สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 27 กันยายน-3 ตุลาคม 2564

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,865 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 9,817 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,457 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 7,424 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 24,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,030 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 11,650 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.26
 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 689 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,050 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 698 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,140 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.29 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 90 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,248 บาท/ตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 392 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,995 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 253 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,248 บาท/ตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 395 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,095 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 153 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.4543 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

ฟิลิปปินส์
กระทรวงเกษตร (The Philippines Department of Agriculture; DA) รายงานว่า ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564) คาดว่าจะมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเปลือกได้ประมาณ 11 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้ผลผลิตข้าวเปลือกในปีนี้มีประมาณ 20 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปริมาณ 19.4 ล้านตัน ในปี 2563 ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2564 ฟิลิปปินส์สามารถเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกได้ประมาณ 4.17 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 1.2
รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรระบุว่า รัฐบาลกำลังออกมาตรการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรโดยตรงในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวหลักเพื่อช่วยเหลือรายได้ของเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในประเทศ
หนังสือพิมพ์ Manila Bulletin รายงานว่า กลุ่มองค์กรด้านการเกษตร Samahang Industriya ng Agrikultura (Sinag) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าราคาข้าวขายปลีกในประเทศยังคงสูง แม้ว่าฟิลิปปินส์จะมีการนำเข้าจำนวนมากก็ตาม ซึ่งเห็นได้จากการที่ในช่วงสามปีที่ผ่านมา มีการนำเข้าข้าวจำนวนมากแต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ราคาข้าวในประเทศลดลงได้
ในปี 2563 รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ยกเลิกข้อจำกัดด้านปริมาณในการนำเข้าข้าว (the quantitative restrictions on rice imports) และได้ใช้นโยบายตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากร (the Rice Tariffication Law) ที่มีการอนุญาตให้นำเข้าข้าวเข้าในประเทศได้ไม่จำกัด และเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลยังได้ลดอัตราภาษีนำเข้าข้าวเข้าจากประเทศนอกอาเซียนเป็นการชั่วคราวด้วย
ข้อมูลของทางการระบุว่า ในช่วงสามปีที่ผ่านมามีการนำเข้าข้าวประมาณ 7.2 ล้านตัน ซึ่งแม้จะมีการนำเข้าข้าวจำนวนมาก แต่ราคาขายปลีกของข้าวสารเกรดธรรมดา (retail prices of regular milled rice) ยังคงอยู่ที่ประมาณ 38 เปโซต่อกิโลกรัม (ประมาณ 747 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระดับราคาที่ 27-30 เปโซต่อกิโลกรัม (ประมาณ 531-590 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน) เมื่อห้าปีก่อน ในทางกลับกัน การนำเข้าข้าวจำนวนมากจากต่างประเทศได้ผลักราคาข้าวเปลือกของเกษตรกรให้ลดลงอยู่ที่ 10-13 เปโซต่อกิโลกรัม (ประมาณ 196-256 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน)
ซึ่งระดับราคาดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมต้นทุนการผลิตของเกษตรกร
ที่มา: Oryza.com และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
จีน
สำนักงานศุลกากรจีน (GACC) รายงานว่า ปริมาณข้าวนำเข้าของจีนในเดือนกรกฎาคม 2564 มีปริมาณ 287,686.27 ตัน ลดลงร้อยละ 5.99 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยนำเข้าข้าวจากประเทศอินเดีย 104,680 ตัน เวียดนาม 83,664.57 ตัน และไทย 32,109.71 ตัน
สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า นครฉงชิ่งได้เริ่มเก็บเกี่ยวข้าวยักษ์ซึ่งเป็นข้าวลูกผสมสายพันธุ์หนึ่งที่มีความสูง 2 เมตร ในแปลงทดลอง โดยให้ผลผลิตประมาณ 1.2 ตันต่อไร่ โดยรายงานข่าวระบุว่า ข้าวยักษ์เป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ พัฒนาโดยสถาบันการเกษตรกึ่งเขตร้อน สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ในปี 2560 และประสบความสำเร็จในการเพาะปลูก
ที่มณฑลหูหนานทางตอนกลางของจีน และพื้นที่อื่นๆ ทั้งนี้ ข้าวยักษ์มีความสูงเป็นสองเท่าของข้าวธรรมดา โดยมีความสูงมากสุดราว 2.2 เมตร
นายเฉิน หยางผู่ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมข้าวลูกผสมระดับชาติของจีน สาขานครฉง ชิ่ง กล่าวว่า ข้าวยักษ์มีรวงข้าวขนาดใหญ่และให้เมล็ดข้าวมากกว่า จึงให้ผลผลิตค่อนข้างสูงและคุณภาพดี ซึ่งข้อดีอย่างหนึ่งที่โดดเด่น คือ สามารถนำมาปลูกในนาร่วมกับการเลี้ยงปลาได้ และเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงปักกิ่ง และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.65 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.10 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.11
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.34 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 11.08 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 344.20 ดอลลาร์สหรัฐ (11,515.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 347.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,487.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 28.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 538.00 เซนต์ (7,174.00บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชล 524.00 เซนต์ (6,932.00บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.67 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 242.00 บาท

 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.507 ล้านไร่ ผลผลิต 31.632 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.327 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.60 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 2.31 ตามลำดับ โดยเดือนกันยายน 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.734 ล้านตัน (ร้อยละ 2.32 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 61.13 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย โดยผลผลิตมีคุณภาพต่ำเนื่องจากมีฝนตก ทั้งนี้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.14 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.15 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.47
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.13 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 14.19
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.38 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.25 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 14.20 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.35
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,364 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,288 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 478 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,991 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (15,846 บาทต่อตัน)

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.333 
ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.240 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.119 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.201 ล้านตันของเดือนกันยายน คิดเป็นร้อยละ 19.12 และร้อยละ 19.40 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 7.40 บาท ลดลงจาก กก.ละ 7.52 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.60                                 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 38.70 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 38.44 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.68  
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ในเดือนกันยายน อินเดียนำเข้าน้ำมันปาล์มสูงถึง 1.40 ล้านตัน โดยเกิดจากแรงซื้อน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ที่เพิ่มสูงขึ้น จากมาตรการผ่อนผันภาษีนำเข้าและเพื่อเตรียมสำหรับเทศกาลสำคัญของอินเดีย อีกทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ลดลง คาดว่าจะส่งผลให้ความต้องการจะเพิ่มขึ้นในปลายปีนี้ 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,728.59 ดอลลาร์มาเลเซีย (38.61 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,554.68 ดอลลาร์มาเลเซีย (36.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.82          
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,310.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (44.40 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,256.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (42.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.30
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
           ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         -   ราคาน้ำตาลล่วงหน้าตลาดนิวยอร์คเริ่มฟื้นตัว วันที่ 28 กันยายน หลังจากร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน แต่ส่วนต่างราคาของสัญญาเดือนตุลาคม 2564 กับ มีนาคม 2565 อยู่ที่ 0.9 เซนต์/ปอนด์เป็นผลให้ผู้สังเกตการณ์ในตลาดคาดว่าสัญญาที่หมดอายุในเดือนตุลาคมจะมีการส่งมอบน้อยกว่า 1 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ 2.5 ล้านตัน ในปีที่แล้ว
          -  Citi คาดการณ์ว่าในปี 2564/2565 จะมีการขาดดุลน้ำตาลทั่วโลกอยู่ที่ 3.7 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตในบราซิลที่ลดลง ในขณะเดียวกัน RPA Consultoria คาดว่าผลผลิตอ้อยในภาคกลาง-ใต้ของบราซิลจะลดลงเหลือ 510 ล้านตัน ซึ่งต่ำกว่าที่หลายหน่วยงานคาดการณ์ไว้ที่ 530 ล้านตัน
          - รัฐมหาราษฏระของอินเดียคาดว่าจะผลิตน้ำตาลในปี 2564/2565 ได้ 11.2 ล้านตัน ซึ่งทำลายสถิติที่รัฐอุตรประเทศคาดการณ์ไว้ที่ 11.1 ล้านตัน ตามการรายงานของกรรมาธิการอ้อยในรัฐมหาราษฏระ ด้านคณะรัฐมนตรีของรัฐบอกให้เกษตรกรตรวจสอบรหัสสีของโรงงานก่อนขายอ้อย ซึ่งมีโรงงาน 27 แห่ง ได้รับรหัสสีแดงเนื่องจากไม่สามารถชำระค่าอ้อยได้




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ  
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,270.08 เซนต์ (15.82 บาท/กก.)
ลดลงจากบุชเชลละ 1,277.64 เซนต์ (15.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.59
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 332.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.28 บาท/กก.)
ลดลงจากตันละ 336.92 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.32 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.23
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 58.25 เซนต์ (43.51 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 56.34 เซนต์ (41.73 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.39


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.11
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.33
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี       
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 933.00 ดอลลาร์สหรัฐ (31.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 934.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.25 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 848.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.39 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 843.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.44 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,191.60 ดอลลาร์สหรัฐ (39.86 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,176.67 ดอลลาร์สหรัฐ (39.01 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.85 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 746.20 ดอลลาร์สหรัฐ (24.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 752.00 ดอลลาร์สหรัฐ (24.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.12 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 951.00 ดอลลาร์สหรัฐ (31.82 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 928.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.48 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.06 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.17 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.07 บาท ในสับดาห์ก่อนร้อยละ 2.89
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.73 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
  ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
     ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 102.07 เซนต์ (กิโลกรัมละ 76.25 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 91.55 เซนต์ (กิโลกรัมละ 67.82 บาท) ของสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 11.49 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 8.43 บาท)



 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,787 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 1, 857 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.77 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,557 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 1, 607 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,042 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 1,043 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  66.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 66.42  คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.13 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 64.02 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.30 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 67.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.67 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.61 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.52 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.30 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 30.73 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.91 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 296 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 307 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 295 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 294 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 318 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 326 คิดเป็นร้อยละ 2.57 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 353 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 375 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 367 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 326 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 335 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 94.92 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 94.84 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 95.15 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.85 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 106.07 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.30 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.38 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.83 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 76.25 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน 

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 27 กันยายน – 3 ตุลาคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.78 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.32 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย                จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.53 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 122.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.59 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.63 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.56 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา