สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 27 มีนาคม-2 เมษายน 2566

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,410 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,363 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,763 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,704 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,150 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,830 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.16
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 837 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,452 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 835 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,335 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 117 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,656 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 477 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,187 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.73 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 469 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,758 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 480 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,289 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.71 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 469 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.9924 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
อินโดนีเซีย
สํานักข่าว Reuters รายงานว่า หน่วยงาน Bulog (the State Logistics Agency) มีแผนที่จะนําเข้าข้าว จํานวนประมาณ 2 ล้านตัน ไปจนถึงเดือนธันวาคมของปี 2566 ซึ่งนาย Awaluddin Iqbal เลขานุการของ Bulog (Bulog's corporate secretary) กล่าวว่า ในระยะแรกจะมีการนําเข้าข้าว จํานวน 500,000 ตัน
ทั้งนี้ การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากสต็อกสํารองของประเทศ (government rice reserves (CBP))
มีปริมาณลดลงจากช่วงต้นปี 2565 ที่มีจํานวนประมาณ 1 ล้านตัน ลดลงเหลือประมาณ 230,000 ตัน ในเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ปลอดภัยที่กฎหมายกําหนดไว้ที่ 1.5 ล้านตัน
ขณะที่สํานักงานอาหารแห่งชาติ (The National Food Agency; NFA or Bapanas) ระบุว่า อุปทานข้าวที่จําเป็นสําหรับการแจกจ่ายเพื่อช่วยเหลือสังคมต้องมีจํานวน 640,000 ตัน สําหรับครัวเรือนมากกว่า 21,000 ครัวเรือน
ซึ่งระดับสต็อกในปัจจุบันถือว่ามีไม่เพียงพอ เนื่องจากสต็อกสํารอง (CBP) ของ Bulog มีเพียงประมาณ 220,000 ตันเท่านั้น
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สํานักข่าว The Jakarta Post รายงานว่า กระทรวงการค้าของอินโดนีเซีย (Indonesia's Trade Ministry) กําลังวางแผนที่จะนําเข้าข้าวอีก 500,000 ตัน ในปี 2566 เพื่อให้เพียงพอกับปริมาณสํารองข้าวของรัฐบาลที่ลดลงหลังจากที่เมื่อปลายปีที่แล้วรัฐบาลได้นําเข้าข้าวจํานวน 500,000 ตัน จากเวียดนาม ไทย และปากีสถานตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้ากล่าวว่า รัฐบาลกําลังพิจารณาเรื่องการนําเข้ามากขึ้น เนื่องจากสต็อกข้าวของหน่วยงาน Bulog (the State Logistics Agency) มีปริมาณลดลงเหลือหนึ่งในสี่ของปริมาณสํารองขั้นต่ำ
(the required minimum reserves) ที่กําหนดที่ 1.2 ล้านตัน ขณะที่นาย Zulkifli Hasan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลจะไม่นําเข้าข้าวในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าวใกล้จะมาถึงแล้ว ซึ่งการนําเข้าข้าวต่างประเทศอาจส่งผลกระทบต่อราคาในประเทศ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับลดลงท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ
ในแถบแอฟริกาที่ลดลง ขณะที่ผู้ซื้อบางส่วนชะลอการซื้อข้าวออกไปก่อนเพื่อรอดูภาวะราคาข้าวที่คาดว่าจะปรับลดลงอีก ส่งผลให้ราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 380-385 ดอลลาร์สหรัฐฯ (เป็นราคาที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมกราคม 2566) ลดลงจากตันละ 382-387 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัปดาห์ก่อน
ผู้ส่งออกรายหนึ่งที่เมือง Kakinada ทางตอนใต้ของรัฐ Andhra Pradesh กล่าวว่า ราคาข้าวของอินเดีย
ได้ปรับฐานลดลงประมาณตันละ 20 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่สินค้าเกษตรทั้งหมดก็ปรับตัวลดลง ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาด้วย ซึ่งทำให้ผู้ซื้อบางส่วนกําลังรอดูว่าราคาข้าวจะปรับลดลงอีกหรือไม่
สํานักข่าว The Hindu Businessline รายงานว่า รัฐบาลอินเดียได้พิจารณาอนุญาตให้มีการส่งออกข้าวหักจํานวน 350,000 ตัน ไปยังประเทศแกมเบียและเซเนกัลได้ ตามคําร้องขอของผู้ส่งออกข้าวที่ต้องการส่งออกข้าวหัก
ไปยังประเทศแกมเบีย จํานวน 100,000 ตัน และประเทศเซเนกัล จํานวน 250,000 ตัน นอกจากนี้รัฐบาลยังอนุญาตให้ส่งออกข้าวหัก จํานวน 9,990 ตัน ไปยังประเทศจิบูติ และเอธิโอเปีย
สําหรับการส่งออกไปยังประเทศแกมเบีย นั้น รัฐบาลได้อนุญาตให้บริษัท Royal Mirage Consultant ส่งออกจํานวน 5,000 ตัน บริษัท Sarala Food Pvt Ltd จํานวน 12,500 ตัน และ บริษัท Laxmi Group of Industries Pvt Ltd จํานวน 2,000 ตัน   ส่วนการส่งออกไปยังประเทศเซเนกัล นั้น รัฐบาลได้อนุญาตให้บริษัท Sarala Foods, Sri Chitra Exports, Manasa Quality Enterprises Ltd., Pattabhi Agro Foods Pvt. Ltd., และ CLRK Industries Pvt. Ltd. ส่งออกได้รายละ 22,500 ตัน รวมเป็น 112,500 ตัน การส่งออกปลายข้าว จํานวน 9,990 ตัน ไปยังประเทศจิบูตี และเอธิโอเปีย นั้น จะดําเนินการโดยบริษัท Ruby Overseas ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเจนไน
ขณะที่ นักวิเคราะห์ในวงการค้า ระบุว่า การส่งออกไปยังประเทศแกมเบีย เซเนกัล และจิบูตี ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์ (the Commerce Ministry) ตามคําขอจากกระทรวงการต่างประเทศ (the Ministry of External Affairs) ซึ่งการส่งออกในครั้งนี้ได้รับการอนุญาตด้วยเหตุผลทางด้านยุทธศาสตร์และการที่มีกระทรวง
การต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง
สํานักข่าว The Hindu Businessline ยังได้รายงานว่า รัฐบาลอียิปต์เตรียมที่จะทําการค้าในรูปของสกุลเงินท้องถิ่น เพื่อลดปัญหาในการชําระเงินด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอียิปต์กําลังมองหาที่จะนําเข้าข้าวอย่างน้อย 150,000 ตัน จากอินเดียผ่านช่องทางการค้าในรูปของเงินสกุลรูปี เนื่องจากอียิปต์กําลังเผชิญกับความยากลําบากในการชําระเงินด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
แหล่งข่าวที่ไม่ประสงค์จะออกนามกล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ อียิปต์ซื้อข้าวจํานวน 2 ลําเรือ โดยชําระเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ต้องประสบปัญหาอย่างมากในการชําระเงิน และยังระบุว่าขณะนี้อียิปต์ต้องการซื้อข้าวอีก 6 ลําเรือ ซึ่งรวมได้ประมาณ 150,000 ตัน และมีความพยายามที่จะชําระเงินด้วยสกุลเงินรูปีของอินเดีย
ทั้งนี้ ความคืบหน้ากรณีดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีอย่างน้อย 19 ประเทศ รวมถึงสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รัสเซีย สิงคโปร์ เยอรมนี นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักร ได้ตกลงที่จะทําการซื้อขายสินค้าในรูปของเงินสกุลรูปี และเลิกใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ สําหรับรูปแบบการทําธุรกรรมข้ามพรมแดน (the cross-border transaction mode)
ซึ่งเกี่ยวกับกรณีนี้นาย BV Krishna Rao ประธานสมาคมผู้ส่งออกข้าวอินเดีย (The Rice Exporters Association (TREA)) กล่าวว่า ผู้ส่งออกยินดีที่จะรับคําสั่งซื้อในรูปของเงินสกุลรูปีหากรัฐบาลเข้ามาช่วยดูแล ทั้งนี้ เนื่องจากการซื้อขายสินค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ผู้ส่งออกจะมีค่า forward premium ในอัตราร้อยละ 0.5-1 ซึ่งมีหลายวิธีที่รัฐบาลสามารถชดเชยให้กับผู้ค้าในเรื่องนี้ได้
อย่างไรก็ตาม นาย Rao กล่าวว่า รัฐบาลควรอํานวยความสะดวกในการทําธุรกรรมการส่งออกในรูปสกุลเงินรูปีเพื่อผลประโยชน์ระยะยาว
ทางด้านนักวิเคราะห์การค้ากล่าวว่า รัฐบาลควรอนุญาตให้มีการค้าข้าวในรูปของสกุลเงินรูปีของอินเดีย
เพื่อสนับสนุนให้มีการค้ากับอียิปต์ ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับอินเดียมายาวนาน และไม่ใช่เฉพาะอียิปต์เท่านั้น
แต่ประเทศในแอฟริกาเหนือทั้งหมดกําลังเผชิญกับปัญหาค่าเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ซึ่งแหล่งข่าวระบุว่า อียิปต์ได้ใช้มาตรการหลายอย่างเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเงินเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ ประเทศอียิปต์ได้เริ่มติดต่อการค้ากับประเทศรัสเซียในรูปของสกุลเงินท้องถิ่น และวางแผนที่จะผูกมัดกับอินเดียและจีนในเรื่องนี้
ซึ่งคาดว่าจะช่วยประหยัดเงินได้อย่างน้อย 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการซื้อขายดังกล่าวกับอินเดีย จีน และรัสเซีย
สํานักข่าว Reuters รายงานว่า จากการที่ฝนตกไม่เป็นไปตามฤดูกาลและพายุลูกเห็บในหลายพื้นที่
ทางตอนเหนือของอินเดีย เช่น รัฐปัญจาบ รัฐอุตตรประเทศ รัฐหรยาณา รวมถึงตอนกลางของรัฐมัธยประเทศ
สร้างความเสียหายต่อพืชผลที่เพาะปลูกในช่วงฤดูหนาว (winter-sown crops) ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ผลผลิตข้าวสาลีของอินเดียถูกภัยธรรมชาติคุกคามเป็นปีที่สองติดต่อกัน เนื่องจากฝนที่ตกหนักในรัฐที่ผลิตข้าวสาลีรายใหญ่ ซึ่งได้สร้างความเสียหายต่อพืชผลที่กําลังใกล้เข้าสู่ระยะเก็บเกี่ยว คาดว่าจะทำให้ผลผลิตลดลงและ
ทําให้เกษตรกรสูญเสียรายได้จากปริมาณผลผลิตที่ลดลง
นอกจากนี้ เกษตรกรยังมีความกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศที่อุณหภูมิปรับสูงขึ้นกะทันหัน ซึ่งกระทบกับ
ต้นข้าวสาลีเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา และตามมาด้วยฝนที่ตกลงมาทําให้เกิดน้ำท่วม ส่งผลให้ลําต้นพืชล้ม
อย่างไรก็ตาม เมื่อปีที่ผ่านมา การผลิตข้าวสาลีของอินเดียได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะคลื่นความร้อน ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการห้ามการส่งออกข้าวสาลีเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีผลผลิตเพียงพอในท้องถิ่นและราคามีเสถียรภาพ ขณะที่พืชผลฤดูหนาวอื่นๆ เช่น ถั่วชิกพี ก็ได้รับผลกระทบจากฝนและพายุลูกเห็บเช่นกัน ซึ่งหน่วยงานของรัฐบาลกําลังประเมินผลกระทบที่มีต่อพืชผลในฤดูหนาว
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
ปากีสถาน
สำนักข่าว Dawn รายงานโดยอ้างข้อมูลที่รวบรวมโดยธนาคารแห่งรัฐของปากีสถาน (the State Bank of Pakistan) ว่า การส่งออกของปากีสถานไปยังตลาดตะวันออกกลางในช่วง 8 เดือนแรก (เดือนกรกฎาคม 2565- กุมภาพันธ์ 2566) ของปีงบประมาณ 2022/23 (กรกฎาคม 2022-มิถุนายน 2023) มีมูลค่าประมาณ 1.491 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงประมาณร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากการส่งออกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ลดลงอย่างมาก ซึ่งการส่งออกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีมูลค่าประมาณ 945 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม การส่งออกของปากีสถานไปยังตลาดตะวันออกกลางมีแนวโน้มที่หลากหลาย โดยมีการส่งออกไปยังซาอุดิอาระเบียและบาห์เรนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ส่งไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคลดลง เช่น กาตาร์ เป็นต้น
โครงการอาหารโลก (the World Food Program; WFP) รายงานว่า ในเดือนมกราคม 2566 ราคาข้าวบาสมาติของปากีสถานเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 16.3 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ราคาข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา และเมื่อเทียบรายปีราคาข้าวบาสมาติของปากีสถานและราคา ข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53 และร้อยละ 61 ตามลําดับ และเมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา (เดือนมิถุนายน 2565) ราคาข้าวบาสมาติและข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติของปากีสถานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45 และร้อยละ 68 ตามลำดับ
ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของราคาข้าวเป็นผลมาจากผลกระทบของอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2565 ซึ่งสร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวเป็นจํานวนมาก
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.74 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.70 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.56 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.39 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.26 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 375.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,747.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 368.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,488.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.90 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 259.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 645.00 เซนต์ (8,738.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชล ละ 634.00 เซนต์ (8,576.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 162.00 บาท

 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนมีนาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.20 ล้านตัน (ร้อยละ 18.95 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.32 ล้านตัน (รอยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการผลิต แต่เกษตรกรทยอยขุดหัวมัน และมันเน่าในหลายพื้นที่ทำให้หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยกว่าปกติ สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังเปิดดำเนินการตามปกติ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.14 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.08 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.95
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.49 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.37 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.63
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.72 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.73 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.11
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.75 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.62 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.74
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 272 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,320 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 275 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,410 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 1.09
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 538 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,430 บาทต่อตัน)  ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 531 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,180 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 1.32


 


ปาล์มน้ำมัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
           - แหล่งข่าวรัฐบาลของประเทศอินเดียกล่าวว่า น่าจะไม่มีการอนุญาตให้มีโควตาการส่งออกน้ำตาลเพิ่มเติมในปีนี้ เนื่องจากผลผลิตน้ำตาลที่ลดลงในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ด้านคณะกรรมาธิการน้ำตาลของรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) คาดการณ์ว่า ผลผลิตน้ำตาลจะลดลงเหลือ 10.7 - 10.8 ล้านตัน เปรียบเทียบกับที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ 12.8 ล้านตัน ก่อนหน้านี้โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมยืนยันเพิ่มด้วยว่าโรงงานน้ำตาลนั้นปิดดำเนินการก่อนกำหนด ในขณะที่ผู้ค้ากล่าวว่า ราคาน้ำตาลในประเทศอินเดียสูงขึ้นทั่วประเทศเนื่องจากโรงงานน้ำตาลส่วนใหญ่ใช้โควตาการขายสำหรับเดือนนี้หมดแล้ว
           - สำนักงานเลขาธิการการค้าต่างประเทศ (SECEX) ประเทศบราซิล รายงานข้อมูลว่า บราซิลส่งออกน้ำตาล 1.42 ล้านตัน ในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมีนาคม โดยมีอัตราการนำน้ำตาลลงเรือต่อวันอยู่ที่ 79,000 ตัน/วัน เทียบกับเดือนมีนาคมปีที่แล้วที่ 66,000 ตัน/วัน ด้านกระทรวงเกษตรรายงานว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ท่าเรือซานโตส (Santos) บริหารจัดการรองรับน้ำตาลได้จำนวน 901,000 ตัน ซึ่งลดลงจาก 1.2 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากผลผลิตน้ำตาลที่น้อยลง




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 25.65 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,473.36 เซนต์ (18.63 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,449.80 เซนต์ (18.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.63
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 457.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.75 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 451.66 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.32
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.97 เซนต์ (41.69 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 54.86 เซนต์ (41.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.20


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

 

 
ถั่วลิสง

 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,964 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,919 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,386 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,391 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.36 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 950 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  88.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.02 คิดเป็นร้อยละ 0.68 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.96 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 95.14 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 86.81 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 81.58 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.80 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.15 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 52.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.86 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 340 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 335 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 333 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 341 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.80 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 388 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 387 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 414 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 402 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 352 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 414 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.95 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 4.31 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.35 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 96.51 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 96.95 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.45 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 95.37 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 86.58 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 79.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 79.28 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 75.89 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน 
 
 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 2 เมษายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.55 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.88 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.71 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 137.73 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 145.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.78 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 147.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 15.00 บาท เนื่องจากปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.30 ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 67.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 17.26 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.11 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.11 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา