สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 8-14 สิงหาคม 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,669 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,648 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,010 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,167 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.71
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,850 บาท ราคาลดลงจากตันละ 31,250 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 882 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,083 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 858 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,724  บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.80 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 359 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 439 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,471 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 421 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,075 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.28 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 396 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 442 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,577 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,362 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.03 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 215 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.2410 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวค่อนข้างทรงตัว ท่ามกลางภาวะที่ความต้องการข้าวจากต่างประเทศลดลง ขณะที่อุปทานข้าวในตลาดเพิ่มขึ้น เพราะกําลังมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวฤดูการผลิตฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (the summer-autumn crop) ขณะที่ผู้ค้าข้าวในประเทศได้ชะลอการซื้อข้าวเปลือกในช่วงนี้เพื่อรอให้ถึงช่วงที่ผลผลิต
จะออกสู่ตลาดมากที่สุด ซึ่งราคาข้าวมักจะอ่อนตัวลง โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ระดับ 395-400 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อเทียบกับระดับ 395-413 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำนักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลของศุลกากรเวียดนามว่า ในเดือนกรกฎาคม 2565 เวียดนาม สามารถส่งออกข้าวได้ 582,635 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 19.80 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2565 และในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-กรกฎาคม 2565) เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 4.08 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 17.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่มูลค่าส่งออกอยู่ที่ประมาณ 2.56 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ด้านกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (the Ministry of Agriculture and Rural Development) รายงานว่า ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-กรกฎาคม 2565) เวียดนามส่งออกข้าวได้แล้วประมาณ 4.20 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่มูลค่าส่งออกอยู่ที่ประมาณ 2 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 489 เหรียญสหรัฐต่อตัน โดยตลาดส่งออกที่เติบโตมากที่สุด คือ ตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 65.30
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตามด้วยตลาดฟิลิปปินส์ซึ่งเติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 48.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในเดือนมิถุนายน 2565 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 703,499 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 2.33 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2565 ที่ส่งออกจำนวน 720,282 ตัน แต่เพิ่มขึ้นประมาณ 57.23% เมื่อเทียบกับจำนวน 447,441 ตัน ในเดือนมิถุนายน 2564 โดยในเดือนมิถุนายน 2565 ชนิดข้าวที่เวียดนามส่งออกประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 215,289 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 7,066 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 17,165 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 14,890 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 8,030 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 51,337 ตัน ข้าวหอมจำนวน 363,512 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 26,209 ตัน โดยส่งไปยังตลาดในภูมิภาคต่างๆ ประกอบด้วย
1. ตลาดเอเชียจำนวน 506,941 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 155,676 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 6,990 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 17,165 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 14,890 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 4,355 ตัน
ข้าวเหนียวจำนวน 51,060 ตัน ข้าวหอมจำนวน 238,534 ตัน และข้าวอื่นๆจำนวน 18,272 ตัน
2. ตลาดแอฟริกาจำนวน 117,060 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 5,098 ตัน ข้าวหอมจำนวน 110,730 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 1,233 ตัน
3. ตลาดยุโรปจำนวน 7,590 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 847 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 68 ตัน
ข้าวหอมจำนวน 4,823 ตัน และข้าวอื่นๆจำนวน 1,852 ตัน
4. ตลาดอเมริกาจำนวน 55,901 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 53,010 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 168 ตัน ข้าวหอมจำนวน 2,311 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 413 ตัน
5. ตลาดโอเชียเนียจำนวน16,007 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 659 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 76 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 3,675 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 41 ตัน ข้าวหอมจำนวน 7,115 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 4,440 ตัน
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความวิตกกังวลว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาน้อยกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเขตพื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญ จะทำให้ผลผลิตข้าวในปีนี้ลดน้อย เพราะความคืบหน้าในการ เพาะปลูกข้าวในพื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญยังคงล่าช้ากว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ประกอบกับค่าเงินรูปีแข็งค่าขึ้น เล็กน้อย ส่งผลให้ราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ระดับ 364-370 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เพิ่มขึ้นจากระดับ 362-368 เหรียญ สหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อสัปดาห์ก่อน
ผู้ส่งออกรายหนึ่งจากเมือง Kakinada ในรัฐอานธรประเทศทางตอนใต้ของอินเดีย ระบุว่า การหว่านเมล็ดข้าวในปีนี้ยังเป็นไปอย่างล่าช้าในรัฐที่สำคัญทางภาคตะวันออกของประเทศ ซึ่งแม้ว่าจะคาดการณ์ว่าการหว่านจะเพิ่มขึ้น
ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แต่ผลผลิตที่จะได้ก็อาจมีแนวโน้มต่ำกว่าปกติ โดยข้อมูลจากกระทรวงเกษตรของอินเดียเผยว่า ขณะนี้เกษตรกรได้ลงมือปลูกข้าวไปแล้วประมาณ 144.75 ล้านไร่ ในฤดูกาลนี้ ซึ่งลดลงประมาณร้อยละ 13.20 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ท่ามกลางปริมาณน้ำฝนที่ยังต่ำกว่าปกติในบางพื้นที่
ทั้งนี้ วงการค้ากําลังพยายามที่จะประเมินความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในการผลิต ซึ่งยังไม่รู้ว่ามันจะมีมากน้อยเพียงใด
ทางด้านกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) ระบุในรายงานล่าสุดว่า ในปีนี้ผลผลิตข้าวของบังกลาเทศอาจจะลดลงประมาณร้อยละ 1 เหลือ 35.06 ล้านตัน ในขณะที่รัฐบาลกําลังพยายามที่จะเพิ่มสต็อกข้าวในประเทศจากที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม โดยการอนุญาตให้ผู้ค้าเอกชนนําเข้าข้าวได้โดยเฉพาะจากอินเดีย แต่สถานการณ์ในปัจจุบันยังคงมีอุปสรรค เนื่องจากการอ่อนค่าลงของสกุลเงินทากาเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ
กระทรวงเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร (the Ministry of Agriculture & Farmers Welfare) รายงานว่า
ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2565 เกษตรกรได้เพาะปลูกข้าวฤดูการผลิตฤดูร้อน (summer-sown rice) หรือฤดูการผลิต Kharif (กรกฎาคม-กันยายน) ปีการผลิต 2565/66 ไปแล้วประมาณ 171.44 ล้านไร่ ลดลงประมาณร้อยละ 12.70 เมื่อเทียบกับจำนวนประมาณ 196.31 ล้านไร่ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งสาเหตุที่ทำให้การเพาะปลูกลดลง เนื่องจากในช่วงเริ่มต้นฤดูฝนนับตั้งแต่วันที่ 1-30 มิถุนายน 2565 อินเดียได้รับน้ำฝนที่ตกลงมาในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ประมาณร้อยละ 10 ซึ่งแม้ว่าสถานการณ์ฝนจะดีขึ้นตั้งแต่สัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีปริมาณน้ำฝนรวม
ในเดือนกรกฎาคมที่สูงกว่าปกติประมาณร้อยละ 16.90 (ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2548 ตามรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย) แต่ในภาพรวมของการเพาะปลูกข้าวยังคงล่าช้ากว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ขณะที่ เจ้าหน้าที่ทางการกล่าวว่ายังเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบของการหว่านเมล็ดข้าวที่ลดลงต่อการผลิตข้าวโดยรวมในปีการเพาะปลูก 2565/66 ซึ่งประมาณร้อยละ 80 ของผลผลิตข้าวของประเทศจะปลูกในฤดูการ ผลิต the kharif season ส่วนที่เหลือปลูกในฤดู rabi season
กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (the India Meteorological Department) รายงานว่า ณ วันที่ 7 สิงหาคม 2565 ปริมาณน้ำฝนที่ตกสะสมของประเทศ (ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา) สูงกว่าค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 6
โดยปริมาณน้ำฝนสะสมที่ได้รับระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 7 สิงหาคม 2565 มีปริมาณ 538 มิลลิเมตร ซึ่งมากกว่า เกณฑ์มาตรฐาน (เหนือระดับปกติ) ในช่วงเวลาเดียวกัน (ที่ประมาณ 509 มิลลิเมตร) อยู่ประมาณร้อยละ 5.70
โดยพื้นที่คาบสมุทรทางตอนใต้ของประเทศ ตอนกลางของประเทศ และด้านเหนือของประเทศได้รับปริมาณน้ำฝนมากกว่าระดับปกติประมาณร้อยละ 37 ร้อยละ 9 และร้อยละ 1 ตามลำดับ ขณะที่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของ อินเดีย ภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าระดับปกติประมาณร้อยละ 15 โดยในรัฐที่เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ เช่น Punjab (ร้อยละ 9) Andhra Pradesh (ร้อยละ 29) และTelangana (ร้อยละ 86) ได้รับปริมาณน้ำฝนที่สูงกว่าปกติถึงมากเกินไปเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน/ค่าเฉลี่ยระยะยาว (long period average: LPA) ในขณะที่ รัฐ Odisha และ Chhattigarh ได้รับปริมาณน้ำฝนตามปกติจนถึงขณะนี้
สำนักข่าว the Business Standard รายงานว่า จากการที่มีการคาดการณ์ว่า ในปีนี้พื้นที่เพาะปลูกข้าวของอินเดียอาจจะลดลงจากปีที่ผ่านมานั้น อาจจะทำให้ผลผลิตข้าวทั้งปีลดลงประมาณ 10-12 ล้านตัน ซึ่งนักวิเคราะห์
ตั้งข้อสังเกตว่าช่วงเวลาของฤดูการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวใกล้จะเสร็จสิ้นลงแล้วในรัฐที่เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของประเทศ แม้ว่าจะมีการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกในระยะต่อไป แต่อาจจะไม่ให้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ โดยในฤดูการผลิต Kharif ของ
ปีการผลิต 2564/65 อินเดียสามารถผลิตข้าวได้มากกว่า 111 ล้านตัน
ทางการอินเดีย รายงานว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565/66 (เมษายน 2565-มีนาคม 2566) อินเดียส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
โดยสามารถส่งออกข้าวบาสมาติมูลค่าประมาณ 1.15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 25.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติมีมูลค่าประมาณ 1.56 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
เว็บไซต์อัลจาซีราห์รายงานว่า อินเดียกําลังเผชิญปัญหาผลผลิตข้าวไม่ได้ตามเป้าซึ่งอาจบั่นทอนฐานะประเทศ
ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่สุดของโลกในช่วงที่ต้นทุนอาหารทะยานต่อเนื่อง ภาวะเงินเฟ้อเล่นงานทุกประเทศทั่วโลก
ทั้งนี้ อัลจาซีราห์รายงานว่า ข้าวอาจเป็นปัญหาท้าทายต่อไปของระบบห่วงโซ่อุปทานโลกด้านอาหาร เนื่องจากฝนทิ้งช่วงในพื้นที่ต่างๆ ของอินเดีย ที่เป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่สุดของโลกและปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นทำให้พื้นที่ปลูกข้าวลดลงมากที่สุดตลอดช่วงสามปีที่ผ่านมา
ปัญหาผลผลิตข้าวที่ลดลงในอินเดียมีขึ้นในช่วงที่ประเทศต่างๆ กําลังรับมือกับต้นทุนอาหารพุ่งและภาวะเงินเฟ้อเล่นงานแทบทุกประเทศทั่วโลก โดยตอนนี้พื้นที่เพาะปลูกข้าวโดยรวมในอินเดียลดลงประมาณร้อยละ 13 เพราะผลพวงฝนทิ้งช่วงในบางพื้นที่ รวมถึงเบงกอลตะวันตก และอุตระประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณหนึ่งในสี่ของผลผลิตข้าวของอินเดีย
บรรดาเทรดเดอร์ต่างวิตกกังวลว่าการลดลงของผลผลิตข้าวจะสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นแก่อินเดียที่กําลังแก้ปัญหาเงินเฟ้อ และอาจทำให้ทางการอินเดียตัดสินใจออกมาตรการคุมเข้มด้านการส่งออกข้าว อินเดียครองสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของปริมาณค้าข้าวทั่วโลก และที่ผ่านมารัฐบาลอินเดียใช้มาตรการควบคุมการส่งออกข้าวสาลี และน้ำตาล เพื่อความมั่นคงด้านอาหารในประเทศและควบคุมราคาในประเทศไม่ให้สูงเกินไป
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.46 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.79 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.37 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.89 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.04
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.83 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 338.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,096.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 350.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,317.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.43 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 221.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 623.00 เซนต์ (8,745.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 600.00 เซนต์ (8,565.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.83 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 180.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.406 ล้านไร่ ผลผลิต 35.094 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.372 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 โดยเดือนสิงหาคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.11 ล้านตัน (ร้อยละ 3.20 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.48 ล้านตัน (ร้อยละ 59.04 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง
เป็นช่วงการปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.71 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.73 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.73
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.93 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.88 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.73
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.20 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.25 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 17.34 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.52
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 275 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,790 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (9,980 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 498 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,700 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (18,060 บาทต่อตัน)

 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 1.531 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.276 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.549 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.279 ล้านตันของเดือนกรกฎาคม คิดเป็นร้อยละ 1.13 และร้อยละ 1.13 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.98 บาท ลดลงจาก กก.ละ 6.55 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.70
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 34.06 บาท ลดลงจาก กก.ละ 34.70 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.84
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สต็อกน้ำมันปาล์มของมาเลเซียในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.84 ไปอยู่ที่ 1.57 ล้านตัน จากเดือนมิถุนายน ขณะที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.72 คิดเป็น 1.32 ล้านตัน โดยมีผู้ซื้อรายใหญ่คือ อิหร่าน อินเดีย ตุรกี เคนยา และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นการนำเข้าน้ำมันปาล์มเพื่อทดแทนน้ำมันดอกทานตะวัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,238.72 ริงกิตมาเลเซีย (34.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,066.02 ริงกิตมาเลเซีย (33.37 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.25  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,075 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.35 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 991 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.90 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.48
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         
ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ    


         โรงงานน้ำตาลใน ภาคกลาง-ใต้ของบราซิล หีบอ้อย 48.93 ล้านตัน ในช่วงครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้น 4.31% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากคุณภาพอ้อยที่ดีขึ้นและสภาพอากาศแห้งแล้ง ตามข้อมูลของ UNICA ผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่การผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.78
เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม การผลิตน้ำตาลสะสมยังคงลดลงร้อยละ 13.04 ที่ 15.97 ล้านตัน ระหว่างที่โรงงานน้ำตาลจะขายเอทานอลที่ 1.39 พันล้านลิตร ในตลาดภายในประเทศ ซึ่งลดลงร้อยละ 7.58 เมื่อเทียบกับ
ปีที่แล้ว แม้ว่าผู้อำนวยการของ UNICA จะตั้งข้อสังเกตว่ายอดขายไฮดรัสในเดือนกรกฎาคมสูงกว่าในเดือนมิถุนายนร้อยละ 4.11
         นักวิเคราะห์ตลาดโลกกล่าวว่า ราคาน้ำตาลในยุโรปมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตบีท ลดลงประกอบกับราคาก๊าซธรรมชาติสูงขึ้น ซึ่งโรงงานผลิตน้ำตาลทรายขาวในภาคตะวันออกกลางต้องเข้ามาดำเนินการจัดหาน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ตามความต้องการของตลาดโลก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนค่าพรีเมียมน้ำตาลขาวในอนาคต




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,675.96 เซนต์ (21.97 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,590.20 เซนต์ (21.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.39
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 513.66 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18.32 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 494.14 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.90 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.95
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 66.86 เซนต์ (52.56 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 66.23 เซนต์ (52.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.95
   

 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.64 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 25.28
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 937.25 ดอลลาร์สหรัฐ (33.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 921.80 ดอลลาร์สหรัฐ (33.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 709.25 ดอลลาร์สหรัฐ (24.99 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 696.80 ดอลลาร์สหรัฐ (24.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.79 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,337.75 ดอลลาร์สหรัฐ (47.14 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,315.40 ดอลลาร์สหรัฐ (47.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.70 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 823.25 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 809.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.98 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,303.50 ดอลลาร์สหรัฐ (45.94 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,281.40 ดอลลาร์สหรัฐ (45.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.52 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.03 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.82
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.80 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.77
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 107.55 เซนต์(กิโลกรัมละ 84.57 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 100.66 เซนต์ (กิโลกรัมละ 80.41 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.84 (สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 4.16 บาท)
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,876 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,727 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.61 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,453 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,352 บาทคิดเป็นร้อยละ 7.43 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 985 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  103.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 103.54  คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 95.14 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 109.08 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 103.54 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่าผลผลิตที่ออกสู่ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.16 บาทคิดเป็นร้อยละ 3.43 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 51.30 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 338 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 333 บาทคิดเป็นร้อยละ 1.58 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 322 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 331 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 344 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 340 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.82 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.77 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 376 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 372 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 395 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 392 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 352 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 353 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.35 บาท สูงขึ้นจากเฉลี่ยร้อยฟองละ 4.25 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.35 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 100.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 100.31 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.39 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 103.28 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 92.48 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.53 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 81.64 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.76 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 
 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 8 - 14 สิงหาคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.81 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 60.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.66 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.20 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 80.90 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.30 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.11 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 141.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.59 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 146.67.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.06 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.51 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.88 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา