- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 23 ก.พ.-1 มี.ค.61
สับปะรด
ผลผลิต เพิ่มขึ้น
ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดเดือนมีนาคม2561 ประมาณ 0.265 ล้านตัน หรือร้อยละ 10.80 ของปริมาณผลผลิตรวม 2.462 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.229 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 15.72 และเพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.260 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.92การส่งออก ลดลง
ปี 2561 เดือนมกราคม มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 0.156 ล้านตันสด ลดลงจากปริมาณ 0.161 ล้านตันสด ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.10 และลดลงจาก 0.179 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2559 หรือลดลงร้อยละ 12.84
สับปะรดบริโภค ลดลง
ช่วงนี้ผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่โรงงานแปรรูปสับปะรดมีความต้องการวัตถุดิบอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงงานแปรรูปปรับราคารับซื้อเพิ่มขึ้น โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ ดังนี้
- สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 4.39 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.15 และลดลงจากกิโลกรัมละ 6.39 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 31.29
กิโลกรัมละ 10.48 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.59 และลดลงจากกิโลกรัมละ 12.14 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 21.08
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
- สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.24 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.98 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.16
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.88 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.70 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.86 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.23 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.13 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 326.25 ดอลลาร์สหรัฐ (10,163 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 323.25 ดอลลาร์สหรัฐ (10,076 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 87.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน
ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 373.12 เซนต์ (4,637 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 366.25 เซนต์ (4,555 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.88 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 82.00 บาท
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 82.10 เซนต์
(กิโลกรัมละ 57.13 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 77.90 เซนต์ (กิโลกรัมละ 54.25 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.39 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.88 บาท
ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.02 บาท ลดลงจาก กก ละ 17.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.76
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,042.08 เซนต์ (12.09 บาท/กก.) สูงขึ้น จากบุชเชลละ 1,028.50 เซนต์ ( 11.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.32
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 385.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.17 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 376.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.93
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 32.25 เซนต์ (22.44 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 31.88 เซนต์ (22.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.16
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.00 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.63
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.24 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 18.14 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.58
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 799.75 ดอลลาร์สหรัฐ (24.91 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 800.50 ดอลลาร์สหรัฐ (24.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 670.50 ดอลลาร์สหรัฐ (20.89 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 671.50 ดอลลาร์สหรัฐ (20.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.14 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 541.50 ดอลลาร์สหรัฐ (16.87 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 542.25 ดอลลาร์สหรัฐ (16.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 412.50 ดอลลาร์สหรัฐ (12.85 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 413.25 ดอลลาร์สหรัฐ (12.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 793.00 ดอลลาร์สหรัฐ (24.70 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 794.00 ดอลลาร์สหรัฐ (24.75 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
อ้อยและน้ำตาล
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและ การผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 84.01 ล้านตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 8.96 ล้านตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 6.83 ล้านตัน และน้ำตาลทรายขาว 2.13 ล้านตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.22 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 106.67 กก.ต่อตันอ้อย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,729 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,654 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.53
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,272 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,261 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.87
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,156 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,154 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.17
มันสำปะหลัง
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.07 ล้านไร่ ผลผลิต 28.57 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.54 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 30.94 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตลดลงร้อยละ 9.43 และ 7.66 ตามลำดับ ส่วนผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นร้อยละ 2.02 โดยเดือนมีนาคม 2561
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.80 ล้านตัน (ร้อยละ 16.79 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – กุมภาพันธ์ 2561) ปริมาณ 14.92 ล้านตัน (ร้อยละ 52.17 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นด้วย
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.18 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.15 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.40
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.09 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.07 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.39
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.47 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.37 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.57
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.18 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.98 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.43
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 220 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 6,853 บาท ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 5 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 475 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 15,108 บาท ราคาสูงขึ้นในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตันละ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 302 บาท
ปศุสัตว์
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคสุกรมีมากนัก ขณะที่ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดมาก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 46.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.77 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 45.53 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 47.02 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 47.61 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.19 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 43 บาท) ลดลงจากตัวละ 1,300 บาท (บวกลบ 46 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.69
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.21
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อออกสู่ตลาดมาก ทำให้ภาวะตลาดไก่เนื้อค่อนข้างเงียบเหงา ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลง แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.67 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.34 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.51 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 263 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 264 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.39 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 276 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 253 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 271 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 335 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 338 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.89 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 350 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 308บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 352 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 370 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 91.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 92.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 87.51 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 89.98 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 99.56 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 72.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 73.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.46 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.92 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ข้าว
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2560/61
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี 2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่) 3) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์4) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 5) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 25616) โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 7) โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ 8) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
(2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร 2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร 3) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี และ 4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ปีการผลิต 2560
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้ สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายต้องการข้าวเพื่อทยอยส่งมอบตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ แต่ปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดมีจำนวนน้อย
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,872 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,572 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.06
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,540 ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,515 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,850 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 33,810 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,550 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,690 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.1511 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
กัมพูชา
ภาวะราคาข้าวส่งออกปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีความต้องการข้าวจาก
ผู้นำเข้าที่สำคัญ เช่น ประเทศจีนและประเทศในสหภาพยุโรป ขณะที่อุปทานข้าวมีปริมาณจำกัด
ทั้งนี้นาย Hun Lak รองประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (the Cambodia Rice Federation) ระบุว่า ราคาส่งออกข้าวขาวปรับขึ้นมาอยู่ที่ 480 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นจาก 450 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เมื่อช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ข้าวหอม sen kro oup ราคาปรับขึ้นมาอยู่ที่ 775 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นจาก 735 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน โดยที่ราคาข้าวของกัมพูชาได้ปรับตัวสูงขึ้นทั้งราคาข้าวเปลือกและข้าวสาร
เมื่อปีที่ผ่านมา กัมพูชามีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 10 ล้านตัน และมีผลผลิตส่วนเกินประมาณ 4 ล้านตัน โดยในปีที่ผ่านมามีการส่งออกข้าวรวม 635,679 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 17.3 โดยส่งออกไปยังกว่า
60 ประเทศทั่วโลก
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
จีน
สำนักงานศุลกากรแห่งชาติ(China Customs General Administration) รายงานว่าในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประเทศจีนนำเข้าข้าวประมาณ 359,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมของปีที่ผ่านมาที่มีการนำเข้า 244,300 ตัน แต่ลดลงร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมที่ผ่านที่นำเข้าประมาณ 425,600 ตัน โดยในปี 2560 จีนนำเข้าข้าวประมาณ 3.993 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับจำนวน 3.534 ล้านตัน ในปี 2559ส่วนการส่งออกในเดือนมกราคมที่ผ่านมามีจำนวน 141,400 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 105 เมื่อเทียบกับจำนวน 69,100 ตัน ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 53 เมื่อเทียบกับจำนวน 92,500 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ ผ่านมา โดยในปี 2560 จีนส่งออกข้าวประมาณ 1.197 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 147 เมื่อเทียบกับจำนวน 0.484 ล้านตัน ในปี 2559
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า การประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ (the National Grain Trade Center) สามารถระบายข้าวได้ประมาณ 10,550 ตัน ซึ่งเป็นข้าวจากฤดูการผลิตปี 2556 ส่วนการประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติไม่สามารถขายข้าวได้แม้จะนำข้าวจำนวน 500,362 ตัน ออกมาประมูลก็ตาม
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ญี่ปุ่น
กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงของญี่ปุ่น (Ministry of Agriculture, Forests and Fisheries; MAFF) ประกาศเปิดการประมูลนำเข้าข้าวแบบ MA (ordinary international tender) ของปีงบประมาณ 2561 ในวันที่ 2 มีนาคม 2561 โดยกำหนดซื้อข้าวทั้งหมด 46,975 ตัน ประกอบด้วยข้าวเมล็ดกลางจากสหรัฐฯ จำนวน 26,000 ตัน กำหนดส่งมอบระหว่างวันที่ 1 มิถุนายนถึงวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ ข้าวเมล็ดยาวจากไทยรวม 8,975 ตัน กำหนดส่งมอบระหว่างวันที่ 1-30 มิถุนายนนี้ และข้าวเมล็ดยาวในส่วนของ Global quota จำนวน 12,000 ตัน กำหนดส่งมอบระหว่างวันที่ 10 มิถุนายนถึงวันที่ 10 กรกฎาคมนี้
กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงของญี่ปุ่น (MAFF) ได้ประกาศผลการประมูลนำเข้าข้าวแบบ SBS (Simultaneous-Buy and Sell tender) ครั้งที่ 5 ปีงบประมาณ 2560 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 โดยกำหนดจะซื้อข้าวประมาณ 14,898 ตัน ปรากฏว่ามีการประมูลได้ 14,898 ตัน ประกอบด้วยข้าวเต็มเมล็ด 10,319 ตัน และปลายข้าว 4,579 ตัน โดยในส่วนของข้าวจากไทยนั้น มีการประมูลข้าวขาวเมล็ดยาวได้จำนวน 100 ตัน และปลายข้าวขาวเมล็ดยาวจำนวน 1,000 ตัน ส่วนประเทศสหรัฐฯประมูลได้ 5,750 ตัน ประเทศออสเตรเลียประมูลได้ 7,369 ตัน ประเทศจีนประมูลได้ 200 ตัน ประเทศอินเดียประมูลได้ 179 ตัน ประเทศปากีสถานประมูลได้ 80 ตัน และประเทศเวียดนามประมูลได้ 200 ตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย