- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 3-9 พฤษภาคม 2564
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,682 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,797 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,892 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,945 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 24,050 บาท ราคาลดลงจากตันละ 24,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,100 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,010 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 0.64
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 798 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,687 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 809 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,147 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.36 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 460 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 502 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,530 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,324 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.83 และเพิ่มขึ้นรูปเงินบาทตันละ 206 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 502 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,530 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,324 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.83 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 206 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.9362 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน เนื่องจากค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบกว่า 9 เดือน ประกอบกับความต้องการข้าวจากต่างประเทศโดยเฉพาะในแถบแอฟริกาอ่อนตัวลง ขณะที่
ผู้ส่งออกต่างกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่กลับมารุนแรงอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะทำให้เกิดปัญหาความล่าช้าของการส่งมอบข้าวขึ้นเรือบรรทุกสินค้า โดยข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ระดับ 374-379 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 386-390 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน
กระทรวงเกษตร (Agriculture Ministry) รายงานว่า ในปีการผลิต 2564/65 รัฐบาลอินเดียได้ตั้งเป้าผลิตข้าว (ช่วงมิถุนายน 2563-กรกฎาคม 2564) ประมาณ 121.1 ล้านตัน ประกอบด้วย ผลผลิตในฤดูการผลิต the Kharif season (มิถุนายน-ธันวาคม) ประมาณ 104.3 ล้านตัน และในฤดูการผลิต the Rabi season (พฤศจิกายน-พฤษภาคม) ประมาณ 16.8 ล้านตัน ทั้งนี้ จากข้อมูลการพยากรณ์ผลผลิตธัญพืชครั้งที่ 2 คาดว่า ในปีการผลิต 2564/65 จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 120.32 ล้านตัน ประกอบด้วย ผลผลิตในฤดูการผลิต the Kharif season ประมาณ 103.75 ล้านตัน และในฤดูการผลิต the Rabi season ประมาณ 16.57 ล้านตัน
ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา (the Indian Meteorological Department; IMD) พยากรณ์ว่า ในช่วงฤดูมรสุม (Southwest monsoon) จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายนและจะอยู่ในระดับปกติ
มีรายงานว่า อินเดียจะใช้ท่าเรือ Paradip port ในรัฐ Odisha ทางตะวันออกของประเทศ เพิ่มอีก 1 แห่ง สำหรับการส่งออกข้าว หลังจากที่เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาอินเดียได้ใช้ท่าเรือน้ำลึกกากีนาดา (Kakinada Deep Water Port) สำหรับการส่งออกข้าว ทั้งนี้ ได้เริ่มมีการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติ(non-basmati rice)
ผ่านทางท่าเรือแห่งใหม่แล้ว โดยมีปลายทางที่ประเทศเวียดนามจำนวน 520 ตัน หรือ 20 ตู้คอนเทนเนอร์ และมีแผน
จะส่งมอบข้าวอีกประมาณ 500 ตู้คอนเทนเนอร์ ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ ทางการรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ได้อนุญาตให้มีการใช้ท่าเรือน้ำลึกกากีนาดา (Kakinada Deep Water Port) สำหรับการส่งออกข้าว โดยเรือลำแรกที่เข้ามาโหลดสินค้ามีความสามารถในการบรรทุกสินค้าข้าวประมาณ 32,250 ตัน ซึ่งเป็นข้าวหัก โดยมีปลายทางที่ประเทศเซเนกัลในแอฟริกาตะวันตก
กระทรวงเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร (the Ministry of Agriculture & Farmers Welfare) รายงานว่า โครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในฤดูการผลิต Kharif (Kharif marketing season; KMS) ของปี 2563/64 (เริ่มตั้งแต่ 26-28 กันยายน 2563-30 กันยายน 2564) ข้อมูล ณ วันที่ 26 เมษายน 2564 สามารถจัดหาข้าวได้แล้วประมาณ 71.05 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นข้าวจากฤดูการผลิต Rabi rice crop (พฤศจิกายน-พฤษภาคม) จำนวน 830,000 ตัน รัฐบาลอินเดียคาดว่าโครงการดังกล่าว จะ สามารถจัดหาข้าว
ได้มากถึง 74.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับจำนวน 62.7 ล้านตัน ของปี 2562/63 (รัฐบาลตั้งเป้าหมายในการจัดหาข้าวของปี 2563/64 ไว้ที่ 49.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับเป้าหมาย
ในปี 2562/63 ที่ 41.6 ล้านตัน) โดยรัฐบาลได้เพิ่มจุดรับซื้อข้าวเพิ่มขึ้นจาก 30,709 จุด เป็น 39,122 จุดทั่วประเทศ (เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 27 จากปีที่ผ่านมา) โดยคาดว่าจะมีเกษตรกรได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ ประมาณ 15.7 ล้านราย (เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 26 จากปีที่ผ่านมา) และคาดว่าจะมีการจ่ายเงินให้เกษตรกรประมาณ 1,400,780 ล้านรูปี หรือประมาณ 18,786 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 21 จากปีที่ผ่านมา) ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2563 รัฐบาลได้ประกาศราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับฤดูการผลิต Kharif (มิถุนายน-กันยายน) ส่วนปี 2563/64 (ตุลาคม 2563-กันยายน 2564) รัฐบาลได้ประเมินต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในปี 2563/64 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,245 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 166 เหรียญสหรัฐต่อตัน) ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรมีผลกำไรประมาณร้อยละ 50 จากการเพาะปลูกข้าว รัฐบาลจึงกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำสำหรับข้าวคุณภาพธรรมดาไว้ที่ 1,868 รูปีต่อ100 กิโลกรัม (ประมาณ 249 เหรียญสหรัฐต่อตัน) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.4 จาก 1,815 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 242 เหรียญสหรัฐต่อตัน) ในปี 2562/63 ขณะที่ ข้าวคุณภาพดี (Grade ‘A’ paddy) กำหนดไว้ที่ 1,888 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 251 เหรียญสหรัฐต่อตัน) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.9 จาก 1,835 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 244 เหรียญสหรัฐต่อตัน) ในปี 2562/63
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และ Oryza.com
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวค่อนข้างทรงตัวท่ามกลางภาวการณ์ค้าข้าวที่ชะลอลง เนื่องจากเข้าสู่ช่วง วันหยุดยาว ขณะที่ผู้ส่งออกกำลังหาซื้อข้าวเพื่อเร่งส่งมอบข้าวตามสัญญาที่ค้างอยู่ โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ ประมาณ 485-490 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน (ซึ่งเป็นระดับราคาที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563) ใกล้เคียงกับ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งราคาอยู่ที่ประมาณ 485-495 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ระหว่างวันที่ 1-13 พฤษภาคม 2564 จะมีเรือบรรทุกสินค้า (breakbulk ships) อย่างน้อย 9 ลำ เข้ามารอรับสินค้าข้าวที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City Port เพื่อรับมอบข้าวประมาณ 92,150 ตัน
สำนักงานสถิติเวียดนาม (General Statistics Office; GSO) รายงานว่า การส่งออกข้าวในเดือนเมษายนที่ผ่านมา อยู่ที่ประมาณ 700,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 362 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการส่งออกข้าวในช่วงเดือน มกราคม-เมษายน 2564 มีประมาณ 1.89 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.01 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณ ลดลงประมาณร้อยละ 10.8 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในเดือนมีนาคม 2564 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 530,987 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 18.96 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2563 ที่ส่งออกจำนวน 655,260 ตัน โดยเมื่อเดือนมีนาคม 2564 ชนิดข้าวที่เวียดนามส่งออกประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 205,951 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 1,421 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 15,095ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 3,099 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 4,763 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 92,659 ตัน ข้าวหอมจำนวน 195,283 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 12,715 ตัน โดยส่งไปยังตลาดในภูมิภาคต่างๆประกอบด้วย
1.ตลาดเอเชียจำนวน 361,220 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 163,222 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 1,371 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 14,130 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 2,486 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 4,401 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 91,486 ตัน ข้าวหอมจำนวน 76,393 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 7,185 ตัน
2.ตลาดแอฟริกาจำนวน 113,033 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 7,270 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 5 ตัน ข้าวหอมจำนวน 103,623 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 2,135 ตัน
3.ตลาดยุโรปจำนวน 8,458 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 1,514 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 23 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 528 ตัน ข้าวหอมจำนวน 5,788 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 604 ตัน
4.ตลาดอเมริกาจำนวน 34,313 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 31,069 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 240 ตัน ข้าวหอมจำนวน 2,762 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 241 ตัน
5.ตลาดโอเชียเนียจำนวน 12,512 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 2,825 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 50 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 925 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 47 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 360 ตัน ข้าว เหนียวจำนวน 220 ตัน ข้าวหอมจำนวน 5,822 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 2,263 ตัน
6.ตลาดอื่นๆ จำนวน 1,450 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 50 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 40 ตัน
ข้าวขาว 25% จำนวน 543 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 2 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 179 ตัน ข้าวหอมจำนวน 349 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 287 ตัน
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และ Oryza.com
ฟิลิปปินส์
สำนักงานอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) รายงานว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-มีนาคม 2564) ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวแล้วประมาณ 575,242.93 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับ จำนวน 614,091.36 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตข้าวในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาข้าวในตลาดโลก โดยเฉพาะราคาข้าวเวียดนามอยู่ในระดับสูง
ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจากเวียดนามจำนวน 493,891.55 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับจำนวน 513,628.3 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และในเดือนมีนาคม 2564 ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวประมาณ 112,669 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 56.85 เมื่อเทียบกับจำนวน 261,091.5 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นตัวเลขนำเข้าที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (the Philippine Statistics Authority; PSA) และกระทรวงเกษตร
(The Philippines Department of Agriculture; DA) คาดว่า ปี 2564 ฟิลิปปินส์จะมีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นทั้งด้าน ปริมาณและผลผลิตต่อพื้นที่เพาะปลูก โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า ในช่วงไตรมาสแรก มีผลผลิตข้าวเปลือก ประมาณ 4.57 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่กระทรวงเกษตร (DA) ตั้งเป้าในปีนี้ ที่จะผลิตข้าวเปลือกให้ได้ประมาณ 20.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 จากจำนวน 19.4 ล้านตัน
ในปีที่ผ่านมา โดยต้องการที่จะให้อัตราการพึ่งพาผลผลิตข้าวในประเทศ (rice sufficiency level) อยู่ที่ระดับร้อยละ 93
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และ Oryza.com
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,682 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,797 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,892 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,945 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 24,050 บาท ราคาลดลงจากตันละ 24,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,100 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,010 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 0.64
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 798 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,687 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 809 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,147 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.36 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 460 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 502 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,530 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,324 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.83 และเพิ่มขึ้นรูปเงินบาทตันละ 206 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 502 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,530 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,324 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.83 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 206 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.9362 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน เนื่องจากค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบกว่า 9 เดือน ประกอบกับความต้องการข้าวจากต่างประเทศโดยเฉพาะในแถบแอฟริกาอ่อนตัวลง ขณะที่
ผู้ส่งออกต่างกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่กลับมารุนแรงอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะทำให้เกิดปัญหาความล่าช้าของการส่งมอบข้าวขึ้นเรือบรรทุกสินค้า โดยข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ระดับ 374-379 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 386-390 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน
กระทรวงเกษตร (Agriculture Ministry) รายงานว่า ในปีการผลิต 2564/65 รัฐบาลอินเดียได้ตั้งเป้าผลิตข้าว (ช่วงมิถุนายน 2563-กรกฎาคม 2564) ประมาณ 121.1 ล้านตัน ประกอบด้วย ผลผลิตในฤดูการผลิต the Kharif season (มิถุนายน-ธันวาคม) ประมาณ 104.3 ล้านตัน และในฤดูการผลิต the Rabi season (พฤศจิกายน-พฤษภาคม) ประมาณ 16.8 ล้านตัน ทั้งนี้ จากข้อมูลการพยากรณ์ผลผลิตธัญพืชครั้งที่ 2 คาดว่า ในปีการผลิต 2564/65 จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 120.32 ล้านตัน ประกอบด้วย ผลผลิตในฤดูการผลิต the Kharif season ประมาณ 103.75 ล้านตัน และในฤดูการผลิต the Rabi season ประมาณ 16.57 ล้านตัน
ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา (the Indian Meteorological Department; IMD) พยากรณ์ว่า ในช่วงฤดูมรสุม (Southwest monsoon) จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายนและจะอยู่ในระดับปกติ
มีรายงานว่า อินเดียจะใช้ท่าเรือ Paradip port ในรัฐ Odisha ทางตะวันออกของประเทศ เพิ่มอีก 1 แห่ง สำหรับการส่งออกข้าว หลังจากที่เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาอินเดียได้ใช้ท่าเรือน้ำลึกกากีนาดา (Kakinada Deep Water Port) สำหรับการส่งออกข้าว ทั้งนี้ ได้เริ่มมีการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติ(non-basmati rice)
ผ่านทางท่าเรือแห่งใหม่แล้ว โดยมีปลายทางที่ประเทศเวียดนามจำนวน 520 ตัน หรือ 20 ตู้คอนเทนเนอร์ และมีแผน
จะส่งมอบข้าวอีกประมาณ 500 ตู้คอนเทนเนอร์ ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ ทางการรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ได้อนุญาตให้มีการใช้ท่าเรือน้ำลึกกากีนาดา (Kakinada Deep Water Port) สำหรับการส่งออกข้าว โดยเรือลำแรกที่เข้ามาโหลดสินค้ามีความสามารถในการบรรทุกสินค้าข้าวประมาณ 32,250 ตัน ซึ่งเป็นข้าวหัก โดยมีปลายทางที่ประเทศเซเนกัลในแอฟริกาตะวันตก
กระทรวงเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร (the Ministry of Agriculture & Farmers Welfare) รายงานว่า โครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในฤดูการผลิต Kharif (Kharif marketing season; KMS) ของปี 2563/64 (เริ่มตั้งแต่ 26-28 กันยายน 2563-30 กันยายน 2564) ข้อมูล ณ วันที่ 26 เมษายน 2564 สามารถจัดหาข้าวได้แล้วประมาณ 71.05 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นข้าวจากฤดูการผลิต Rabi rice crop (พฤศจิกายน-พฤษภาคม) จำนวน 830,000 ตัน รัฐบาลอินเดียคาดว่าโครงการดังกล่าว จะ สามารถจัดหาข้าว
ได้มากถึง 74.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับจำนวน 62.7 ล้านตัน ของปี 2562/63 (รัฐบาลตั้งเป้าหมายในการจัดหาข้าวของปี 2563/64 ไว้ที่ 49.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับเป้าหมาย
ในปี 2562/63 ที่ 41.6 ล้านตัน) โดยรัฐบาลได้เพิ่มจุดรับซื้อข้าวเพิ่มขึ้นจาก 30,709 จุด เป็น 39,122 จุดทั่วประเทศ (เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 27 จากปีที่ผ่านมา) โดยคาดว่าจะมีเกษตรกรได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ ประมาณ 15.7 ล้านราย (เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 26 จากปีที่ผ่านมา) และคาดว่าจะมีการจ่ายเงินให้เกษตรกรประมาณ 1,400,780 ล้านรูปี หรือประมาณ 18,786 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 21 จากปีที่ผ่านมา) ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2563 รัฐบาลได้ประกาศราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับฤดูการผลิต Kharif (มิถุนายน-กันยายน) ส่วนปี 2563/64 (ตุลาคม 2563-กันยายน 2564) รัฐบาลได้ประเมินต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในปี 2563/64 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,245 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 166 เหรียญสหรัฐต่อตัน) ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรมีผลกำไรประมาณร้อยละ 50 จากการเพาะปลูกข้าว รัฐบาลจึงกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำสำหรับข้าวคุณภาพธรรมดาไว้ที่ 1,868 รูปีต่อ100 กิโลกรัม (ประมาณ 249 เหรียญสหรัฐต่อตัน) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.4 จาก 1,815 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 242 เหรียญสหรัฐต่อตัน) ในปี 2562/63 ขณะที่ ข้าวคุณภาพดี (Grade ‘A’ paddy) กำหนดไว้ที่ 1,888 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 251 เหรียญสหรัฐต่อตัน) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.9 จาก 1,835 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 244 เหรียญสหรัฐต่อตัน) ในปี 2562/63
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และ Oryza.com
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวค่อนข้างทรงตัวท่ามกลางภาวการณ์ค้าข้าวที่ชะลอลง เนื่องจากเข้าสู่ช่วง วันหยุดยาว ขณะที่ผู้ส่งออกกำลังหาซื้อข้าวเพื่อเร่งส่งมอบข้าวตามสัญญาที่ค้างอยู่ โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ ประมาณ 485-490 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน (ซึ่งเป็นระดับราคาที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563) ใกล้เคียงกับ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งราคาอยู่ที่ประมาณ 485-495 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ระหว่างวันที่ 1-13 พฤษภาคม 2564 จะมีเรือบรรทุกสินค้า (breakbulk ships) อย่างน้อย 9 ลำ เข้ามารอรับสินค้าข้าวที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City Port เพื่อรับมอบข้าวประมาณ 92,150 ตัน
สำนักงานสถิติเวียดนาม (General Statistics Office; GSO) รายงานว่า การส่งออกข้าวในเดือนเมษายนที่ผ่านมา อยู่ที่ประมาณ 700,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 362 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการส่งออกข้าวในช่วงเดือน มกราคม-เมษายน 2564 มีประมาณ 1.89 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.01 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณ ลดลงประมาณร้อยละ 10.8 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในเดือนมีนาคม 2564 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 530,987 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 18.96 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2563 ที่ส่งออกจำนวน 655,260 ตัน โดยเมื่อเดือนมีนาคม 2564 ชนิดข้าวที่เวียดนามส่งออกประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 205,951 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 1,421 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 15,095ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 3,099 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 4,763 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 92,659 ตัน ข้าวหอมจำนวน 195,283 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 12,715 ตัน โดยส่งไปยังตลาดในภูมิภาคต่างๆประกอบด้วย
1.ตลาดเอเชียจำนวน 361,220 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 163,222 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 1,371 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 14,130 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 2,486 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 4,401 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 91,486 ตัน ข้าวหอมจำนวน 76,393 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 7,185 ตัน
2.ตลาดแอฟริกาจำนวน 113,033 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 7,270 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 5 ตัน ข้าวหอมจำนวน 103,623 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 2,135 ตัน
3.ตลาดยุโรปจำนวน 8,458 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 1,514 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 23 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 528 ตัน ข้าวหอมจำนวน 5,788 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 604 ตัน
4.ตลาดอเมริกาจำนวน 34,313 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 31,069 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 240 ตัน ข้าวหอมจำนวน 2,762 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 241 ตัน
5.ตลาดโอเชียเนียจำนวน 12,512 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 2,825 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 50 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 925 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 47 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 360 ตัน ข้าว เหนียวจำนวน 220 ตัน ข้าวหอมจำนวน 5,822 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 2,263 ตัน
6.ตลาดอื่นๆ จำนวน 1,450 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 50 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 40 ตัน
ข้าวขาว 25% จำนวน 543 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 2 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 179 ตัน ข้าวหอมจำนวน 349 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 287 ตัน
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และ Oryza.com
ฟิลิปปินส์
สำนักงานอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) รายงานว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-มีนาคม 2564) ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวแล้วประมาณ 575,242.93 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับ จำนวน 614,091.36 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตข้าวในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาข้าวในตลาดโลก โดยเฉพาะราคาข้าวเวียดนามอยู่ในระดับสูง
ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจากเวียดนามจำนวน 493,891.55 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับจำนวน 513,628.3 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และในเดือนมีนาคม 2564 ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวประมาณ 112,669 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 56.85 เมื่อเทียบกับจำนวน 261,091.5 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นตัวเลขนำเข้าที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (the Philippine Statistics Authority; PSA) และกระทรวงเกษตร
(The Philippines Department of Agriculture; DA) คาดว่า ปี 2564 ฟิลิปปินส์จะมีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นทั้งด้าน ปริมาณและผลผลิตต่อพื้นที่เพาะปลูก โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า ในช่วงไตรมาสแรก มีผลผลิตข้าวเปลือก ประมาณ 4.57 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่กระทรวงเกษตร (DA) ตั้งเป้าในปีนี้ ที่จะผลิตข้าวเปลือกให้ได้ประมาณ 20.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 จากจำนวน 19.4 ล้านตัน
ในปีที่ผ่านมา โดยต้องการที่จะให้อัตราการพึ่งพาผลผลิตข้าวในประเทศ (rice sufficiency level) อยู่ที่ระดับร้อยละ 93
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และ Oryza.com
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.93 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.15 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.29 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.86
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.31 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.93 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 305.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,436 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 303.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,418 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 18 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 752.40 เซนต์ (9,291.57 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 700.80 เซนต์ (8,693.06 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.36 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 598.51 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.163 ล้านไร่ ผลผลิต 30.108 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.286 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 ร้อยละ 3.82 และร้อยละ 1.05 ตามลำดับ โดยเดือนพฤษภาคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.475 ล้านตัน (ร้อยละ 4.78 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 61.13 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง โดยผลผลิตมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากมีฝนตก ทั้งนี้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.99 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.03 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.48
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.64 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.48
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.09 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.94 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.88 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.43
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 260 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,043 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,082 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,013 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (14,942 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.989 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.358 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.902 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.342 ล้านตัน ของเดือนเมษายน คิดเป็นร้อยละ 4.57 และร้อยละ 4.68 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.54 บาท ลดลงจาก กก.ละ 4.59 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.09
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.78 บาท เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียสูงขึ้นร้อยละ 3.5 เป็นราคาสูงสุดตั้งแต่ปี 2008 ราคาอ้างอิงในสัญญาซื้อขายน้ำมันปาล์ม FCOPc3 ตลาดเบอร์ซามาเลเซีย สูงขึ้นร้อยละ 3.54 ไปอยู่ที่ตันละ 4,187 ริงกิต คาดการณ์ว่าปริมาณผลผลิตในเดือน พฤษภาคม จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ส่วนราคาอ้างอิงน้ำมันปาล์มดิบรอบส่งเดือนพฤษภาคม ในสัญญา FCPOc1 ขึ้นไปอยู่ที่ตันละ 4,704 ริงกิต (ข้อมูลวันที่ 6 พ.ค. 64)
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,626.31 ดอลลาร์มาเลเซีย (35.54 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,410.84 ดอลลาร์มาเลเซีย (34.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.89
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,250.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (39.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,251.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (39.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.08
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
Inmet คาดการณ์ว่าบราซิลจะเจออากาศแห้งแล้งในตอนกลางของภาคตะวันตกและทางตอนใต้ไปอีก 10 วัน ทาง S&P Global Platts ประมาณการณ์วา่ ผลผลิตข้าวโพดจะลดลงจากภัยแล้ง ส่วนทางสถาบัน Mato Grosso Institute of Agricultural Economics (Imea) ได้ลดผลผลิตข้าวโพดลงเหลือ34.6 ล้านตัน จาก 35 ล้านตัน
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 18.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.04 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.83
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 19.63 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,589.12 เซนต์ (18.32 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,557.92 เซนต์ (18.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.00
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 426.84 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.39 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 424.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.37 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.63
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 67.13 เซนต์ (46.41 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 67.01 เซนต์ (46.54 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.18
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 18.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.04 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.83
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 19.63 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,589.12 เซนต์ (18.32 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,557.92 เซนต์ (18.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.00
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 426.84 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.39 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 424.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.37 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.63
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 67.13 เซนต์ (46.41 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 67.01 เซนต์ (46.54 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.18
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 10.87
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.45
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.78
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 24.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 8.33
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.70
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1003.00 ดอลลาร์สหรัฐ (31.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ998.00 ดอลลาร์สหรัฐ (31.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 937.67 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 965.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.87 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.00 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,165.67 ดอลลาร์สหรัฐ (36.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,192.20 ดอลลาร์สหรัฐ (37.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.23 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.00 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 742.33 ดอลลาร์สหรัฐ (22.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 803.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.62 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,257.00 ดอลลาร์สหรัฐ (38.89 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,218.20 ดอลลาร์สหรัฐ (37.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.19 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.02 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.58 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.28
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.57 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 23.13
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 88.52 เซนต์(กิโลกรัมละ 61.21 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 88.96 เซนต์ (กิโลกรัมละ 61.79 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.58 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,889 บาท สูงขึ้นจาก 1,726 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 9.44 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,889 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,597 บาท สูงขึ้นจาก 1,477 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 8.12 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,597 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,062 บาท สูงขึ้นจาก 944 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 12.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,062 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 77.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.07 คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 73.86 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 74.43 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.00 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 77.31 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,800 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.00 บาท ลดลงจาก 80.50 คิดเป็นร้อยละ 1.86 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.55 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.91 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.67 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.92 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงานส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการสอดรับกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 273 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 271 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.70 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 298 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 263 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 300 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 285 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 340 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 339 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 350 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 312 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ลดลงจาก 305 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 98.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 98.43 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 99.70 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.28 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.43 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 78.46 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.01 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 76.10 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 - 9 พฤษภาคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.80 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.49 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.71 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 142.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.57 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 132.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.01 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.97 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.00 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 10.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.94 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.75 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.75 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.75 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.75 บาท
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 - 9 พฤษภาคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.80 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.49 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.71 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 142.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.57 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 132.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.01 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.97 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.00 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 10.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.94 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.75 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.75 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.75 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.75 บาท