สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 30 ตุลาคม-5 พฤศจิกายน 2563

 

ข้าว
 
1) สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,841 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,416  บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.04
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,545 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,491 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,050 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 29,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,250 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 917 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,296 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 916 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,381 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 85 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 472 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,564 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,407 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 157 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 475 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,657 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 474 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,686 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 29 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.9837 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
จีน
หนังสือพิมพ์ South China Morning Post (SCMP) รายงานว่า ราคาข้าวในประเทศจีนปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากผลผลิตในจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตข้าวหลักมีจำนวนลดลง โดยราคาข้าวทุกสายพันธุ์ปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งผลผลิตข้าวได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติเมื่อช่วงต้นปีประกอบกับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อ COVID-19 ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลงประมาณร้อยละ30 เมื่อเทียบกับปีก่อนๆ
ทั้งนี้ เกษตรกรบางรายตั้งข้อสังเกตว่าราคาข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นระหว่าง 140-180 หยวนต่อ 50 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 418-537 ดอลลาร์สหรัฐฯ) จากประมาณ 120-145 หยวนต่อ 50 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 358-435 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ในปีที่แล้ว ขณะที่ราคาข้าวขายส่ง (Wholesale rice prices) สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้ค้าธัญพืชและโรงงานแปรรูปของจีนกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนข้าวที่เก็บเกี่ยวใหม่ โดยผู้ค้าข้าวคาดว่าภาวะราคาข้าว
มีแนวโน้มสูงขึ้นไปจนถึงสิ้นปีนี้
อย่างไรก็ตาม ผู้เกี่ยวข้องในวงการค้าคาดว่าราคาข้าวจะปรับตัวลดลง ในช่วงที่เริ่มมีผลผลิตข้าวที่เก็บเกี่ยวจากทางภาคเหนือของประเทศออกสู่ตลาด ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2563 นี้
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่าในปีการตลาด 2563/64 (กรกฎาคม 2563-มิถุนายน2564) ประเทศจีนจะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 212.143 ล้านตัน (ประมาณ 148.5 ล้านตันข้าวสาร) เพิ่มขึ้นจากจำนวน 209.614 ล้านตัน (ประมาณ 146.73 ล้านตันข้าวสาร) ในปี 2562/63 เนื่องจากคาดว่าพื้นที่เก็บเกี่ยวจะเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการบริโภคข้าวในปี 2563/64 คาดว่าจะมีประมาณ 150 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากจำนวน 145.03 ล้านตันข้าวสารในปี 2562/63 เนื่องจากคาดว่าความต้องการใช้ข้าวในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์จะเพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศการจำหน่ายข้าวเก่าจากสต็อกรัฐบาลชุดแรกจำนวน 8 ล้านตัน โดยกำหนดราคา floor price ที่ตันละ1,000 หยวน (ประมาณ 147 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (The National Bureau of Statistics) รายงานว่า ผลผลิตข้าวต้นฤดู (early rice production) ในปี 2563 คาดว่าจะมีประมาณ 27.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ3.9 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ซึ่งผลผลิตข้าวต้นฤดูคาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น แม้จะประสบภาวะน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา แต่เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นประมาณ 1.875 ล้านไร่ เป็น 29.69 ล้านไร่ จึงทำให้คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้น
สำหรับการจัดสรรโควตานำเข้าข้าว (TRQ) ในส่วนของข้าวเมล็ดยาว คาดว่าจะครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้ว แต่ในส่วนของข้าวเมล็ดกลางและสั้น คาดว่าจะยังไม่ครบตามที่กำหนดไว้
ทางด้านสถานการณ์สต็อกข้าว นั้น คาดว่ามีแนวโน้มลดลง เนื่องจากรัฐบาลยังคงมีการระบายข้าวเก่าจากสต็อกรัฐบาลแออกมาเป็นระยะ โดยคาดว่าในปี 2563/64 จะมีสต็อกคงเหลือสิ้นปีประมาณ 114.1 ล้านตัน ลดลงจากจำนวน 116.5 ล้านตัน ในปี 2562/63 ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2563 รัฐบาลได้จำหน่ายข้าวเก่าจากสต็อกรัฐบาล
แล้วประมาณ 11.24 ล้านตัน ลดลงประมาณ 830,000 ตัน จากปีที่ผ่านมา ซึ่งข้าวที่มีการจำหน่ายประกอบด้วย
ข้าวต้นฤดู (early indica rice) ประมาณ 892,000 ตัน (ลดลงประมาณ 75,000 ตันจากปีที่แล้ว) ข้าวกลางและปลายฤดู(mid-to-late indica rice) ประมาณ 3.75 ล้านตัน (ลดลงประมาณ 1.14 ล้านตัน จากปีที่แล้ว) และข้าวพันธุ์จาปอนิกา (japonica rice) ประมาณ 6.6 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นประมาณ 380,000 ตัน จากปีที่แล้ว โดยข้าวเก่าประมาณร้อยละ79 จากที่จำหน่ายทั้งหมดเป็นข้าวจากฤดูการผลิตปี 2557/58)
ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ (China’s National Grain Trade Center; NGTC) รายงานว่า ในเดือนตุลาคม 2563มีการจำหน่ายข้าวเปลือกจากสต็อกรัฐบาลจำนวนประมาณ 604,479 ตัน (คิดเป็นร้อยละ17 ของจำนวนที่นำออกประมูล) จากจำนวนข้าวเปลือกเก่าในสต็อกรัฐบาลที่นำออกมาประมูลขายประมาณ 3.6 ล้านตัน ซึ่งลดลงจากจำนวน 1.3 ล้านตันที่จำหน่ายได้ในเดือนที่ผ่านมา
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
อิหร่าน
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน รายงานว่า นายมาร์สิเคชาวาร์ส ประธานสมาคม
ผู้นำเข้าข้าวอิหร่านได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนอิหร่านเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ภายในช่วงเวลา 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ
2563 (เริ่มเดือนเมษายน 2563 เป็นต้นมา) อิหร่านนำเข้าข้าวลดลงกว่าร้อยละ 50 ซึ่งถือเป็นปริมาณต่ำกว่าเป้าหมาย
การนำเข้าที่ตั้งไว้ในปี 2563 คือ 1.5 ล้านตัน ซึ่งต้องนำเข้าเฉลี่ยเดือนละ 200,000 ตัน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่อิหร่าน
จะพิจารณาหาแหล่งนำเข้าข้าวใหม่ๆ เพื่อเติมเต็มความต้องการที่เหลือในปีนี้อีกประมาณ 1 ล้านตัน โดยมองไปยังประเทศผู้ผลิตรายอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากอินเดียและปากีสถาน ซึ่งได้แก่ ไทย และประเทศในอเมริกาใต้
ปัจจุบันอิหร่านนำเข้าข้าวบาสมาติจากอินเดียและปากีสถานเป็นหลัก คิดเป็นปริมาณร้อยละ 80 ของ
การนำเข้า โดยข้าวจาก 2 ประเทศนี้ จัดว่าเป็นข้าวที่มีคุณภาพและตรงตามความต้องการของผู้บริโภคชาวอิหร่าน
มากที่สุด มีรสชาติใกล้เคียงกับรสนิยมชาวอิหร่าน ง่ายต่อการหุงและไม่แฉะ ที่สำคัญมีราคาถูกกว่าข้าวที่ผลิตภายในประเทศ
อย่างไรก็ตาม การสูญเสียมูลค่าของเงินเรียลในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้
การนำเข้าข้าวจาก 2 ประเทศนี้ มีราคาสูงขึ้น ทำให้ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา อิหร่านไม่สามารถจัดหาข้าวจากอินเดียและปากีสถานในราคาเดิมและตามปริมาณที่ตั้งเป้าเอาไว้ได้ ซึ่งประธานสมาคมผู้นำเข้าข้าวอิหร่านมองว่าหากยังนำเข้าข้าวจาก 2 ประเทศนี้ ในราคาที่แพงขึ้น เท่ากับว่าราคาจำหน่ายข้าวในอิหร่านจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 เท่าตัว ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศ ซึ่งจะต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศในปี 2563 นี้ รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.5 ล้านตัน อิหร่านจึงจำเป็นต้องมองหาแหล่งนำเข้าทดแทนเป็นการเร่งด่วน และจะต้องเป็นแหล่งนำเข้า
ที่มีราคาถูก ซึ่งที่ผ่านมาสมาคมฯ เห็นว่าตลาดนำเข้าที่มีศักยภาพในการตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้ในปัจจุบันได้แก่ ประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอเมริกาใต้ เช่น บราซิล เปรูเอกัวดอร์ เป็นต้น
ทั้งนี้ นอกจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้การนำเข้าข้าวจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้นแล้ว
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้อิหร่านไม่สามารถนำเข้าข้าวได้ตามปริมาณที่ต้องการคือ 1) รัฐบาลอิหร่านได้ประกาศห้ามนำเข้าในช่วงต้นฤดูกาลผลิต 2562/63 เพราะเห็นว่าอิหร่านมีปริมาณน้ำที่เพียงพอในการผลิต และรัฐบาลอนุญาตให้ขยายพื้นที่ในการเพาะปลูกข้าว 2) การขาดแคลนเงินตราอันเนื่องมาจากมาตรการคว่ำบาตร ทำให้ธนาคารกลางแห่งชาติอิหร่าน กำหนดรายการสินค้าที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศ ในอัตราแลกเปลี่ยนทางการ
ซึ่งถูกกว่าอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดกว่า 3 เท่าตัว (300%) ซึ่งสินค้าข้าวในขณะนั้นให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในอัตรา NIMA ซึ่งเป็นอัตราเสรีที่ผู้นำเข้า ส่งออกตกลงกันในระบบ Online Bidding ของรัฐ โดยปกติจะอยู่ในอัตราที่สูงกว่าอัตราทางการ แต่ก็ต่ำกว่าอัตราตลาด โดยปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 190,000 เรียลต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่อัตราทางการอยู่ที่ประมาณ 43,000 เรียลต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ และอัตราตลาดอยู่ที่ประมาณ 290,000 เรียลต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ
ดังนั้น การยกเลิกให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศสำหรับการนำเข้าข้าวในอัตราพิเศษนี้ ทำให้ผู้นำเข้ามีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น สินค้าข้าวที่เจรจานำเข้าไว้ก่อนหน้ามีราคาสูงขึ้น ตลอดจนประสบปัญหาในการกู้ยืมและแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ทำให้การนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 จึงถูกระงับหรือยกเลิกไป ซึ่งจากสถิติ
การนำเข้าของทางการพบว่า ลดลงไปเกือบครึ่งหนึ่งของปริมาณการนำเข้าในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563 นี้ อิหร่านนำเข้าข้าวเพียง 550,000 ตัน ยังขาดเหลืออีกประมาณ 1 ล้านตัน ซึ่งจะต้องเร่งนำเข้าให้แล้วเสร็จก่อนสิ้นปีงบประมาณ ซึ่งมีเวลาเหลือเพียง 5 เดือน ทั้งนี้ กระทรวงการค้าและพาณิชย์อิหร่านได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ในปี 2563 อิหร่านจะต้องนาเข้าข้าวให้ได้เดือนละ 200,000 ตัน
การเร่งให้มีการนำเข้าข้าวดังกล่าว มีสาเหตุมาจากปัจจุบันข้าวในตลาดมีปริมาณลดลงส่งผลให้ราคาสูงขึ้น
และถ้าปล่อยให้ยืดเยื้อ อาจทำให้เกิดวิกฤติในตลาดผู้บริโภคและนำไปสู่ปัญหาการประท้วงได้ ซึ่งรัฐบาลอิหร่านพยายามอย่างเต็มที่ในการรักษาสมดุลความต้องการสินค้าพื้นฐานในตลาด โดยเฉพาะความสมดุลด้านปริมาณและราคา ซึ่ง
การขาดแคลนข้าวในตลาดผู้บริโภคในอิหร่านในครั้งนี้ มีสาเหตุมาจากหลายๆ ปัจจัย โดยปัจจัยหลักคือการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศที่นำไปสู่การห้ามนำเข้า และการกำหนดระเบียบการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เพื่อวัตถุประสงค์ในการนำเข้าสินค้าจำเป็นพื้นฐาน ที่พบว่ายังมีความผันผวนและไม่มั่นคง ส่งผลให้ราคาข้าวที่นำเข้า
ในปัจจุบันมีต้นทุนสูงถึงประมาณกิโลกรัมละ 250,000 เรียลโดยเฉลี่ย (ประมาณ 65 บาท) นอกจากนี้ยังพบว่า รัฐบาลอิหร่านได้พยายามเจรจากับประเทศคู่ค้าหลายๆ ประเทศ ในการหากลไกการชำระราคาสินค้าที่ไม่ต้องใช้เงินตรา
โดยพยายามผลักดันมาตรการชำระค่าสินค้าแบบการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือ Barter Trade เป็นต้น ซึ่งประเทศที่เป็น
คู่ค้าส่วนใหญ่ เช่น อินเดีย และปากีสถาน ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างเต็มตัว ซึ่งการหันมานำเข้าจากไทยและประเทศ
ในอเมริกาใต้ครั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงว่ารัฐบาลอิหร่านอาจประสงค์ให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้าแบบ Barter Trade เช่นกัน ซึ่งในส่วนของไทยการซื้อขายสินค้าผ่านกลไกดังกล่าวปัจจุบันได้ถูกยกเลิกไปแล้ว
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
บราซิล
บราซิลเปิดตลาดนำเข้าข้าวจากทุกประเทศเพิ่มขึ้นรวม 4 แสนตัน อัตราภาษีร้อยละ 0 จากเดิมร้อยละ 12
เพื่อแก้ปัญหาความต้องการข้าวในประเทศที่เพิ่มขึ้น นับเป็นโอกาสดีสำหรับไทยที่จะส่งออกได้มากขึ้น โดยล่าสุดส่งออก
ไปแล้วประมาณ 3 หมื่นตัน ทำให้มีตลาดรองรับผลผลิตข้าวนาปีที่กำลังออก ส่วนการเจรจาขายข้าวให้จีนงวดที่ 8
ซึ่งเสนอขายข้าวเหนียว และข้าวขาว จำนวน1 แสนตัน อยู่ระหว่างรอฟังผลการเจรจาภายใน 6 พฤศจิกายนนี้

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อเดือนกันยายน 2563 สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการการค้าต่างประเทศของบราซิล (CAMEX) ได้ออกมาตรการเพื่อลดภาษีนำเข้าข้าวเปลือกและข้าวสาร
ในอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 0 สำหรับข้าวนำเข้าจากทุกประเทศ ปริมาณรวม 400,000ตัน มีผลตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน –
31 ธันวาคม 2563 เนื่องจากรัฐบาลบราซิลต้องการให้ประชาชนมีข้าวเพียงพอบริโภคในประเทศในช่วงสถานการณ์
โควิด-19 และทำให้ราคาขายปลีกในประเทศลดลง จึงเป็นโอกาสของผู้ส่งออกข้าวของไทยที่จะเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวไปยังบราซิล
“การลดภาษีดังกล่าว ทำให้ในเดือนกันยายน – ตุลาคม 2563 ไทยส่งออกข้าวไปบราซิลได้แล้ว 28,163 ตัน
มูลค่ากว่า 12.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 390 ล้านบาท เนื่องจากที่ผ่านมาไทยต้องเสียภาษีนำเข้าข้าวให้กับบราซิล
ในอัตราร้อยละ 12 และค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง จึงส่งออกไปบราซิลไม่มากนัก แต่ปีนี้การส่งออกจะเพิ่มขึ้น ถือเป็นข่าวดี
ที่ไทยจะมีตลาดรองรับผลผลิตข้าวที่กำลังจะออกสู่ตลาดในช่วงสิ้นปีนี้ ส่วนในปี 2562 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกข้าวไปบราซิลได้เพียง 433 ตัน มูลค่า 460,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 14 ล้านบาท ข้าวที่ส่งออก ได้แก่ ข้าวเหนียว ข้าวหอมมะลิไทย
และข้าวกล้อง” นายกีรติกล่าว
สำหรับบราซิลเป็นประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่ มีประชากรมากกว่า 200 ล้านคน มากที่สุดในลาตินอเมริกา และมากเป็นอันดับ 6 ของโลก กำลังซื้อของผู้บริโภคบราซิลมีแนวโน้มสูงขึ้นตามเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน บราซิลยังมีศักยภาพในการเป็นประตูการค้าไปสู่ประเทศอื่นในลาตินอเมริกา โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม
ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (เมอร์โคซู) ประกอบด้วย บราซิล อาร์เจนตินา เวเนซุเอลา ปารากวัย และอุรุกวัย การที่
บราซิลลดภาษีนำเข้าข้าวครั้งนี้ ยังจะทำให้ไทยสามารถขยายตลาดส่งออกไปในกลุ่มเมอร์โคซูได้อีกด้วย
ทั้งนี้ ในแต่ละปี บราซิลนำเข้าข้าวเฉลี่ยประมาณ 300,000-400,000 ตัน โดยนำเข้าจากปารากวัยเป็นหลัก
และนำเข้าจากไทยเพียงปีละ 420-440 ตัน ส่วนใหญ่เป็นข้าวเหนียว และข้าวขาว โดยบราซิลจะยกเว้นภาษีนำเข้าให้แก่ข้าวที่นำเข้าจากประเทศสมาชิกกลุ่ม Mercosur ส่วนประเทศนอกกลุ่มดังกล่าว รวมทั้งประเทศไทยต้องเสียภาษีอัตรา
ร้อยละ 12 ส่วนข้าวเปลือกภาษีร้อยละ 10
นายกีรติ กล่าวว่า ทางด้านการเจรจาขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ให้กับจีนตามสัญญาซื้อขาย 1 ล้านตัน และ
ที่ผ่านมาไทยได้ส่งมอบไปแล้ว 7 ล็อต หรือ 700,000 ตัน โดยล่าสุดไทยได้เสนอราคาขายข้าวล็อตที่ 8 อีก 100,000 ตันให้กับจีนแล้ว โดยเป็นข้าวเหนียว และข้าวขาว กำหนดให้จีนต้องตอบกลับภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 หากล็อตนี้สามารถตกลงราคาซื้อขายกันได้ จะทำให้ไทยมีตลาดรองรับปริมาณผลผลิตข้าวที่กำลังจะออกสู่ตลาดในช่วงปลายปีนี้เพิ่มขึ้น
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2563 ไทยส่งออกข้าวได้แล้ว 4.04 ล้านตัน มูลค่า 2,702.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 31.89 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ส่งออกได้ 5.93 ล้านตัน
และราคาลดลงร้อยละ 15.53 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีมูลค่า 3,191 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : commercenewsagency.com


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.29 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.89 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.32 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.28 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 295.40 ดอลลาร์สหรัฐ (9,115 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 292.25 ดอลลาร์สหรัฐ (9,055 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 60 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 402.24 เซนต์ (4,956 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 410.52 เซนต์ (5,077 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.02 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 121 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.86 ล้านไร่ ผลผลิต 28.980 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.27 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.70 ล้านไร่ ผลผลิต 27.347 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.14 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.82 ร้อยละ 5.97 และร้อยละ 4.07 ตามลำดับ โดยเดือนตุลาคม 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.41 ล้านตัน (ร้อยละ 4.85 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.49 ล้านตัน (ร้อยละ 63.79 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ แต่ลานมันเส้นส่วนใหญ่หยุดดำเนินการเนื่องจากมีฝนตก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.76 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.74 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.15
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.48 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 9.49
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.14 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.13 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.05 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.61
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,714 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,724 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 448 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,824 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 443 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,687 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.13


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.142  ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.206 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.194 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.215 ล้านตัน ของเดือนกันยายน คิดเป็นร้อยละ 4.36 และร้อยละ 4.19 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.32 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.66 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 11.66                
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 38.30 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 33.69 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 13.68                      
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
โดยทั่วไปเมื่อมาเลเซียส่งออกน้ำมันปาล์มไปสหรัฐอเมริกาจะไม่พบปัญหาอะไร นอกจากข้อกีดกันสินค้าจาก FGV Holding Bhd ที่ออกเมื่อ 1 ตุลาคม 2563 แต่อย่างไรก็ตามข้อกีดกันนี้ไม่ส่งผลถึงอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของมาเลเซียโดยรวม เพราะ FGV ส่งออกน้ำมันปาล์มไปสหรัฐอเมริกาเพียง 40 ตัน หน่วยงานศุลกากรของสหรัฐอเมริกาอ้างว่า FGV มีการใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม มาเลเซียติดโผชื่อในสหรัฐอเมริกาในเรื่องการใช้แรงงานที่ไม่เป็นธรรมและมีการใช้แรงงานเด็กตั้งแต่ปี 2552 และในปี 2557 มาเลเซียก็ยังติดโผรายชื่อประเทศที่มีการใช้แรงงานเด็กอยู่ 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,334.04 ดอลลาร์มาเลเซีย (25.31 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,205.50 ดอลลาร์มาเลเซีย (24.41 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.01  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 784.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24.53 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 769.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.93  
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
         
          ไม่มีรายงาน

 
  1. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
         รายงานผลผลิตน้ำตาลทรายของอินเดีย
          ขณะนี้การส่งออกน้ำตาลจากรัฐมหาราษฏระอาจจะสามารถดำเนินการได้ โดยไม่มีการอุดหนุนการส่งออก เมื่อมีการพิจารณาเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยถ้าต้องเก็บน้ำตาลไว้ในคลังโดยทางโรงงานจะได้รับเงิน 2,750 - 2,780 รูปี/100 กิโลกรัม (376 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) สำหรับผลิตน้ำตาลใหม่เพื่อการส่งออกซึ่งจะดีกว่าการเก็บน้ำตาลไว้ในคลัง อย่างไรก็ตาม โรงงานไม่น่าจะส่งออกหากไม่มีเงินอุดหนุน กล่าวโดยผู้ส่งออกรายหนึ่ง
          หัวหน้าสหพันธ์โรงงานน้ำตาลแห่งชาติของอินเดียไม่เห็นด้วย โดยกล่าวว่า ตลาดโลกซื้อขายกันที่ 21 - 22
รูปี/กก. (280 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) เทียบกับต้นทุนการผลิตที่ 32 รูปี/กก. (430 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) และเตือนว่าอุตสาหกรรมน้ำตาลของอินเดียจะล้มละลายหากรัฐบาลไม่อุดหนุนการส่งออกอย่างน้อย 5 ล้านตัน พร้อมเสริมว่าโรงงานกำลังเผชิญกับวิกฤตสภาพคล่องเนื่องจากรัฐบาลยังคงต้องจ่ายเงินช่วยเหลือส่วนที่ค้างสำหรับปีการผลิตปี 2562/2563 ทางด้านผู้นำเกษตรกรในรัฐมหาราษฏระจะเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยเงินอุดหนุนและประกาศเงินช่วยเหลือ 15,000 รูป/ตัน (201 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ) สำหรับการส่งออกน้ำตาล 7.5 ล้านตัน ในปีการผลิต 2563/2564




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 26.00 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,069.32 เซนต์ (12.26 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,072.44 เซนต์ (12.38 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.29
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 380.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 382.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.48
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 34.09 เซนต์ (23.44 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 33.83 เซนต์ (23.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.77


 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด


 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.81 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 20.12 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 21.42
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.60 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 38.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.21
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.80 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 18.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.44
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,070.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,066.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.03บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 874.60 ดอลลาร์สหรัฐ (26.99 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 870.75 ดอลลาร์สหรัฐ (26.98 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,318.60 ดอลลาร์สหรัฐ (40.69 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,261.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.07 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.57 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.62 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 639.80 ดอลลาร์สหรัฐ (19.74 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 611.00 ดอลลาร์สหรัฐ (18.93 บาท/กิโลกรัม)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.71 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.81 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,227.40 ดอลลาร์สหรัฐ (37.87 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,222.00 ดอลลาร์สหรัฐ (37.86บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ0.44 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.51 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.07
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.86 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 


 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 69.64 เซนต์(กิโลกรัมละ 48.04 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 71.03 เซนต์ (กิโลกรัม 49.20 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.96 ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.16 บาท)


 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,921 บาท ลดลงจาก 1,947 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 1.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,921 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,529 บาท ลดลงจาก 1,553 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 1.54 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,553 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน  
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 933 บาท เท่ากับของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรลดลง เนื่องจากมีพายุฝนในบางพื้นที่ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  77.42 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 77.76 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.44 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 73.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.83 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.06 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 78.80 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,600 บาท ลดลงจากตัวละ 2,700 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.70
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาททรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา


ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากยังคงมีความต้องการบริโภคเนื้อไก่ใกล้เคียงกับปริมาณผลผลิตอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.96 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท กิโลกรัม ภาคกลาง กิโลกรัมละ 31.79 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.92 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 7.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  


ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 287 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 273 บาท ของ สัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.88 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 287 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 288 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 290 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 342 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 339 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.88 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 354 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 321 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 345 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 390 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 94.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 96.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.62 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 99.13 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.74 บาท และภาคใต้ ไม่มีรายงานราคา


กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 78.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 75.62 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา


 

 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 78.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.88 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคา  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.35 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 129.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.82 บาท
 สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.64 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.24 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา