- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 7-13 ตุลาคม 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนตุลาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 2.172 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.04 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.376 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 70.38 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566/67 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67
โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 – 31 มีนาคม 2567 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2567) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4
1.2.2 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง (5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,662 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,612 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,900 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,328 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.14
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 37,750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,650 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,110 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.57
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,107 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,742 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,132 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,714 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.21 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 28 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 513 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,027 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,508 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 519 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 522 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,325 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 515 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,703 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.36 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 622 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.1904 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) อินเดีย
เมื่อช่วงปลายเดือนกันยายน 2567 ที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียได้ปรับลดภาษีส่งออกข้าวบางชนิด ซึ่งรวมถึงข้าวนึ่งลงเหลือร้อยละ 10 และอนุญาตให้ส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติได้อีกครั้ง (หลังจากที่มีการประกาศห้ามส่งออกตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2566) โดยไม่มีภาษีส่งออก แต่กำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำไว้ที่ตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 16,263 บาท) ซึ่งทำให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวชะลอการซื้อข้าวและมีการทบทวนแผนการตลาดใหม่ โดยประเมินจากภาวะอุปสงค์และอุปทานข้าวในตลาด ส่งผลให้ราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 494 - 498 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 16,396 - 16,529 บาท) ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 และลดลงจากตันละ 528 - 534 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 17,525 - 17,724 บาท) เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่ราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 490 - 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 16,263 - 16,429 บาท)
นาย B.V. Krishna Rao ประธานสมาคมผู้ส่งออกข้าวของอินเดีย กล่าวว่า ราคาข้าวปรับตัวลดลงมาก เนื่องจากมีการปรับลดภาษีส่งออกลง แต่ประเทศผู้นำเข้ายังคงรอดูสถานการณ์และรอให้สถานการณ์ในตลาดสงบลง นอกจากนี้ สำนักข่าว The Economic Times รายงานว่า ผู้นําเข้าและผู้บริโภคในแอฟริกาใต้รู้สึกคลายกังวลที่อินเดียยกเลิกมาตรการดังกล่าว โดยคาดว่าการผ่อนปรนข้อจำกัดการส่งออกนี้จะทำให้ราคาข้าวโลกมีเสถียรภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการข้าวของภูมิภาคแอฟริกาใต้ที่มีประมาณ 10 ล้านตันต่อปี ทั้งนี้ คาดว่าอินเดียจะกลับมาเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ไปยังแอฟริกาใต้อีกครั้ง
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.1904 บาท
2) ญี่ปุ่น
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว รายงานว่า ญี่ปุ่นมีความต้องการข้าวนำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากการขาดแคลนข้าวในประเทศญี่ปุ่นและข้าวมีราคาสูงขึ้น ซึ่งในปัจจุบันญี่ปุ่นนำเข้าข้าวในรูปข้าวกล้องตามโควตาการนําเข้าขั้นต่ำ (Minimum Access: MA) จำนวน 770,000 ตันต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปหรือใช้สำหรับความช่วยเหลือระหว่างประเทศ โดยในจำนวนนี้ มีโควตาสำหรับการบริโภคเป็นอาหารอยู่ที่ 100,000 ตัน จากการประมูลนำเข้าข้าวรูปแบบสัญญาซื้อขายพร้อมกัน(Simultaneous Buy & Sell: SBS) ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมาก
ในการประมูลข้าวแบบ SBS ครั้งแรกของปีงบประมาณ 2567 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 มีการยื่นขอซื้อข้าวสูงถึง 75,732 ตัน จากโควตาที่กำหนดในการประมูลครั้งนี้ จำนวน 25,000 ตัน ซึ่งแสดงถึงอัตราการแข่งขันที่มากกว่าปกติถึง 3 เท่า หากเทียบกับการประมูลครั้งแรกของปีงบประมาณ 2566 ที่มีอัตราการแข่งขันเพียง 1.1 เท่า ความต้องการข้าวที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาขายของรัฐบาลสูงขึ้นจากตันละ 263,245 เยน (ตันละ 58,177 บาท) (ไม่รวมภาษี) ในปี 2565 เป็นตันละ 328,690 เยน (ตันละ 72,640 บาท) หรือสูงขึ้นร้อยละ 12 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตาม รายประเทศ ข้าวเมล็ดกลางที่นำเข้ามาเพื่อทดแทนข้าวในประเทศ ปรากฏว่า ข้าวสหรัฐฯ มีราคาสูงขึ้นจากตันละ 63,834 เยน (ตันละ 14,107 บาท) ในปี 2566 เป็นตันละ 294,205 เยน (ตันละ 65,019 บาท) ในปี 2567 ส่วนข้าวออสเตรเลียอยู่ที่ตันละ 285,201 เยน (ตันละ 63,029 บาท) ซึ่งข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศจะนำมาใช้ผสมกับ ข้าวที่ผลิตในประเทศเพื่อจำหน่ายอีกครั้ง นอกจากนี้ ข้าวเมล็ดยาวจากไทยที่นิยมใช้ในร้านอาหารไทยและเวียดนาม มีความต้องการสูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ราคาขายข้าวไทยปรับสูงขึ้นเป็นตันละ 337,866 เยน (ตันละ 74,668 บาท)
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เยน เท่ากับ 0.2210 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนตุลาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 2.172 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.04 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.376 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 70.38 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566/67 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67
โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 – 31 มีนาคม 2567 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2567) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4
1.2.2 โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง (5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,662 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,612 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,900 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,328 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.14
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 37,750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,650 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,110 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.57
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,107 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,742 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,132 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,714 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.21 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 28 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 513 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,027 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,508 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 519 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 522 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,325 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 515 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,703 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.36 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 622 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.1904 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) อินเดีย
เมื่อช่วงปลายเดือนกันยายน 2567 ที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียได้ปรับลดภาษีส่งออกข้าวบางชนิด ซึ่งรวมถึงข้าวนึ่งลงเหลือร้อยละ 10 และอนุญาตให้ส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติได้อีกครั้ง (หลังจากที่มีการประกาศห้ามส่งออกตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2566) โดยไม่มีภาษีส่งออก แต่กำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำไว้ที่ตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 16,263 บาท) ซึ่งทำให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวชะลอการซื้อข้าวและมีการทบทวนแผนการตลาดใหม่ โดยประเมินจากภาวะอุปสงค์และอุปทานข้าวในตลาด ส่งผลให้ราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 494 - 498 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 16,396 - 16,529 บาท) ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 และลดลงจากตันละ 528 - 534 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 17,525 - 17,724 บาท) เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่ราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 490 - 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 16,263 - 16,429 บาท)
นาย B.V. Krishna Rao ประธานสมาคมผู้ส่งออกข้าวของอินเดีย กล่าวว่า ราคาข้าวปรับตัวลดลงมาก เนื่องจากมีการปรับลดภาษีส่งออกลง แต่ประเทศผู้นำเข้ายังคงรอดูสถานการณ์และรอให้สถานการณ์ในตลาดสงบลง นอกจากนี้ สำนักข่าว The Economic Times รายงานว่า ผู้นําเข้าและผู้บริโภคในแอฟริกาใต้รู้สึกคลายกังวลที่อินเดียยกเลิกมาตรการดังกล่าว โดยคาดว่าการผ่อนปรนข้อจำกัดการส่งออกนี้จะทำให้ราคาข้าวโลกมีเสถียรภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการข้าวของภูมิภาคแอฟริกาใต้ที่มีประมาณ 10 ล้านตันต่อปี ทั้งนี้ คาดว่าอินเดียจะกลับมาเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ไปยังแอฟริกาใต้อีกครั้ง
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.1904 บาท
2) ญี่ปุ่น
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว รายงานว่า ญี่ปุ่นมีความต้องการข้าวนำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากการขาดแคลนข้าวในประเทศญี่ปุ่นและข้าวมีราคาสูงขึ้น ซึ่งในปัจจุบันญี่ปุ่นนำเข้าข้าวในรูปข้าวกล้องตามโควตาการนําเข้าขั้นต่ำ (Minimum Access: MA) จำนวน 770,000 ตันต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปหรือใช้สำหรับความช่วยเหลือระหว่างประเทศ โดยในจำนวนนี้ มีโควตาสำหรับการบริโภคเป็นอาหารอยู่ที่ 100,000 ตัน จากการประมูลนำเข้าข้าวรูปแบบสัญญาซื้อขายพร้อมกัน(Simultaneous Buy & Sell: SBS) ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมาก
ในการประมูลข้าวแบบ SBS ครั้งแรกของปีงบประมาณ 2567 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 มีการยื่นขอซื้อข้าวสูงถึง 75,732 ตัน จากโควตาที่กำหนดในการประมูลครั้งนี้ จำนวน 25,000 ตัน ซึ่งแสดงถึงอัตราการแข่งขันที่มากกว่าปกติถึง 3 เท่า หากเทียบกับการประมูลครั้งแรกของปีงบประมาณ 2566 ที่มีอัตราการแข่งขันเพียง 1.1 เท่า ความต้องการข้าวที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาขายของรัฐบาลสูงขึ้นจากตันละ 263,245 เยน (ตันละ 58,177 บาท) (ไม่รวมภาษี) ในปี 2565 เป็นตันละ 328,690 เยน (ตันละ 72,640 บาท) หรือสูงขึ้นร้อยละ 12 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตาม รายประเทศ ข้าวเมล็ดกลางที่นำเข้ามาเพื่อทดแทนข้าวในประเทศ ปรากฏว่า ข้าวสหรัฐฯ มีราคาสูงขึ้นจากตันละ 63,834 เยน (ตันละ 14,107 บาท) ในปี 2566 เป็นตันละ 294,205 เยน (ตันละ 65,019 บาท) ในปี 2567 ส่วนข้าวออสเตรเลียอยู่ที่ตันละ 285,201 เยน (ตันละ 63,029 บาท) ซึ่งข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศจะนำมาใช้ผสมกับ ข้าวที่ผลิตในประเทศเพื่อจำหน่ายอีกครั้ง นอกจากนี้ ข้าวเมล็ดยาวจากไทยที่นิยมใช้ในร้านอาหารไทยและเวียดนาม มีความต้องการสูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ราคาขายข้าวไทยปรับสูงขึ้นเป็นตันละ 337,866 เยน (ตันละ 74,668 บาท)
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เยน เท่ากับ 0.2210 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.95 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.64 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.10 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.64
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.03 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 301.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,004.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 312.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,127.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.53 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 123.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 420.00 เซนต์ (5,560.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 428.00 เซนต์ (5,533.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.87 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 27.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน
และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.14 ร้อยละ 12.52 และร้อยละ 3.69 ตามลำดับ โดยเดือน กันยายน 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.66 ล้านตัน (ร้อยละ 2.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.36 ล้านตัน (ร้อยละ 57.36 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มาก สำหรับราคาหัวมันสำปะหลังสด มีแนวโน้ม ลดต่ำลง เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ความต้องการของผู้ประกอบการลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.03 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.07 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.93
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.80 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.67 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.29
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ6.81 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.92 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.59
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 16.60 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.51
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 240.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,020 บาทต่อตัน) ราคา ลดลงจาก ตันละ 241.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,850 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.41
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 494.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,500 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจาก ตันละ 502.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,350 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.59
ปาล์มน้ำมัน
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.113 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.200 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.291 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.233 ล้านตันของเดือนกันยายน คิดเป็นร้อยละ 13.79 และร้อยละ 14.16 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 6.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.56 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.42
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 37.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.25 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.32
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,350.10 ริงกิตมาเลเซีย (34.46 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,226.24 ริงกิตมาเลเซีย (33.56 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.93
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,303.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (43.80 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,280.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (42.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.84
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- บริษัท Shree Renuka Sugars คาดว่า ผลผลิตอ้อยในประเทศของอินเดียปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 - 8 อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในอุตสาหกรรม เชื่อว่า ผลผลิตน้ำตาลในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) อาจลดลงเหลือ
9.00 - 10.20 ล้านตัน จาก 11.00 ล้านตันในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ รัฐบาลอินเดียอาจปรับเพิ่มโควตาการขายน้ำตาล
ในประเทศเดือนตุลาคม 2567 จากปัจจุบันที่กำหนดไว้ 2.55 ล้านตัน เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับโควตาการขายน้ำตาลของปีก่อนหน้า
- หน่วยบริการด้านการเกษตรต่างประเทศ (FAS) ภายใต้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ได้ปรับลดประมาณการปริมาณผลผลิตอ้อยในภาคกลาง - ใต้ของบราซิลในปี 2567/2568 ลงร้อยละ 2 เหลือ 590 ล้านตัน โดยปริมาณอ้อยที่หายไปจะถูกชดเชยด้วยการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกอ้อยในภาคเหนือ – ตะวันออกเฉียงเหนือ
อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตน้ำตาลของบราซิลถูกปรับลดจาก 44 ล้านตัน เหลือ 43 ล้านตัน เนื่องจากคุณภาพของอ้อยที่นำไปผลิตน้ำตาลลดลง
- ประธานบริษัท Datagro แสดงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับโรคก้านเหี่ยวในอ้อย ที่ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลต่อตันอ้อยลดลง และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปริมาณอ้อยที่ใช้ผลิตน้ำตาลในฤดูกาลนี้ลดลงเช่นกัน
ด้านบริษัทที่ปรึกษา Safras & Mercado คาดการณ์ว่า พื้นที่เพาะปลูกอ้อยของบราซิลกว่า 540,000 เฮกตาร์
จะได้รับผลกระทบจากไฟป่า ก่อนจะมีปริมาณน้ำฝนมากขึ้นช่วงกลางเดือนตุลาคม 2567 ในพื้นที่ภาคกลาง - ใต้ ขณะที่นักวิเคราะห์ตลาด Novacana คาดการณ์ว่า ผลผลิตอ้อยในภาคกลาง - ใต้ของบราซิลฤดูกาลผลิตปี 2568/2569 จะอยู่ระหว่าง 581 – 620 ล้านตัน
(ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
- ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- บริษัท Shree Renuka Sugars คาดว่า ผลผลิตอ้อยในประเทศของอินเดียปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 - 8 อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในอุตสาหกรรม เชื่อว่า ผลผลิตน้ำตาลในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) อาจลดลงเหลือ
9.00 - 10.20 ล้านตัน จาก 11.00 ล้านตันในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ รัฐบาลอินเดียอาจปรับเพิ่มโควตาการขายน้ำตาล
ในประเทศเดือนตุลาคม 2567 จากปัจจุบันที่กำหนดไว้ 2.55 ล้านตัน เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับโควตาการขายน้ำตาลของปีก่อนหน้า
- หน่วยบริการด้านการเกษตรต่างประเทศ (FAS) ภายใต้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ได้ปรับลดประมาณการปริมาณผลผลิตอ้อยในภาคกลาง - ใต้ของบราซิลในปี 2567/2568 ลงร้อยละ 2 เหลือ 590 ล้านตัน โดยปริมาณอ้อยที่หายไปจะถูกชดเชยด้วยการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกอ้อยในภาคเหนือ – ตะวันออกเฉียงเหนือ
อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตน้ำตาลของบราซิลถูกปรับลดจาก 44 ล้านตัน เหลือ 43 ล้านตัน เนื่องจากคุณภาพของอ้อยที่นำไปผลิตน้ำตาลลดลง
- ประธานบริษัท Datagro แสดงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับโรคก้านเหี่ยวในอ้อย ที่ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลต่อตันอ้อยลดลง และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปริมาณอ้อยที่ใช้ผลิตน้ำตาลในฤดูกาลนี้ลดลงเช่นกัน
ด้านบริษัทที่ปรึกษา Safras & Mercado คาดการณ์ว่า พื้นที่เพาะปลูกอ้อยของบราซิลกว่า 540,000 เฮกตาร์
จะได้รับผลกระทบจากไฟป่า ก่อนจะมีปริมาณน้ำฝนมากขึ้นช่วงกลางเดือนตุลาคม 2567 ในพื้นที่ภาคกลาง - ใต้ ขณะที่นักวิเคราะห์ตลาด Novacana คาดการณ์ว่า ผลผลิตอ้อยในภาคกลาง - ใต้ของบราซิลฤดูกาลผลิตปี 2568/2569 จะอยู่ระหว่าง 581 – 620 ล้านตัน
(ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,018.08 เซนต์ (12.57 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,050.76 เซนต์ (12.68 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.11
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 320.98 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.78 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 339.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.54
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 43.70 เซนต์ (32.36 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 43.77 เซนต์ (31.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.16
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,018.08 เซนต์ (12.57 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,050.76 เซนต์ (12.68 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.11
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 320.98 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.78 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 339.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.54
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 43.70 เซนต์ (32.36 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 43.77 เซนต์ (31.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.16
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.20 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71.
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.80 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.30
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1055.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1081.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.40 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 873.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 901.40 ดอลลาร์สหรัฐ (29.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.08 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.24 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,571.40 ดอลลาร์สหรัฐ (52.16 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,610.00 ดอลลาร์สหรัฐ (52.22 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.40 และเลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1055.6 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1106.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.90 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.63 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.86 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 928.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.81 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 951.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.42 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.35 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.01 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,987 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,989 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.10
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,507 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.21 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.77 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.87 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.49 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.93 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.48 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.76 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.89 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.50 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท ลดลงจากตัวละ 17.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.58 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 381 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 379 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 370 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 395 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 424 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 420 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 448 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 427 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 403 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 438 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 510 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.42 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.70 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.54 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.09 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.11 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.46 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.21 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.77 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.87 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.49 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.93 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.48 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.76 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.89 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.50 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท ลดลงจากตัวละ 17.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.58 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 381 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 379 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 370 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 395 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 424 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 420 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 448 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 427 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 403 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 438 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 510 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.42 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.70 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.54 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.09 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.11 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.46 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 7 – 13 ตุลาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 63.42 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.92 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.63 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.46 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 74.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 12.28 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 31.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.60 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.40 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 26.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.60 บาท
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 7 – 13 ตุลาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 63.42 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.92 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.63 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.46 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 74.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 12.28 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 31.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.60 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.40 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 26.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.60 บาท