สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 13-19 พฤศจิกายน 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.838 ล้านไร่ ผลผลิต 26.712 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 425 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.555 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.75 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 22.938 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 89.71 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 2.631 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 10.29 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.099 ล้านไร่ ผลผลิต 7.199 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตต่อไร่ 649 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 11.01 ร้อยละ 11.78 และร้อยละ 0.92 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.260 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 67.08
ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบในหลักการโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,246 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,594 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.56
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,485 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,137 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.62
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 28,770 บาท ราคาลดลงจากตันละ 28,850 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 18,870 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 18,830 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21           
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 824 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,194 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 853 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,116 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.40 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 922 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 583 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,655 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (20,584 บาท/ตัน) แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 71 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 577 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,443 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (20,372 บาท/ตัน) แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 71 บาท
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.4295 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 ผลผลิต 518.136 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 513.684 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2565/66 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีปริมาณผลผลิต 518.136 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.87 การใช้ในประเทศ 525.160 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.72 การส่งออก/นำเข้า 52.848 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.86 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 167.420 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 4.21
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่  ออสเตรเลีย บราซิล เมียนมา กัมพูชา จีน ปากีสถาน ตุรกี อุรุกวัย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา อินเดีย ปารากวัย ไทย และเวียดนาม
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังกลาเทศ จีน เอธิโอเปีย อิหร่าน มาเลเซีย เม็กซิโก เนปาล ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหราชอาณาจักร ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บราซิล กานา อินโดนีเซีย เคนยา ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย ไนจีเรีย และญี่ปุ่น
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
คณะผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (Ministry of Industry and Trade: MOIT)     นำโดย นาย Tran Quoc Toan รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และตัวแทนผู้ประกอบการส่งออกข้าวเวียดนาม จำนวน 19 ราย เดินทางเยือนกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เพื่อส่งเสริมการค้าข้าวเวียดนามในตลาดจีนที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และติดอันดับหนึ่งในห้าประเทศที่จีนให้ความสำคัญนำเข้าข้าว
โดยเมื่อปี 2565 เวียดนามส่งออกข้าวไปจีน ปริมาณ 834,200 ตัน มูลค่า 423.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 14,994 ล้านบาท) และในปี 2566 (ตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายน) เวียดนามส่งออกข้าวไปจีน ปริมาณ 869,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ร้อยละ 41.10 เนื่องจากเวียดนามสามารถส่งออกข้าวได้หลากหลายพันธุ์ รวมทั้งจีนเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวอันดับ 2 ของเวียดนาม รองจากฟิลิปปินส์ ดังนั้น เวียดนามจึงพยายามปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบ ความต้องการ และตรงกับรสนิยมของผู้บริโภคชาวจีนมากขึ้น
ในการนี้ เพื่อการพัฒนาความมั่นคงและความสัมพันธ์ทางการค้าโดยรวมและการค้าข้าวระหว่างเวียดนามและจีน คณะผู้แทนฯ ของเวียดนามได้ยื่นข้อเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ สมาคม และผู้ประกอบการการเกษตรและอาหารของจีน โดยเฉพาะผู้ประกอบการค้าข้าว นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน  ได้กำหนดแนวทางในการดำเนินการเสริมสร้างความร่วมมือทางการค้า และสร้างช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล        เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และพัฒนาการส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังจีน รวมทั้ง ได้เตรียมการ
ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) เพื่อส่งเสริมการค้าและการส่งออกข้าวระหว่างเวียดนามและจีน โดยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ข้าวของเวียดนามให้เข้าถึงตลาดค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซของจีนให้มากยิ่งขึ้น
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.4295 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.84 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.86 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.09 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.89 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 283.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,019.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 285.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,076.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 57.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2566/67 มีปริมาณ 1,205.03 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,168.20 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 3.15 โดย สหรัฐอเมริกา จีน บราซิล สหภาพยุโรป เม็กซิโก อินเดีย แคนนาดา อียิปต์ ญี่ปุ่น และเวียดนาม มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 197.37 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 180.58 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 9.30 โดย บราซิล สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ยูเครน รัสเซีย สหภาพยุโรป อินเดีย ปารากวัย แอฟริกาใต้ และเซอร์เบีย ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป จีน เม็กซิโก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม อียิปต์ อิหร่าน โคลัมเบีย และซาอุดิอาระเบีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 471.00 เซนต์ (6,620.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 474.00 เซนต์ (6,682.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 62.00 บาท




 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.049 ล้านไร่ ผลผลิต 27.941 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.088 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.350 ล้านไร่ ผลผลิต 30.732 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.287 ตัน
พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เลดลงร้อยละ 3.22 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 6.05 ตามลำดับ โดยเดือนพฤศจิกายน 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.80 ล้านตัน (ร้อยละ 6.45 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 16.45 ล้านตัน (ร้อยละ 58.88 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาด แต่ยังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในระดับสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.93 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.91 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.69
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.28 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.27 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.14
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.81 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.88 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.79
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.96 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.86 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.53
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 280.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,030 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 281.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,990 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 567.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,320 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวที่ตันละ 567.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,180 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤศจิกายนจะมีประมาณ 1.403 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.253 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.507  ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.271 ล้านตันของเดือนตุลาคม 2566
คิดเป็นร้อยละ 6.90 และร้อยละ 6.64 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.04 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.95 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.51
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 33.25 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 32.13 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.49
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินเดียมีการนำเข้าน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 24 อยู่ที่ 9.79 ล้านตัน ในปี 2565/66 เนื่องจากภาครัฐได้ลดภาษีนำเข้าน้ำมันบริโภคเหลือร้อยละ 5.5 ตั้งแต่ปีก่อน เมื่อรวมกับราคาน้ำมันปาล์มที่ปรับตัวลดลง ทำให้ปริมาณความต้องการน้ำมันปาล์มมากขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,853.48 ริงกิตมาเลเซีย (29.70 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,631.85 ริงกิตมาเลเซีย (27.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.10
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 955.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.25 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 924.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.41
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          - ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566  มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ดำเนินการประกาศราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร ตามอำนาจและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามข้อเสนอแนวทางการบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยให้ปรับราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวหน้าโรงงาน จากเดิมกิโลกรัมละ 19.00 บาท เป็นกิโลกรัมละ 21.00 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์หน้าโรงงาน จากเดิมกิโลกรัมละ 20.00 บาท เป็นกิโลกรัมละ 22.00 บาท ทั้งนี้ สำหรับราคาจำหน่ายปลีกเห็นควรให้มีการกำกับดูแลที่เหมาะสม และมีปริมาณที่เพียงพอสำหรับบริโภคภายในประเทศ (ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์)
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
           - นักวิเคราะห์จาก hEDGEpoint กล่าวว่า ฝนที่ตกในช่วงที่ผ่านมาของบราซิล ทำให้การส่งออกน้ำตาลชะลอตัว แต่อาจช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตอ้อยในปี 2567/2568 ได้ นอกจากนี้ โรงงานน้ำตาลต่างๆ ของบราซิลได้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำตาลท่ามกลางราคาเอทานอลที่ตกต่ำ และคาดการณ์ว่า ผลผลิตน้ำตาลของบราซิลอาจสูงถึง 42 ล้านตัน ในปี 2567/2568 โดยมีน้ำตาลจำนวน 33.5 ล้านตัน พร้อมสำหรับการส่งออก ด้านสถาบันวิจัย Cepea รายงานว่า ราคาน้ำตาลทรายขาวที่ส่งออกของรัฐเซาเปาโล (Sao Paulo) ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากโรงงานน้ำตาลต่างๆ ปรับลดราคาลง
           - องค์การน้ำตาลระหว่างประเทศ (ISO) ได้ลดการคาดการณ์น้ำตาลโลกส่วนขาด (Deficit) ในปี 2566/2567 เหลือ 335,000 ตัน ลดลงจากที่คาดไว้ในเดือนสิงหาคม 2566 ที่ 2.11 ล้านตัน เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากบราซิล รวมถึงตัวเลขการบริโภคเพิ่มขึ้นเป็น 180.22 ล้านตัน จาก 176.96 ล้านตัน ด้านประธานของ Raizen บริษัทน้ำตาลขนาดใหญ่ของบราซิล กล่าวว่า บริษัทสามารถเก็บเกี่ยวอ้อยได้มากถึง 85 ล้านตันในปีนี้ อย่างไรก็ตามต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในช่วงเดือนธันวาคม และมีนาคม โดยกล่าวเสริมว่า ปริมาณฝนของบราซิลอาจได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่ (El Nino)
           - รัฐบาลของประเทศอินเดีย รายงานข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 โรงงานในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ได้รับใบอนุญาตในการหีบอ้อยจำนวน 172 โรงงาน จากคำขอทั้งหมด 217 โรงงาน ขณะที่ผลผลิตน้ำตาลของรัฐมหาราษฏระ มีปริมาณสูงถึง 234,300 ตัน ด้านรัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) โรงงานน้ำตาลจำนวน 5 โรง ในอำเภอมีรัท (Meerut) เปิดดำเนินการโดยใช้กำลังการผลิตเพียงร้อยละ 75 – 80 เนื่องจากมีอุปทานอ้อยที่ต่ำ ด้านแหล่งข่าวกล่าวเสริมว่า แรงงานที่เพิ่มขึ้นหลังช่วงเทศกาลดิวาลีจะช่วยเพิ่มอัตราการเก็บเกี่ยวอ้อยได้



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 15.50 บาท ราคาลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 20.95 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,364.40 เซนต์ (17.97 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,339.8 เซนต์ (17.64 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.84
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 466.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.72 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 446.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.39
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 52.20 เซนต์ (41.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 50.30 เซนต์ (39.73 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.78


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.76 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.37 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 14.51
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 988.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 990.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 818.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.99 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 819.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,443.20 ดอลลาร์สหรัฐ (51.13 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,445.40 ดอลลาร์สหรัฐ (51.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 931.80 ดอลลาร์สหรัฐ (33.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 933.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,011.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.83 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,013.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.77 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.53 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 13.99
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.95 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.32
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,040  บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,885  บาท คิดเป็นร้อยละ 8.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,446 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,386 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 921 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 925 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.43 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  64.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.60 คิดเป็นร้อยละ 0.65 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 61.40 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.56 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 65.58 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 65.20 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,600 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 1,500 คิดเป็นร้อยละ 6.67 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.68 คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.13 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.50 คิดเป็นร้อยละ 1.37 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.00 คิดเป็นร้อยละ 1.79 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวลดลงเมื่อเทียบสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 371 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 372  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 353 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 383 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 431 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
 
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 406 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 407 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 411 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 416 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 385 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 432 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 465 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.32 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.96 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 83.67 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 80.07 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 65.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.45 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.05 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 13 - 19 พฤศจิกายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.92 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.55 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.01 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.85 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 126.32 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 121.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.92 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 122.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.80 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.62 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.06 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 41.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท และปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 36.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท