- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 20-26 มิถุนายน 2565
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,940 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,028 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,132 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,152 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,250 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,710 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 876 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,793 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 885 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,741 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 52 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 427 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,010 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 441 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,318 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.17 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 308 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 441 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,502 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 452 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,700 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.43 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 198 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.1513 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายบุรินทร์ ธนถาวรลาภ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย เปิดเผยว่า เดือนกรกฎาคมนี้ ผู้ประกอบการข้าวสารบรรจุถุงเตรียมจะปรับขึ้นราคาข้าวถุง โดยข้าวสารหอมมะลิบรรจุถุง (ขนาด 5 ก.ก.) จะปรับขึ้น 30 บาท/ถุง คือ ปรับจาก 165 บาท/ถุง เป็น 195 บาท/ถุง ส่วนข้าวสารเจ้า ปรับขึ้น 10 บาท/ถุง คือ ปรับจาก 80-90 บาท/ถุง เป็น 90-100 บาท/ถุง เนื่องจากสต็อกข้าวสารเก่าหมดแล้ว ขณะที่ข้าวสารล็อตใหม่มีราคาแพงขึ้นมาก โดยข้าวสารหอมมะลิ มีราคาปรับจาก 2,300 บาท/กระสอบ (100 ก.ก.) เป็น 3,200 บาท/กระสอบ ส่วนข้าวสารเจ้า ราคาปรับจาก 1,300 บาท/กระสอบ เป็น 1,450 บาท/กระสอบ ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมากจนต้องปรับราคาจำหน่ายข้าวถุง
“ตอนนี้ข้าวถุงก็เหมือนระเบิดเวลา รอวันที่จะระเบิด เพราะผู้ประกอบการยื้อราคาต่อไม่ไหว ที่ผ่านมาผู้ประกอบการข้าวถุงขายข้าวตัดราคากันเอง ขายต่ำแบบขายขาดทุน เพื่อช่วงชิงตลาดในช่วงที่กำลังซื้อหดตัวอย่างมาก ทำให้ข้าวราคาต่ำผิดปกติ แต่วันนี้ ต้นทุนข้าวสารแพงขึ้นมาก คงจะทนขายขาดทุนต่อไปไม่ไหว ต้องปรับขึ้นราคาแน่นอนในเดือนหน้า”
นายบุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการข้าวถุงแทบไม่มีกำไรจากการขายข้าว ได้กำไรเฉลี่ย 0.50-1 บาท/ถุง เท่านั้น เพราะต้นทุนข้าสารสูงมาก ข้าวสารหอมมะลิ ต้นทุนอยู่ที่ 165 บาท/ถุง ราคาขายก็อยู่ที่
165 บาท/ถุง ส่วนข้าวสารเจ้า ต้นทุนอยู่ที่ 88 บาท/ถุง ราคาขายอยู่ที่ 92-95 บาท/ถุง
สำหรับในส่วนของข้าวสารเจ้า แม้ว่าราคาขายจะสูงกว่าต้นทุน แต่ผู้ประกอบการก็ไม่ได้กำไร กำไรไปอยู่กับห้างที่นำข้าวถุงไปขาย เพราะปัจจุบันห้างมีการเรียกเก็บค่าส่วนลด ขอส่วนแบ่งกำไร จิปาถะจำนวนมากจากผู้ประกอบการข้าวถุง รวมๆ ราวร้อยละ 10 ทำให้ผู้ประกอบการไม่มีกำไร อยากให้กระทรวงพาณิชย์ เข้าไปดูแลให้เกิดความเป็นธรรมด้วย
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ในระดับทรงตัว ท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวที่แข็งแกร่งจากการที่
ผู้ซื้อข้าวจากต่างประเทศกังวลว่าอินเดียอาจจะจํากัดการจัดส่งออกข้าวในอนาคต หลังจากที่รัฐบาลได้จํากัดการส่งออกข้าวสาลีและน้ำตาลไปแล้ว ในขณะที่ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดในรอบหลายปีส่งผลให้ราคาข้าวนึ่ง 5% ทรงตัวอยู่ที่ตันละ 357-362 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับเมื่อสัปดาห์ก่อน
สํานักข่าว The Indian Express รายงานว่า ในปีงบประมาณ 2021/22 (เมษายน 2564-มีนาคม 2565) ประเทศจีนนําเข้าข้าวจากอินเดียประมาณ 1.634 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 383 เมื่อเทียบกับจํานวนประมาณ 331,000 ตัน ในปี 2563/64 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.7 ของปริมาณส่งออกข้าวของอินเดียในปี 2564/65 ที่ส่งออกได้ 21.21 ล้านตัน โดยประเทศจีนนําเข้าข้าวหักจากอินเดียประมาณ 1.576 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 97 ของ
การนําเข้าข้าวของจีนจากอินเดีย และทําให้ประเทศจีนเป็นผู้นําเข้าข้าวหักรายใหญ่ที่สุดของอินเดีย
อดีตประธานสมาคมผู้ส่งออกข้าวอินเดีย (the former president of All India Rice Exporters Association (AIREA)) ระบุว่า การที่ประเทศจีนนําเข้าข้าวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการนําไปใช้อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว และอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น นอกจากนี้การที่ภาวะราคาข้าวโพด ในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นยังเป็นแรงผลักดันให้ประเทศจีนต้องนําเข้าข้าวหักเพิ่มขึ้นเพื่อนําไปทดแทนข้าวโพดด้วย
ในปีงบประมาณ 2564/65 (เมษายน 2564-มีนาคม 2565) อินเดียส่งออกข้าวได้ประมาณ 21.21 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบกับจํานวนประมาณ 17.779 ล้านตัน ในปี 2563/64 โดยส่งออกข้าวบาสมาติ ประมาณ 3.948 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 14.73 เมื่อเทียบกับจํานวนประมาณ 4.63 ล้านตัน ในปี 2563/64 ขณะที่การส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติ (Non-basmati rice) มีประมาณ 17.262 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 31.27 เมื่อเทียบกับจํานวนประมาณ 13.149 ล้านตัน ในปี 2563/64 โดยในจํานวนนี้เป็นข้าวหักประมาณ 3.864
ล้านตัน ซึ่งถูกส่งไปยังประเทศจีนประมาณ 1.576 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 476.4 เมื่อเทียบกับจํานวนประมาณ 0.273 ล้านตัน ในปี 2563/64
ทางด้านอธิบดีกรมข่าวกรองและสถิติเชิงพาณิชย์ (Directorate General of Commercial Intelligence and Statistics (DGCIS)) ระบุว่า ในปีงบประมาณ 2563/64 (เมษายน 2564-มีนาคม 2565) อินเดียส่งออกข้าว
บาสมาติประมาณ 3.947 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 3.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงประมาณร้อยละ 14.73 และร้อยละ 11.51 เมื่อเทียบกับจํานวนประมาณ 4.631 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 4.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2563/64
โดยอินเดียส่งออกข้าวบาสมาติไปยัง 153 ประเทศ โดย 10 อันดับแรกประกอบด้วยประเทศ Iran, Saudi Arabia, Iraq, United Arab Emirates (UAE), Yemen, United States of America, Kuwait, United Kingdom, Oman และ Qatar โดยประเทศ Iran นําเข้าประมาณ 0.998 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.53) ตามด้วยประเทศ Saudi Arabia จํานวนประมาณ 0.36 ล้านตัน (ลดลงร้อยละ 34.8) ประเทศ Iraq จํานวนประมาณ 0.159 ล้านตัน (ลดลงร้อยละ 27.4) เป็นต้น
สํานักข่าว Bloomberg รายงานโดยอ้างข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (the India Meteorological Department) ว่า นับตั้งแต่เริ่มต้นฤดูฝน (ฤดูมรสุม) เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนมาจนถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2565 อินเดีย ได้รับน้ำฝนที่ตกลงมาในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ประมาณร้อยละ 37 โดยพื้นที่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ของประเทศได้รับปริมาณน้ำฝนในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณร้อยละ 83 ร้อยละ 66 และร้อยละ 39 ตามลําดับ ในขณะที่ทางภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับปริมาณน้ำฝนในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณร้อยละ 2
ทั้งนี้ ฤดูฝนอย่างเป็นทางการของอินเดียได้เริ่มขึ้นและมีผลกระทบต่อรัฐ Kerala ที่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2565 ซึ่งเร็วกว่าเวลาปกติ 2 วัน (ตามปกติฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายนของทุกปี)
ก่อนหน้านี้กรมอุตุนิยมวิทยา (IMD) คาดการณ์ปริมาณฝนในปีนี้จะอยู่ในช่วงค่าเฉลี่ยปกติที่ระดับร้อยละ 103 โดยจะมีการกระจายตัวไปทั่วประเทศในระดับที่ดีซึ่งการพยากรณ์ที่ว่าปริมาณฝนจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีนั้นมีแนวโน้มที่
ช่วยให้ผลผลิตข้าวในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้กรมอุตุนิยมวิทยา (IMD) ได้กําหนดปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยหรือปกติ (average or normal rainfall) ว่าอยู่ในช่วงร้อยละ 96-104 ของค่าเฉลี่ย 50 ปีที่ระดับ 88 เซ็นติเมตร (ประมาณ 34 นิ้ว) สําหรับฤดูกาลในช่วง 4 เดือน (มิถุนายน-กันยายน) ซึ่งฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่เกิดขึ้นในทุกปีมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อภาคการเกษตรของอินเดีย
สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลีรายงานว่า หลังจากรัฐบาลอินเดียระงับการส่งออกข้าวสาลีเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2565 ส่งผลให้กลุ่มผู้ค้าข้าวได้ทําการเพิ่มจํานวนการสั่งซื้อรวมไปถึงวางแผนการสั่งซื้อและการจัดส่งในระยะยาว เนื่องจากกลัวว่าอินเดียซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกจะระงับการส่งออกข้าวอีกครั้ง
โดยในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาทางกลุ่มผู้ค้าข้าวได้ทําการลงนามสัญญาการส่งออกข้าวเป็นจํานวน 1 ล้านตัน และจะเริ่มการจัดส่งในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน พร้อมทั้งเร่งทําการเปิดตราสารเครดิต (LCs) เพื่อเป็นการรับประกันว่าข้าวจะถูกส่งไปถึงผู้ซื้อถึงแม้ว่าทางการอินเดียจะระงับการส่งออกข้าวในอนาคต โดยนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาได้มี
การสั่งซื้อข้าวจํานวนสูงถึง 9.6 ล้านตัน และได้ทําการขนส่งออกจากอินเดียแล้ว ซึ่งถือว่าเทียบเท่า ปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมดของปี 2564
ทางนายฮิมานชูอัครวาล กรรมการบริหาร Satyam Balajee หนึ่งในบริษัทส่งออกข้าวรายใหญ่ของอินเดียกล่าวว่า ผู้ค้าต่างชาติได้สั่งซื้อข้าวล่วงหน้าสําหรับ 3-4 เดือน พร้อมทั้งเปิดตราสารเครดิต จากยอดการสั่งซื้อจํานวนมากจากอินเดียสามารถลดอุปสงค์ข้าวจากเวียดนามและไทยที่เป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกที่ 2 และ 3 ตามลําดับ
ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาทางอินเดียได้สร้างความแปลกใจโดยระงับการส่งออกข้าวสาลี ซึ่งประกาศนี้ เกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากรัฐบาลได้ตั้งเป้าที่จะทําลายสถิติส่งออกในปี 2565 รวมไปถึงการจํากัดการส่งออกน้ำตาล
ซึ่งอินเดียเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลกลําดับที่ 2 รองจากบราซิล ซึ่งจากการห้ามการส่งออกข้าวสาลีของอินเดียทําให้มีธัญพืชเป็นจํานวนมากค้างอยู่ที่ท่าเรือ เนื่องจากทางรัฐบาลจะอนุญาตการส่งออกสําหรับผู้ที่มีตราสารเครดิตเท่านั้น
นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวอินเดียกล่าว ผู้ซื้อทั่วโลกต่างจับจ้องข้าวอินเดียเนื่องจากข้าวอินเดียนั้นถูกกว่า
คู่แข่งรายอื่นมากถึงร้อยละ 30 โดยตัวแทนจําหน่ายกล่าวว่า ข้าวขาว 5% ของอินเดียมีราคาอยู่ที่ตันละ 330-340 ดอลลาร์สหรัฐฯ (FOB) ซึ่งราคาต่ำกว่าราคาของไทยที่ตันละ 455-460 ดอลลาร์สหรัฐฯ และต่ำกว่าเวียดนามที่ตันละ 420-425 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยประเทศบังคลาเทศ จีน เบนิน แคเมอรูน เนปาล เซเนกัล และโตโก คือประเทศหลัก
ที่นําเข้าข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ (Non-Basmati Rice) จากอินเดีย
ทั้งนี้ แม้ว่า Department of Food & Public Distribution ของอินเดียได้ออกมายืนยันว่าอินเดียยังมีปริมาณคลังข้าวเกินเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศและราคาในประเทศอยู่ในภาวะปกติก็ตาม แต่ก็ยังทําให้ผู้ซื้อจากต่างประเทศเพิ่มคําสั่งซื้อและคาดการณ์ราคาข้าวในตลาดโลกอาจปรับตัวสูงขึ้นและไม่มั่นใจว่าอินเดียจะใช้มาตรการห้ามส่งออกหรือควบคุมการส่งออกข้าวในระยะต่อไปหรือไม่ เช่น กรณีห้ามส่งออกข้าวสาลีอย่างกระทันหันก่อนหน้านี้ทั้งนี้ การออกมาตรการห้ามส่งออกข้าวสาลีของอินเดียเกิดจากปัจจัยหลายสาเหตุ อาทิ ราคาอาหารภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์เหตุการณ์ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียยูเครน การส่งออกที่ไม่มีการควบคุมก่อนหน้านี้ และผลผลิตข้าวสาลีในประเทศที่ผลิตได้น้อยลงจากคลื่นความร้อนในปีนี้ ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารในหลายประเทศ
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
บังคลาเทศ
มีรายงานว่า จากการที่มีฝนตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่บางส่วนของประเทศ ซึ่งทําให้เกิดน้ำท่วมตามมานั้น กระทรวงเกษตรได้ประมาณการว่าอาจจะมีพืชผลทางการเกษตรที่เป็นผลผลิตข้าวประมาณ 300,000 ตัน ได้รับความเสียหาย
ขณะที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐมนตรีกระทรวงอาหารกล่าวว่า บังกลาเทศจะอนุญาตให้ผู้ค้าเอกชนนําเข้าข้าวได้
ซึ่งคาดว่าข้าวส่วนใหญ่จะมาจากอินเดียโดยการขนส่งมาทางถนน เนื่องจากมีต้นทุนราคาที่สามารถแข่งขันได้
ทั้งนี้ เว็บไซต์ Financial Express รายงานว่า รัฐบาลบังคลาเทศมีแนวโน้มที่จะลดภาษีนําเข้าข้าวจากปัจจุบันที่อัตราร้อยละ 62.5 ลงเหลือร้อยละ 0 เพื่อส่งเสริมให้ผู้นําเข้าเอกชนนําเข้าข้าวจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในประเทศ
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.48 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.89 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.82 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 384.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,491.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 376.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,067.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.13 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 424.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2565/66 มีปริมาณ 1,186.28 ล้านตัน ลดลงจาก 1,198.39 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 1.01 โดย จีน บราซิล เม็กซิโก อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และรัสเซีย มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลกมี 183.20 ล้านตัน ลดลงจาก 189.13 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 3.13 โดย บราซิล รัสเซีย แอฟริกาใต้ และปารากวัย ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก เวียดนาม อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย เปรู ตุรกีบังกลาเทศ กัวเตมาลา และสาธารณรัฐโดมินิกัน มีการนำเข้าลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 756.00 เซนต์ (10,594.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 777.00 เซนต์ (10,753.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.70 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 159.00 บาท
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.48 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.89 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.82 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 384.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,491.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 376.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,067.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.13 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 424.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2565/66 มีปริมาณ 1,186.28 ล้านตัน ลดลงจาก 1,198.39 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 1.01 โดย จีน บราซิล เม็กซิโก อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และรัสเซีย มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลกมี 183.20 ล้านตัน ลดลงจาก 189.13 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 3.13 โดย บราซิล รัสเซีย แอฟริกาใต้ และปารากวัย ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก เวียดนาม อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย เปรู ตุรกีบังกลาเทศ กัวเตมาลา และสาธารณรัฐโดมินิกัน มีการนำเข้าลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 756.00 เซนต์ (10,594.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 777.00 เซนต์ (10,753.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.70 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 159.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.406 ล้านไร่ ผลผลิต 35.094 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.372 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 โดยเดือนมิถุนายน 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.663 ล้านตัน (ร้อยละ 1.91 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.48 ล้านตัน (ร้อยละ 59.04 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง เป็นช่วงการปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.56 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.97 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.91 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.87
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.16 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.12 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.44
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.46 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.23
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 289 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,220 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 292 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,180 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.03
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 535 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,920 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (18,670 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.665 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.300 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.684 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.303 ล้านตันของเดือนพฤษภาคม คิดเป็นร้อยละ 1.13 และร้อยละ 0.99 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 9.10 บาท ลดลงจาก กก.ละ 9.95 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.54
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 48.95 บาท ลดลงจาก กก.ละ 54.10 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 9.52
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
กลุ่มเกษตรกรในอินโดนีเซียต้องการให้รัฐยกเลิกข้อกำหนดของผู้ส่งออกที่ต้องขายน้ำมันปาล์มส่วนหนึ่งในประเทศ เนื่องจากมาตรการนี้ไม่ได้ช่วยให้ราคาทะลายปาล์มเพิ่มขึ้น ถึงแม้จะมีมาตรการลดภาษีส่งออกและเร่งการส่งออก ราคาทะลายปาล์มก็ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งหากผู้ส่งออกที่ไม่ได้ขายสินค้าในประเทศแต่ต้องการส่งออก ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตันละ 200 ดอลลาร์สหรัฐ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,968.01 ดอลลาร์มาเลเซีย (40.50 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 5,703.99 ดอลลาร์มาเลเซีย (45.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 12.90
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,435 ดอลลาร์สหรัฐฯ (51.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,587.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (55.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.61
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก หมายเลข 11 (เซนต์/ปอนด์)
ตลาดปิดทำการเนื่องในวันจูนทีนธ์ วันประกาศเลิกทาสของสหรัฐฯ (Juneteenth)
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก หมายเลข 11 (เซนต์/ปอนด์)
ตลาดปิดทำการเนื่องในวันจูนทีนธ์ วันประกาศเลิกทาสของสหรัฐฯ (Juneteenth)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,634.35 เซนต์ (21.37 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,702.16 เซนต์ (21.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.98
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 430.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.33 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 422.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.01
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 70.37 เซนต์ (55.18 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 77.12 เซนต์ (59.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.75
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,634.35 เซนต์ (21.37 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,702.16 เซนต์ (21.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.98
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 430.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.33 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 422.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.01
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 70.37 เซนต์ (55.18 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 77.12 เซนต์ (59.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.75
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.71 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 938.67 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 951.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.32 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 681.00 ดอลลาร์สหรัฐ (23.94 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 690.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.36 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,196.33 ดอลลาร์สหรัฐ (42.05 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,212.40 ดอลลาร์สหรัฐ (42.11 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.33 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 752.67 ดอลลาร์สหรัฐ (26.46 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 762.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.33 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,162.33 ดอลลาร์สหรัฐ (40.86 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,177.80 ดอลลาร์สหรัฐ (40.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.99 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.89 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 75.46
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.20 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 141.05 เซนต์(กิโลกรัมละ 110.63 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 143.86 เซนต์ (กิโลกรัมละ 111.51 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.95 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.88 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,835 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,851 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,450 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,495 บาทคิดเป็นร้อยละ 3.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,019 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,013 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 101.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 101.17 คิดเป็นร้อยละ 0.61 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.01 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 92.24 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 107.26 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.47 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,700 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.23 บาทคิดเป็นร้อยละ 6.63 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 46.72 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 15.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 12.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.80 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.80 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 328 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 329 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 315 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 324 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 332 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 330 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.62 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.44 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 372 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 368 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.93 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 386 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 384 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 348 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 377 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 99.76 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.31 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 102.99 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.07 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.41 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 82.34 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.60 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.63 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 101.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 101.17 คิดเป็นร้อยละ 0.61 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.01 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 92.24 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 107.26 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.47 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,700 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.23 บาทคิดเป็นร้อยละ 6.63 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 46.72 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 15.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 12.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.80 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.80 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 328 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 329 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 315 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 324 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 332 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 330 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.62 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.44 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 372 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 368 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.93 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 386 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 384 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 348 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 377 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 99.76 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.31 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 102.99 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.07 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.41 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 82.34 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.60 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.63 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 – 26 มิถุนายน 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.37 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 58.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 12.19 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.30 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.50 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 149.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 152.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.54 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.06 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.91 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.85 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 10.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.15 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 – 26 มิถุนายน 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.37 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 58.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 12.19 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.30 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.50 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 149.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 152.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.54 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.06 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.91 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.85 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 10.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.15 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา