- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 8-14 ม.ค.61
ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.56 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
การส่งออกถั่วเหลืองในปัจจุบัน
จากการคาดการณ์การส่งออกถั่วเหลืองของ USDA มีทิศทางที่ลดลง โดยในปี 2017/18 คาดว่าจะส่งออกปริมาณ 2.225 ล้านบุเชล โดยการส่งออกถั่วเหลืองเฉลี่ยในช่วง 5 สัปดาห์แรกของปี 2018 ปริมาณสัปดาห์ละ 49.3 ล้านบุเชล และคาดการณ์การส่งออกถั่วเหลืองในบราซิลปี 2017/18 อยู่ที่ 3.97 พันล้านบุเชล และผู้ผลิตในประเทศอื่นๆที่ 4.04 พันล้านบุเชล ทั้งนี้การส่งออกถั่วเหลืองของบราซิลมากที่สุดเป็นอันดับสองของผลผลิตทั้งหมดในปีที่แล้ว
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 949.04 เซนต์ (11.26 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 958.80 เซนต์ ( 11.44 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.02
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 312.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.10 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 315.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.81
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 33.23 เซนต์ (23.65 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 33.63 เซนต์ (24.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.19
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 20.33 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.62
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 12.67 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.29
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 653.40 ดอลลาร์สหรัฐ (20.87 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 657.00 ดอลลาร์สหรัฐ (21.18 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.31 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 402.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12.84 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 418.67 ดอลลาร์สหรัฐ (13.49 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.98 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.65 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 710.00 ดอลลาร์สหรัฐ (20.67 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 704.50 ดอลลาร์สหรัฐ (22.71 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.04 บาท
ถั่วลิสง
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.36 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 79.36 เซนต์
(กิโลกรัมละ 56.58 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 78.37 เซนต์ (กิโลกรัมละ 56.39 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.19 บาท
สุกร
สัปดาห์นี้ภาวะตลาดสุกรยังคงเงียบเหงา ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าจะเข้าสู่เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งคาดว่าความต้องการบริโภคจะมีมาก แต่จากสภาพอากาศที่เริ่มเย็นลงทำให้สุกรเจริญเติบโตดี ส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.68 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 49.04บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 50.34 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 47.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 49.16 ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 40 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อกาที่มีมากขึ้นในช่วงเทศกาลวันปีใหม่ ส่งผลให้ภาวะตลาดไก่เนื้อค่อนข้างคึกคักและเริ่มคล่องตัว แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.15 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.29 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 37.17 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.49 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไข่ไก่ที่มีมากขึ้นในช่วงเทศกาลวันปีใหม่ ทำให้ภาวะตลาดไข่ไก่เริ่มคึกคัก ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 252 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 250 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.80 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 277 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 285 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 232 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 241 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 339 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 336 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.89 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 348 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 316 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 367 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 360 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 94.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 93.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.87 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 92.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 95.64 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.09 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 96.45 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 73.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 73.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.15 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.89 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.59 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคาไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,250 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,278 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.19
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ประมง
- สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 5 – 11 มกราคม 2561 ) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.95 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.99 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.40 บาท ราคาลดลงจาก
กิโลกรัมละ 87.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.49 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.91 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 186.67 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 177.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 9.17 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.62 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.84 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 172.00 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 62.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ
200.00 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 180.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 20.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.93 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 5 -
11 มกราคม 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.00 บาท ของสัปดาห์
ที่ผ่านมา 2.00 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
- สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.13 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.84 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.60 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.27 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.26ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.55 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.49 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.85 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.76 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,772 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 298.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,707 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.48 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 65.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน
ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 349.00 เซนต์ (4,444 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 352.55 เซนต์ (4,568 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 124.00 บาท
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2560/61
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี 2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่) 3) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์4) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 5) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 25616) โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 7) โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ 8) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
(2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร 2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร 3) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี และ 4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ปีการผลิต 2560
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นวันหยุดช่วงเทศกาลปีใหม่
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,310 บาท
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,029
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 30,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,830 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,650 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.54
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,043 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,309 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 416 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,285 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,774 บาท/ตัน)
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,700 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.9357 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ในระดับทรงตัวท่ามกลางคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่เบาบางลง เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งผู้ซื้อจะชะลอการซื้อข้าวในช่วงนี้ ประกอบกับอุปทานข้าวในตลาดมีน้อยลง โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ประมาณ 390-395 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน เท่ากับเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ผู้ค้าข้าวบางส่วน ระบุว่า การซื้อขายข้าวค่อนข้างเบาบาง เพราะความต้องการข้าวจากตลาดหลัก เช่น จีน และประเทศในแถบแอฟริกาลดลง โดยผู้ซื้อจากจีนซื้อข้าวจากเวียดนามเพื่อให้ครบตามโควตานำเข้าที่ได้ในปีนี้แล้ว
สำนักงานศุลกากร (the General Department of Vietnam Customs) รายงานว่าในปี 2560 ที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 5.9 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 และร้อยละ 20.8 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยประเทศที่เวียดนามส่งออกข้าวมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของเวียดนาม คือ ประเทศจีน ส่วนการส่งไปยัง ประเทศฟิลิปปินส์คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 9.3
สำหรับปี 2561 นี้ คาดว่า เวียดนามจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 6.3 ล้านตัน โดยตลาดหลักยังคงเป็นประเทศในแถบเอเชีย เช่น ฟิลิปปินส์ เป็นต้น
ทางด้านกระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture and Rural Development; MARD) รายงาน ว่าในปี2560 ที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 6 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 2.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 และร้อยละ 23.2 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559
นาย Huynh Minh Hue เลขาธิการสมาคมอาหาร (Secretary General of the Vietnam Food Association) ระบุว่าเมื่อปี่ที่ผ่านมา เวียดนามประสบกับภาวะสภาพอากาศแปรปรวนซึ่งส่งผลกระทบต่ออุปทานข้าว
ที่จะส่งออก ขณะที่เวียดนามมีแนวโน้มที่จะเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพของสินค้าข้าวเพื่อกระตุ้นการบริโภคและเพิ่มมูลค่าการส่งออก
โดยในปี 2561 นี้ ประเทศจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามได้ลดภาษีนำเข้าข้าวเหนียว
ซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีต่อเวียดนาม นอกจากนี้ภาคเอกชนได้มีการขยายตลาดส่งออกโดยการไปเจรจาและส่งเสริมการตลาดในหลายประเทศ เช่น ไอวอรี่โคสต์ ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับข้าวเวียดนาม
อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายในตลาดโลกจากมาตรการทางการค้าของหลายประเทศ เช่น มาตรการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยอาหาร เป็นต้น
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากบังกลาเทศและค่าเงินรูปีที่แข็งค่าขึ้น โดยราคาข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ 421-424 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 3 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 418-421 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ค่าเงินรูปีได้แข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบ 30 เดือน
ส่งผลให้ราคาข้าวพุ่งสูงขึ้นสวนทางกับรายได้ของผู้ส่งออกที่ลดลงจากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ไนจีเรีย
นายมูฮัมมาดู บูฮาริ ประธานาธิบดีไนจีเรีย (President Muhammadu Buhari) ประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ไนจีเรียจะยุติการนำเข้าข้าวตั้งแต่ปีนี้ ขณะที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการผลิตข้าวในประเทศ นายบูฮาริ กล่าวว่า จะยุติการนำเข้าข้าวในปีนี้ โดยข้าวที่ผลิตในประเทศที่มีความสดมากกว่าและมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่า จะอยู่บนจานข้าวตั้งแต่นี้ไป เขากล่าวว่า มีความยินดีที่ภาคการเกษตรได้ฟื้นตัวขึ้น ซึ่งเป็นแรงหนุนต่อความพยายามของรัฐบาลในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
นายบูฮาริ กล่าวว่า รัฐบาลประสบความสำเร็จในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและภาคเหมืองแร่ นอกจากนี้ เขายังระบุว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพได้ช่วยหนุนประสิทธิภาพในภาคการผลิต
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,429 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,506 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.11
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,250 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,278 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.19
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,105 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,143 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.32
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ภาวะตลาดสุกรยังคงเงียบเหงา ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าจะเข้าสู่เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งคาดว่าความต้องการบริโภคจะมีมาก แต่จากสภาพอากาศที่เริ่มเย็นลงทำให้สุกรเจริญเติบโตดี ส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.68 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 49.04บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 50.34 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 47.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 49.16 ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 40 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อกาที่มีมากขึ้นในช่วงเทศกาลวันปีใหม่ ส่งผลให้ภาวะตลาดไก่เนื้อค่อนข้างคึกคักและเริ่มคล่องตัว แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.15 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.29 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 37.17 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.49 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไข่ไก่ที่มีมากขึ้นในช่วงเทศกาลวันปีใหม่ ทำให้ภาวะตลาดไข่ไก่เริ่มคึกคัก ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อยราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 252 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 250 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.80 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 277 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 285 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 232 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 241 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 339 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 336 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.89 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 348 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 316 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 367 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 360 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 94.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 93.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.87 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 92.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 95.64 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.09 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 96.45 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 73.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 73.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.15 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.89 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.59 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
อ้อยและน้ำตาล
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศรายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและการผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 จนถึงวันที่ 8 มกราคม 2561 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 26,485,475 ตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 2,461,365 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 1,958,791 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 502,574 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 11.37 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 92.93 กก.ต่อตันอ้อย
ปาล์มน้ำมัน
- สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 0.998
ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.170 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.014 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.172 ล้านตัน ของเดือนธันวาคม 2560 คิดเป็นร้อยละ 1.58 และร้อยละ 1.16 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.93 บาทราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 19.56 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 19.33 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.19
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียเพิ่มสูงขึ้นในรอบ 2 ปี
นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียอาจเพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกและจะปรับตัวลดลงเนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยส่งผลให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งในเดือนธันวาคม 2560 สต็อกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันอยู่ที่ระดับ 2.73 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี ทั้งนี้มาเลเซียได้ออกมาตรการจะระงับภาษีการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบชั่วคราวในขณะเดียวกันคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อโรงงานผู้ผลิตน้ำมันปาล์มดิบ แต่จะส่งผลกระทบต่อโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม สำหรับปี 2561 คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียจะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาต้นปาล์มได้รับปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอจะส่งผลให้ผลผลิตปาล์มน้ำของมาเลเซียและอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 12
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,5577.10 ดอลลาร์มาเลเซีย (21.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,547.01 ดอลลาร์มาเลเซีย (20.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.18
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 686.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22.19 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 686.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22.29 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.02
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
มันสำปะหลัง
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.07 ล้านไร่ ผลผลิต 28.57 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.54 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 30.94 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตลดลงร้อยละ 9.43 และ 7.66 ตามลำดับ ส่วนผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นร้อยละ 2.02 โดยเดือนมกราคม 2561
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.24 ล้านตัน (ร้อยละ 14.84 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2560) ปริมาณ 5.36 ล้านตัน (ร้อยละ 18.72 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดมากขึ้น ประกอบกับบางพื้นที่ฝนตก ส่งผลให้เชื้อแป้งมันสำปะหลังลดต่ำลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.95 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.50
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.54 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 4.59 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.09
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.29 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.28 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.16
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.15 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 212 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 6,770 บาท ราคาสูงขึ้นในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตันละ 7 ดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 105 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 13,892 บาท ราคาสูงขึ้นในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตันละ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 75 บาท