- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 29 มีนาคม-4 เมษายน 2564
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,886 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 11,810 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,427 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,436 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 25,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,470 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,950 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 3.21
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 810 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,104 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 836 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,713 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.11 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 609 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,775 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 522 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,055 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.49 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 280 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,775 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 522 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,055 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.49 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 280 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.9929 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
อินโดนีเซีย
หน่วยงาน BULOG (The State Logistics Agency) รายงานว่าได้จัดหาข้าวจากเกษตรกรที่มีการเก็บเกี่ยว
ในฤดูการผลิตหลักได้แล้วประมาณ 1 ล้านตัน เพื่อเก็บสต็อกเข้าโครงการของรัฐบาล (the Government’s Rice Reserve; CBP) โดยหน่วยงานสามารถจัดหาข้าวจากเกษตรได้เฉลี่ยวันละประมาณ 10,000 ตัน และมีแนวโน้มที่จะจัดหาได้มากขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาประธานาธิบดี Joko Widodo (Jokowi) ให้สัมภาษณ์ว่าหน่วยงาน BULOG
จะดำเนินการจัดหาข้าวจากเกษตรกรอย่างต่อเนื่องไปจนถึงช่วงกลางปีนี้ ดังนั้น จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2564
ประธานาธิบดี Joko Widodo กล่าวว่าบันทึกความเข้าใจ (MoU) เกี่ยวกับการนำเข้าข้าวกับไทยและเวียดนาม
ถือเป็นมาตรการป้องกันความเสี่ยงในการขาดแคลนสินค้าข้าว ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดของ COVID-19
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของอินโดนีเซีย (Indonesia’s Meteorology and Geophysics agency; BMKG) พยากรณ์ว่า ฤดูแล้งในปีนี้จะมาถึงล่าช้ากว่ากำหนด โดยสภาพอากาศจากปรากฏการณ์ La Nina จะยาวนานจนถึงเดือนพฤษภาคมในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีความเสี่ยงที่จะเกิดสภาพอากาศที่เปียกชื้นมากในบางภูมิภาคโดยคาดว่า
ในพื้นที่บางส่วนของเกาะ Sumatra, Java, Sulawesi และ Papua จะเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้งในช่วงเดือนพฤษภาคม
ทั้งนี้ คาดว่าในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม จะเกิดภาวะฝนตกหนักและลมพัดแรง ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดอุทกภัยและดินถล่มได้ในบางพื้นที่ โดยคาดว่าหากในปีนี้ยังคงมีปริมาณน้ำฝนสูงกว่าปกติก็อาจจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวของประเทศซึ่งโดยปกติจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวประมาณเดือนเมษายน
ที่มา : Oryza.com
บังคลาเทศ
มีรายงานว่า บริษัท the Vietnam Southern Food Corporation ของเวียดนามได้ลงนามข้อตกลงขายข้าวขาว 5% จำนวน 50,000 ตัน ให้แก่บังคลาเทศในราคา 605 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (cost, insurance and freight) (คิดเป็นประมาณ 520-522 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน FOB) โดยคาดว่าจะเริ่มมีการส่งมอบในเดือนเมษายนเป็นต้นไป
ทั้งนี้ เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีรายงานว่า คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจของบังกลาเทศ (Bangladesh's Cabinet Committee on Economic Affairs) ได้อนุมัติข้อเสนอนำเข้าข้าวรวม 350,000 ตัน ภายใต้วิธีการจัดซื้อโดยตรง (direct procurement method; DPM) จากประเทศอินเดีย ไทย และเวียดนาม โดยบังคลาเทศจะซื้อข้าวนึ่งที่ไม่ใช่
ข้าวบาสมาติ (non-basmati parboiled rice) จำนวน 150,000 ตัน จากบริษัทจัดหาพัสดุของรัฐปัญจาบ (the Punjab State Civil Supplies Corporation Ltd; PUNSUP) ของอินเดีย และซื้อข้าวจากสภาเกษตรกรแห่งชาติของจังหวัดสกลนคร (Sakonnakhon National Farmers Council) ของประเทศไทย จำนวน 150,000 ตัน และซื้อข้าวขาว จำนวน 50,000 ตัน จากบริษัท Vietnam's Southern Food Corporation (VINAFOOD) ของเวียดนาม ซึ่งการนำเข้าข้าวจากหลายแหล่งเพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาข้าวจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้สถานทูตบังคลาเทศที่ตั้งอยู่ในแต่ละประเทศ
เป็นผู้เจรจากับตัวแทนของหน่วยงานดังกล่าว เกี่ยวกับราคาและข้อตกลงที่จะมีการซื้อขาย
ทางด้านหน่วยงาน Directorate General of Food (DGF) รายงานผลการประมูลนำเข้าข้าว (INTERNATIONAL QUOTATION NOTICE FOR IMPORT OF NON-BASMATI PARBOILED RICE (PACKAGE10) UNDER 2020-21) ครั้งที่ 10 ซึ่งกำหนดจะซื้อข้าวนึ่งที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ จำนวน 50,000 ตัน (+/- 5%) โดยให้ยื่นข้อเสนอภายในวันที่ 18 มีนาคม 2564 และข้อเสนอต้องมีผลไปจนถึงวันที่ 1 เมษายน 2564 นั้น ปรากฏว่า รัฐบาลได้อนุมัติให้ซื้อข้าวจากอินเดียในราคา 430.33 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (CIF liner out) จากบริษัท PK Agri Link Private Ltd. ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีรายงานว่าการประมูลครั้งนี้มีบริษัทจากอินเดีย 2 ราย ยื่นเสนอข้าวจากอินเดียโดยราคาต่ำสุดคือ 417.71 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (CIF liner out)
ส่วนอีกรายเสนอราคาที่ 449.49 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (CIF liner out)
สำหรับความคืบหน้าการประมูลอีก 2 ครั้ง ซึ่งหน่วยงาน Directorate General of Food (DGF) ได้ออกประกาศ
เมื่อวันที่ 11 และ 15 มีนาคม 2564 เพื่อเปิดประมูลนำเข้าข้าว (INTERNATIONAL QUOTATION NOTICE FOR IMPORT OF NON-BASMATI PARBOILED RICE UNDER 2020-21) ครั้งที่ 11 และครั้งที่ 12 ซึ่งจะซื้อข้าวนึ่งที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติครั้งละจำนวน 50,000 ตัน (+/- 5%) โดยกำหนดให้ยื่นข้อเสนอภายในวันที่ 24 และ 28 มีนาคม 2564 และข้อเสนอต้องมีผลไปจนถึงวันที่ 7 และ 11 เมษายน 2564 โดยกำหนดให้ผู้สนใจต้องยื่นข้อเสนอราคาในเทอม CIF (CIF liner out terms, including cost, insurance, freight and ship unloading costs) สำหรับส่งมอบไปที่ท่าเรือ Chattogram และ Mongla และกำหนดให้มีการส่งมอบข้าวภายในระยะเวลา 40 วัน หลังจากที่มีการทำสัญญาแล้วนั้น มีรายงานการประมูลเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา มีผู้ร่วมยื่นเสนอราคาจำนวน 6 ราย โดยบริษัท PK Agri Link ยื่นเสนอราคาต่ำที่สุดที่ 411.93 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (CIF liner out)
จนถึงขณะนี้บังคลาเทศได้จัดประมูลเพื่อซื้อข้าวจากต่างประเทศไปแล้ว จำนวน 12 ครั้ง รวม 560,000 ตัน ซึ่งมีทั้งข้าวนึ่งและข้าวขาว
ที่มา : Oryza.com
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,886 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 11,810 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,427 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,436 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 25,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,470 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,950 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 3.21
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 810 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,104 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 836 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,713 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.11 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 609 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,775 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 522 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,055 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.49 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 280 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,775 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 522 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,055 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.49 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 280 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.9929 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
อินโดนีเซีย
หน่วยงาน BULOG (The State Logistics Agency) รายงานว่าได้จัดหาข้าวจากเกษตรกรที่มีการเก็บเกี่ยว
ในฤดูการผลิตหลักได้แล้วประมาณ 1 ล้านตัน เพื่อเก็บสต็อกเข้าโครงการของรัฐบาล (the Government’s Rice Reserve; CBP) โดยหน่วยงานสามารถจัดหาข้าวจากเกษตรได้เฉลี่ยวันละประมาณ 10,000 ตัน และมีแนวโน้มที่จะจัดหาได้มากขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาประธานาธิบดี Joko Widodo (Jokowi) ให้สัมภาษณ์ว่าหน่วยงาน BULOG
จะดำเนินการจัดหาข้าวจากเกษตรกรอย่างต่อเนื่องไปจนถึงช่วงกลางปีนี้ ดังนั้น จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2564
ประธานาธิบดี Joko Widodo กล่าวว่าบันทึกความเข้าใจ (MoU) เกี่ยวกับการนำเข้าข้าวกับไทยและเวียดนาม
ถือเป็นมาตรการป้องกันความเสี่ยงในการขาดแคลนสินค้าข้าว ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดของ COVID-19
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของอินโดนีเซีย (Indonesia’s Meteorology and Geophysics agency; BMKG) พยากรณ์ว่า ฤดูแล้งในปีนี้จะมาถึงล่าช้ากว่ากำหนด โดยสภาพอากาศจากปรากฏการณ์ La Nina จะยาวนานจนถึงเดือนพฤษภาคมในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีความเสี่ยงที่จะเกิดสภาพอากาศที่เปียกชื้นมากในบางภูมิภาคโดยคาดว่า
ในพื้นที่บางส่วนของเกาะ Sumatra, Java, Sulawesi และ Papua จะเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้งในช่วงเดือนพฤษภาคม
ทั้งนี้ คาดว่าในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม จะเกิดภาวะฝนตกหนักและลมพัดแรง ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดอุทกภัยและดินถล่มได้ในบางพื้นที่ โดยคาดว่าหากในปีนี้ยังคงมีปริมาณน้ำฝนสูงกว่าปกติก็อาจจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวของประเทศซึ่งโดยปกติจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวประมาณเดือนเมษายน
ที่มา : Oryza.com
บังคลาเทศ
มีรายงานว่า บริษัท the Vietnam Southern Food Corporation ของเวียดนามได้ลงนามข้อตกลงขายข้าวขาว 5% จำนวน 50,000 ตัน ให้แก่บังคลาเทศในราคา 605 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (cost, insurance and freight) (คิดเป็นประมาณ 520-522 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน FOB) โดยคาดว่าจะเริ่มมีการส่งมอบในเดือนเมษายนเป็นต้นไป
ทั้งนี้ เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีรายงานว่า คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจของบังกลาเทศ (Bangladesh's Cabinet Committee on Economic Affairs) ได้อนุมัติข้อเสนอนำเข้าข้าวรวม 350,000 ตัน ภายใต้วิธีการจัดซื้อโดยตรง (direct procurement method; DPM) จากประเทศอินเดีย ไทย และเวียดนาม โดยบังคลาเทศจะซื้อข้าวนึ่งที่ไม่ใช่
ข้าวบาสมาติ (non-basmati parboiled rice) จำนวน 150,000 ตัน จากบริษัทจัดหาพัสดุของรัฐปัญจาบ (the Punjab State Civil Supplies Corporation Ltd; PUNSUP) ของอินเดีย และซื้อข้าวจากสภาเกษตรกรแห่งชาติของจังหวัดสกลนคร (Sakonnakhon National Farmers Council) ของประเทศไทย จำนวน 150,000 ตัน และซื้อข้าวขาว จำนวน 50,000 ตัน จากบริษัท Vietnam's Southern Food Corporation (VINAFOOD) ของเวียดนาม ซึ่งการนำเข้าข้าวจากหลายแหล่งเพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาข้าวจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้สถานทูตบังคลาเทศที่ตั้งอยู่ในแต่ละประเทศ
เป็นผู้เจรจากับตัวแทนของหน่วยงานดังกล่าว เกี่ยวกับราคาและข้อตกลงที่จะมีการซื้อขาย
ทางด้านหน่วยงาน Directorate General of Food (DGF) รายงานผลการประมูลนำเข้าข้าว (INTERNATIONAL QUOTATION NOTICE FOR IMPORT OF NON-BASMATI PARBOILED RICE (PACKAGE10) UNDER 2020-21) ครั้งที่ 10 ซึ่งกำหนดจะซื้อข้าวนึ่งที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ จำนวน 50,000 ตัน (+/- 5%) โดยให้ยื่นข้อเสนอภายในวันที่ 18 มีนาคม 2564 และข้อเสนอต้องมีผลไปจนถึงวันที่ 1 เมษายน 2564 นั้น ปรากฏว่า รัฐบาลได้อนุมัติให้ซื้อข้าวจากอินเดียในราคา 430.33 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (CIF liner out) จากบริษัท PK Agri Link Private Ltd. ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีรายงานว่าการประมูลครั้งนี้มีบริษัทจากอินเดีย 2 ราย ยื่นเสนอข้าวจากอินเดียโดยราคาต่ำสุดคือ 417.71 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (CIF liner out)
ส่วนอีกรายเสนอราคาที่ 449.49 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (CIF liner out)
สำหรับความคืบหน้าการประมูลอีก 2 ครั้ง ซึ่งหน่วยงาน Directorate General of Food (DGF) ได้ออกประกาศ
เมื่อวันที่ 11 และ 15 มีนาคม 2564 เพื่อเปิดประมูลนำเข้าข้าว (INTERNATIONAL QUOTATION NOTICE FOR IMPORT OF NON-BASMATI PARBOILED RICE UNDER 2020-21) ครั้งที่ 11 และครั้งที่ 12 ซึ่งจะซื้อข้าวนึ่งที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติครั้งละจำนวน 50,000 ตัน (+/- 5%) โดยกำหนดให้ยื่นข้อเสนอภายในวันที่ 24 และ 28 มีนาคม 2564 และข้อเสนอต้องมีผลไปจนถึงวันที่ 7 และ 11 เมษายน 2564 โดยกำหนดให้ผู้สนใจต้องยื่นข้อเสนอราคาในเทอม CIF (CIF liner out terms, including cost, insurance, freight and ship unloading costs) สำหรับส่งมอบไปที่ท่าเรือ Chattogram และ Mongla และกำหนดให้มีการส่งมอบข้าวภายในระยะเวลา 40 วัน หลังจากที่มีการทำสัญญาแล้วนั้น มีรายงานการประมูลเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา มีผู้ร่วมยื่นเสนอราคาจำนวน 6 ราย โดยบริษัท PK Agri Link ยื่นเสนอราคาต่ำที่สุดที่ 411.93 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (CIF liner out)
จนถึงขณะนี้บังคลาเทศได้จัดประมูลเพื่อซื้อข้าวจากต่างประเทศไปแล้ว จำนวน 12 ครั้ง รวม 560,000 ตัน ซึ่งมีทั้งข้าวนึ่งและข้าวขาว
ที่มา : Oryza.com
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.09 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.41 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.13 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.73 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 302.20 ดอลลาร์สหรัฐ (9,366.07 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 301.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,276.19 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 และสูงขึ้นในรูปของ เงินบาทตันละ 89.88 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 553.84 เซนต์ (6,851.13 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 550.44 เซนต์(6,759.21 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 91.92 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.163 ล้านไร่ ผลผลิต 30.108 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.286 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 ร้อยละ 3.82 และร้อยละ 1.05 ตามลำดับ โดยเดือนมีนาคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.74 ล้านตัน (ร้อยละ 22.39 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 61.13 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ความต้องการใช้หัวมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะมันเส้น ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในเกณฑ์สูงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.13 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.14 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.47
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.74 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.77 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.52
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.09 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.81 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.75 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.44
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 263 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,120 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,089 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลังสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,912 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (14,855 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.438
ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.259 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.015 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.183 ล้านตัน ของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 41.67 และร้อยละ 41.53 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.25 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.61 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.42
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 31.40 บาท ลดลงจาก กก.ละ 33.25 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.56
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ในเดือนมีนาคม มาเลเซียส่งออกน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากเดือนกุมภาพันธ์ อีกทั้งความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากอินเดีย ยุโรป และแอฟริกา ทำให้ตลาดน้ำมันปาล์มมีแนวโน้มดีขึ้น ขณะที่ผลผลิตถั่วเหลืองออกมาน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มลดลงเล็กน้อย เนื่องจากผู้ลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับผลผลิตปาล์มน้ำมันที่อาจเพิ่มขึ้น ถึงแม้มาเลเซียยังขาดแคลนแรงงาน แต่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากวันที่ 1-20 ก.พ. 64
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,081.92 ดอลลาร์มาเลเซีย (31.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,145.37 ดอลลาร์มาเลเซีย (31.59 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.53
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,128.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.24 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,167.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36.41 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.32
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
Czarnikow คาดการณ์ราคาน้ำตาลจะสูงในอีก 5 ปีข้างหน้าเนื่องจากการผลิตเอทานอลมากขึ้นน่าจะลดปริมาณการผลิตน้ำตาลในอินเดียและภาคกลาง-ใต้ของบราซิลได้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันเบนซินที่สูงขึ้น ในขณะที่ประเทศผู้ผลิตอื่น ๆ จะต้องใช้เวลาในการเพิ่มการผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ สภาพอากาศ
ที่แปรปรวนอาจหนุนราคาได้เช่นกัน คาดการณ์ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการขาดดุลทั่วโลกในปี 2565/2566 อินเดียจะไม่เป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ให้กับตลาดโลกอีกต่อไป เนื่องจากโครงการเอทานอล อย่างไรก็ตามในระยะสั้นราคาเอทานอลที่อยู่ในระดับต่ำในบราซิลและปริมาณการผลิตที่สูงขึ้นจะยังคงกดดันราคา ทางด้าน Commerzbank กล่าวเสริมว่า ผู้ซื้อมีสินค้าในสต๊อกและรอราคาลดลง
ความแออัดของการจราจรในคลองสุเอซแม้ว่าจะผ่อนคลายลงแล้ว แต่ก็อาจส่งผลกระทบทางอ้อม
ต่อบราซิลได้โดยการชะลอการส่งมอบปัจจัยการผลิตและเชื้อเพลิง การคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายทะเล ประธานสมาคมการค้าต่างประเทศของบราซิล (AEB) ไม่เห็นด้วยโดยกล่าวว่าบริษัทของบราซิลไม่ได้รับผลกระทบ และผลกระทบจะเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ในขณะเดียวกัน Traders กาแฟในบราซิลกล่าวว่า
จากเหตุการณ์นี้กำลังทำให้ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่มีอยู่ทวีความรุนแรงมากขึ้นแม้จะคลี่ลายลงแล้ว รัฐบาลจอร์แดนกล่าวว่า การจราจรที่ติดขัดในคลองสุเอซไม่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งน้ำตาลส่วนใหญ่ที่มาจากซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 17.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.94 บาท ในสัปดาห์สัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.12
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,399.55 เซนต์ (16.16 บาท/กก.)ลดลงจากบุชเชลละ 1,417.56 เซนต์ (16.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.27
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 407.43 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.80 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 401.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.60
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 52.12 เซนต์ (36.09 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 55.67 เซนต์ (38.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.38
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 17.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.94 บาท ในสัปดาห์สัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.12
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,399.55 เซนต์ (16.16 บาท/กก.)ลดลงจากบุชเชลละ 1,417.56 เซนต์ (16.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.27
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 407.43 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.80 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 401.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.60
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 52.12 เซนต์ (36.09 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 55.67 เซนต์ (38.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.38
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.25 บาท สูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.00 บาท
ร้อยละ 4.71
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.00 บาท ร้อยละ 2.58
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.00 บาท ร้อยละ 3.08
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,079.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.44 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,140.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.35 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.62 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,007.60 ดอลลาร์สหรัฐ (31.23 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,041.80 ดอลลาร์สหรัฐ (32.04 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.28 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.81 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,196.00 ดอลลาร์สหรัฐ (37.07 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตัน 1,205.40 ดอลลาร์สหรัฐ (37.07 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 แต่คงที่ในรูปของเงินบาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 845.20 ดอลลาร์สหรัฐ (26.20 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตัน 877.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.00 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.71 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.80 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,222.20 ดอลลาร์สหรัฐ (37.88 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,231.60 ดอลลาร์สหรัฐ (37.88 บาท/กิโลกรัม) สัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 แต่คงที่ในรูปของเงินบาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.22 บาท สูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.84
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.55 บาท สูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.40
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.17
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.50 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.42
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 79.99 เซนต์(กิโลกรัมละ 55.41 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 81.88 เซนต์ (กิโลกรัมละ 56.30 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.31 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.89 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,763 บาท ลดลงจาก 1,819 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 3.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,763 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,487 บาท ลดลงจาก 1, 517 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 1.97 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,487 บาทส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 944 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภค มีมากกว่าผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 76.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.98 คิดเป็นร้อยละ 0.79 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 73.76 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.29 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 78.24 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 77.60 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,800 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.59 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.58 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.75 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.91 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่มีรายงานส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 272 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 247 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.73 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 303 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 260 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 238 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 250 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.80 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 338 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 341 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 363 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 308 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 333 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 305 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.42 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 97.65 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.80 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.63 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.43 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.51 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.57 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 74.97 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 4 เมษายน 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.61 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.29 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 160.79 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 152.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.79 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 150.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 147.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.85 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.63 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.57 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 4 เมษายน 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.61 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.29 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 160.79 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 152.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.79 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 150.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 147.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.85 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.63 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.57 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา