สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 17-23 มิถุนายน 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ คาดการณ์ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุนไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนมิถุนายน 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.294 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 4.72 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2567 อีก 0.212 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 3.42 ของผลผลิต    ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,988 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,948 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,245 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,203 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน    
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,470 บาท ราคาลดลงจากตันละ 21,510 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 909 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,160 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 908 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,140 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 20 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 632 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,055 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 645 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,541 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.02 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 486 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 616 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,472 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 629 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,957 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.07 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 485 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.4800 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนมิถุนายน 2567 ผลผลิต 527.626 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 520.000 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2566/67 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.47
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีปริมาณผลผลิต 527.626 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.47 การใช้ในประเทศ 526.436 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.73 การส่งออก/นำเข้า 53.829 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก
ปี 2566/67 ร้อยละ 1.45 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 177.984 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.67
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย กัมพูชา บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย อาร์เจนตินา
สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ไทย เวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา กายานา และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล มาเลเซีย แอฟริกาใต้  กินี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เม็กซิโก โมซัมบิก สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น โซมาเลีย เยเมน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อิรัก จีน อินโดนีเซีย บราซิล และเคนยา 
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย ไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา
ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย และบังกลาเทศ
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ รายงานผลการจัดแสดงสินค้าข้าวไทย โดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในงานแสดงสินค้าอาหาร THAIFEX – ANUGA ASIA 2024 ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2567 ทางกรมฯ ได้นําผู้ประกอบการค้าข้าวคุณภาพดีจากหลากหลายจังหวัดที่เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญของไทย เข้าร่วมจัดแสดงและจําหน่ายสินค้าในคูหากรมฯ ซึ่งในปีนี้ข้าวไทยได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้ซื้อและผู้นําเข้าต่างประเทศ เช่น จีน มาเลเซีย ฮ่องกง สิงคโปร์ บังกลาเทศ ฝรั่งเศส แคนาดา ออสเตรเลีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมถึงตลาดใหม่ เช่น มองโกเลีย อุซเบกิสถาน ซาอุดีอาระเบีย และปาเลสไตน์ ทั้งนี้ ยังได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารในไทย โดยได้รับคำสั่งซื้อภายในงานเป็นมูลค่าประมาณ 150 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 56.25 และคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อภายในระยะเวลา 1 ปี มูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 66.67
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสาธิตการทําอาหารจากข้าวไทย ภายใต้แนวคิด “Taste the Authentic Thai Cuisine with Premium Thai Rice” ซึ่งได้รับการตอบรับดีกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ มีผู้เข้าชมทั้งภายในงานและ  ผ่านช่องทางออนไลน์ประมาณ 74,000 ราย โดยการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้าดังกล่าว เป็นการสร้างรายได้และขยายช่องทางการตลาดให้ผู้ประกอบการรายย่อยตามนโยบายของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและแสดงศักยภาพของไทยในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกข้าวคุณภาพของโลก
ที่มา  สำนักข่าวไทยแลนด์พลัส ออนไลน์
2) เมียนมา
สหพันธ์ข้าวเมียนมา (Myanmar Rice Federation: MRF) เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2567 ซึ่งเป็น 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567/68 เมียนมาส่งออกข้าวสารและข้าวหักประมาณ 180,000 ตัน สร้างรายได้ให้กับเมียนมาประมาณ 91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,319.68 ล้านบาท) โดยเดือนเมษายน 2567 ส่งออกข้าวปริมาณ 111,862 ตัน แบ่งเป็นการส่งออกผ่านทางเรือขนส่งสินค้าทางทะเลในปริมาณ 111,462 ตัน และส่งออกผ่านการค้าชายแดนปริมาณ 400 ตัน ส่วนเดือนพฤษภาคม 2567 ส่งออกข้าวปริมาณ 71,279 ตัน แบ่งเป็นการส่งออกผ่านทางเรือขนส่งสินค้าทางทะเลในปริมาณ 70,751 ตัน และส่งออกผ่านการค้าชายแดน 528 ตัน
ทั้งนี้ MRF กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีงบประมาณ 2566/67 (เมษายน 2566 - มีนาคม 2567) เมียนมาส่งออกข้าวสารและข้าวหักได้ประมาณ 1.6 ล้านตัน มีมูลค่าประมาณ 845 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 30,825.60 ล้านบาท) และในปีงบประมาณ 2567/68 (เมษายน 2567 - มีนาคม 2568) MRF ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวไว้ที่ 2.5 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 36,480.00 ล้านบาท)
ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ , สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.4800 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.80 บาท
สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.49 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.65 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 10.37
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  12.32 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 342.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,491.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 337.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,314.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 177.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2567/68 มีปริมาณ 1,222.16 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,216.65 ล้านตัน ในปี 2566/67 ร้อยละ 0.45 โดย สหรัฐอเมริกา จีน บราซิล สหภาพยุโรป เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และเกาหลีใต้
มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 193.91 ล้านตัน ลดลงจาก 196.09 ล้านตัน ในปี 2566/67 ร้อยละ 1.11 โดย ยูเครน รัสเซีย สหภาพยุโรป ปารากวัย เมียนมา และแคนาดา ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า      เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา ตุรกี ไทย บลาซิล และอินโดนีเซีย มีการนำเข้าลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 442.00 เซนต์ (6,422.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 453.00 เซนต์ (6,580.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.43 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 158.00 บาท
 



 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.877 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า
พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.21 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2567   คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.63 ล้านตัน (ร้อยละ 2.35 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.71 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย ฝนตกในหลายพื้นที่ทำให้เปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งค่อนข้างต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.93 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.05 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.85
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.16 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.57 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 6.24
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.72 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.58 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.85
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 18.70 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.64
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 235.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,650 บาทต่อตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 230.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,440 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.39
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 541.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,900 บาทต่อตัน)  ราคาลดลงจากตันละ 547.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,080 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.10


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.869 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.336 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 2.255 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.406 ล้านตันของเดือนพฤษภาคม คิดเป็นร้อยละ 17.12 และร้อยละ 17.24 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 4.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.33 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.70
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.88 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.46
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาตลาดล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันพืชคู่แข่ง โดยมีราคาซื้อขายอ้างอิง เดือนกันยายน ตลาดเบอร์ซามาเลเซีย อยู่ที่ตันละ 3,929 ริงกิต ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนริงกิตมาเลเซียที่แข็งค่าขึ้นทำให้ราคาซื้อขายล่วงหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,948.72 ริงกิตมาเลเซีย (31.19 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,955.70 ริงกิตมาเลเซีย (31.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.18  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,035.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.19 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,023.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.12
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
           - Czarnikow ปรับคาดการณ์ผลผลิตน้ำตาลโลกปี 2567/2568 เป็น 186.5 ล้านตัน ซึ่งต่ำกว่าประมาณการครั้งก่อนเล็กน้อย แต่ยังคงเพิ่มขึ้นจากปี 2566/2567 เป็นผลมาจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นของบราซิล และการฟื้นตัวของผลผลิตในสหภาพยุโรปและไทย ส่งผลให้มีน้ำตาลโลกส่วนเกิน (Surplus) อยู่ที่ 5.5 ล้านเมตริกตัน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการปรับคาดการณ์ผลผลิตต่ำกว่าครั้งก่อนหน้า แต่การบริโภคน้ำตาลทั่วโลกจะยังคงมีปริมาณมากกว่า 180 ล้านตัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องของการบริโภค อันเนื่องมาจากการขยายตัวของประชากรโลก (ที่มา: chinimandi, ISO)
           - Jalles Machado ผู้ผลิตน้ำตาลและเอทานอลของบราซิล คาดการณ์ว่า ปริมาณการหีบอ้อยในปี 2567/2568 ของบริษัท จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับฤดูกาลก่อนหน้า ซึ่งจะเน้นการผลิตน้ำตาลมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถหีบอ้อยได้ 8.23 ​​ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจาก 7.35 ล้านตัน ในปี 2566/2567 โดยมีแผนจัดสรรอ้อยสำหรับผลิตน้ำตาลที่ ร้อยละ 50.60 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 37.50 ในปี 2566/2567 ในขณะที่การผลิตเอทานอลมีแนวโน้มจะลดลงเหลือร้อยละ 49.40 จากร้อยละ 62.50 ในปี 2566/2567 ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานของนักวิเคราะห์ตลาด ที่คาดการณ์ว่า โรงงานน้ำตาลในบราซิลจะให้ความสำคัญกับสัดส่วนการนำอ้อยไปผลิตน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความสามารถในการทำกำไรของการผลิตน้ำตาลที่มากกว่าเอทานอล (ที่มา: chinimandi)




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 22.75 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,161.80 เซนต์ (15.75 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,182.48 เซนต์ (16.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.75
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 361.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.32 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 364.84 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.47 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.03
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 43.99 เซนต์ (35.78 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 43.73 เซนต์ (35.58 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.59


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 960.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 959.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.52 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.49 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 822.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 821.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.43 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,401.80 ดอลลาร์สหรัฐ (51.14 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,400.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.71 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1070.80 ดอลลาร์สหรัฐ (39.06 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1069.80 ดอลลาร์สหรัฐ (39.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.54 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 844.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.80 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 843.80 ดอลลาร์สหรัฐ (31.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07 และลดลงสัปดาห์ก่อนในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.44 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.93 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.86
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,144 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,164 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,616 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 971 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว        
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  68.78 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.91 คิดเป็นร้อยละ 0.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.08 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.11 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 72.60 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภคที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.07 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.04 คิดเป็นร้อยละ 0.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.72 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากสถานศึกษาทยอยเปิดภาคเรียน แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 374 บาท  สูงขึ้นจากร้อยฟองละ  373 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 362 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 388 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 417 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ  414  บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.72 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 443 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 428 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 386 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 433 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 500 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 84.04 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 84.83 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.93 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.99 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.15บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 60.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.30 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 53.85 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 17 – 23 มิถุนายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.75 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 61.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.57 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.10 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 85.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.94 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.63 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 119.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.62 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.33 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.93 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา