- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 2-8 ตุลาคม 2563
ข้าว
1) สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิต
ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ วงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม -
30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุง
คุณภาพข้าวปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพ
อยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อยอัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูก
ที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้น ไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,378 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,623 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,226 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,255 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,550 บาท ราคาลดลงจากตันละ 31,050 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.61
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,910 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,150 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 1.70
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 909 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,286 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,233 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 53 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,341 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,528 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.40 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 187 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 478 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,874 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 479ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,026 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 152 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 496 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,434 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 501ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,716 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 282 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.1175 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 กลุ่ม Loc Troi Group ของเวียดนาม ได้ส่งออกข้าวหอมล็อตแรกปริมาณ 126 ตัน ไปยังสหภาพยุโรปภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (EU-Vietnam FreeTrade Agreement - EVFTA) ซึ่งเป็นข้าวหอมพันธุ์ Jasmine 85 บรรจุถุงขนาด 18 กิโลกรัม
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนามเปิดเผยว่า ข้าวหอมเวียดนาม 9 พันธุ์ ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้โควตา 30,000 ตัน ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปได้รับสิทธิ์ ได้แก่ พันธุ์ OM 4900, OM 5451 (2 พันธุ์นี้มีผลผลิตประมาณรวม 3 ล้านตันต่อปี) Jasmine 85, ST5, ST20, Nang Hoa 9 , VD 20,RVT, และ Tai Nguyen Cho Dao. (7 พันธุ์นี้มีผลผลิตมากกว่า 1 ล้านตันต่อปี)
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนามกล่าวว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 (ม.ค.-ส.ค. 2563) เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณกว่า 4.6 ล้านตัน มูลค่ากว่า 2.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 จาก
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยข้าว 9 พันธุ์ดังกล่าวส่งออกได้มากกว่า 3 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 43-46 ของปริมาณการส่งออกข้าวทั้งปี
สหภาพยุโรปนำเข้าข้าวประมาณ 2.3 ล้านตันต่อปี โดยมีมูลค่า 1.4 พันล้านยูโร ภายใต้ความตกลง EVFTA ข้าวจึงเป็นสินค้าที่มีศักยภาพสูงในการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป
ปัจจุบัน เวียดนามได้รับโควตาส่งออกข้าวของสหภาพยุโรปปริมาณ 80,000 ตันต่อปี (รวมข้าวสี 30,000 ตันข้าวที่ยังไม่ได้สี 20,000 ตัน และข้าวหอม 30,000 ตัน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหภาพยุโรปจะเปิดเสรีข้าวหักอย่างเต็มที่ช่วยให้เวียดนามส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปประมาณรวม 100,000 ตันต่อปี สำหรับผลิตภัณฑ์จากข้าว สหภาพยุโรปจะลดอัตราภาษีเป็นร้อยละ 0 หลังจาก 3-5 ปี
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กัมพูชา
พนมเปญ (สำนักข่าวซินหัว) เมื่อวันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม 2563 สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) กล่าวกับสำนักข่าวซินหัวว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 กัมพูชาส่งออกข้าวสารรวม 488,785 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
แถลงการณ์จากสหพันธ์ฯ ระบุว่า ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายนที่ผ่านมา กัมพูชามีรายได้จากการส่งออกข้าวรวมกว่า 328 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท)
“ช่วง 9 เดือนแรกของการส่งออกข้าวในปี 2563 จีนครองตลาดส่งออกรายใหญ่สุดที่ 171,896 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 35 ของตลาดส่งออกทั้งหมด ตามด้วยสหภาพยุโรป (EU) 161,614 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33”
ขณะเดียวกันกัมพูชาส่งออกข้าวไปยังตลาดอาเซียนรวม 67,433 ตัน จากปริมาณที่ส่งออกทั้งหมด โดยกัมพูชาส่งออกข้าวไปยัง 69 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก
ด้าน งิน ชัย (Ngin Chhay) อธิบดีกรมวิชาการเกษตร สังกัดกระทรวงการเกษตร ป่าไม้ และการประมงของกัมพูชา ชี้ว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ผลักดันให้ความต้องการซื้อข้าวกัมพูชาพุ่งสูงขึ้น พร้อมคาดการณ์ว่าในปีนี้การส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศอาจสูงถึง 800,000 ตัน โดยในปี 2562 กัมพูชาผลิตข้าวเปลือกได้ประมาณ 10 ล้านตัน ทำให้กัมพูชามีข้าวเปลือกเกินดุลประมาณ 5.6 ล้านตัน หรือเทียบเท่าข้าวสาร 3.5 ล้านตัน
ที่มา : xinhuathai.com
ญี่ปุ่น
กระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้ (the Ministry of Agriculture, Fisheries and Forests; MAFF)
ประกาศผลการประมูลนำเข้าข้าวแบบ MA (ordinary international tenders) ครั้งที่ 3 ปีงบประมาณ 2563/64
(1 เมษายน 2563-31 มีนาคม 2564) เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563 ซึ่งกำหนดซื้อข้าวรวม 14,000 ตัน ประกอบด้วยข้าวสารเมล็ดยาว (Non-glutinous milled long grain rice) จากประเทศใดก็ได้ (Global tender) 2 ล็อต ล็อตละ 7,000 ตัน กำหนดส่งมอบวันที่ 20 ตุลาคม-30 พฤศจิกายน 2563
ผลการประมูลปรากฏว่า ญี่ปุ่นตกลงซื้อข้าวสารเมล็ดยาวจากประเทศไทยจำนวน 14,000 ตัน โดยการประมูล
ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมยื่นเสนอราคาจำนวน 9 ราย ซึ่งราคาที่ประมูลได้เฉลี่ยอยู่ที่ 55,920 เยนต่อตัน (ไม่รวมภาษี) (ประมาณ 530 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน) หรือ 60,394 เยนต่อตัน (รวมภาษี) (ประมาณ 572 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน)
สำหรับการประมูลนำเข้าข้าวแบบ MA (ordinary international tenders) ครั้งที่ 2 ปีงบประมาณ 2563/64
(1 เมษายน 2563-31 มีนาคม 2564) เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 ซึ่งกำหนดซื้อข้าวรวม 54,000 ตัน ประกอบด้วย ข้าวสารเมล็ดกลาง (Non-glutinous polished medium rice) จากสหรัฐฯ 2 ล็อต ล็อตละ 13,000 ตัน กำหนดส่งมอบ
วันที่ 20 ตุลาคม-30 พฤศจิกายน 2563 และวันที่ 1 พฤศจิกายน-10 ธันวาคม 2563 และข้าวสารเมล็ดยาว
(Non-glutinous milled long grain rice) จากประเทศใดก็ได้ (Global tender) จำนวน 4 ล็อต ล็อตละ 7,000 ตัน
กำหนดส่งมอบ 2 ล็อตแรก ในวันที่ 20 ตุลาคม-30 พฤศจิกายน 2563 และอีก 2 ล็อตที่เหลือในวันที่ 1 พฤศจิกายน-
10 ธันวาคม 2563 นั้น
ผลการประมูลปรากฏว่า ญี่ปุ่นตกลงซื้อข้าวจำนวนรวม 54,000 ตัน ประกอบด้วย ข้าวสารเมล็ดกลางจาก
สหรัฐฯ รวม 26,000 ตัน และข้าวสารเมล็ดยาวจากประเทศไทย โดยในการประมูลครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมยื่นเสนอราคา
จำนวน 31 ราย ซึ่งราคาที่ประมูลได้เฉลี่ยอยู่ที่ 98,725 เยนต่อตัน (ไม่รวมภาษี) (ประมาณ 942 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน)
หรือ 106,623 เยนต่อตัน (รวมภาษี) (ประมาณ 1,017 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน)
ส่วนประมูลนำเข้าข้าวแบบ CPTPP Simultaneous Buy and Sell (SBS) tender ครั้งที่ 3 ของปีงบประมาณ 2564 (1 เมษายน 2563-31 มีนาคม 2564) เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ซึ่งกำหนดจะซื้อข้าวประมาณ 1,000 ตัน จากประเทศสมาชิกกลุ่ม CPTPP นั้น ปรากฏว่าไม่มีการยื่นเสนอราคาข้าวในการประมูลครั้งนี้
ที่มา : Oryza.com
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว | ราคาประกันรายได้ | ครัวเรือนละไม่เกิน |
(บาท/ตัน) | (ตัน) | |
ข้าวเปลือกหอมมะลิ | 15,000 | 14 |
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ | 14,000 | 16 |
ข้าวเปลือกเจ้า | 10,000 | 30 |
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี | 11,000 | 25 |
ข้าวเปลือกเหนียว | 12,000 | 16 |
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิต
ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ วงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม -
30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุง
คุณภาพข้าวปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพ
อยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อยอัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูก
ที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้น ไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,378 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,623 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,226 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,255 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,550 บาท ราคาลดลงจากตันละ 31,050 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.61
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,910 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,150 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 1.70
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 909 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,286 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,233 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 53 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,341 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 495ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,528 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.40 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 187 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 478 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,874 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 479ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,026 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 152 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 496 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,434 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 501ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,716 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 282 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.1175 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 กลุ่ม Loc Troi Group ของเวียดนาม ได้ส่งออกข้าวหอมล็อตแรกปริมาณ 126 ตัน ไปยังสหภาพยุโรปภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (EU-Vietnam FreeTrade Agreement - EVFTA) ซึ่งเป็นข้าวหอมพันธุ์ Jasmine 85 บรรจุถุงขนาด 18 กิโลกรัม
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนามเปิดเผยว่า ข้าวหอมเวียดนาม 9 พันธุ์ ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้โควตา 30,000 ตัน ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปได้รับสิทธิ์ ได้แก่ พันธุ์ OM 4900, OM 5451 (2 พันธุ์นี้มีผลผลิตประมาณรวม 3 ล้านตันต่อปี) Jasmine 85, ST5, ST20, Nang Hoa 9 , VD 20,RVT, และ Tai Nguyen Cho Dao. (7 พันธุ์นี้มีผลผลิตมากกว่า 1 ล้านตันต่อปี)
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนามกล่าวว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 (ม.ค.-ส.ค. 2563) เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณกว่า 4.6 ล้านตัน มูลค่ากว่า 2.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 จาก
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยข้าว 9 พันธุ์ดังกล่าวส่งออกได้มากกว่า 3 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 43-46 ของปริมาณการส่งออกข้าวทั้งปี
สหภาพยุโรปนำเข้าข้าวประมาณ 2.3 ล้านตันต่อปี โดยมีมูลค่า 1.4 พันล้านยูโร ภายใต้ความตกลง EVFTA ข้าวจึงเป็นสินค้าที่มีศักยภาพสูงในการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป
ปัจจุบัน เวียดนามได้รับโควตาส่งออกข้าวของสหภาพยุโรปปริมาณ 80,000 ตันต่อปี (รวมข้าวสี 30,000 ตันข้าวที่ยังไม่ได้สี 20,000 ตัน และข้าวหอม 30,000 ตัน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหภาพยุโรปจะเปิดเสรีข้าวหักอย่างเต็มที่ช่วยให้เวียดนามส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปประมาณรวม 100,000 ตันต่อปี สำหรับผลิตภัณฑ์จากข้าว สหภาพยุโรปจะลดอัตราภาษีเป็นร้อยละ 0 หลังจาก 3-5 ปี
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กัมพูชา
พนมเปญ (สำนักข่าวซินหัว) เมื่อวันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม 2563 สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) กล่าวกับสำนักข่าวซินหัวว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 กัมพูชาส่งออกข้าวสารรวม 488,785 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
แถลงการณ์จากสหพันธ์ฯ ระบุว่า ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายนที่ผ่านมา กัมพูชามีรายได้จากการส่งออกข้าวรวมกว่า 328 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท)
“ช่วง 9 เดือนแรกของการส่งออกข้าวในปี 2563 จีนครองตลาดส่งออกรายใหญ่สุดที่ 171,896 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 35 ของตลาดส่งออกทั้งหมด ตามด้วยสหภาพยุโรป (EU) 161,614 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33”
ขณะเดียวกันกัมพูชาส่งออกข้าวไปยังตลาดอาเซียนรวม 67,433 ตัน จากปริมาณที่ส่งออกทั้งหมด โดยกัมพูชาส่งออกข้าวไปยัง 69 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก
ด้าน งิน ชัย (Ngin Chhay) อธิบดีกรมวิชาการเกษตร สังกัดกระทรวงการเกษตร ป่าไม้ และการประมงของกัมพูชา ชี้ว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ผลักดันให้ความต้องการซื้อข้าวกัมพูชาพุ่งสูงขึ้น พร้อมคาดการณ์ว่าในปีนี้การส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศอาจสูงถึง 800,000 ตัน โดยในปี 2562 กัมพูชาผลิตข้าวเปลือกได้ประมาณ 10 ล้านตัน ทำให้กัมพูชามีข้าวเปลือกเกินดุลประมาณ 5.6 ล้านตัน หรือเทียบเท่าข้าวสาร 3.5 ล้านตัน
ที่มา : xinhuathai.com
ญี่ปุ่น
กระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้ (the Ministry of Agriculture, Fisheries and Forests; MAFF)
ประกาศผลการประมูลนำเข้าข้าวแบบ MA (ordinary international tenders) ครั้งที่ 3 ปีงบประมาณ 2563/64
(1 เมษายน 2563-31 มีนาคม 2564) เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563 ซึ่งกำหนดซื้อข้าวรวม 14,000 ตัน ประกอบด้วยข้าวสารเมล็ดยาว (Non-glutinous milled long grain rice) จากประเทศใดก็ได้ (Global tender) 2 ล็อต ล็อตละ 7,000 ตัน กำหนดส่งมอบวันที่ 20 ตุลาคม-30 พฤศจิกายน 2563
ผลการประมูลปรากฏว่า ญี่ปุ่นตกลงซื้อข้าวสารเมล็ดยาวจากประเทศไทยจำนวน 14,000 ตัน โดยการประมูล
ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมยื่นเสนอราคาจำนวน 9 ราย ซึ่งราคาที่ประมูลได้เฉลี่ยอยู่ที่ 55,920 เยนต่อตัน (ไม่รวมภาษี) (ประมาณ 530 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน) หรือ 60,394 เยนต่อตัน (รวมภาษี) (ประมาณ 572 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน)
สำหรับการประมูลนำเข้าข้าวแบบ MA (ordinary international tenders) ครั้งที่ 2 ปีงบประมาณ 2563/64
(1 เมษายน 2563-31 มีนาคม 2564) เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 ซึ่งกำหนดซื้อข้าวรวม 54,000 ตัน ประกอบด้วย ข้าวสารเมล็ดกลาง (Non-glutinous polished medium rice) จากสหรัฐฯ 2 ล็อต ล็อตละ 13,000 ตัน กำหนดส่งมอบ
วันที่ 20 ตุลาคม-30 พฤศจิกายน 2563 และวันที่ 1 พฤศจิกายน-10 ธันวาคม 2563 และข้าวสารเมล็ดยาว
(Non-glutinous milled long grain rice) จากประเทศใดก็ได้ (Global tender) จำนวน 4 ล็อต ล็อตละ 7,000 ตัน
กำหนดส่งมอบ 2 ล็อตแรก ในวันที่ 20 ตุลาคม-30 พฤศจิกายน 2563 และอีก 2 ล็อตที่เหลือในวันที่ 1 พฤศจิกายน-
10 ธันวาคม 2563 นั้น
ผลการประมูลปรากฏว่า ญี่ปุ่นตกลงซื้อข้าวจำนวนรวม 54,000 ตัน ประกอบด้วย ข้าวสารเมล็ดกลางจาก
สหรัฐฯ รวม 26,000 ตัน และข้าวสารเมล็ดยาวจากประเทศไทย โดยในการประมูลครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมยื่นเสนอราคา
จำนวน 31 ราย ซึ่งราคาที่ประมูลได้เฉลี่ยอยู่ที่ 98,725 เยนต่อตัน (ไม่รวมภาษี) (ประมาณ 942 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน)
หรือ 106,623 เยนต่อตัน (รวมภาษี) (ประมาณ 1,017 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน)
ส่วนประมูลนำเข้าข้าวแบบ CPTPP Simultaneous Buy and Sell (SBS) tender ครั้งที่ 3 ของปีงบประมาณ 2564 (1 เมษายน 2563-31 มีนาคม 2564) เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ซึ่งกำหนดจะซื้อข้าวประมาณ 1,000 ตัน จากประเทศสมาชิกกลุ่ม CPTPP นั้น ปรากฏว่าไม่มีการยื่นเสนอราคาข้าวในการประมูลครั้งนี้
ที่มา : Oryza.com
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.52 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.05 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.42 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.27 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.52 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.93
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 305.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,491 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 306.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,599 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 108 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 383.92 เซนต์ (4,768 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 371.60 เซนต์ (4,652 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.32 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 116 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.86 ล้านไร่ ผลผลิต 28.980 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.27 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.70 ล้านไร่ ผลผลิต 27.347 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.14 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.82 ร้อยละ 5.97 และร้อยละ 4.07 ตามลำดับ โดยเดือนตุลาคม 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.41 ล้านตัน (ร้อยละ 4.85 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.49 ล้านตัน (ร้อยละ 63.79 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.78 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.56
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.11 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.17 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.97
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,771 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,782 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 443 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,770 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,783 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
- สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ต่างประเทศ
การส่งออกถั่วเหลืองของสหรัฐฯ ได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในปีการตลาด2563/64 (กันยายน - สิงหาคม) ท่ามกลางข้อผูกพันทางการค้าระยะที่ 1 และการฟื้นตัวของฝูงสุกรที่แข็งแกร่งของจีน และจีนคาดว่าจะปฏิบัติตามข้อผูกพันในข้อตกลงการค้าระยะที่ 1 โดยซื้อถั่วเหลืองมากกว่า 43 ล้านตัน ในปี 2563 ภายใต้ข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯ - จีนระยะที่ 1 ซึ่งรัฐบาลปักกิ่งได้ให้คำมั่นว่าจะซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงสินค้าเกษตรมูลค่า 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างเดือนมกราคม 2563 ถึงธันวาคม 2564 โดยปกติแล้วถั่วเหลืองจะมีมูลค่าส่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของสหรัฐไปยังประเทศจีน ดังนั้น เมล็ดพืชน้ำมันจึงมีบทบาทสำคัญในข้อตกลงทางการค้าฯ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1037.40 เซนต์ (12.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1007.68 เซนต์ (11.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.95
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 353.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.15 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 336.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.11
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 32.92 เซนต์ (22.89 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 33.00 เซนต์ (23.13 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.24
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ต่างประเทศ
การส่งออกถั่วเหลืองของสหรัฐฯ ได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในปีการตลาด2563/64 (กันยายน - สิงหาคม) ท่ามกลางข้อผูกพันทางการค้าระยะที่ 1 และการฟื้นตัวของฝูงสุกรที่แข็งแกร่งของจีน และจีนคาดว่าจะปฏิบัติตามข้อผูกพันในข้อตกลงการค้าระยะที่ 1 โดยซื้อถั่วเหลืองมากกว่า 43 ล้านตัน ในปี 2563 ภายใต้ข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯ - จีนระยะที่ 1 ซึ่งรัฐบาลปักกิ่งได้ให้คำมั่นว่าจะซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงสินค้าเกษตรมูลค่า 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างเดือนมกราคม 2563 ถึงธันวาคม 2564 โดยปกติแล้วถั่วเหลืองจะมีมูลค่าส่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของสหรัฐไปยังประเทศจีน ดังนั้น เมล็ดพืชน้ำมันจึงมีบทบาทสำคัญในข้อตกลงทางการค้าฯ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1037.40 เซนต์ (12.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1007.68 เซนต์ (11.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.95
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 353.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.15 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 336.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.11
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 32.92 เซนต์ (22.89 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 33.00 เซนต์ (23.13 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.24
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 20.30 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.30
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 26.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 33.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14.46
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 17.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.65
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 37.10 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,068.80 ดอลลาร์สหรัฐ (33.01 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,053.80 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 866.60 ดอลลาร์สหรัฐ (26.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 886.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.82 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.85 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,255.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.05 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,092.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.26 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14.91 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 4.79 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 607.80 ดอลลาร์สหรัฐ (18.91 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 578.40 ดอลลาร์สหรัฐ (18.14 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.08 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.77 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,216.00 ดอลลาร์สหรัฐ (37.84 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,207.80 ดอลลาร์สหรัฐ (37.89 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.72
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.24 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.97 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 66.59 เซนต์(กิโลกรัมละ 46.36 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 65.73 เซนต์ (กิโลกรัมละ 46.07 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.31 (สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.51 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,937 บาท สูงขึ้นจาก 1,892 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 2.32 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,937 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,533 บาท สูงขึ้นจาก 1,503 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 1.95 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,533 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 930 บาท สูงขึ้นจาก 900 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 3.22 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 930 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัว เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรใกล้เคียงกับปริมาณผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย เพราะใกล้เข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 77.92บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 77.97 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 73.93 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 71.56 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 80.01 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 79.00 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อและชิ้นส่วนต่างๆ ของไก่เนื้อออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภคที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย เพราะใกล้เข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.03บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.32 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท กิโลกรัม ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.14 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.43 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 7.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดยังคงมีปริมาณมาก แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะลดลงเล็กน้อย เพราะใกล้เข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 280 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 281 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 300 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 283 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 273 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 305บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 342 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 345 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.87 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 359 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 320 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 390 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 380 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.63
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 95.72 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 95.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.87 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 98.72 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.36 บาท และภาคใต้ 102.86 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.51 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 76.18 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 2 – 8 ตุลาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.78 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 92.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.08 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 134.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.59 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.75 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 133.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.42 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.39 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 76.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.92 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.23 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 2 – 8 ตุลาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.78 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 92.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.08 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 134.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.59 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.75 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 133.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.42 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.39 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 76.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.92 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.23 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา