สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 12-18 สิงหาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนสิงหาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 1.911 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 7.07 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน    ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนสิงหาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.016 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม 2567 อีก 0.020 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.33 ของผลผลิต      ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,189 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,113 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,715 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,774 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,450 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,170 ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82   
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 18,750 บาท ราคาลดลงจากตันละ 18,850 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 969 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,729 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 935 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,852 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.64 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 877 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 586 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,397 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 580 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,379 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 18 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 589 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,502 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 583 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,484 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 18 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.8079 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมข้าวไทยอยู่ในภาวะวิกฤต ข้าวพื้นเมืองหลายสายพันธุ์อาจสูญพันธุ์ไป เช่น ข้าวหอมปทุมธานี และข้าว กข79 ที่ปัจจุบันมีผลผลิตลดลงมาก เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกข้าวพันธุ์พื้นนุ่มของเวียดนาม โดยเฉพาะข้าวหอมพวงหรือข้าวหอมมะลิเวียดนาม    ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงถึง 1,200 – 1,500 กิโลกรัม ใช้ระยะเวลาปลูกสั้นเพียง 90 – 100 วัน สามารถปลูกและขายได้ตลอดทั้งปี ทนทานต่อโรคและศัตรูพืช นอกจากนี้ ข้าวพันธุ์พื้นนุ่มของเวียดนามยังมีหลายสายพันธุ์ตรงกับความต้องการของตลาดโลก ในขณะที่ข้าวหอมปทุมธานีให้ผลผลิตต่อไร่ 800 – 900 กิโลกรัม ใช้เวลาปลูกนานถึง 4 เดือน อีกทั้งมีความอ่อนแอและไม่ทนทานต่อศัตรูพืช เกษตรกรจึงปลูกข้าวหอมปทุมฯ ลดลง สำหรับข้าวหอมมะลิ คาดว่า     อีกไม่นานเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะปลูกลดลงและหันไปปลูกข้าวขาวแทน เนื่องจากข้าวหอมมะลิให้ผลผลิตต่อไร่เพียง 350 – 400 กิโลกรัม ปลูกได้ปีละ 1 ครั้ง ขณะที่ข้าวขาวให้ผลผลิตต่อไร่ 600 – 800 กิโลกรัม สามารถปลูกและขายได้ปีละ 2 ครั้ง และในอนาคตคาดว่าเกษตรกรไทยจะหันไปปลูกข้าวทุกสายพันธุ์ของเวียดนามและจีน เพราะรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศกำลังมุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมข้าวและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ มีข้าวสายพันธุ์ดีและหลากหลายตรงกับความต้องการของแต่ละตลาด ซึ่งจะยิ่งทำให้ข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองของไทยหายไป และอาจส่งผลให้ไทยกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 3 ของโลก โดยอินเดียเป็นอันดับ 1 เวียดนามอันดับ 2 และจากนั้นจีนอาจเป็นผู้ส่งออกอันดับ 3 แทนเพราะไทยที่ไม่มีสินค้าข้าวใหม่ๆ
ทั้งนี้ ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยควรเร่งพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ๆที่ตรงกับความต้องการของตลาดให้มากขึ้น และให้ผลผลิตต่อไร่สูง ต้านทานโรค เพื่อลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งการแก้ไขกฎหมายที่อนุญาตให้นำพันธุ์ข้าวจากต่างประเทศมาศึกษา วิจัย และพัฒนาร่วมกับสายพันธุ์ข้าวไทย เพราะกฎหมายดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวไทย ตลอดจนการพัฒนาแหล่งชลประทาน
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
2) จีน
จีนมีโอกาสกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกในอนาคต โดยในปี 2566 จีนเป็นผู้ส่งออกอันดับ 8 ของโลก ที่ปริมาณ 1.6 ล้านตัน ซึ่งปัจจุบันจีนได้นำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาการเพาะปลูกข้าวมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่ชลประทานทำให้หลายพื้นที่ในจีนเริ่มปลูกข้าวได้ ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่นิยมบริโภคข้าวที่ผลผลิตในประเทศมากกว่าข้าวที่นำเข้าเพราะมีราคาถูกกว่า รวมทั้งปริมาณสต็อกข้าวในประเทศสูงถึง 100 – 120 ล้านตัน ซึ่งมีปริมาณมากที่สุดจากอดีตที่มีสต็อกเพียง 30 ล้านตัน หากรัฐบาลจีนมีนโยบายส่งเสริมที่ดีและมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้จีนกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกได้
สำหรับการผลิต ในปี 2568 คาดว่าจีนจะมีปริมาณผลผลิต 146 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่มีปริมาณ 144.6 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ถือเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก รองลงมา ได้แก่ อินเดีย มีปริมาณ 138 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่มีปริมาณ 177.0 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 บังกลาเทศ 38 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่มีปริมาณ 37 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 อินโดนีเซีย 34 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่มีปริมาณ 33 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ส่วนเวียดนามและไทยทรงตัวที่ 27 ล้านตัน และ 20.1 ล้านตัน ตามลำดับ
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.18 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.97 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.34 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.72 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  12.08 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 352.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,235.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 348.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,213.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.15 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 22.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 377.00 เซนต์ (5,236.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 384.00 เซนต์ (5,370.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.82 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 134.00 บาท

 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.883 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน
และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.20 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ โดยเดือน สิงหาคม 2567   คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.53 ล้านตัน (ร้อยละ 1.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.72 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย หัวมันสำปะหลังมีคุณภาพเพิ่มขึ้นเนื่องจากเปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งสูง สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.82 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.82
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.09 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.20 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.77
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.94 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.75
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.79 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 17.90 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.61
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 242.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,520 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 244.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,660 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.82
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 517.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,170 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (18,340 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกรกฎาคมจะมีประมาณ 1.524 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.274 ล้านตัน
ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.893 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.341 ล้านตัน ของเดือนมิถุนายน คิดเป็นร้อยละ 19.49 และร้อยละ 19.65 ตามลำดับ   
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 5.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.07 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.06
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 33.16 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.22 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ  
ราคาในตลาดต่างประเทศ

ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,000.95 ริงกิตมาเลเซีย (31.57 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,015.02 ริงกิตมาเลเซีย (31.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.35
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,064.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,014.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.93           
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
 
 1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
         - ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - บริษัทที่ปรึกษา Archer Consulting เชื่อว่าสถานะของกลุ่มกองทุนและนักเก็งกำไรมีแนวโน้มที่จะเข้าซื้อน้ำตาลคืนจากตลาดเพื่อปิดบัญชีตั๋วขาย (Short Covering) เนื่องจากกลุ่มกองทุนและนักเก็งกำไรประเมินถึงผลผลิตของบราซิลที่คาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น โดย Archer Consulting กล่าวว่า ภาพรวมในตลาดส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าปี 2567/2568 ในภาคกลาง – ใต้ของบราซิลจะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบที่ประมาณ 605 ล้านตัน
แต่ปริมาณผลผลิตอาจลดลงเหลือที่ประมาณ 586 ล้านตัน หากสภาพอากาศในหนึ่งเดือนข้างหน้ายังคงมีความแห้งแล้ง และกล่าวเสริมว่า กลุ่มผู้สังเกตการณ์ตลาดได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ปริมาณผลผลิตในภาคกลาง –ใต้
ของบราซิล รวมถึงยังคงต้องติดตามรายงานของ Unica ในช่วงครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคม 2567 ที่คาดว่าจะสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตอ้อยในภาคกลาง – ใต้ของบราซิลได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น
          - สำนักงานกำกับดูแลน้ำตาล (SRA) ของประเทศฟิลิปปินส์มีคำสั่งลงวันที่ 8 สิงหาคม 2567 อนุญาตให้นำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์จำนวน 240,000 ตัน โดยการนำเข้าน้ำตาลจำนวนดังกล่าวคาดว่าจะเข้าสู่ฟิลิปปินส์ในช่วงประมาณกลางเดือนกันยายน 2567 และจะถูกจัดประเภทเป็นน้ำตาลสำรองภายในประเทศ โดย SRA คาดการณ์ว่า การเปิดหีบของฟิลิปปินส์จะเริ่มต้นล่าช้า เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) ทำให้อ้อยเกิดความเสียหาย ด้านสมาคมสหพันธ์แรงงานของฟิลิปปินส์ เรียกร้องว่า สมาคมสหพันธ์แรงงานจำเป็นต้องได้มีส่วนร่วมอยู่ในการอภิปรายของคณะผู้มีส่วนได้เสียของอุตสาหกรรมน้ำตาล
          - กลุ่มผู้ค้าน้ำตาลของประเทศอินเดีย คาดการณ์ว่า การปรับขึ้นราคาเอทานอลจะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำตาลภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม หากมีการยกเลิกข้อจำกัดด้านการนำน้ำตาลไปผลิตเอทานอลอาจสนับสนุนราคาน้ำตาลภายในประเทศของอินเดียให้ปรับตัวสูงขึ้นได้ ด้านประธานโรงงานน้ำตาล Balrampur Chini Mills กล่าวว่า รัฐบาลอินเดียอาจขึ้นราคาเอทานอล และยกเลิกข้อจำกัดการนำน้ำตาลไปผลิตเอทานอลสำหรับปี 2567/2568 และคาดการณ์ว่า อุปทานน้ำตาลของอินเดียยังคงมีเพียงพอเพื่อรักษาระดับราคาน้ำตาลภายในประเทศให้คงที่ โดยกล่าวเสริมว่า อินเดียน่าจะมีน้ำตาลส่วนเกิน (Surplus) เพียงพอที่จะส่งออกได้ 2 ล้านตัน ในปีหน้า แม้จะมีการนำน้ำตาลไปใช้ผลิตเป็นเอทานอลแล้ว 4.00 - 4.50 ล้านตัน




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 974.12 เซนต์ (12.61 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,026.08 เซนต์ (13.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.06
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 311.36 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.97 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 342.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 40.35 เซนต์ (31.33 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 41.85 เซนต์ (32.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.51


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1006.75 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ996.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 862.25 ดอลลาร์สหรัฐ (30.01 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 853.40 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,498.50 ดอลลาร์สหรัฐ (52.16 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,483.00 ดอลลาร์สหรัฐ (52.11 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.05 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.54 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1122.75 ดอลลาร์สหรัฐ (39.08 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1110.06 ดอลลาร์สหรัฐ (39.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.09 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 885.25 ดอลลาร์สหรัฐ (30.81 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 876.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.21 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.55 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.98 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 21.04
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,147 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,018 บาทคิดเป็นร้อยละ 6.39 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,611 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,489 บาทคิดเป็นร้อยละ 8.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 955 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภคที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว        
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  69.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.28 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.84 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.96 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.17 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 71.88 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.09 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.75 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50  บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลง โดยลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 378 บาท  ลดลงจากร้อยฟองละ 382 คิดเป็นร้อยละ 1.05 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 364 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 395 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 417 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 422  คิดเป็นร้อยละ 1.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 439 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 432 บาท 
ภาคกลางร้อยฟองละ 385 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 500 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.13 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 81.65 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 93.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 70.36 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.07 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.11 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 58.41 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.27 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.91 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 12 – 18 สิงหาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.85 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 61.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.12 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา         
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.77 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.23 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา         
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.26 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 128.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.15 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 132.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.10 บาท ราคาสูงขึ้น
จากกิโลกรัมละ 68.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.49 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 9.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.08 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.25 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 34.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.75 บาท
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.25 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 29.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.75 บาท