- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 9-15 มี.ค.61
ยางพารา
1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ
ภาพรวมราคายางพาราที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการซื้อภายในประเทศ และต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนหลังจากชะลอการซื้อยางในช่วงวันตรุษจีนที่ผ่านมา รวมทั้งปริมาณผลผลิตยางออกสู่ตลาดน้อยเนื่องจากอยู่ในช่วงผลัดใบ ส่งผลให้ราคายางพาราปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ภาพรวมราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนเมษายน 2561 ปรับตัวลดลง ทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ นายมิจิโนบุ ซึงาตะ เจ้าหน้าที่บริหาร โตโยตา มอเตอร์ คอร์พอเรชัน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปี 2560 อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยขยายตัวร้อยละ 13.3 เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ผลักดันให้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศไทยขยายตัวร้อยละ 3.9 ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ไทยเติบโตครั้งแรกในรอบ 4 ปี มีปริมาณจำหน่ายรวมอยู่ที่ 870,748 คัน แบ่งเป็น รถยนต์นั่ง 345,501 คัน ขยายตัวร้อยละ 23.5 รถเพื่อการพาณิชย์ 525,247 คัน ขยายตัวร้อยละ 7.4 รถพิคอัพ 1 ตัน (รวมรถพิคอัพดัดแปลง) 424,282 คัน ขยายตัวร้อยละ 7.7 และรถพิคอัพ 1 ตัน (ไม่รวมรถพิคอัพดัดแปลง) 364,706 คัน ขยายตัวร้อยละ 9.4 ในส่วนของแนวโน้มตลาดรถยนต์ปี 2561 มีปัจจัยบวกเพิ่มขึ้นจากการเติบโตของ GDP ที่ร้อยละ 3.9 รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐ และภาคเอกชน ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีส่วนในการกระตุ้นตลาดให้เติบโต และการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่จากหลายค่ายรถยนต์ต่างๆ ดังนั้นเราคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์โดยรวมในประเทศปี 2561 จะอยู่ในระดับ 900,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 3.4
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.52 บาท ลดลงจาก 45.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.35 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.76
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.02 บาท ลดลงจาก 45.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.35 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.77
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.52 บาท ลดลงจาก 44.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.35 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.78
4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.72 บาท ลดลงจาก 19.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.17 บาท หรือลดลงร้อยละ 5.88
5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.17 บาท ลดลงจาก 16.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.79 บาท หรือลดลงร้อยละ 4.66
6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.48 บาท เพิ่มขึ้นจาก 43.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.57 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.30
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนเมษายน 2561
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท ลดลงจาก 56.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.16
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.85 บาท ลดลงจาก 54.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.16
3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.88 บาท ลดลงจาก 47.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.30
4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.83 บาท เพิ่มขึ้นจาก 37.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.98 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.59
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.75 บาท ลดลงจาก 55.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.16
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.60 บาท ลดลงจาก 54.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.16
3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.63 บาท ลดลงจาก 46.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.30
4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.58 บาท เพิ่มขึ้นจาก 37.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.98 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.61
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ปรับตัวลดลง ขณะที่ตลาดโตเกียวปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางด้านอุตสาหกรรมยางล้อ จากการรายงานของ Report Insights ได้รายงานว่า ตลาดยางล้อรถแทรกเตอร์ทั่วโลก คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีในช่วงปี 2559 - 2568 ร้อยละ 5.06 และในปี 2560 ความต้องการยางล้อรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรจะขยายตัวไม่มาก โดยส่วนใหญ่เป็นเพราะการเติบโตของตลาดยางอะไหล่ ความต้องการยางล้อสอดคล้องอย่างมากกับตลาดรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรทั่วโลก นอกจากนี้ การใช้เครื่องจักรในการเกษตรมากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย จีน ไทย และในทวีปแอฟริกา ก็กำลังเพิ่มการจำหน่ายรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งก็เป็นการเพิ่มความต้องการยางล้อรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรเช่นกัน ความต้องการของยางล้ออะไหล่นับเป็นสาขาที่ครองตลาดยางล้อรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร เพราะจำนวนรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรที่จดทะเบียน ยังต่ำกว่าจำนวนที่ใช้อยู่ ยางล้อเรเดียลใหม่กว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่ายางล้อผ้าใบ ซึ่งความต้องการยางล้อเรเดียล คาดว่าจะมาจากประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ยุโรปและอเมริกาเหนือ ที่ซึ่งความต้องการยางล้อที่ใช้ในทางเทคนิคที่นำสมัยมีสูง ความต้องการรถแทรกเตอร์แรงสูงในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะในยุโรป และความต้องการรถแรงสูงที่เพิ่มขึ้นในละตินอเมริกา โดยเฉพาะในบราซิล และอาร์เจนตินา จะเป็นการเพิ่มความต้องการยางล้อรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในทางการเกษตร ดังนั้น รถแรงสูงจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนตลาด
ราคายางแผ่นรมควันชั้น3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 174.74 เซนต์สหรัฐฯ (54.17 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 174.26 เซนต์สหรัฐฯ (54.26 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.48 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.28
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 186.26 เยน (53.78 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 185.88 เยน (54.19 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.38 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.20
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,761 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,729 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.85
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,267 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,272 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.39
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,172 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,156 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.38
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 83.55 เซนต์
(กิโลกรัมละ 57.89 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนปอนด์ละ 83.55 เซนต์ (กิโลกรัมละ 58.11 บาท) แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.22 บาท
สุกร
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้สภาพอากาศจะเริ่มร้อนขึ้น แต่จากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดมากใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่ทรงตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.52 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.44 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 46.06 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 46.76 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.12 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.67 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 43 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.40
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อออกสู่ตลาดมากและใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อไก่ค่อนข้างทรงตัว แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.30 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.51 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคไข่ไก่ลดลง จากสถานศึกษาต่างๆ เริ่มทยอยปิดภาคเรียน ส่งผลให้ภาวะตลาดไข่ไก่ค่อนข้างเงียบเหงา แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะลดลง เพราะตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษาต่างๆ ปิดภาคเรียน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 256 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 264 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 270 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 28 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 244 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 330 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 331 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 296 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 338 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 350 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.78 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 89.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 91.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 87.17 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.42 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 99.56 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 72.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 72.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.49 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.51 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วลิสง
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.00 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.32
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.27 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.51 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.98
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.47 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 21.45 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.57
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 868.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.93 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 864.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 804.00 ดอลลาร์สหรัฐ (24.92 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 800.40 ดอลลาร์สหรัฐ (24.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 739.20 ดอลลาร์สหรัฐ (22.92 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 736.00 ดอลลาร์สหรัฐ (22.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 544.60 ดอลลาร์สหรัฐ (16.88 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 542.20 ดอลลาร์สหรัฐ (16.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 797.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.73 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 793.80 ดอลลาร์สหรัฐ (24.72 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.07 ล้านไร่ ผลผลิต 28.57 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.54 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 30.94 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตลดลงร้อยละ 9.43 และ 7.66 ตามลำดับ ส่วนผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นร้อยละ 2.02 โดยเดือนมีนาคม 2561
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.80 ล้านตัน (ร้อยละ 16.79 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – กุมภาพันธ์ 2561) ปริมาณ 14.92 ล้านตัน (ร้อยละ 52.17 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นด้วย
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.29 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.24 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.23
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.08 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.12 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.78
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.06 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.75 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 4.59
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 14.66 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.48
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 226 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,006 บาท
ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 31 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 508 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 15,749 บาท
ราคาสูงขึ้นในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตันละ 13 ดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 337 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
- สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.27 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.24 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.11 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.86
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.15 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.99 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.60 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.42 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.34 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 338.20 ดอลลาร์สหรัฐ (10,485 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 329.60 ดอลลาร์สหรัฐ (10,262 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.61 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 223.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน
ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 389.56 เซนต์ (4,821 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 388.24 เซนต์ (4,822 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 1.00 บาท
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2560/61
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี 2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่) 3) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์4) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 5) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 25616) โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 7) โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ 8) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
(2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร 2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร 3) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี และ 4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ปีการผลิต 2560
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้ สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ประกอบการส่งออกมีความต้องการข้าว เพื่อเตรียมการส่งมอบตามคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้า
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,114 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,943 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.14
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,673 ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,487 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.48
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,710 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,750 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.0011 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยรายงานสถานการณ์การส่งออกข้าวว่า เดือนมกราคม 2561 มีปริมาณ 961,859 ตัน มูลค่า 15,397 ล้านบาท โดยทั้งปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 16.7 และร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2560 ที่มีปริมาณ 1,154,219 ตัน มูลค่า 17,870 ล้านบาท การส่งออกข้าวทุกชนิดลดลง เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นส่งผลให้ราคาข้าวไทยปรับตัวสูงขึ้นมากโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ทำให้ผู้ซื้อบางส่วนชะลอการซื้อข้าว
สมาคมฯ คาดว่าเดือนกุมภาพันธ์นี้ การส่งออกข้าวจะลดลงจากเดือนมกราคม โดยคาดว่าจะส่งออกประมาณ 800,000 ตัน ประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ คือ อินโดนีเซีย เนื่องจากปัจจัยด้านค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทำให้การส่งออก
มีอุปสรรคมากขึ้น จากการที่ราคาข้าวไทยยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ประกอบกับอุปทานข้าวหอมมะลิในตลาดมีปริมาณจำกัดทำให้ราคายังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งราคาข้าวหอมมะลิ 100% (ปีการผลิต 2560/2561) ที่สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยประกาศเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 ราคาอยู่ที่ 1,135 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ขณะที่ราคาข้าวหอมของเวียดนามประมาณ 650 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ส่วนกัมพูชา 880 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้ผู้ส่งออกยังคงมีสัญญาส่งมอบทั้งข้าวขาวและข้าวนึ่งที่ต้องส่งมอบให้ผู้ซื้อ ทั้งจากการค้าปกติและจากการที่ผู้ส่งออกไทยประมูลได้ เช่น ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น บังกลาเทศ ประกอบกับหลายประเทศในแถบแอฟริกาที่นำเข้าทั้งข้าวขาว (ข้าวใหม่และข้าวเก่า) และข้าวนึ่ง เช่น เบนิน แอฟริกาใต้ ยังคงนำเข้าอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับตลาดประจำที่นำเข้าข้าวหอมมะลิฤดูใหม่ เช่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน ก็ยังคงนำเข้าข้าวอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า
เวียดนาม
นาย Ha Cong Tuan รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทกล่าวในที่ประชุมประจำเดือน
เมื่อวันศุกร์ที่ 3 มีนาคม ณ กรุงฮานอย ว่าในปี 2561 คาดว่าเวียดนามจะส่งออกข้าวได้ถึง 6.5 ล้านตัน
เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้สูงขึ้น เวียดนามจึงส่งออกข้าวที่มีคุณภาพสูงในสัดส่วนที่มาก ขณะที่ข้าวธรรมดามีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 20 ด้วยคุณภาพข้าวที่ดีขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกข้าวของเวียดนามสูงขึ้น
ราคาข้าวส่งออกของเวียดนามเพิ่มขึ้นจาก 435 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในปี 2559 เป็น 450 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในปี 2560 และ 475 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ปี 2561
ทั้งนี้เป็นผลจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อพัฒนาคุณภาพและเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวของเวียดนาม ขณะเดียวกันในช่วงสองปีที่ผ่านมาวิสาหกิจในท้องถิ่นจำนวนมากมีส่วนร่วมในตลาดส่งออกข้าวทั้งหมด ทั้งนี้ยังมีการ ลงทุนในอุตสาหกรรมการแปรรูปข้าวเพิ่มมากขึ้น แต่สัดส่วนของข้าวที่ผ่านการแปรรูปยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งการปรับปรุงคุณภาพข้าวชี้ให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของการพัฒนาแบรนด์ข้าวของเวียดนาม
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเผยว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 861,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นมูลค่า 419 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยฟิลิปปินส์เป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดจากเวียดนาม คิดเป็นร้อยละ 26.9 ของส่วนแบ่งการตลาด ตามด้วยจีน คิดเป็นร้อยละ 23.5 ของส่วนแบ่งการตลาด ในปีที่ผ่านมาเวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 5.8 ล้านตัน เป็นมูลค่า 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐ
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
อินเดีย
ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศในแถบแอฟริกา ขณะที่อุปทานข้าวในประเทศมีปริมาณจำกัด โดยราคาข้าวนึ่ง 5% เพิ่มขึ้น 3 เหรียญสหรัฐฯ มาอยู่ ที่ 422-426 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากระดับ 419-423 เหรียญสหรัฐต่อตันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่วงการค้าคาดว่า ความต้องการข้าวจากบังคลาเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ญี่ปุ่น
กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงของญี่ปุ่น (Ministry of Agriculture, Forests and Fisheries; MAFF) ประกาศผลการประมูลนำเข้าข้าวแบบ MA (ordinary international tender) ครั้งที่ 12 ของปีงบประมาณ 2560/61(เมษายน-มีนาคม) เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2561 โดยซื้อข้าวประมาณ 38,000 ตัน ประกอบด้วยข้าวเมล็ดกลาง (milled medium grain rice) จากสหรัฐฯ จำนวน 13,000 ตัน และจากออสเตรเลีย จำนวน 12,000 ตัน และข้าวเมล็ดยาว (long grain grinding rice) จากไทยรวม 13,000 ตัน โดยกำหนดส่งมอบระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน ถึงวันที่ 20 สิงหาคมนี้ สำหรับราคาเฉลี่ยของการประมูลครั้งนี้อยู่ที่ประมาณ 82,566 เยนต่อตันหรือประมาณ 755.5 เหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งเป็นราคายังไม่รวมภาษีแต่ถ้าเป็นราคาที่รวมภาษีแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 89,171 เยนต่อตัน หรือประมาณ 816 เหรียญสหรัฐต่อตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย