- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 9-15 มกราคม 2566
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,132 บาท
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,593 บาท
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,050 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 29,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.08
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,650 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,225 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.79
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 873 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,926 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 511 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,931 บาท/ตัน)
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 514 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,031 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.1339 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
อินโดนีเซีย
สำนักข่าว ANTARA รายงานว่า นาย Budi Waseso ประธานผู้อํานวยการของ Bulog กล่าวว่า ตลอดทั้งปี
นับตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 สำนักงานโลจิสติกส์แห่งรัฐ (Bulog) ดำเนินการกระจายข้าวออกสู่ตลาดประมาณ 1.2 ล้านตัน เพื่อตรวจสอบความผันผวนของภาวะราคาอาหารในประเทศ ซึ่งถือเป็นปริมาณข้าวที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของ Bulog ที่มีการกระจายเข้าไปจําหน่ายในตลาด
โดยหน่วยงาน Bulog จะยังคงดำเนินการทางตลาดขนาดใหญ่ต่อไป โดยจะมีสต็อกเพิ่มเติมที่ได้รับจากการนําเข้า
ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจในการสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจของประเทศ โดย Bulog ได้ดำเนินการดูแลสต็อกข้าวให้เพียงพอในราคาที่เหมาะสม ดังนั้นภาวะราคาข้าวในตลาดที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจะไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความกังวล
ทั้งนี้ Bulog จะติดตามสถานการณ์ตลาดอย่างต่อเนื่องและจะเพิ่มอุปทานข้าวเข้าไปในตลาดโดยใช้ปริมาณข้าวสํารองของรัฐบาล (the government's rice reserves; CBP) และปริมาณข้าวที่นําเข้ามาเพิ่มเติม ดังนั้น ปริมาณข้าวที่จําหน่ายในตลาดของ Bulog จะยังคงมีเพิ่มขึ้นไปจนถึงสิ้นปี โดย Bulog ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดูแลปริมาณสํารองข้าว
ให้อยู่ที่ประมาณ 1-1.5 ล้านตัน
นาย Budi Waseso อธิบายเพิ่มเติมว่า การนําเข้าข้าวจำนวน 500,000 ตัน นั้น คาดว่าจะช่วยในการตรวจสอบภาวะราคาข้าวที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งในทางจิตวิทยาการนําเข้าข้าวจะทำให้สินค้ามีปริมาณมากขึ้น และเมื่อตลาดเชื่อว่า Bulog มีสต็อกข้าวอยู่ จะทำให้ Bulog สามารถควบคุมภาวะราคาข้าวในตลาดได้ พร้อมทั้งย้ำว่า การนําเข้าข้าวจะไม่เป็นอันตรายต่อชาวนา เนื่องจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าวจะเริ่มในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้
ทางด้านกระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย ยืนยันว่า การจัดหาข้าวภายในประเทศจะมีอย่างเพียงพอ ทั้งในช่วง คริสต์มาสและปีใหม่ และมีการสร้างความใกล้ชิดระหว่างกลุ่มผู้ผลิตข้าวกับผู้บริโภคให้มากขึ้น โดยจัดตั้งตลาดข้าว 6 จุดในเขตอีสต์จาการ์ตา และอีก 5 จุด ในเขตมหานครจาการ์ตา เพื่อจําหน่ายข้าวในราคาย่อมเยา
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาทรงตัวในระดับสูง (ซึ่งเป็นระดับราคาที่สูงสุดนับตั้งแต่ปลายเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมา) เนื่องจากมีความต้องการข้าวจากผู้ซื้อต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพราะผู้ซื้อบางส่วนหันมาซื้อข้าว
จาก อินเดียที่ยังคงมีราคาถูกกว่าข้าวไทยและเวียดนาม ขณะที่อุปทานข้าวในตลาดมีเพิ่มขึ้นจากการที่มีผลผลิตฤดูใหม่ออกสู่ตลาด โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 375-382 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า
ขณะที่ผู้ส่งออกข้าวในเมือง Kakinada ในรัฐ Andhra Pradesh ทางตอนใต้ของประเทศ กล่าวว่า ปกติแล้วในช่วงครึ่งหลังของเดือนธันวาคมของทุกปีตลาดจะเงียบเหงา แต่ในปีนี้ผู้ค้าข้าวต่างได้รับคําสั่งซื้อมากขึ้น เนื่องจากราคาข้าวอินเดียต่ำกว่าราคาข้าวของไทยและเวียดนามมาก ทำให้ผู้ซื้อหันมาซื้อข้าวจากอินเดียมากขึ้น โดยผู้ค้าข้าวรายหนึ่งระบุว่า ประเทศคิวบาได้หันมาซื้อข้าวจากอินเดียจากเดิมที่เคยซื้อแต่เวียดนาม ซึ่งในขณะนี้มีเรือบรรทุกสินค้าที่กําลัง
ขนถ่ายสินค้าขึ้นเรือปริมาณ 28,150 ตัน ที่ท่าเรือ Kakinada Port
นอกจากนี้ยังมีข่าวว่ารัฐบาลบังคลาเทศกําลังเจรจาซื้อข้าวนึ่งจากรัฐบาลอินเดียภายใต้ข้อตกลงแบบรัฐต่อรัฐ (government-to-government deals) จำนวน 200,000 ตัน ด้วย
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า อินเดียมีแนวโน้มที่จะยกเลิกข้อจํากัดในการส่งออกข้าว เพื่อผ่อนคลายกระแสความตรึงเครียดด้านภาวะอาหารทั่วโลกหลังจากที่เกิดกรณีการรุกรานประเทศยูเครนของรัสเซีย
ทั้งนี้ ทางการกําลังพิจารณายกเลิกการจํากัดการส่งออกข้าวบางส่วน เนื่องจากในขณะนี้ภาวะราคาข้าวในประเทศอยู่ในระดับทรงตัว ขณะที่สต็อกธัญพืชในคลังของรัฐบาลก็มีเพียงพอต่อความต้องการสำหรับการใช้ในโครงการสวัสดิการของรัฐบาลแล้ว
นาย B.V. Krishna Rao ประธานสมาคมผู้ส่งออกข้าว (The Rice Exporters Association) ระบุว่า กลุ่มผู้ส่งออกจะเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกข้อจํากัดบางประการในการส่งออก เนื่องจากอุปทานในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้นหลังจาก
ที่มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวในฤดูการผลิตหลัก (Kharif crop) โดยผู้ส่งออกจะขออนุมัติให้สามารถส่งออกข้าวหัก
ได้อย่างน้อย 1 ล้านตัน และขอให้ยกเลิกภาษีร้อยละ 20 สำหรับการส่งออกข้าวขาว
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ของทางการกําลังพิจารณาจะขายข้าวสาลีประมาณ 2 ล้านตัน จากสต็อกสํารองของรัฐบาลเข้าสู่ตลาดเพื่อควบคุมราคา ซึ่งอาจจะขายในราคาคงที่แก่ผู้นําไปใช้รวมถึงโรงโม่แป้งด้วย
สํานักข่าว Reuters รายงานว่า หน่วยงานที่กํากับและควบคุมตลาดของอินเดีย ระบุว่าการซื้อขายสัญญา อนุพันธ์ของสินค้าเกษตรที่สําคัญ (รวมถึงข้าวเปลือก ถั่วเหลือง และอนุพันธ์น้ำมันปาล์มดิบ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก
ถั่วชิกพีกรัมเขียว และมัสตาร์ดเรพซีด) จะขยายระยะเวลาในการระงับการซื้อขายออกไปอีกหนึ่งปี
เมื่อปีที่แล้ว คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของอินเดีย (The Securities and Exchange Board of India; SEBI) ได้ระงับการซื้อขายล่วงหน้าในสินค้าเกษตรที่สําคัญเป็นเวลาหนึ่งปี เพื่อจํากัดอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม ในการแจ้งเตือนล่าสุดของคณะกรรมการฯ ระบุว่าการระงับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะดําเนินต่อไปจนถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมต่างแสดงความไม่พอใจต่อการตัดสินใจของคณะกรรมการฯ โดย ระบุว่า การขยายเวลาในการระงับการซื้อขายถือเป็นการเดินถอยหลัง เพราะภาคธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมจะถูกกีดกันจากการป้องกันความเสี่ยงและกลไกในการค้นหาราคาเพื่อการดําเนินธุรกิจที่ราบรื่น และจะเผชิญกับความผันผวนของราคา
กระทรวงเกษตรฯ (the Ministry of Agriculture and Farmers’ Welfare (MOAFW)) รายงานว่า ณ วันที่
6 มกราคม 2566 เกษตรกรเพาะปลูกข้าวฤดูการผลิตรอง หรือ Rabi crop แล้วประมาณ 13.3125 ล้าน ไร่ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับจํานวน 10.3125 ล้านไร่ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ฤดูการผลิตรอง หรือ Rabi crop ของอินเดียจะเริ่มหว่านเมล็ดในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนและเก็บเกี่ยวในเดือนมีนาคม-เมษายนของทุกปี
สํานักข่าว Hindustan Times รายงานว่า ในปีการผลิต 2022/23 (กันยายน-ธันวาคม 2565) ผลผลิตข้าวบาสมาติในพื้นที่เพาะปลูกหลักของอินเดียที่อยู่ทางตอนเหนือของรัฐปัญจาบ คาดว่าจะมีประมาณ 2.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 57 เมื่อเทียบกับประมาณ 1.4 ล้านตัน ในปีการผลิต 2021/22 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวบาสมาติในรัฐนี้เป็นผลมาจากสภาพอากาศเอื้ออํานวยและพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ด้านประธานสมาคมโรงสีและผู้ส่งออกข้าวปัญจาบ (The Punjab Rice Millers and Exporters Association) กล่าวว่า พื้นที่เพาะปลูกข้าวบาสมาติเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยเจ้าหน้าที่การเกษตรของรัฐปัญจาบ ระบุว่า พื้นที่เพาะปลูกข้าวบาสมาติอยู่ที่ประมาณ 2.875 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากประมาณ 2.75 ล้านไร่ ในปีที่แล้ว
แหล่งข่าวในตลาดระบุว่าราคาข้าวบาสมาติในฤดูกาลปัจจุบันอยู่ระหว่าง 2,000-5,850 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 242-707 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เทียบกับราคาปีที่แล้วที่ 1,900-4,225 รูปีต่อควินทัล (ตันละ 230-510 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งราคาในปัจจุบันถือว่าสูงที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อิหร่าน
สำนักข่าว Financial Tribune รายงานโดยอ้างสมาคมผู้นําเข้าข้าวแห่งอิหร่าน (the Rice Importers Association of Iran) ว่า ขณะนี้รัฐบาลอิหร่านได้สั่งห้ามนําเข้าข้าวทั้งหมดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 และไม่อนุญาตให้นําข้าวผ่านพิธีการทางศุลกากร
ขณะที่ หอการค้า อุตสาหกรรม เหมืองแร่ และการเกษตรอิหร่าน (the Iran Chamber of Commerce, Industries, Mines and Agriculture) ได้อ้างคํากล่าวของเจ้าหน้าที่ขอทางการที่ระบุว่า มาตรการห้ามนําเข้าข้าว ในช่วงนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการปรับสมดุลการค้าทวิภาคีกับต่างประเทศ ซึ่งในขณะนี้ รัฐบาลได้ห้ามนําเข้าข้าวจากทุกประเทศ หลังจากที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้สั่งห้ามนําเข้าข้าวจากอินเดียแล้ว
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ทางการแสดงความกังวลว่า การตัดสินใจของรัฐบาลอาจนําไปสู่การขาดแคลนข้าว
ในตลาดภายในประเทศ เนื่องจากผลผลิตข้าวในประเทศยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.04 บาท สัปดาห์ก่อนไม่มีรายงานราคา และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.30 บาท สัปดาห์ก่อนไม่มีรายงานราคา
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 406.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,452.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 396.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,422.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.53 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 30.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 662.00 เซนต์ (8,745.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 658.00 เซนต์ (8,882.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 137.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.113 ล้านไร่ ผลผลิต 34.749 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.436 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.922 ล้านไร่ ผลผลิต 34.007 ล้านตัน
และผลผลิตต่อไร่ 3.427 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.93 ร้อยละ 2.18 และร้อยละ 0.26 ตามลำดับ โดยเดือนมกราคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.42 ล้านตัน (ร้อยละ 18.48 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 20.53 ล้านตัน (ร้อยละ 59.07 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.64 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.62 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.76
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.31 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 7.98
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.30 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.13 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.09
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 264 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,850 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 257 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,810 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 2.72
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,320 บาทต่อตัน) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,630 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 0.973 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.175 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.000 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.180 ล้านตันของเดือนธันวาคม 2565 คิดเป็นร้อยละ 2.70 และร้อยละ 2.78 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.25 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 29.80 บาท ลดลงจาก กก.ละ 33.19 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.21
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
มาเลเซีย ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันที่สองของโลก อาจหยุดส่งออกน้ำมันปาล์มไปสหภาพยุโรป หลังจากที่สหภาพยุโรปออกมาตรการจำกัดการนำเข้าน้ำมันพืชที่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าเพิ่มขึ้นมา ถึงแม้ว่ามาเลเซียจะพัฒนาการรับรองมาตรฐานน้ำมันปาล์มยั่งยืน แต่ทางสหภาพยุโรปก็ยังเพิ่มข้อกำหนดใหม่ๆ ขึ้นมาอีก ที่ผ่านมาทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียต่างไม่เห็นด้วยกับมาตรการลดการนำเข้าน้ำมันปาล์มของสหภาพยุโรป เพราะต้องการยกเลิกการนำน้ำมันปาล์มไปผสมในน้ำมันดีเซลภายในปี 2573 และยังกำหนดข้อจำกัดปริมาณสารปนเปื้อน 3-monochloropropane diol (3-MCPD) ที่พบในน้ำมันปาล์ม แตกต่างกับปริมาณที่กำหนดในน้ำมันพืชชนิดอื่น อย่างไรก็ตามมาเลเซียกำลังมองหาตลาดใหม่ที่เอามาทดแทนตลาดสหภาพยุโรป
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,938.36 ริงกิตมาเลเซีย (30.56 บาท/กก.) ลดลงจากตัน 4,205.93 ริงกิตมาเลเซีย (33.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.36
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 985.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,047.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.92
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.50 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.30
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 26.38 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,519.20 เซนต์ (18.49 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,483.35 เซนต์ (18.46 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.42
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 505.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.75 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 487.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.52 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.68
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 63.19 เซนต์ (46.14 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 63.24 เซนต์ (47.21 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.22
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.50 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.30
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 26.38 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,519.20 เซนต์ (18.49 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,483.35 เซนต์ (18.46 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.42
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 505.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.75 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 487.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.52 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.68
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 63.19 เซนต์ (46.14 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 63.24 เซนต์ (47.21 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.22
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.35 บาท
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,056.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.01 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,033.25 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 844.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 825.25 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.30 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,360.60 ดอลลาร์สหรัฐ (45.08 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,329.75 ดอลลาร์สหรัฐ (45.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.32 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 874.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.98 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 855.25 ดอลลาร์สหรัฐ (28.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.26 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,202.60 ดอลลาร์สหรัฐ (39.84 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,175.75 ดอลลาร์สหรัฐ (39.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.52 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,852 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,830 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,374 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,341 บาทคิดเป็นร้อยละ 2.46 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 992 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,009 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.68 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 101.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 100.89 คิดเป็นร้อยละ 0.74 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.69 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 105.07 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 94.39 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,500 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 98.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 96.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.05 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.49 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 344 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 343 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 326 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 352 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.81 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 395 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 394 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 416 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 395 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 375 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 437 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 99.03 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 100.57 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 89.16 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 83.93 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.74 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 79.93 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 101.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 100.89 คิดเป็นร้อยละ 0.74 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.69 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 105.07 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 94.39 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,500 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 98.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 96.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.05 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.49 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 344 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 343 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 326 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 352 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.81 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 395 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 394 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 416 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 395 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 375 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 437 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 99.03 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 100.57 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 89.16 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 83.93 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.74 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 79.93 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 9 – 15 มกราคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.13 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.16 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 82.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.71 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.90 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 147.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 12.57 บาท เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 170.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.19 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 69.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.13 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.89 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 9 – 15 มกราคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.13 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.16 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 82.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.71 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.90 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 147.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 12.57 บาท เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 170.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.19 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 69.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.13 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.89 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา