากับว่าจะขายข้าวได้เพียง 4,000 บาทต่อตัน แต่ถ้าได้ผลผลิต 800 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 1 ตันต่อไร่ ชาวนาจะขายข้าวได้ถึง 6,400-8,000 บาท
นอกจากการเพิ่มผลผลิตต่อไร่แล้ว การผลิตข้าวที่มีมูลค่าเพิ่มสูงก็เป็นทางออกของชาวนายุคใหม่ ยกตัวอย่างเช่น “ข้าวอินทรีย์เพชรคอรุม” ของตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่สมาชิกมารวมตัวกันทำในนามวิสาหกิจชุมชนสามารถขายได้ถึงตันละ 50,000 บาท เพราะเน้นการผลิตข้าวอินทรีย์ อาทิ ข้าวหอมนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมมะลิแดง ที่นอกจากจะปราศจากสารเคมีแล้ว ยังมีเมล็ดสวยงาม เมื่อหุงแล้วข้าวจะนุ่มและขึ้นหม้อ การบรรจุถุงจะเป็นสูญญากาศ ราคาขายส่งกิโลกรัมละ 50 บาท และขายปลีกกิโลกรัมละ 70 บาท ซึ่งน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้เกษตรกรชุมชนอื่นมองเห็นช่องทางนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ
กัมพูชา
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่าในปีการตลาด 2560/61 (มกราคม-ธันวาคม 2561) กัมพูชาจะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 8.95 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ14.42 เมื่อเทียบกับจำนวน 7.813 ล้านตัน ที่เคยประมาณการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และเพิ่มขึ้นร้อยละ3.87 เมื่อเทียบกับจำนวน 8.616 ล้านตันในปี 2559/60เนื่องจากสภาพอากาศเอื้อำนวยต่อการเพาะปลูก และมีน้ำเพียงพอสำหรับการเพาะปลูก รวมทั้งการมีระบบชลประทานที่ดีขึ้น โดยคาดว่าพื้นที่เพาะปลูกข้าวในปี 2560/61จะมีประมาณ 20 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ7เมื่อเทียบกับปี 2559/60ส าหรับในปี 2561/62คาดว่าพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวเปลือกจะมีประมาณ 20.6 ล้านไร่ และ 9.22 ล้านตันตามลำดับเพราะคาดว่าความต้องการข้าวจากตลาดต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นซึ่งจูงใจให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากขึ้น
ทางด้านการส่งออกนั้น ในปี 2560/61คาดว่าจะส่งออกได้เพิ่มเป็น 1.3 ล้านตัน (รวมตัวเลขการส่งออกอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การส่งออกตามแนวชายแดน) เพิ่มขึ้นร้อยละ4 เมื่อเทียบกับจ านวน 1.25 ล้านตัน ที่คาดว่าสามารถส่งออกได้ในปี 2559/60ส่วนในปี 2561/62คาดว่าจะส่งออกได้ประมาณ 1.4 ล้านตัน จากการที่ความต้องการข้าวจากต่างประเทศยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ฟิลิปปินส์
องค์การอาหารแห่งชาติ(National Food Authority; NFA) ได้ส่งหนังสือเชิญไปยังหน่วยงานของรัฐบาลไทยและเวียดนามตามที่มีการลงนามข้อตกลงไว้เพื่อเชิญเข้าร่วมการประมูลนำเข้าข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (governmentto-government deal) จำนวน 250,000 ตัน ประกอบด้วยข้าวขาว 15% (well-milled long grain white rice) จำนวน 50,000 ตัน และข้าวขาว 25% (well-milled long grain white rice) จำนวน 200,000 ตัน โดยเปิดรับข้อเสนอในวันที่ 27 เมษายนนี้กำหนดส่งมอบข้าวขาว 25% ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม และข้าวขาว 15% ภายในวันที่ 30 มิถุนายนน
เมื่อสัปดาห์ก่อน ประธานาธิบดีได้อนุมัติให้NFA นำเข้าข้าวแบบ G to G จำนวน 250,000 ตัน ส่วนการนำเข้าครั้งต่อไปจะเป็นแบบ G to P นอกจากนี้ประธานาธิบดียังได้สั่งการให้NFA เพิ่มสต็อกข้าวให้ได้ประมาณ 1.92 ล้านตัน หรือเท่ากับความต้องการบริโภคภายในประเทศ 60 วัน โดยใช้ทั้งวิธีรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในประเทศและการนำเข้าจากต่างประเทศ และให้ NFA ไปพิจารณาเพิ่มราคารับซื้อข้าวจากเกษตรกรจากปัจจุบันที่กำหนดราคารับซื้อไว้ที่กิโลกรัมละ 17 เปโซ หรือประมาณตันละ 327 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย