- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 5-11 เมษายน 2564
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,888 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 11,886 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,159 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,427 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.84
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 24,925 บาท ราคาลดลงจากตันละ 25,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.45
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,250 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,470 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 1.52
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 811 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,229 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 810 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,104 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 125 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 504 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,679 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,775 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 96 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,554 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,775 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 221 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.1083 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวปรับลดลงเนื่องจากผู้ส่งออกเสนอราคาลดลงเพื่อแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอื่นๆ เช่น ไทย อินเดีย (หลังจากปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี ที่ประมาณตันละ 515-520 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554) โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ประมาณตันละ 505-510 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 515-520 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า
The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 21 มีนาคม-5 เมษายน 2564 จะมีเรือบรรทุกสินค้าอย่างน้อย 11 ลำ เข้ามารอรับขนถ่ายสินค้าข้าว (breakbulk ships) ที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City Port เพื่อรับมอบข้าวประมาณ 192,300 ตัน
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินโดนีเซียเลื่อนการนำเข้าข้าวเป็นเดือนมิถุนายนเพื่อยุติการโต้แย้ง
รัฐบาลอินโดนีเซียเลื่อนแผนการนำเข้าข้าว 1 ล้านตัน จนถึงเดือนมิถุนายน 2564 เนื่องจากได้รับการกดดันจากชาวนา ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานของรัฐในช่วงเดือนที่ผ่านมา จากการที่ประเทศกำลังใกล้เข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว
ในเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม
ประธานาธิบดี Joko Widodo “Jokowi” กล่าวว่า รัฐบาลจะระงับแผนการนำเข้าดังกล่าวจนถึงเดือนถุนายน 2564 เนื่องจากราคาข้าวเปลือกต่ำกว่าที่คาดการณ์ และรับประกันว่า Bulog (หน่วยงานด้านโลจิสติกส์) จะซื้อข้าวจากชาวนา และให้กระทรวงการคลังช่วยเหลือด้านงบประมาณ
รัฐบาลอินโดนีเซียมีข้อตกลงด้านการนำเข้าข้าวกับไทยและเวียดนาม แต่เป็นทางเลือกสุดท้ายเพื่อป้องกันความไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งแผนการนำเข้าข้าวเกิดขึ้นในช่วงที่ประมาณการผลผลิตข้าวในประเทศช่วงเดือนมกราคม - เดือนเมษายน มีจำนวน 14.54 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.84 จากข้อมูลของสำนักสถิติอินโดนีเซีย (BPS)
การนำเข้าข้าวเป็นประเด็นข้อพิพาทหลายครั้งระหว่างรัฐบาลและสมาคมชาวนา โดยการนำเข้าข้าวของรัฐบาลเป็นไปเพื่อการสำรองข้าวเพื่อป้องกันราคข้าวแพงและการขาดแคลน ส่วนใหญ่ชาวนาซึ่งเป็นผู้มีรายได้ต่ำต้องการขายข้าวในราคาที่สูงขึ้น
กระทรวงเกษตรอินโดนีเซียประเมินอุปทานข้าวของประเทศมาจากการเกินดุลของปีที่แล้ว และผลผลิตข้าว
ในประเทศปีนี้มีส่วนเกินจากการบริโภค 12.56 ล้านตัน แม้ไม่ได้มีการนำเข้าในช่วงเดือนมกราคม-เดือนพฤษภาคม 2564
ข้อมูลจากโครงการอาหารโลก (WFP) ที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 แสดงว่า อินโดนีเซียพึ่งพาผลผลิตข้าวภายในประเทศเป็นหลัก ทำให้อัตราส่วนการพึ่งพาการนำเข้าข้าวอยู่ที่ร้อยละ 6.2 แต่แผนการนำเข้าข้าวเป็น 2 เท่า ของการนำเข้า 444,508.8 ตัน ในปี 2562 โดยรัฐบาลกำลังวางแผนที่จะนำเข้าข้าวเพื่อสร้างสต็อกกันชนของประเทศ ภายใต้การดำเนินการของ Bulog ซึ่งกำหนดให้มีสต็อกกันชน 1-1.5 ล้านตัน เพื่อรักษาความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ
Budi Waseso ประธาน Bulog กล่าวว่า คลังสินค้าของ Bulog มีข้าวส่วนเกิน 1 ล้านตัน จากการซื้อจากชาวนาเมื่อต้นปี 2564 ประมาณ 200,000 ตัน และกำลังวางแผนที่จะเพิ่มสต็อกอีกประมาณ 400,000 ตัน จนถึงเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีจำนวนข้าวถึง 2.2 ล้านตัน โดยคาดว่าจะมีการเก็บเกี่ยวอีกครั้งในเดือนสิงหาคมและกันยายน ซึ่งชาวนาจะได้รับการประกันการซื้อข้าว
Budi เสริมว่า ปัจจุบัน Bulog ต้องบริหารจัดการข้าวที่มีคุณภาพลดลงจำนวน 106,000 ตัน ส่วนใหญ่มาจากการนำเข้าในปี 2561 โดยกำลังรอผลการพิจารณาจากรัฐบาลว่าจะดำเนินการอย่างไรกับข้าวดังกล่าว ในขณะเดียวกัน รายงานของผู้ตรวจการแผ่นดินเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ระบุว่า Bulog มีสต็อกข้าวจากการซื้อข้าวในปี 2561
ที่เหมาะสำหรับการบริโภคน้อยกว่า 500,000 ตัน
Yeka Hendra Fatika เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจการแผ่นดินกล่าวว่า หน่วยงานพบการบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสม
ในกระบวนการกำหนดนโยบายสำหรับแผนการนำเข้าข้าว การบริหารจัดการสต็อกข้าว และการดำเนินโครงการ
ให้ความช่วยเหลืออาหารที่ไม่ใช่เงินสด (BPNT) เนื่องจากนโยบายขาดความเชื่อมโยงกัน โดยสัปดาห์หน้าจะรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของข้อมูลที่มีอยู่
Henry Saragih ประธานสหภาพเกษตรกรของอินโดนีเซีย (SPI) กล่าวว่า สหภาพฯ ยินดีกับการตัดสินใจของประธานาธิบดี และเรียกร้องให้บริษัทรัฐวิสาหกิจซื้อข้าวจากชาวนาหรือสหกรณ์ชาวนาโดยตรง เพื่อลดห่วงโซ่อุปทานและเพิ่มผลกำไร ชาวนาสามารถผลิตข้าวเพื่อตอบสนองความต้องการข้าวในประเทศ ดังนั้น อินโดนีเซียสามารถ
มีอธิปไตยด้านอาหาร
Rusli Abdullah นักเศรษฐศาสตร์สถาบันเพื่อการพัฒนาเศรษฐศาสตร์และการเงิน (Indef) กล่าวว่า รัฐบาลควรคำนึงถึงอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากการเพาะปลูกล้มเหลว รวมทั้งฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่กำลังจะมาถึง ก่อนที่จะสั่งการให้ Bulog นำเข้าข้าวที่อาจนำไปสู่ความผันผวนของราคาข้าวเปลือกและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรต่อไป การนำเข้าเป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อ Bulog ไม่สามารถซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา หรือคุณภาพข้าวเปลือกของชาวนาไม่เป็นไปตามคุณภาพที่กำหนด
วิเคราะห์ผลกระทบ โอกาส/แนวทางการปรับตัวของภาครัฐ/ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการไทย
อินโดนีเซียต้องการนำเข้าข้าวเพื่อสำรองข้าวไว้ในคลังสำหรับการให้ความช่วยเหลือทางสังคม ทั้งจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในอินโดนีเซีย โดยรัฐบาลอินโดนีเซียมีข้อตกลงด้านการนำเข้าข้าวกับไทยและเวียดนาม
อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดี Joko Widodo “Jokowi” ประกาศเลื่อนการนำเข้าข้าวจนถึงเดือนมิถุนายน 2564 เพื่อยุติข้อโต้แย้งต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ 1) สมาคมชาวนา จากการที่ประเทศกำลังใกล้เข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวในเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม 2) กระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย ที่ประเมินอุปทานข้าวของประเทศ
มาจากส่วนเกินดุลของปี 2563 และผลผลิตข้าวในประเทศปี 2564 ซึ่งจะมีส่วนเกินจากการบริโภค 12.56 ล้านตัน
แม้ไม่ได้มีการนำเข้าในช่วงเดือนมกราคม-เดือนพฤษภาคม 2564 และ 3) Bulog (หน่วยงานด้านโลจิสติกส์) ซึ่งรายงานคลังสินค้ามีข้าวส่วนเกิน 1 ล้านตัน จากการซื้อจากชาวนาเมื่อต้นปี 2564 ประมาณ 200,000 ตัน และกำลังวางแผนที่จะเพิ่มสต็อกอีกประมาณ 400,000 ตัน จนถึงเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีจำนวนข้าวถึง 2.2 ล้านตัน โดย Bulog ต้องมีสต็อกกันชน 1-1.5 ล้านตัน เพื่อรักษาความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ
นอกจากนี้ หน่วยงานผู้ตรวจการแผ่นดินพบกระบวนการกำหนดนโยบายสำหรับแผนการนำเข้าข้าว การบริหารจัดการสต็อกข้าว และการดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลืออาหารที่ไม่ใช่เงินสด (BPNT) ขาดความเชื่อมโยงกัน
โดยจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของข้อมูลข้าวต่อไป
ทั้งนี้ การนำเข้าข้าวของอินโดนีเซียเป็นประเด็นข้อพิพาทหลายครั้งระหว่างรัฐบาลและสมาคมชาวนา โดยข้อมูลข้าวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอินโดนีเซียมักไม่สอดคล้องกัน การตัดสินใจเลื่อนการนำเข้าข้าวในครั้งนี้ของประธานาธิบดี Joko Widodo จะส่งผลให้เกิดการชะลอการนำเข้าข้าวจากไทยในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวของอินโดนีเซีย
ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
จีน
รัฐบาลจีนวางแผนที่จะระบายข้าวจากปริมาณสำรองของรัฐบาลประมาณ 2 ล้านตัน สำหรับอาหารสัตว์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการบริหารจัดการกับภาวะราคาข้าวโพดที่ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ราคาข้าวโพดปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในช่วงต้นปีนี้ เนื่องจากสต็อกมีจำนวนลดลงและปริมาณการผลิตที่มีจำนวนลดลง ทั้งนี้
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลจีนได้จำหน่ายข้าวประมาณ 1.4-1.5 ล้านตัน เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 รัฐบาลกำหนดราคาพื้นฐานสำหรับผู้ผลิตอาหารสัตว์ (the base price for feed rice producers) อยู่ที่ 1,500 หยวนต่อตัน (ประมาณ 228.62 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน) ขณะที่ราคาข้าวโพดในปัจจุบันอยู่ระหว่าง 2,700-3,200 หยวนต่อตัน (ประมาณ 411-487 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน)
มีรายงานว่ารัฐบาลวางแผนที่จะระบายข้าวและข้าวสาลีในสต็อกเพิ่มมากขึ้นจนกว่าภาวะราคาข้าวโพดจะ กลับมาอยู่ในระดับทรงตัว
ทั้งนี้ ผู้บริหารของกองกำลังสำรองของกองกำลังสำรองอาหารและยุทธศาสตร์แห่งชาติ (the National Food and Strategic Reserves Administration's Reserves Division) กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ปริมาณขายธัญพืชสำหรับอาหารสัตว์ในปัจจุบันจะไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,888 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 11,886 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,159 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,427 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.84
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 24,925 บาท ราคาลดลงจากตันละ 25,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.45
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,250 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,470 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 1.52
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 811 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,229 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 810 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,104 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 125 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 504 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,679 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,775 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 96 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,554 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,775 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 221 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.1083 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวปรับลดลงเนื่องจากผู้ส่งออกเสนอราคาลดลงเพื่อแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอื่นๆ เช่น ไทย อินเดีย (หลังจากปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี ที่ประมาณตันละ 515-520 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554) โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ประมาณตันละ 505-510 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 515-520 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า
The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 21 มีนาคม-5 เมษายน 2564 จะมีเรือบรรทุกสินค้าอย่างน้อย 11 ลำ เข้ามารอรับขนถ่ายสินค้าข้าว (breakbulk ships) ที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City Port เพื่อรับมอบข้าวประมาณ 192,300 ตัน
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินโดนีเซียเลื่อนการนำเข้าข้าวเป็นเดือนมิถุนายนเพื่อยุติการโต้แย้ง
รัฐบาลอินโดนีเซียเลื่อนแผนการนำเข้าข้าว 1 ล้านตัน จนถึงเดือนมิถุนายน 2564 เนื่องจากได้รับการกดดันจากชาวนา ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานของรัฐในช่วงเดือนที่ผ่านมา จากการที่ประเทศกำลังใกล้เข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว
ในเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม
ประธานาธิบดี Joko Widodo “Jokowi” กล่าวว่า รัฐบาลจะระงับแผนการนำเข้าดังกล่าวจนถึงเดือนถุนายน 2564 เนื่องจากราคาข้าวเปลือกต่ำกว่าที่คาดการณ์ และรับประกันว่า Bulog (หน่วยงานด้านโลจิสติกส์) จะซื้อข้าวจากชาวนา และให้กระทรวงการคลังช่วยเหลือด้านงบประมาณ
รัฐบาลอินโดนีเซียมีข้อตกลงด้านการนำเข้าข้าวกับไทยและเวียดนาม แต่เป็นทางเลือกสุดท้ายเพื่อป้องกันความไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งแผนการนำเข้าข้าวเกิดขึ้นในช่วงที่ประมาณการผลผลิตข้าวในประเทศช่วงเดือนมกราคม - เดือนเมษายน มีจำนวน 14.54 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.84 จากข้อมูลของสำนักสถิติอินโดนีเซีย (BPS)
การนำเข้าข้าวเป็นประเด็นข้อพิพาทหลายครั้งระหว่างรัฐบาลและสมาคมชาวนา โดยการนำเข้าข้าวของรัฐบาลเป็นไปเพื่อการสำรองข้าวเพื่อป้องกันราคข้าวแพงและการขาดแคลน ส่วนใหญ่ชาวนาซึ่งเป็นผู้มีรายได้ต่ำต้องการขายข้าวในราคาที่สูงขึ้น
กระทรวงเกษตรอินโดนีเซียประเมินอุปทานข้าวของประเทศมาจากการเกินดุลของปีที่แล้ว และผลผลิตข้าว
ในประเทศปีนี้มีส่วนเกินจากการบริโภค 12.56 ล้านตัน แม้ไม่ได้มีการนำเข้าในช่วงเดือนมกราคม-เดือนพฤษภาคม 2564
ข้อมูลจากโครงการอาหารโลก (WFP) ที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 แสดงว่า อินโดนีเซียพึ่งพาผลผลิตข้าวภายในประเทศเป็นหลัก ทำให้อัตราส่วนการพึ่งพาการนำเข้าข้าวอยู่ที่ร้อยละ 6.2 แต่แผนการนำเข้าข้าวเป็น 2 เท่า ของการนำเข้า 444,508.8 ตัน ในปี 2562 โดยรัฐบาลกำลังวางแผนที่จะนำเข้าข้าวเพื่อสร้างสต็อกกันชนของประเทศ ภายใต้การดำเนินการของ Bulog ซึ่งกำหนดให้มีสต็อกกันชน 1-1.5 ล้านตัน เพื่อรักษาความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ
Budi Waseso ประธาน Bulog กล่าวว่า คลังสินค้าของ Bulog มีข้าวส่วนเกิน 1 ล้านตัน จากการซื้อจากชาวนาเมื่อต้นปี 2564 ประมาณ 200,000 ตัน และกำลังวางแผนที่จะเพิ่มสต็อกอีกประมาณ 400,000 ตัน จนถึงเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีจำนวนข้าวถึง 2.2 ล้านตัน โดยคาดว่าจะมีการเก็บเกี่ยวอีกครั้งในเดือนสิงหาคมและกันยายน ซึ่งชาวนาจะได้รับการประกันการซื้อข้าว
Budi เสริมว่า ปัจจุบัน Bulog ต้องบริหารจัดการข้าวที่มีคุณภาพลดลงจำนวน 106,000 ตัน ส่วนใหญ่มาจากการนำเข้าในปี 2561 โดยกำลังรอผลการพิจารณาจากรัฐบาลว่าจะดำเนินการอย่างไรกับข้าวดังกล่าว ในขณะเดียวกัน รายงานของผู้ตรวจการแผ่นดินเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ระบุว่า Bulog มีสต็อกข้าวจากการซื้อข้าวในปี 2561
ที่เหมาะสำหรับการบริโภคน้อยกว่า 500,000 ตัน
Yeka Hendra Fatika เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจการแผ่นดินกล่าวว่า หน่วยงานพบการบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสม
ในกระบวนการกำหนดนโยบายสำหรับแผนการนำเข้าข้าว การบริหารจัดการสต็อกข้าว และการดำเนินโครงการ
ให้ความช่วยเหลืออาหารที่ไม่ใช่เงินสด (BPNT) เนื่องจากนโยบายขาดความเชื่อมโยงกัน โดยสัปดาห์หน้าจะรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของข้อมูลที่มีอยู่
Henry Saragih ประธานสหภาพเกษตรกรของอินโดนีเซีย (SPI) กล่าวว่า สหภาพฯ ยินดีกับการตัดสินใจของประธานาธิบดี และเรียกร้องให้บริษัทรัฐวิสาหกิจซื้อข้าวจากชาวนาหรือสหกรณ์ชาวนาโดยตรง เพื่อลดห่วงโซ่อุปทานและเพิ่มผลกำไร ชาวนาสามารถผลิตข้าวเพื่อตอบสนองความต้องการข้าวในประเทศ ดังนั้น อินโดนีเซียสามารถ
มีอธิปไตยด้านอาหาร
Rusli Abdullah นักเศรษฐศาสตร์สถาบันเพื่อการพัฒนาเศรษฐศาสตร์และการเงิน (Indef) กล่าวว่า รัฐบาลควรคำนึงถึงอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากการเพาะปลูกล้มเหลว รวมทั้งฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่กำลังจะมาถึง ก่อนที่จะสั่งการให้ Bulog นำเข้าข้าวที่อาจนำไปสู่ความผันผวนของราคาข้าวเปลือกและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรต่อไป การนำเข้าเป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อ Bulog ไม่สามารถซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา หรือคุณภาพข้าวเปลือกของชาวนาไม่เป็นไปตามคุณภาพที่กำหนด
วิเคราะห์ผลกระทบ โอกาส/แนวทางการปรับตัวของภาครัฐ/ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการไทย
อินโดนีเซียต้องการนำเข้าข้าวเพื่อสำรองข้าวไว้ในคลังสำหรับการให้ความช่วยเหลือทางสังคม ทั้งจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในอินโดนีเซีย โดยรัฐบาลอินโดนีเซียมีข้อตกลงด้านการนำเข้าข้าวกับไทยและเวียดนาม
อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดี Joko Widodo “Jokowi” ประกาศเลื่อนการนำเข้าข้าวจนถึงเดือนมิถุนายน 2564 เพื่อยุติข้อโต้แย้งต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ 1) สมาคมชาวนา จากการที่ประเทศกำลังใกล้เข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวในเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม 2) กระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย ที่ประเมินอุปทานข้าวของประเทศ
มาจากส่วนเกินดุลของปี 2563 และผลผลิตข้าวในประเทศปี 2564 ซึ่งจะมีส่วนเกินจากการบริโภค 12.56 ล้านตัน
แม้ไม่ได้มีการนำเข้าในช่วงเดือนมกราคม-เดือนพฤษภาคม 2564 และ 3) Bulog (หน่วยงานด้านโลจิสติกส์) ซึ่งรายงานคลังสินค้ามีข้าวส่วนเกิน 1 ล้านตัน จากการซื้อจากชาวนาเมื่อต้นปี 2564 ประมาณ 200,000 ตัน และกำลังวางแผนที่จะเพิ่มสต็อกอีกประมาณ 400,000 ตัน จนถึงเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีจำนวนข้าวถึง 2.2 ล้านตัน โดย Bulog ต้องมีสต็อกกันชน 1-1.5 ล้านตัน เพื่อรักษาความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ
นอกจากนี้ หน่วยงานผู้ตรวจการแผ่นดินพบกระบวนการกำหนดนโยบายสำหรับแผนการนำเข้าข้าว การบริหารจัดการสต็อกข้าว และการดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลืออาหารที่ไม่ใช่เงินสด (BPNT) ขาดความเชื่อมโยงกัน
โดยจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของข้อมูลข้าวต่อไป
ทั้งนี้ การนำเข้าข้าวของอินโดนีเซียเป็นประเด็นข้อพิพาทหลายครั้งระหว่างรัฐบาลและสมาคมชาวนา โดยข้อมูลข้าวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอินโดนีเซียมักไม่สอดคล้องกัน การตัดสินใจเลื่อนการนำเข้าข้าวในครั้งนี้ของประธานาธิบดี Joko Widodo จะส่งผลให้เกิดการชะลอการนำเข้าข้าวจากไทยในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวของอินโดนีเซีย
ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
จีน
รัฐบาลจีนวางแผนที่จะระบายข้าวจากปริมาณสำรองของรัฐบาลประมาณ 2 ล้านตัน สำหรับอาหารสัตว์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการบริหารจัดการกับภาวะราคาข้าวโพดที่ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ราคาข้าวโพดปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในช่วงต้นปีนี้ เนื่องจากสต็อกมีจำนวนลดลงและปริมาณการผลิตที่มีจำนวนลดลง ทั้งนี้
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลจีนได้จำหน่ายข้าวประมาณ 1.4-1.5 ล้านตัน เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 รัฐบาลกำหนดราคาพื้นฐานสำหรับผู้ผลิตอาหารสัตว์ (the base price for feed rice producers) อยู่ที่ 1,500 หยวนต่อตัน (ประมาณ 228.62 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน) ขณะที่ราคาข้าวโพดในปัจจุบันอยู่ระหว่าง 2,700-3,200 หยวนต่อตัน (ประมาณ 411-487 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน)
มีรายงานว่ารัฐบาลวางแผนที่จะระบายข้าวและข้าวสาลีในสต็อกเพิ่มมากขึ้นจนกว่าภาวะราคาข้าวโพดจะ กลับมาอยู่ในระดับทรงตัว
ทั้งนี้ ผู้บริหารของกองกำลังสำรองของกองกำลังสำรองอาหารและยุทธศาสตร์แห่งชาติ (the National Food and Strategic Reserves Administration's Reserves Division) กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ปริมาณขายธัญพืชสำหรับอาหารสัตว์ในปัจจุบันจะไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.10 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.39 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.18 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.82 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 303.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,421 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 302.20 ดอลลาร์สหรัฐ (9,366.07 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และสูงขึ้นในรูปของ เงินบาทตันละ 54.93 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 565.00 เซนต์ (7,010.48 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 554.00 เซนต์(6,851.13 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.99 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 159.35 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.163 ล้านไร่ ผลผลิต 30.108 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.286 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 ร้อยละ 3.82 และร้อยละ 1.05 ตามลำดับ โดยเดือนมีนาคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.35 ล้านตัน (ร้อยละ 7.82 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 61.13 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดมาก แต่ราคามันสำปะหลังยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง สำหรับลานมันเส้นเปิดดำเนินการไม่มาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.12 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.13 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.47
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.98 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.74 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 4.18
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.09 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.85 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.81 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.29
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 263 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,178 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,120 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลังสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,018 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (14,912 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนเมษายนจะมีประมาณ 1.902 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.342 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.526 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.275 ล้านตัน ของเดือนมีนาคม คิดเป็นร้อยละ 24.64 และร้อยละ 24.36 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.02 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.25 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.38
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 31.06 บาท ลดลงจาก กก.ละ 31.40 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.08
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ศรีลังกาออกประกาศห้ามนำเข้าน้ำมันปาล์ม ห้ามการขยายพื้นที่การผลิตปาล์มน้ำมัน และให้ผู้ผลิตในปัจจุบันหยุดการทำสวนปาล์มน้ำมัน เนื่องจากประธานาธิบดีคนปัจจุบัน Gotabaya Rajapaksa ต้องการให้ประเทศศรีลังกาเป็นประเทศที่ไม่มีการผลิตน้ำมันปาล์มและไม่มีการบริโภคน้ำมันปาล์ม ซึ่งศรีลังกามีการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากอินโดนีเซียและมาเลเซียอยู่ที่ประมาณปีละ 200,000 ตัน โดยได้ตั้งเป้าหมายในการลดพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันร้อยละ 10 และทดแทนด้วยการปลูกยางหรือพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,228.81 ดอลลาร์มาเลเซีย (32.54 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,081.92 ดอลลาร์มาเลเซีย (31.21 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.60
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,141.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.99 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,128.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.09
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
Archer Consulting กล่าวว่า ภาคกลาง-ใต้ของบราซิลจะหีบอ้อย 574 ล้านตันและผลิตน้ำตาล 35.05 ล้านตัน ในปี 2564/2565 ขณะที่ Cepea คาดว่าโรงงานน้ำตาล 73 โรงงาน จะเปิดหีบในเซาเปาโลในช่วงครึ่งแรกของเดือนเมษายน และอีก 106 โรงงาน ภายในสิ้นเดือนนี้ Minas Gerais-based Bevap Bioenergia มีแผนจะเริ่มในช่วงครึ่งหลังของเดือนเมษายน และจะดำเนินการ 3.0-3.2 ล้านตันอ้อย เพิ่มขึ้นจาก 2.92 ล้านตัน ในฤดูกาลที่แล้ว สัดส่วนในการผลิตน้ำตาลอยู่ที่ 50%
ออสเตรเลียกำลังยึดตำแหน่งประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลทรายดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงเดือนตุลาคม 2563-มีนาคม 2564 โดยผลผลิตอ้อยของออสเตรเลียอยู่ที่ประมาณ 29.5 ล้านตันลดลง 1.5 ล้านตัน จากปีก่อนหน้า เนื่องจากสภาพแห้งแล้ง
ถั่วเหลือง
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.12 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.40 บาท ร้อยละ 7.41
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.20 บาท ร้อยละ 3.97
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.20 บาท ร้อยละ 4.76
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 997.75 ดอลลาร์สหรัฐ (31.04 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,079.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.44 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.53 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.40 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 965.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.03 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,007.60 ดอลลาร์สหรัฐ (31.23 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.18 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.20 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,192.50 ดอลลาร์สหรัฐ (37.10 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตัน 1,196.00 ดอลลาร์สหรัฐ (37.07 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 803.25 ดอลลาร์สหรัฐ (24.99 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตัน 845.20 ดอลลาร์สหรัฐ (26.20 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.96 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.21 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,218.25 ดอลลาร์สหรัฐ (37.90 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,222.20 ดอลลาร์สหรัฐ (37.88 บาท/กิโลกรัม) สัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.22 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 80.08 เซนต์(กิโลกรัมละ 55.69 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 79.99 เซนต์ (กิโลกรัมละ 55.41 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 (สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.28 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,828 บาท สูงขึ้นจาก 1,763 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 3.68 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,828 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,520 บาท ลดลงจาก 1, 487 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 2.22 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,520 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 944 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภค มีมากกว่าผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 77.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.58 คิดเป็นร้อยละ 0.70 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 74.15 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.43 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 78.85 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 78.68 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,800 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.59 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 268 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 272 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 304 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 254 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 238 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 250 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.80 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 343 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 338 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 363 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 316 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 333 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 305 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 98.23 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 97.42 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.83 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 98.94 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 92.20 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.43 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.51 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.84 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 75.75 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
ตารางประมง ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี