- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 20-26 มีนาคม 2566
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,363 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,482 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,704 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,605 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,800 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,670 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 835 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,335 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 832 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,481 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 146 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 477 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,187 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 476 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,294 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 107 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 480 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,289 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 479 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,397 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 108 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.9344 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย: เปิดต้องการใช้ ‘ข้าว’ ปีการผลิต 2566/67 ปริมาณรวม 29.296 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นร้อยละ 6
วันที่ 21 มีนาคม 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประธาน นบข. และคณะกรรมการ นบข. รับทราบการกำหนดความต้องการใช้ข้าว ปีการผลิต 2566/67 ตามยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต ปริมาณรวม 29.296 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 6 และรับทราบความคืบหน้าผลการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 ณ 15 มีนาคม 2566 ธ.ก.ส. โอนเงินชดเชยให้เกษตรกรแล้ว 2.622 ล้านครัวเรือน รวม 7,858.91 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42 ของวงเงินงบประมาณที่ ครม. อนุมัติ
นายอนุชา กล่าวถึงการกำหนดความต้องการใช้ข้าว ปีการผลิต 2566/67 ตามยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตว่า ผลการประชุมหารือโดยกรมการค้าภายในร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 กำหนดความต้องการใช้ข้าว (Demand) ปีการผลิต 2566/67 ปริมาณรวม 29.296 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 6 ที่มีปริมาณ 27.646 ล้านตันข้าวเปลือก ดังนี้ (1) เพื่อการบริโภคภายในประเทศปริมาณรวม 15.577 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 10.125 ล้านตันข้าวสาร ประกอบด้วย บริโภคทั่วไปปริมาณรวม 5.717 ล้านตันข้าวสาร และใช้ในอุตสาหกรรมปริมาณรวม 4.408 ล้านตันข้าวสาร (2) เพื่อการส่งออกปริมาณรวม 12.308 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 8 ล้านตันข้าวสาร และ (3) เพื่อทำเมล็ดพันธุ์ปริมาณรวม 1.411 ล้านตันข้าวเปลือก
สำหรับความคืบหน้าผลการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน
และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2564/65 ณ วันที่
15 มีนาคม 2566 มีดังนี้
1. โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงฯ ได้กำหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงและการชดเชยส่วนต่างราคาแล้ว 23 งวด จาก 33 งวด
ผลการดำเนินการ ธ.ก.ส. โอนเงินชดเชยให้เกษตรกรแล้ว 2.622 ล้านครัวเรือน จำนวน 7,858.91 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42 ของวงเงินงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ (18,700.13 ล้านบาท)
2. มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 สามารถดึงอุปทานข้าวเปลือกได้รวม 5.140 ล้านตันข้าวเปลือก (ร้อยละ 69) เป้าหมาย 7.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินงบประมาณ 8,022.69 ล้านบาท ดังนี้
2.1 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 ปริมาณข้าวเปลือกเข้าร่วมโครงการฯ 2.225 ล้านตันข้าวเปลือก (ร้อยละ 89) เป้าหมาย 2.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินงบประมาณ 7,107.69 ล้านบาท
2.2 โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66 ปริมาณข้าวเปลือกเข้าร่วมโครงการฯ 0.400 ล้านตันข้าวเปลือก (ร้อยละ 40) เป้าหมาย 1.00 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินงบประมาณ 375.00 ล้านบาท
2.3 โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ปริมาณข้าวเปลือกเข้าร่วมโครงการฯ 2.515 ล้านตันข้าวเปลือก (ร้อยละ 63) เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินงบประมาณ 540 ล้านบาท
3. โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
โดยสนับสนุนเงินช่วยเหลือให้เกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกินครัวเรือนละ 20,000 บาท ธ.ก.ส. โอนเงินให้เกษตรกรแล้ว 4.640 ล้านครัวเรือน จำนวน 53,990.75 ล้านบาท (ร้อยละ 98) วงเงินงบประมาณ
ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ 55,083.09 ล้านบาท เกษตรกรเป้าหมาย 4.678 ล้านครัวเรือน
นายอนุชากล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563 - 2567 ว่า ความคืบหน้า
การดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563 - 2567 ตามข้อสั่งการประธาน นบข. (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธาน นบข.) ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 มีบัญชาว่า “ให้ขับเคลื่อนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ข้าวไทยที่สำคัญเป็นรูปธรรม” โดยกรมการค้าภายใน ในฐานะฝ่ายเลขานุการ นบข.
ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญเป็นรูปธรรมภายใต้ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563 - 2567 มีความคืบหน้าที่สามารถลดต้นทุนการผลิต/เพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ โดยลดต้นทุนการผลิต ปี 2565 ต้นทุน 3,433 บาทต่อไร่ (หรือ 5,787 บาทต่อตัน) เป้าหมายปี 2567 ต้นทุนไม่เกิน 3,000 บาทต่อไร่ (หรือไม่เกิน 6,000 บาทต่อตัน) เพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ปี 2565 ผลผลิตเฉลี่ย 593 กิโลกรัมต่อไร่ เป้าหมายปี 2567 ผลผลิตเฉลี่ย 600 กิโลกรัมต่อไร่
รวมทั้งตอบสนองความหลากหลายของตลาดข้าว โดย 1) ปรับปรุงข้าวพันธุ์ใหม่ ไม่น้อยกว่า 12 พันธุ์ ลักษณะสั้นเตี้ยดกดี ปี 2563 - 2565 รับรองพันธุ์แล้ว 12 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวเจ้าพื้นนุ่ม 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ กข87 กข89 กข97 ข้าวเจ้าพื้นแข็ง 7 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ กข85 มะจานู 69 อัลฮัมดุลิลาฮ์ 4 กข91 กข93 กข95 และ กข101 ข้าวหอมไทย
1 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ขาวเจ๊กชัยนาท 4 และข้าวโภชนาการสูง 1 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ขาหนี่117 ทั้งนี้ กรมการข้าวมีแผนรับรองพันธุ์ข้าวเหนียวเพิ่มเติมอีก 2 พันธุ์ (รับรองพันธุ์แล้ว 1 พันธุ์) รวมเป็น 14 พันธุ์ และ 2) ประกวดข้าวพันธุ์ใหม่เพื่อการพาณิชย์ เป้าหมายจัดงานปีละ 1 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 มีการมอบรางวัลให้ข้าว 3 ชนิด
6 สายพันธุ์ รับรองพันธุ์แล้ว 2 พันธุ์ คือ ข้าวเจ้าพื้นนุ่ม ได้แก่ พันธุ์ RJ44 (RJ44 ขึ้นทะเบียนพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร) และ CNT15171 ข้าวเจ้าพื้นแข็ง ได้แก่ พันธุ์ PSL16348 และ CNT07001 (CNT07001 รับรองพันธุ์โดยกรมการข้าว) ข้าวหอมไทย ได้แก่ พันธุ์ PTT13030 และ BioH95-CNT-005
ที่มา www.naewna.com
ฟิลิปปินส์
สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา รายงานว่า นายเบนจามิน อี. ดิโอกโน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในที่ประชุมร่วมกับประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์มาร์กอส จูเนียร์ว่า ฟิลิปปินส์จำเป็นต้องนําเข้า ข้าว ข้าวโพด น้ำตาล เนื้อสุกร และสินค้าสําคัญอื่นๆ เพิ่มเติมในปี 2566 เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลอุปทาน และเพื่อควบคุมราคา โดยสินค้าข้าว ขณะนี้ขาดดุลอุปทานอยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านตัน หรือร้อยละ 10.4 ของความต้องการในปี 2566 ซึ่งการขาดดุลดังกล่าวเทียบเท่ากับ 42 วัน และจะต้องได้รับการเติมเต็มปริมาณสต็อกข้าวเพิ่มเติม โดยคาดว่าจะมีพายุไต้ฝุ่นที่อาจทําลายผลผลิตในช่วงการเก็บเกี่ยว โดยแนะนําว่ารัฐบาลควรนําเข้าข้าว 3 ล้านตัน เพื่อเป็นสต็อก 30 วัน แต่ไม่ควรนําเข้าตรงกับฤดูเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ ในปี 2565 ฟิลิปปินส์มีปริมาณนําเข้าข้าวประมาณ 3.8 ล้านตัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตั้งข้อสังเกตว่า อัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากภาวะ
ขาดแคลนอาหารและอัตราค่าสาธารณูปโภคที่สูงขึ้น โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงเหลือ
ร้อยละ 8.6 จากระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี ที่ร้อยละ 8.7 ในเดือนมกราคม 2566 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเร่งตัวขึ้น
สู่ระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี ที่ร้อยละ 7.8 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และอัตราเงินเฟ้อด้านอาหารลดลงเล็กน้อย
เหลือร้อยละ 11.1 จากร้อยละ 11.2 ในเดือนมกราคม 2566 เนื่องจากราคาผัก ข้าว ข้าวโพด เนื้อสัตว์ และน้ำตาลปรับตัวสูงขึ้นในอัตราที่ช้าลง
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง กล่าวว่ามีความจําเป็นที่จะต้องมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการผลิต
ทางการเกษตรและผลผลิต เพื่อช่วยลดราคาสินค้าอาหาร และเน้นย้ำว่าเพื่อจัดการกับเงินเฟ้อในระดับสูง รัฐบาลจําเป็นต้องมีแนวทางที่ครอบคลุมและต้องมุ่งเน้นไปที่การลดราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลง
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลจําเป็นต้องลดขั้นตอนที่จะทําให้การขนส่งสินค้านําเข้าล่าช้า ซึ่งรวมถึงกระบวนการติดตามอย่างรวดเร็วในการผ่านพิธีการสําหรับสินค้าเกษตร การยกเลิกใบรับรองในการนําเข้าปลา การเปลี่ยนแปลงเป็นดิจิทัลและการรวมศูนย์ของระบบการผ่านพิธีการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) การนําหลักการความเท่าเทียมกันมาใช้สําหรับข้อตกลง SPS และการยกเลิกข้อกําหนดในการตรวจปล่อยสินค้านําเข้าเกี่ยวกับปุ๋ย และวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยฟิลิปปินส์จําเป็นจะต้องนําเข้าปุ๋ยมากขึ้น โดยเฉพาะจากซาอุดิอาระเบีย และจีน ซึ่งขณะนี้กระทรวงเกษตรกําลังเจรจากับกองทุนเพื่อการพัฒนาของซาอุดิอาระเบีย สําหรับนําเข้าปุ๋ยยูเรียในปี 2566 ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศจะยื่นขอความช่วยเหลือด้านการพัฒนาเพิ่มเติมจากจีนสำหรับการนําเข้าปุ๋ย
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับลดลงท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ
ในแถบแอฟริกาที่ลดลง ประกอบกับค่าเงินรูปีที่อ่อนค่าลง ส่งผลให้ราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 382-387 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 385-390 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยราคาข้าวมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจากที่เคยปรับขึ้นตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งเป็นราคาสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564
สํานักข่าว The Hindu Businessline รายงานว่า ผู้ส่งออกข้าวของอินเดียยังไม่เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกมาตการภาษีส่งออกร้อยละ 20 ในช่วงนี้ ตราบใดที่ปริมาณการส่งออกข้าวยังไม่มีทีท่าว่าลดลง โดยนาย BV Krishna Rao นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวอินเดีย (The Rice Exporters Association; TREA) ระบุว่า ความต้องการข้าวอินเดียเพิ่มมากขึ้น แม้จะมีมาตรการภาษีส่งออกก็ตาม โดยผู้ซื้อบางรายได้เปลี่ยนจากการซื้อข้าวขาวไปเป็นซื้อข้าวนึ่งแทน
นาย Madan Prakash ประธานสมาคมผู้ส่งออกสินค้าเกษตร (Agricultural Commodities Exporters Association; ACEA) กล่าวว่า ผู้ซื้อจากต่างประเทศต่างสอบถามเกี่ยวกับข้าวของอินเดีย โดยเฉพาะข้าวขาว 5%
โดยเวียดนามกําลังมองหาข้าวขาว 5% ซึ่งผู้ค้าได้เสนอราคาไปประมาณตันละ 430 ดอลลาร์สหรัฐฯ รวมค่าขนส่ง
(cost and freight)
ขณะที่นาย VR Vidya Sagar ผู้อํานวยการของ Bulk Logix กล่าวว่า ความต้องการข้าวอินเดียยังคงดําเนินไปได้ด้วยดี โดยเฉพาะข้าวนึ่ง ซึ่งขณะนี้ภาวะราคาข้าวเริ่มมีเสถียรภาพแล้วหลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการปรับลดลง ขณะเดียวกันกําลังมีความต้องการข้าวขาว 25% จากเวียดนาม เพื่อนําไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์
ทั้งนี้ วงการค้ารายงานว่า ขณะนี้ราคาข้าวนึ่งของอินเดียอยู่ที่ประมาณตันละ 390 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ ราคาข้าวขาวอยู่ที่ประมาณตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวขาว 25% ราคาอยู่ตันละ 380-410 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นอยู่กับชนิดข้าว
นาย VR Vidya Sagar ยังกล่าวว่า สําหรับข้าวนึ่งในช่วงนี้มีความต้องการจากประเทศเบนิน โมร็อกโค และจอร์แดน แม้ว่าความต้องการข้าวของอินเดียจะยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ผู้ส่งออกก็ยังคงทําการค้าขายกับผู้ซื้อรายเดิมตามปกติ ขณะที่นักวิเคราะห์ระบุว่า ขณะนี้ราคาข้าวเริ่มมีเสถียรภาพ เนื่องจากผลผลิตข้าวฤดูใหม่ได้เริ่มออกสู่ตลาด
ทั้งในประเทศเวียดนาม และไทย แต่ราคาอาจเริ่มปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 เป็นต้นไป และจะอยู่ในช่วงขาขึ้นจนถึงเดือนกันยายน 2566
องค์การอาหารแห่งชาติ (The Food Corporation of India; FCI) รายงานว่า สต็อกข้าว ณ วันที่ 1 มีนาคม 2566 มีจํานวนประมาณ 45.96 ล้านตัน (รวมข้าวสารที่คํานวณมาจากสต็อกข้าวเปลือกประมาณ 37.18 ล้านตัน) ลดลงประมาณร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับจํานวน 59.13 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา และลดลงประมาณร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับจํานวน 47.27 ล้านตัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 (เดือนมกราคม - มีนาคม 2566) ปริมาณข้าวของอินเดียอยู่เหนือเกณฑ์ปกติ (buffer norms) จำนวน 7.6 ล้านตัน (รวมถึงสต็อกปฏิบัติการ (operational stock) จำนวน 5.61 ล้านตัน และสต็อกสํารองทางยุทธศาสตร์ (strategic reserve) จำนวน 2 ล้านตัน)
ขณะที่สต็อกธัญพืช (ข้าว ข้าวสาลี และธัญพืชอื่นๆ) โดยรวมของอินเดีย ณ วันที่ 1 มีนาคม 2566 มีจํานวนประมาณ 57.891 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับจํานวน 82.818 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2565 และลดลงประมาณร้อยละ 7.86 เมื่อเทียบกับจํานวน 62.833 ล้านตัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยสต็อกธัญพืชของอินเดียอยู่เหนือเกณฑ์ปกติ (the required buffer norms) จำนวน 21.41 ล้านตัน (รวมสต็อกสําหรับการบริหารจัดการ 16.41 ล้านตัน และสต็อกสํารองทางยุทธ์ศาสตร์ (strategic reserve) จํานวน 5 ล้านตัน) สําหรับช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2566)
ส่วนสต็อกข้าวสาลีมีประมาณ 11.67 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับจํานวน 23.4 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2565 และลดลงประมาณร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับจํานวน 15.44 ล้านตัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ทั้งนี้ สต็อกข้าวสาลีอยู่เหนือเกณฑ์ปกติ (the required buffer norms) จำนวน 13.8 ล้านตัน (รวมสต็อกสําหรับการบริหารจัดการ (operational stock) จํานวน 10.8 ล้านตัน และสต็อกสํารองทางยุทธ์ศาสตร์ (strategic reserve) จํานวน 3 ล้านตัน) สําหรับช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2566)
สํานักข่าว Bloomberg รายงานโดยอ้างข้อมูลของสมาคมผู้ประกอบการสกัดน้ำมันแห่งอินเดีย (the Solvent Extractors' Association of India) ว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 อินเดียส่งออกสารสกัดจากรําข้าวปริมาณ 68,383 ตัน ซึ่งลดลงจากจํานวน 78,956 ตัน ในเดือนมกราคม 2566
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
บราซิล
หน่วยงาน Conab ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านธัญพืชแห่งชาติของบราซิล ได้เผยแพร่การคาดการณ์สําหรับผลผลิตข้าวเปลือกในปี 2565/66 ในแถลงการณ์การติดตามตรวจสอบการเกษตรประจําเดือนมีนาคม 2566 โดยได้ปรับ
การคาดการณ์การผลิตข้าวเปลือกของบราซิล ในปี 2565/66 ลดลงเล็กน้อยเป็น 9.88 ล้านตัน จากการคาดการณ์
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ 10.196 ล้านตัน ซึ่งคาดการณ์ลดลงประมาณร้อยละ 8.4 จากประมาณ 10.789 ล้านตัน
ในปี 2564/65
Conab ยังได้ปรับลดการคาดการณ์สําหรับพื้นที่ปลูกข้าวของบราซิล ในปี 2565/66 เป็น 9.17 ล้านไร่ จากการ คาดการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ 9.25 ล้านไร่ ซึ่งคาดการณ์ลดลงประมาณร้อยละ 9.3 จากประมาณ 10.11 ล้านไร่ ในปี 2564/65
ทางด้านการส่งออกและนําเข้า Conab ได้คงคาดการณ์การนําเข้าข้าวของบราซิล ในปี 2565/66 ไว้ที่
1.3 ล้านตัน จากการคาดการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 1.3 ล้านตัน ซึ่งคาดการณ์เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 13
จากประมาณ 1.15 ล้านตัน ในปี 2564/65 ส่วนการส่งออก Conab ได้คงคาดการณ์การส่งออกข้าวของบราซิล
ในปี 2565/66 ไว้ที่ 1.0 ล้านตัน จากการคาดการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 1.0 ล้านตัน ซึ่งคาดการณ์ลดลงประมาณร้อยละ 47 จากประมาณ 1.9 ล้านตัน ในปี 2564/65
Conab ได้คาดการณ์สต็อกข้าวปลายปี 2565/66 ของบราซิลไว้ที่ 1.751 ล้านตัน ซึ่งลดลงประมาณร้อยละ 13 จากประมาณ 2.12 ล้านตัน ในปี 2564/2565
สถาบันภูมิศาสตร์และสถิติแห่งบราซิล (the Brazilian Institute of Geography and Statistics (IBGE))
ระบุในรายงานการผลิตธัญพืช พืชตระกูลถั่ว และเมล็ดพืชน้ำมัน ประจําเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยได้จัดทําประมาณการข้าว สําหรับปี 2566 โดยในกุมภาพันธ์ 2566 ได้ลดการคาดการณ์การผลิตข้าวเปลือกของบราซิลในปี 2566 ลงเหลือ 10.023 ล้านตัน จากการคาดการณ์ในเดือนมกราคม 2566 จำนวน 10.276 ล้านตัน โดยคาดการณ์ลดลงประมาณร้อยละ 6 จากประมาณ 10.658 ล้านตัน ในปี 2565
IBGE ยังได้ปรับลดการคาดการณ์พื้นที่ปลูกข้าวของประเทศ ในปี 2566 เหลือ 9.556 ล้านไร่ จากการ คาดการณ์ในเดือนมกราคม 2566 จำนวน 9.68 ล้านไร่ ซึ่งคาดการณ์ลดลงจากประมาณร้อยละ 5.8 จากประมาณ 10.14 ล้านไร่ ในปี 2565
นอกจากนี้ IBGE ยังปรับคาดการณ์ผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ยต่อพื้นที่ลดลงเล็กน้อยเป็น 1.048 ตันต่อไร่ จากการคาดการณ์ในเดือนมกราคม 2566 จำนวน 1.06 ตันต่อไร่ ซึ่งคาดการณ์ลดลงประมาณร้อยละ 0.2 จากประมาณ 1.05 ตันต่อไร่ ในปี 2565
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.16 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.12 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.50
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 368.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,488.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 367.80 ดอลลาร์สหรัฐ (12,590.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05 แต่ลดลง
ในรูปของเงินบาทตันละ 102.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2565/66 มีปริมาณ 1,156.75 ล้านตัน ลดลงจาก 1,203.16 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 3.86 โดย จีน บราซิล เม็กซิโก อินเดีย แอฟริกาใต้ และไนจีเรีย มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลกมี 179.79 ล้านตัน ลดลงจาก 193.93 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 7.29 โดย บราซิล ปารากวัย และอินเดีย ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เวียดนาม แอลจีเรีย โมร็อกโก ไทย สาธารณรัฐโดมิกัน และสหรัฐอเมริกา มีการนำเข้าลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 634.00 เซนต์ (8,576.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชล ละ 629.00 เซนต์ (8,580.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 4.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)
คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนมีนาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.20 ล้านตัน (ร้อยละ 18.95 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.32 ล้านตัน (รอยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการผลิต แต่เกษตรกรทยอยขุดหัวมัน และมันเน่าในหลายพื้นที่ทำให้หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยกว่าปกติ สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังเปิดดำเนินการตามปกติ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.08 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.05 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.98
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.37 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.73 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.65 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.92
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.62 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.46 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.92
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 275 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,410 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (9,530 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 531 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,180 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,110 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 1.53
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.618 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.291 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.732 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.312 ล้านตันของเดือนกุมภาพันธ์ 2566 คิดเป็นร้อยละ 6.58 และร้อยละ 6.73 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.58 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.34 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.49
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 31.70 บาท ลดลงจาก กก.ละ 32.30 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.86
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,869.79 ริงกิตมาเลเซีย (30.12 บาท/กก.) ลดลงจากตัน 4,062.22 ริงกิตมาเลเซีย (31.67 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.74
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 985.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.85 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,000.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.67 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.50
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
และเอทานอล 25.8 พันล้านลิตร ในขณะเดียวกันข้อมูลของสถาบันวิจัย Cepea/Esalq แสดงให้เห็นว่าราคาหน้าโรงงานของไฮดรัส และแอนไฮดรัสลดลง 0.12% และ 1.67% ตามลำดับ ในรัฐเซาเปาโล (Sao Paulo)
- แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมของประเทศอินเดีย เตือนว่าผลผลิตน้ำตาลของ รัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ในปี 2565/2566 อาจลดลงเหลือ 10.8 ล้านตัน ซึ่งต่ำกว่าที่ทางกรรมาธิการน้ำตาลของรัฐ คาดการณ์ไว้อยู่ที่ 11.0 - 11.5 ล้านตัน โดยคณะกรรมาธิการน้ำตาลคาดว่าปริมาณอ้อยในปี 2566/2567 จะมีปริมาณเท่าเดิม หรือน้อยกว่านั้นขึ้นอยู่กับลมมรสุม และในขณะเดียวกันสมาคมผู้ค้าน้ำตาล Bombay กล่าวว่าราคาน้ำตาลในท้องถิ่นนั้นยังคงทรงตัว
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 25.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.25 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.87
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 23.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,449.80 เซนต์ (18.30 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,491.32 เซนต์ (18.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.78
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 451.66 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.51 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 480.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.65 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.01
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.86 เซนต์ (41.53 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 56.54 เซนต์ (43.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.97
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 25.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.25 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.87
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 23.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,449.80 เซนต์ (18.30 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,491.32 เซนต์ (18.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.78
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 451.66 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.51 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 480.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.65 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.01
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.86 เซนต์ (41.53 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 56.54 เซนต์ (43.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.97
ยางพารา
ถั่วเขียว
ถั่วลิสง
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,919 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,082 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.83 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,391 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,501 บาทคิดเป็นร้อยละ 7.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 950 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่าผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 88.02 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 86.02 คิดเป็นร้อยละ 2.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 96.14 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.52 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 80.06 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.42 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.63 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.38 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.20 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 335 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 330 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.52 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 334 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.80 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.57 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.44 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 387 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 389 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 415 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 394 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 356 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 427 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.31 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 4.35 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 96.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 96.69 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.62 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 96.40 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 86.58 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 79.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.45 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 75.99 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่าผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 88.02 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 86.02 คิดเป็นร้อยละ 2.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 96.14 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.52 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 80.06 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.42 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.63 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.38 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.20 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 335 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 330 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.52 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 334 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.80 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.57 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.44 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 387 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 389 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 415 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 394 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 356 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 427 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.31 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 4.35 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 96.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 96.69 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.62 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 96.40 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 86.58 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 79.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.45 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 75.99 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 - 26 มีนาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.55 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 60.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.08 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.59 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 79.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.08 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.51 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท เนื่องจากปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.04 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 70.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.50 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.67 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.11 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 - 26 มีนาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.55 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 60.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.08 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.59 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 79.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.08 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.51 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท เนื่องจากปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.04 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 70.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.50 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.67 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.11 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา