สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 22-28 สิงหาคม 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,635 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,576 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,069 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,001 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,870 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 865 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,931 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 884 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,158 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 227 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 431 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,412 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 434 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,297 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 115 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 436 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,591 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 443 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,614 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 23 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.7585 บาท 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยมั่นใจปี 2565 ส่งออกได้ 7.5 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตดี ราคาแข่งได้ ตลาดยังมีความต้องการสูง ไม่ต้องขายจีทูจีแล้ว
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า สถานการณ์การส่งออกข้าวไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2565 คาดว่าการส่งออกจะทำได้ไม่ต่ำกว่า 7.5 ล้านตัน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ภาคเอกชนวางไว้ เนื่องจากปริมาณการผลิตข้าวในประเทศมีเพียงพอ สถานการณ์ค่าเงินบาท
ที่อ่อนค่า ทำให้การแข่งขันระหว่างผู้ส่งออกไทยกับประเทศคู่แข่งทำได้ดีขึ้น โดยปริมาณข้าวในประเทศเวลานี้ไม่จําเป็นที่จะต้องมีการขายแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจีอีก
นอกจากนี้ยังมั่นใจว่า นายกีรติ รัชโน ว่าที่ปลัดกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ ซึ่งเป็นอดีตอธิบดีกรมการค้า ต่างประเทศ จะผลักดันการค้าข้าวอย่างต่อเนื่อง สานต่อนโยบายในการผลักดันการค้าข้าวไปยังตลาดใหม่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมของตลาดข้าวไทยในอนาคต ให้ยังสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน และเป็นที่ต้องการของคู่ค้ามากขึ้น โดยตลาดใหม่ที่มีศักยภาพในปีนี้ คาดว่าจะเป็นตลาดอิรักตลอดทั้งปีเชื่อว่าจะทำได้ 1 ล้านตัน จากที่ก่อนหน้านี้ อิรักได้ชะลอการนําเข้าข้าวไทยมาช่วงหนึ่งจากปัญหาด้านคุณภาพ
สำหรับด้านการผลิต "กรมการข้าว" เปิดตัว "ข้าว" น้องใหม่ 4 พันธุ์ ชูจุดเด่นให้ผลผลิตสูง ระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้น ประเดิมผลิตล็อคแรก 300 ตัน จําหน่ายเกษตรกรในเดือนธันวาคม ดึงกองทุนหมู่บ้านเป็นศูนย์กระจายเมล็ดพันธุ์
นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวหลังเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ข้าวว่า คณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ข้าวมีมติรับรองข้าวพันธุ์ใหม่ 4 พันธุ์ ได้แก่ กข93 กข95 กข97 และ กข101
โดยพันธุ์ข้าว กข93 (พุ่มพวงเมืองสองแคว) เป็นผลงานการพัฒนาจากศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก เป็นข้าวขาวอมิโลส ปานกลาง มีลักษณะประจำพันธุ์ คือ เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง มีลักษณะเด่น คือ อายุเก็บเกี่ยวปานกลาง ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 767 ก.ก./ไร่ (มีศักยภาพการให้ผลผลิต 934 กก./ไร่) ความสูง 131 ซ.ม. ปริมาณอมิโลสปานกลาง ร้อยละ 22.82  ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีมาก ต้นเตี้ย ต้านทานการหักล้ม ต้านทานต่อโรคไหม้ และค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้ง เหมาะสำหรับนาน้ำฝนในเขตภาคเหนือตอนล่าง และเกษตรกรที่ต้องปลูกข้าวอายุปานกลาง แต่มีข้อจํากัด คือ อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว
ส่วนพันธุ์ กข95 (ดกเจ้าพระยา) เป็นผลงานการพัฒนาจากศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท เป็นข้าวขาวพื้นแข็ง มีลักษณะประจำพันธุ์ คือ เป็นข้าวเจ้าพื้นนุ่มไม่ไวต่อช่วงแสง ความสูง 110 ซ.ม. คุณภาพการสีดีมาก ท้องไข่น้อย มีปริมาณอมิโลสสูง ร้อยละ 29.78 อายุการเก็บเกี่ยว 95 - 100 วัน มีลักษณะเด่น คือ ผลผลิตสูงเฉลี่ย 885 กก./ไร่ (มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูงสุด 1,213 กก./ไร่) ต้านทานต่อโรคไหม้ และค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เหมาะสำหรับนาชลประทานภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง แต่มีข้อจํากัด คือ อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดหลังขาว
สำหรับพันธุ์ กข97 (หอมรังสิต) เป็นผลงานการพัฒนาจากศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี เป็นข้าวหอมไทย มีลักษณะประจำพันธุ์ คือ อายุการเก็บเกี่ยว 111-114 วัน (ปักดำ) 106 วัน (หว่านน้ำตม) ผลผลิตสูงเฉลี่ย 767 กก./ไร่ (ศักยภาพการให้ผลผลิตสูงถึง 934 กก./ไร่) ความสูง 107 ซม. ปริมาณอมิโลสต่ำ ร้อยละ 15.25 เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีลักษณะเด่น คือ เป็นข้าวอมิโลสต่ำ ข้าวสุกนุ่มค่อนข้างเหนียว มีกลิ่นหอมเล็กน้อย ผลผลิตสูง 737 กก./ไร่ ศักยภาพการให้ผลผลิต 976 กก./ไร่ ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก เป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ สำหรับพื้นที่แนะนําควรปลูกพื้นที่นาชลประทาน ข้อจํากัด คือ อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ส่วนพันธุ์ กข101 (ทุ่งหลวงรังสิต) เป็นผลงานการพัฒนาจากศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี มีลักษณะประจำพันธุ์ คือ ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุการเก็บเกี่ยว 118 วัน (ปักดํา) ผลผลิตสูงเฉลี่ย 779 กก./ไร่ (มีศักยภาพการให้ผลผลิต 1,070 กก./ไร่) ความสูง 117 ซม. ปริมาณอมิโลสปานกลาง ร้อยละ 21.67 ข้าวสุกค่อนข้าวนุ่ม ไม่เหนียว ไม่ร่วน และ
ไม่มีกลิ่นหอม มีลักษณะเด่น คือ ต้านทานต่อโรคไหม้ พื้นที่แนะนํา ควรปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ข้อจํากัด คือ อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว
"สำหรับพันธุ์ กข95 (ดกเจ้าพระยา) มีความโดดเด่นที่สุดจาก 4 สายพันธุ์ เนื่องจากระยะเวลาเพาะปลูกสั้น เก็บเกี่ยวได้เร็ว ลดปัจจัยการผลิต เช่น น้ำ ปุ๋ย"
อย่างไรก็ตาม ข้าว กข 95 คาดว่าจะสามารถจําหน่ายให้เกษตรกรได้ตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป จำนวน 300 ตัน และจะมีการขยายการปลูกทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนเมษายนปีหน้าเป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม ในอนาคตกรมการข้าว
มีแนวทางการส่งเสริมผลิตข้าวคุณภาพให้ได้มากที่สุด โดยกรมการข้าวจะประสานงานไปยังกองทุนหมู่บ้าน เพื่อที่จะเป็นพื้นที่จําหน่ายเมล็ดพันธุ์ให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา ยอมรับว่าเกษตรกรจะต้องไปซื้อที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ ทำให้ยากต่อการกระจายเมล็ดพันธุ์คุณภาพสู่มือเกษตรกร อย่างไรก็ดี ในอนาคตอีก 3-4 ปี จะทำให้ประเทศเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวคุณภาพ ทั้งนี้ ภายในสิ้นปี 2565 กรมการข้าวจะประกาศรับรองพันธุ์เพิ่มอีก เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรให้ได้พันธุ์ข้าวที่ดี
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กัมพูชา
มีรายงานว่า รัฐบาลกัมพูชาได้เตรียมจัดทำแผนแม่บทที่ครอบคลุมเพื่อปรับปรุงภาคการเกษตรในประเทศ
ให้ทันสมัย โดยแถลงการณ์ของกระทรวงเกษตรระบุว่า กระทรวงฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของจีน เห็นชอบให้จัดตั้ง คณะทำงานจัดทำแผนแม่บทเพื่อติดตามและประเมินความก้าวหน้าของผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ เช่น ข้าว ข้าวโพด ยางพารา มันสำปะหลัง ปศุสัตว์ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมที่จัดขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรฯ ของกัมพูชา นําโดยนาย เวง สาคอน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กับคณะผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและกิจการชนบทของจีน โดยกระทรวงเกษตรฯ กัมพูชา ได้เสนอให้รวมพืชที่มีศักยภาพ เช่น มะม่วง และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ไว้ในแผนแม่บทด้วย
นายสาคอน แจ้งกับคณะผู้แทนจีน นําโดยนาย จาง ลู่เปียว อธิบดีศูนย์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างประเทศ กระทรวงเกษตรของจีนว่า กระทรวงเกษตรฯ กัมพูชา ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเตรียมแผนแม่บทเพื่อติดตามและประเมินความคืบหน้าของการนําไปปฏิบัติ โดยแถลงการณ์ระบุว่า เพื่อให้แผนแม่บทการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดไว้ รัฐมนตรีแนะนําให้ผู้เชี่ยวชาญของทั้งสองสถาบันตรวจสอบและพิจารณาผลักดัน
ให้มีการปรับปรุงการเกษตรให้ทันสมัย เติมเต็มห่วงโซ่การผลิตทางการเกษตรแบบครบวงจร โดยเน้นที่การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตภาคเอกชน และตลาด
นายสาคอน กล่าวว่า ควรมีการเชื่อมโยงโครงข่ายเพื่อเสริมสร้างการปลูกพืช การแปรรูป และการบรรจุหีบห่อ
ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีมาตรฐานตลาด และตรงตามความต้องการของผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศ
เพื่อพัฒนาการเกษตรของกัมพูชาอย่างยั่งยืน
ส่วนนายลู่เปียว กล่าวว่า ภารกิจหลักในครั้งนี้ของคณะผู้แทนจีนในกัมพูชา คือ การเสริมสร้างและขยาย
ความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะการช่วยกัมพูชาในการเตรียมแผนแม่บทการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระดับชาติที่จัดตั้งขึ้นแล้ว ซึ่งมีความสามารถและประสบการณ์สูงในด้านนี้
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินโดนีเซีย
กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture) แถลงว่า อินโดนีเซียมีอุปทานข้าวเพียงพอแล้ว และสต็อกข้าว
ที่มีในขณะนี้ มีเพียงพอสำหรับบริโภคไปจนถึงสิ้นปี 2565 จึงยังไม่มีความจำเป็นต้องนําเข้าข้าวในปีนี้
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the Central Bureau of Statics ; BPS) รายงานว่า ณ เดือนมิถุนายน 2565 มีสต็อกข้าวรวม 9.71 ล้านตัน แบ่งเป็น สต็อกในภาคครัวเรือนประมาณ 6.6 ล้านตัน ผู้ค้าข้าวประมาณ 1.04 ล้านตัน ในคลังของ Bulog ประมาณ 1.2 ล้านตัน และผู้ประกอบโรงสีประมาณ 0.69 ล้านตัน
ปัจจุบัน อินโดนีเซียได้หยุดการนําเข้าข้าวคุณภาพปานกลางเพื่อการบริโภค มีเพียงการนําเข้าข้าวชนิดพิเศษ และข้าวที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ปลายข้าว
โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 ประเทศไทยส่งข้าวไปอินโดนีเซียจำนวน 12,740 ตัน ลดลงร้อยละ 67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่เป็น ปลายข้าวเหนียว และข้าวเหนียว
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.93 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.03 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.49
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.99 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 343.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,104.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 334.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,958.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.69 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 146.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 657.00 เซนต์ (9,359.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 620.00 เซนต์ (8,703.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.97 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 656.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.406 ล้านไร่ ผลผลิต 35.094 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.372 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 โดยเดือนสิงหาคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.11 ล้านตัน (ร้อยละ 3.20 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.48 ล้านตัน (ร้อยละ 59.04 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง
เป็นช่วงการปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.73 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.20
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.96 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.94 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.29
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.20 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.20 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 275 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,900 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (9,750 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 498 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,910 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (17,630 บาทต่อตัน)

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 1.531 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.276 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.549 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.279 ล้านตันของเดือนกรกฎาคม คิดเป็นร้อยละ 1.13 และร้อยละ 1.13 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.08 บาท ลดลงจาก กก.ละ 6.59 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.74
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 34.90 บาท ลดลงจาก กก.ละ 34.93 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.09
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันบริโภคของคู่แข่ง แต่ราคายังถูกจำกัดด้วยข้อกังวลเกี่ยวกับปริมาณสต็อกของอินโดนีเซีย โดยราคาอ้างอิงในเดือนพฤศจิกายนสูงขึ้นร้อยละ 1.85 อยู่ที่ตันละ 4,232 ริงกิตมาเลซีย
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,202.79 ริงกิตมาเลเซีย (34.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,102.05 ริงกิตมาเลเซีย (33.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.46  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,121 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.56 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,078 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.45 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.99
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         
ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,562.36 เซนต์ (20.77 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,481.48 เซนต์ (19.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.46
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 466.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.88 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 445.36 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.76
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 69.41 เซนต์ (55.35 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 67.67 เซนต์ (53.21 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.57
   

 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.10 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 924.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.05 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 938.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.47 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 699.00 ดอลลาร์สหรัฐ (25.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 709.00 ดอลลาร์สหรัฐ (24.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,318.80 ดอลลาร์สหรัฐ (47.16 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,338.40 ดอลลาร์สหรัฐ (47.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 811.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.03 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 823.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,285.00 ดอลลาร์สหรัฐ (45.95 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,303.80 ดอลลาร์สหรัฐ (45.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44 แต่คงตัวในรูปเงินบาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.51 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.21 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14.85
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 116.75 เซนต์ (กิโลกรัมละ 93.13 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 119.38 เซนต์ (กิโลกรัมละ 93.89 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.20 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.76 บาท)
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,706 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,765 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.37 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,329 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,360 บาทคิดเป็นร้อยละ 2.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 985 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  104.99 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 104.30 คิดเป็นร้อยละ 0.66 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 96.98 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 109.58 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.13 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมากกว่าผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.73 บาทคิดเป็นร้อยละ 2.80 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 49.51 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 346 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 338 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 323 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 337 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 356 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 347 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.89 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.77 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 379 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 372 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 391 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 397 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 365 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 326 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 100.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.58 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.45 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 102.66 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 80.66 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 81.57 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 78.54 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน 
 
 
 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 22 - 28 สิงหาคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.51 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 59.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.07 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.29 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 81.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 138.82 บาท ราคาลดลง
จากกิโลกรัมละ 144.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.01 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 126.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 140.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 14.16 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.06 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.90 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 6.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา