- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 22-28 พฤษภาคม 2563
ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,925 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,885 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,123 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,300 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.89
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,350 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,104 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,928 บาท/ตัน) ราคา
ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 72 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 501 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,851 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 32 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 487 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,408 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ราคาสูงขึ้นจากตันละ 487 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,439 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 แต่ลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 31 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,547 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 514 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,295 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 252 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.6378
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวทรงตัวในระดับสูง เนื่องจากอุปทานข้าวในตลาดมีน้อยลง ส่งผลให้ข้าวขาว 5% อยู่ที่ประมาณตันละ 450-460 ดอลลาร์สหรัฐฯ (อยู่ในระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี) ขณะที่วงการค้า รายงานว่า ผู้ค้าข้าวต่างเร่งส่งมอบข้าวที่ทำสัญญาส่งมอบตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่หน่วยงานรัฐบาลกำลังเร่งซื้อข้าวเพื่อเก็บสต็อกไว้ในคลังสินค้าของรัฐบาลตามโครงการของรัฐบาล
ขณะเดียวกันวงการค้า รายงานว่า ระหว่างวันที่ 8-26 พฤษภาคม 2563 ที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City มีเรือเข้ามารับมอบข้าวอย่างน้อย 20 ลำ เพื่อขนถ่ายสินค้าข้าวประมาณ 222,040 ตัน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่า ในปีการตลาด 2563/64 (มกราคม -ธันวาคม 2563) เวียดนามจะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 43.98 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากตัวเลขประมาณการณ์ที่ 43.79 ล้านตัน ในปี 2562/63
โดยในปีการตลาด 2563/64 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 47.25 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจาก 46.94 ล้านไร่ ในปี 2562/63
ทั้งนี้ ในปีการตลาด 2563/64 คาดว่าผลผลิตข้าวเปลือกในฤดูหนาว (ประมาณเดือนที่ 10 ของปี) จะมี ประมาณ 8.23 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 8.13 ล้านตัน ในปี 2562/63 สำหรับฤดูหนาว-ใบไม้ผลิ คาดว่าจะมีประมาณ 20.45 ล้านตัน ลดลงจาก 20.50 ล้านตัน ในปี 2562/63 และในฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง คาดว่าจะมีประมาณ 15.30 ล้านตัน
ลดลงจากจำนวน 15.16 ล้านตัน ในปี 2562/63
โดยในปี 2563/64 ผลผลิตข้าวเปลือกในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง คาดว่าจะมีประมาณ 25.478 ล้านตัน ในฤดูหนาวคาดว่าจะมีประมาณ 0.83 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 0.79 ล้านตัน ในปี 2562/63 ส่วนในฤดูหนาว-ใบไม้ผลิต คาดว่าจะมีประมาณ 10.90 ล้านตัน ลดลงจาก 10.99 ล้านตัน ในปี 2562/63 และในฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง คาดว่าจะ
มีประมาณ 13.75 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 13.63 ล้านตัน ในปี 2562/63
สำหรับการเพาะปลูกข้าวฤดูหนาว-ใบไม้ผลิ ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture and Development; MARD) ได้แนะนำให้เกษตรกรลดการเพาะปลูกลงประมาณ 93,750-312,500 ไร่และให้เริ่มหว่านเมล็ดพันธุ์เร็วกว่าปกติประมาณ 1-2 สัปดาห์เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการรุกของน้ำเค็ม
การบริโภคข้าว ในปี 2563/64 คาดว่าจะมีประมาณ 21.40 ล้านตันข้าวสาร เท่ากับปี 2562/63 ขณะที่สต็อกข้าวสิ้นปีคาดว่าจะมีประมาณ 665,000 ตัน ลดลงจาก 677,000 ตัน ในปี 2562/63
ทางด้านภาวะราคาข้าวในช่วงปี 2562 ราคาข้าวเปลือกในช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุด ข้าวฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 6 ปี เนื่องจากความต้องการข้าวจากต่างประเทศในช่วงเวลานั้นลดลงมาก แต่เมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม 2563 สถานการณ์ราคาเริ่มดีขึ้นก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าวฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากมีความต้องการข้าวจากต่างประเทศมากขึ้น เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย จีน เป็นต้น
การส่งออกข้าวในปี 2562 มีปริมาณ 6,575,368 ตัน ลดลงร้อยละ 0.25 เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ส่งออกประมาณ 6,592,150 ตัน โดยชนิดข้าวที่เวียดนามส่งออก ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 3,191,805 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 59,525 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 150,795 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 160,939 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 189,806 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 509,159 ตัน ข้าวหอมจำนวน 1,908,425 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 404,914 ตัน โดยส่งไปยังตลาดในภูมิภาคต่างๆ ประกอบด้วย ตลาดเอเชียจำนวน 4,351,821 ตัน ตลาดแอฟริกาจำนวน 1,408,687 ตัน ตลาดยุโรปจำนวน 102,679 ตัน ตลาดอเมริกาจำนวน 461,853 ตัน ตลาดโอเชียเนียจำนวน 225,851 ตัน และตลาดอื่นๆ ประมาณ 24,476 ตัน
ในปี 2563/64 คาดว่าเวียดนามจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 6.60 ล้านตัน ลดลงจาก 6.70 ล้านตัน ในปี 2562/63
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ฟิลิปปินส์
บริษัท Philippines International Trading Corporation (PITC) ซึ่งเป็นบริษัทการค้าของรัฐบาลได้ออกประกาศเชิญชวนหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศเข้าร่วมการเสนอราคาขายข้าวขาว 25% (25% broken well-milled long-grain white rice) จำนวน 300,000 ตัน ภายใต้ข้อตกลงแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (Government to Government; G2G) โดยจะจัดหาจากประเทศไทย เวียดนาม เมียนมา กัมพูชา และอินเดีย ซึ่งรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้อนุมัติงบประมาณสำหรับการจัดหาข้าวในครั้งนี้ ประมาณ 7.45 พันล้านเปโซ หรือประมาณ 146 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้ PITC ได้กำหนดวันยื่นเสนอราคาในวันที่ 8 มิถุนายน 2563 และกำหนดส่งมอบจำนวน 150,000 ตัน
ก่อนวันที่ 22 มิถุนายน 2563 และอีก 150,000 ตัน ก่อนวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 โดยข้าวจำนวน 174,000 ตัน จะส่งมอบไปยังกรุงมะนิลา ส่วนที่เหลือจะส่งไปยัง Davao จำนวน 45,000 ตัน Cebu จำนวน 42,000 ตัน Zamboanga จำนวน 24,000 ตัน และ Tacloban จำนวน 15,000 ตัน
โดยก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ระบุว่ารัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของฟิลิปปินส์ (Department of Trade & Industry; DTI) โดยบริษัท Philippines International Trading Corporation (PITC) ซึ่งเป็นบริษัทการค้าของรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการนำเข้าข้าวจำนวน 300,000 ตัน ก่อนไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โดยรัฐบาลได้ส่งหนังสือแจ้งความประสงค์ในการซื้อข้าวดังกล่าวไปยังประเทศผู้ส่งออกข้าวในเอเชีย ทั้งเมียนมา เวียดนาม ไทย อินเดีย และกัมพูชาแล้ว โดยต้องการให้มีการส่งมอบก่อนไตรมาส 3 ของปีนี้ ซึ่งตามปกติแล้วในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน จะเป็นช่วงที่อุปทานข้าวในฟิลิปปินส์มักจะมีปริมาณลดลง (lean months)
ทั้งนี้ บริษัท Philippine International Trading Corporation จ ากัด (PITC) เป็นบริษัทการค้าของรัฐบาลภายใต้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (Department of Trade and Industry: DTI) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2516 ตามคำสั่งของประธานาธิบดีเพื่อทำการค้ากับประเทศสังคมนิยมและประเทศเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มีการวางแผนเศรษฐกิจโดยส่วนกลาง ต่อมาในปี 2520 PITC ได้ขยายขอบเขตการทำงานเป็นองค์กรขับเคลื่อนการค้าของฟิลิปปินส์ไปทั่วโลก โดยปัจจุบัน PITC มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมากกว่า 40 ปี และได้พิสูจน์ด้วยผลงานมากมาย ทั้งความเชี่ยวชาญในการส่งออก การจัดทาการค้าพิเศษ การนำเข้าและการทำการตลาดผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น ทำให้องค์กรอยู่ในระดับแนวหน้าชั้นนำ
ในการให้บริการอำนวยความสะดวกทางการค้า รวมทั้งตอบสนองการแก้ปัญหาทางธุรกิจให้กับภาคเอกชนของฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมายเปิดเสรีนำเข้าข้าวในปัจจุบันได้ระบุให้อำนาจหน่วยงาน PITC เป็นผู้นำเข้าข้าวในกรณีฉุกเฉิน หรือเกิดภัยพิบัติตามคำสั่งของประธานาธิบดีโดยในขณะนี้หน่วยงาน PITC อยู่ในระหว่างการติดต่อเจรจาซื้อขายและจัดทำข้อกำหนดและเงื่อนไขในร่างสัญญาซื้อขาย โดยจะจัดส่งให้ประเทศคู่เจรจาต่างๆ รวมทั้งไทย ต่อไป
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
จีน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่าในปีการตลาด 2563/64 (กรกฎาคม 2563-มิถุนายน 2564) ประเทศจีนจะมีผลผลิตข้าวสารประมาณ 149.0 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 146.7 ล้านตัน ในปีการตลาด 2562/63 เนื่องจากมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น โดยพื้นที่เก็บเกี่ยวในปี 2563/64 คาดว่าจะมีประมาณ 188.75 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจาก 185.00 ล้านไร่ ในปี 2562/63 ขณะที่การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 คาดว่าจะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อการเพาะปลูก เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวทางภาคใต้และภาคกลางของประเทศจะเริ่มเพาะปลูกข้าว
ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มอยู่ในระดับทรงตัวแล้ว ขณะที่พื้นที่เพาะปลูกข้าวทางภาคเหนือของประเทศจะเริ่มมีการเพาะปลูกประมาณเดือนเมษายนนี้
จากการสำรวจความประสงค์ในการเพาะปลูกพืชของทางการจีน พบว่า มีการแจ้งความประสงค์ที่จะเพาะปลูกในช่วงฤดูใบไม้ผลิประมาณ 375 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 1.25 ล้านไร่ เนื่องจากมีการลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวพันธุ์ Indica ต้นฤดู (early Indica rice)
จากข้อมูลที่ทำการสำรวจ พบว่า การเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูก 2 รอบ ในปี 2562/63 จะลดลงจากปีที่แล้วประมาณ 14.374 ล้านไร่ โดยพื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์ Indica ต้นฤดู (early Indica rice) ลดลงประมาณ 7.5 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้พยายามที่จะเพิ่มการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูก 2 รอบ ในปี 2563/64
เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านอาหารในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
ทั้งนี้ นโยบายของรัฐบาลจีนในปัจจุบันต้องการที่จะระบายสต็อกข้าวเก่าที่มีจำนวนมากออกมา ในขณะเดียวกันก็มีการลดพื้นที่เพาะปลูกข้าว การเพิ่มพื้นที่ว่างเปล่า การลดราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำ (MSP) ลง รวมทั้งการพยายามเร่งผลักดันการส่งออกข้าวให้มากขึ้น
ด้านการบริโภคข้าวนั้น ในปีการตลาด 2563/64 คาดว่ามีประมาณ 150 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 143
ล้านตัน ในปี 2562/63 เนื่องจากมีการนำข้าวไปผลิตอาหาร ใช้เป็นเมล็ดพันธุ์และใช้ในอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยที่ข้าวเก่าจากสต็อกของรัฐบาลจะไม่นำไปเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ แต่จะนำไปทดแทนข้าวโพดเพื่อผลิตอาหารสัตว์
สำหรับการนำเข้าข้าวในปี 2563/64 นั้น คาดว่าจะมีประมาณ 2.2 ล้านตัน ลดลงจากจำนวนประมาณ 2.4 ล้านตัน ที่คาดว่ามีการนำเข้าในปีก่อนหน้า เนื่องจากรัฐบาลมีมาตรการที่จะรื้อฟื้นการผลิตข้าวเมล็ดยาวสายพันธุ์ Indica ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานศุลกากร (China Customs) พบว่า การนำเข้าข้าวในปี 2562 มีจำนวนประมาณ 2.55 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 นี้ การนำเข้าข้าวจะมีจำนวนลดลงเล็กน้อย เนื่องจากทางการมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้
การนำเข้าอาจจะมีอุปสรรคมากขึ้น ประกอบการการที่ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลง ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อการนำเข้าในช่วงนี้
ด้านสถานการณ์ราคาข้าวในประเทศคาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีหลังจากที่โรงสีข้าวเริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง
สำหรับการส่งออกข้าวในปี 2563/64 คาดว่าจะมีประมาณ 3.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 3.2 ล้านตัน ในปีก่อนหน้า เนื่องจากระดับราคาข้าวของจีนยังคงแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ โดยมีการส่งออกทั้งในรูปของเอกชนและการส่งออก
ในรูปของความช่วยเหลือด้านอาหาร โดยข้าวที่ส่งออกมาจากข้าวที่รัฐบาลมีการจัดประมูลขายจากสต็อกข้าวเก่า
ของรัฐบาล ซึ่งจากข้อมูลของวงการอุตสาหกรรม พบว่า ทางการจีนมีการระบายข้าวเก่าออกมาประมาณ 12 ล้านตัน
ในปี 2562 ซึ่งใกล้เคียงกับระดับที่เคยมีการระบายออกมาสูงสุด อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังคงมีสต็อกข้าวเก่าอยู่เป็น
จำนวนมาก โดยคาดว่า ณ สิ้นปี 2562 ทางการจีนยังคงมีสต็อกข้าวประมาณ 100 ล้านตัน และคาดว่าในปี 2563/64 จะมีสต็อกสิ้นปีประมาณ 113.6 ล้านตัน ลดลงประมาณ 4.4 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว | ราคาประกันรายได้ | ครัวเรือนละไม่เกิน |
(บาท/ตัน) | (ตัน) | |
ข้าวเปลือกหอมมะลิ | 15,000 | 14 |
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ | 14,000 | 16 |
ข้าวเปลือกเจ้า | 10,000 | 30 |
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี | 11,000 | 25 |
ข้าวเปลือกเหนียว | 12,000 | 16 |
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,925 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,885 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,123 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,300 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.89
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,350 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,104 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,928 บาท/ตัน) ราคา
ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 72 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 501 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,851 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 32 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 487 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,408 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ราคาสูงขึ้นจากตันละ 487 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,439 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 แต่ลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 31 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,547 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 514 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,295 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 252 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.6378
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวทรงตัวในระดับสูง เนื่องจากอุปทานข้าวในตลาดมีน้อยลง ส่งผลให้ข้าวขาว 5% อยู่ที่ประมาณตันละ 450-460 ดอลลาร์สหรัฐฯ (อยู่ในระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี) ขณะที่วงการค้า รายงานว่า ผู้ค้าข้าวต่างเร่งส่งมอบข้าวที่ทำสัญญาส่งมอบตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่หน่วยงานรัฐบาลกำลังเร่งซื้อข้าวเพื่อเก็บสต็อกไว้ในคลังสินค้าของรัฐบาลตามโครงการของรัฐบาล
ขณะเดียวกันวงการค้า รายงานว่า ระหว่างวันที่ 8-26 พฤษภาคม 2563 ที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City มีเรือเข้ามารับมอบข้าวอย่างน้อย 20 ลำ เพื่อขนถ่ายสินค้าข้าวประมาณ 222,040 ตัน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่า ในปีการตลาด 2563/64 (มกราคม -ธันวาคม 2563) เวียดนามจะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 43.98 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากตัวเลขประมาณการณ์ที่ 43.79 ล้านตัน ในปี 2562/63
โดยในปีการตลาด 2563/64 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 47.25 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจาก 46.94 ล้านไร่ ในปี 2562/63
ทั้งนี้ ในปีการตลาด 2563/64 คาดว่าผลผลิตข้าวเปลือกในฤดูหนาว (ประมาณเดือนที่ 10 ของปี) จะมี ประมาณ 8.23 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 8.13 ล้านตัน ในปี 2562/63 สำหรับฤดูหนาว-ใบไม้ผลิ คาดว่าจะมีประมาณ 20.45 ล้านตัน ลดลงจาก 20.50 ล้านตัน ในปี 2562/63 และในฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง คาดว่าจะมีประมาณ 15.30 ล้านตัน
ลดลงจากจำนวน 15.16 ล้านตัน ในปี 2562/63
โดยในปี 2563/64 ผลผลิตข้าวเปลือกในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง คาดว่าจะมีประมาณ 25.478 ล้านตัน ในฤดูหนาวคาดว่าจะมีประมาณ 0.83 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 0.79 ล้านตัน ในปี 2562/63 ส่วนในฤดูหนาว-ใบไม้ผลิต คาดว่าจะมีประมาณ 10.90 ล้านตัน ลดลงจาก 10.99 ล้านตัน ในปี 2562/63 และในฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง คาดว่าจะ
มีประมาณ 13.75 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 13.63 ล้านตัน ในปี 2562/63
สำหรับการเพาะปลูกข้าวฤดูหนาว-ใบไม้ผลิ ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture and Development; MARD) ได้แนะนำให้เกษตรกรลดการเพาะปลูกลงประมาณ 93,750-312,500 ไร่และให้เริ่มหว่านเมล็ดพันธุ์เร็วกว่าปกติประมาณ 1-2 สัปดาห์เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการรุกของน้ำเค็ม
การบริโภคข้าว ในปี 2563/64 คาดว่าจะมีประมาณ 21.40 ล้านตันข้าวสาร เท่ากับปี 2562/63 ขณะที่สต็อกข้าวสิ้นปีคาดว่าจะมีประมาณ 665,000 ตัน ลดลงจาก 677,000 ตัน ในปี 2562/63
ทางด้านภาวะราคาข้าวในช่วงปี 2562 ราคาข้าวเปลือกในช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุด ข้าวฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 6 ปี เนื่องจากความต้องการข้าวจากต่างประเทศในช่วงเวลานั้นลดลงมาก แต่เมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม 2563 สถานการณ์ราคาเริ่มดีขึ้นก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าวฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากมีความต้องการข้าวจากต่างประเทศมากขึ้น เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย จีน เป็นต้น
การส่งออกข้าวในปี 2562 มีปริมาณ 6,575,368 ตัน ลดลงร้อยละ 0.25 เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ส่งออกประมาณ 6,592,150 ตัน โดยชนิดข้าวที่เวียดนามส่งออก ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 3,191,805 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 59,525 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 150,795 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 160,939 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 189,806 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 509,159 ตัน ข้าวหอมจำนวน 1,908,425 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 404,914 ตัน โดยส่งไปยังตลาดในภูมิภาคต่างๆ ประกอบด้วย ตลาดเอเชียจำนวน 4,351,821 ตัน ตลาดแอฟริกาจำนวน 1,408,687 ตัน ตลาดยุโรปจำนวน 102,679 ตัน ตลาดอเมริกาจำนวน 461,853 ตัน ตลาดโอเชียเนียจำนวน 225,851 ตัน และตลาดอื่นๆ ประมาณ 24,476 ตัน
ในปี 2563/64 คาดว่าเวียดนามจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 6.60 ล้านตัน ลดลงจาก 6.70 ล้านตัน ในปี 2562/63
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ฟิลิปปินส์
บริษัท Philippines International Trading Corporation (PITC) ซึ่งเป็นบริษัทการค้าของรัฐบาลได้ออกประกาศเชิญชวนหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศเข้าร่วมการเสนอราคาขายข้าวขาว 25% (25% broken well-milled long-grain white rice) จำนวน 300,000 ตัน ภายใต้ข้อตกลงแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (Government to Government; G2G) โดยจะจัดหาจากประเทศไทย เวียดนาม เมียนมา กัมพูชา และอินเดีย ซึ่งรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้อนุมัติงบประมาณสำหรับการจัดหาข้าวในครั้งนี้ ประมาณ 7.45 พันล้านเปโซ หรือประมาณ 146 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้ PITC ได้กำหนดวันยื่นเสนอราคาในวันที่ 8 มิถุนายน 2563 และกำหนดส่งมอบจำนวน 150,000 ตัน
ก่อนวันที่ 22 มิถุนายน 2563 และอีก 150,000 ตัน ก่อนวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 โดยข้าวจำนวน 174,000 ตัน จะส่งมอบไปยังกรุงมะนิลา ส่วนที่เหลือจะส่งไปยัง Davao จำนวน 45,000 ตัน Cebu จำนวน 42,000 ตัน Zamboanga จำนวน 24,000 ตัน และ Tacloban จำนวน 15,000 ตัน
โดยก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ระบุว่ารัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของฟิลิปปินส์ (Department of Trade & Industry; DTI) โดยบริษัท Philippines International Trading Corporation (PITC) ซึ่งเป็นบริษัทการค้าของรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการนำเข้าข้าวจำนวน 300,000 ตัน ก่อนไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โดยรัฐบาลได้ส่งหนังสือแจ้งความประสงค์ในการซื้อข้าวดังกล่าวไปยังประเทศผู้ส่งออกข้าวในเอเชีย ทั้งเมียนมา เวียดนาม ไทย อินเดีย และกัมพูชาแล้ว โดยต้องการให้มีการส่งมอบก่อนไตรมาส 3 ของปีนี้ ซึ่งตามปกติแล้วในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน จะเป็นช่วงที่อุปทานข้าวในฟิลิปปินส์มักจะมีปริมาณลดลง (lean months)
ทั้งนี้ บริษัท Philippine International Trading Corporation จ ากัด (PITC) เป็นบริษัทการค้าของรัฐบาลภายใต้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (Department of Trade and Industry: DTI) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2516 ตามคำสั่งของประธานาธิบดีเพื่อทำการค้ากับประเทศสังคมนิยมและประเทศเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มีการวางแผนเศรษฐกิจโดยส่วนกลาง ต่อมาในปี 2520 PITC ได้ขยายขอบเขตการทำงานเป็นองค์กรขับเคลื่อนการค้าของฟิลิปปินส์ไปทั่วโลก โดยปัจจุบัน PITC มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมากกว่า 40 ปี และได้พิสูจน์ด้วยผลงานมากมาย ทั้งความเชี่ยวชาญในการส่งออก การจัดทาการค้าพิเศษ การนำเข้าและการทำการตลาดผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น ทำให้องค์กรอยู่ในระดับแนวหน้าชั้นนำ
ในการให้บริการอำนวยความสะดวกทางการค้า รวมทั้งตอบสนองการแก้ปัญหาทางธุรกิจให้กับภาคเอกชนของฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมายเปิดเสรีนำเข้าข้าวในปัจจุบันได้ระบุให้อำนาจหน่วยงาน PITC เป็นผู้นำเข้าข้าวในกรณีฉุกเฉิน หรือเกิดภัยพิบัติตามคำสั่งของประธานาธิบดีโดยในขณะนี้หน่วยงาน PITC อยู่ในระหว่างการติดต่อเจรจาซื้อขายและจัดทำข้อกำหนดและเงื่อนไขในร่างสัญญาซื้อขาย โดยจะจัดส่งให้ประเทศคู่เจรจาต่างๆ รวมทั้งไทย ต่อไป
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
จีน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่าในปีการตลาด 2563/64 (กรกฎาคม 2563-มิถุนายน 2564) ประเทศจีนจะมีผลผลิตข้าวสารประมาณ 149.0 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 146.7 ล้านตัน ในปีการตลาด 2562/63 เนื่องจากมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น โดยพื้นที่เก็บเกี่ยวในปี 2563/64 คาดว่าจะมีประมาณ 188.75 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจาก 185.00 ล้านไร่ ในปี 2562/63 ขณะที่การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 คาดว่าจะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อการเพาะปลูก เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวทางภาคใต้และภาคกลางของประเทศจะเริ่มเพาะปลูกข้าว
ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มอยู่ในระดับทรงตัวแล้ว ขณะที่พื้นที่เพาะปลูกข้าวทางภาคเหนือของประเทศจะเริ่มมีการเพาะปลูกประมาณเดือนเมษายนนี้
จากการสำรวจความประสงค์ในการเพาะปลูกพืชของทางการจีน พบว่า มีการแจ้งความประสงค์ที่จะเพาะปลูกในช่วงฤดูใบไม้ผลิประมาณ 375 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 1.25 ล้านไร่ เนื่องจากมีการลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวพันธุ์ Indica ต้นฤดู (early Indica rice)
จากข้อมูลที่ทำการสำรวจ พบว่า การเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูก 2 รอบ ในปี 2562/63 จะลดลงจากปีที่แล้วประมาณ 14.374 ล้านไร่ โดยพื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์ Indica ต้นฤดู (early Indica rice) ลดลงประมาณ 7.5 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้พยายามที่จะเพิ่มการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูก 2 รอบ ในปี 2563/64
เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านอาหารในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
ทั้งนี้ นโยบายของรัฐบาลจีนในปัจจุบันต้องการที่จะระบายสต็อกข้าวเก่าที่มีจำนวนมากออกมา ในขณะเดียวกันก็มีการลดพื้นที่เพาะปลูกข้าว การเพิ่มพื้นที่ว่างเปล่า การลดราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำ (MSP) ลง รวมทั้งการพยายามเร่งผลักดันการส่งออกข้าวให้มากขึ้น
ด้านการบริโภคข้าวนั้น ในปีการตลาด 2563/64 คาดว่ามีประมาณ 150 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 143
ล้านตัน ในปี 2562/63 เนื่องจากมีการนำข้าวไปผลิตอาหาร ใช้เป็นเมล็ดพันธุ์และใช้ในอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยที่ข้าวเก่าจากสต็อกของรัฐบาลจะไม่นำไปเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ แต่จะนำไปทดแทนข้าวโพดเพื่อผลิตอาหารสัตว์
สำหรับการนำเข้าข้าวในปี 2563/64 นั้น คาดว่าจะมีประมาณ 2.2 ล้านตัน ลดลงจากจำนวนประมาณ 2.4 ล้านตัน ที่คาดว่ามีการนำเข้าในปีก่อนหน้า เนื่องจากรัฐบาลมีมาตรการที่จะรื้อฟื้นการผลิตข้าวเมล็ดยาวสายพันธุ์ Indica ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานศุลกากร (China Customs) พบว่า การนำเข้าข้าวในปี 2562 มีจำนวนประมาณ 2.55 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 นี้ การนำเข้าข้าวจะมีจำนวนลดลงเล็กน้อย เนื่องจากทางการมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้
การนำเข้าอาจจะมีอุปสรรคมากขึ้น ประกอบการการที่ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลง ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อการนำเข้าในช่วงนี้
ด้านสถานการณ์ราคาข้าวในประเทศคาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีหลังจากที่โรงสีข้าวเริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง
สำหรับการส่งออกข้าวในปี 2563/64 คาดว่าจะมีประมาณ 3.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 3.2 ล้านตัน ในปีก่อนหน้า เนื่องจากระดับราคาข้าวของจีนยังคงแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ โดยมีการส่งออกทั้งในรูปของเอกชนและการส่งออก
ในรูปของความช่วยเหลือด้านอาหาร โดยข้าวที่ส่งออกมาจากข้าวที่รัฐบาลมีการจัดประมูลขายจากสต็อกข้าวเก่า
ของรัฐบาล ซึ่งจากข้อมูลของวงการอุตสาหกรรม พบว่า ทางการจีนมีการระบายข้าวเก่าออกมาประมาณ 12 ล้านตัน
ในปี 2562 ซึ่งใกล้เคียงกับระดับที่เคยมีการระบายออกมาสูงสุด อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังคงมีสต็อกข้าวเก่าอยู่เป็น
จำนวนมาก โดยคาดว่า ณ สิ้นปี 2562 ทางการจีนยังคงมีสต็อกข้าวประมาณ 100 ล้านตัน และคาดว่าในปี 2563/64 จะมีสต็อกสิ้นปีประมาณ 113.6 ล้านตัน ลดลงประมาณ 4.4 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.97 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.65 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.18 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.88 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.77 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.91
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.75 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.70 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.43 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.28 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 279.80 ดอลลาร์สหรัฐ (8,852 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 277.40 ดอลลาร์สหรัฐ (8,799 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 53 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 321.20 เซนต์ (4,056 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 319.60 เซนต์ (4,043 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 13 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.74 ล้านไร่ ผลผลิต 29.493 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.38 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.67 ล้านไร่ ผลผลิต 31.080 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.81 แต่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 5.11 และร้อยละ 5.85 ตามลำดับ โดยเดือนพฤษภาคม 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.00 ล้านตัน (ร้อยละ 3.40 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 19.02 ล้านตัน (ร้อยละ 64.50 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง และหัวมันสำปะหลังมีเชิ้อแป้งต่ำ เนื่องจากมีฝนตกชุก ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังลดลง สำหรับลานมันเส้นปิดทำการ และโรงแป้งส่วนใหญ่ปิดดำเนินการเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.65 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.66 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.60
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.62 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.16 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 10.47
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.13 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.12 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.16
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.79 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.75 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.31
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 220 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,960 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (6,975 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,383 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,410 บาทต่อตัน)
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.74 ล้านไร่ ผลผลิต 29.493 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.38 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.67 ล้านไร่ ผลผลิต 31.080 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.81 แต่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 5.11 และร้อยละ 5.85 ตามลำดับ โดยเดือนพฤษภาคม 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.00 ล้านตัน (ร้อยละ 3.40 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 19.02 ล้านตัน (ร้อยละ 64.50 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง และหัวมันสำปะหลังมีเชิ้อแป้งต่ำ เนื่องจากมีฝนตกชุก ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังลดลง สำหรับลานมันเส้นปิดทำการ และโรงแป้งส่วนใหญ่ปิดดำเนินการเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.65 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.66 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.60
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.62 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.16 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 10.47
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.13 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.12 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.16
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.79 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.75 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.31
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 220 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,960 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (6,975 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,383 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,410 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.666 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.300 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.702 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.306 ล้านตัน ของเดือนเมษายน คิดเป็นร้อยละ 2.12 และร้อยละ 1.96 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.00 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.75 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.09
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 21.93 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 20.75 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.69
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาฟิวเจอร์สน้ำมันปาล์มมาเลเซียสูงขึ้น เนื่องจากสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นทำให้ราคาน้ำมันดิบลดลง ราคาอ้างอิง ณ เดือนสิงหาคม ลดลง 0.26 เปอร์เซ็นต์ ไปอยู่ที่ 2,275 ริงกิต มาเลเซียมีการส่งออกเพิ่มขึ้น 5.1 – 9.8 เปอร์เซ็นต์ จากเดือนเมษายน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,303.38 ดอลลาร์มาเลเซีย (17.10 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,221.40 ดอลลาร์มาเลเซีย (16.55 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.69
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 554.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.77 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 525.63 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.43
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.49 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.99 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.78
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์การนำเข้าถั่วเหลืองของจีน
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ในเดือนเมษายน 2563 จีนนำเข้าถั่วเหลืองจากบราซิล 5.939 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 5.786 ล้านตัน ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.6 (ข้อมูลจากสำนักงานศุลกากร) แต่การนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ ประมาณ 0.665 ล้านตัน ลดลงจาก 1.75 ล้านตัน ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 62 สำหรับการนำเข้าถั่วเหลืองในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม ปี 2563 คาดว่าจะนำเข้าประมาณ 9 ล้านตัน ต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าระดับปกติ ทั้งนี้ ปริมาณอุปทานที่ขาดแคลนได้มีการเริ่มบรรเทาโดยนำเข้าเพิ่มขึ้นจากบราซิลในช่วงครึ่งหลังของเดือนเมษายน 2563 รวมทั้งปักกิ่งได้มีการกระตุ้นผู้นำเข้าทั้งรัฐและเอกชนเพิ่มปริมาณพืชผลที่สำคัญ รวมถึงถั่วเหลืองด้วยเพื่อเตรียมความพร้อมในอนาคตสำหรับการหยุดชะงักจากการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 โดยเฉพาะประเทศสหรัฐฯ และบราซิล ซึ่งเป็นแหล่งผลิตหลักที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนัก
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 843.90 เซนต์ (9.94 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 841.5 เซนต์ (9.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.28
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 283.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.09 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 285.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.49
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 27.23 เซนต์ (19.25 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 27.09 เซนต์ (19.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.51
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.49 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.99 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.78
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์การนำเข้าถั่วเหลืองของจีน
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ในเดือนเมษายน 2563 จีนนำเข้าถั่วเหลืองจากบราซิล 5.939 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 5.786 ล้านตัน ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.6 (ข้อมูลจากสำนักงานศุลกากร) แต่การนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ ประมาณ 0.665 ล้านตัน ลดลงจาก 1.75 ล้านตัน ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 62 สำหรับการนำเข้าถั่วเหลืองในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม ปี 2563 คาดว่าจะนำเข้าประมาณ 9 ล้านตัน ต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าระดับปกติ ทั้งนี้ ปริมาณอุปทานที่ขาดแคลนได้มีการเริ่มบรรเทาโดยนำเข้าเพิ่มขึ้นจากบราซิลในช่วงครึ่งหลังของเดือนเมษายน 2563 รวมทั้งปักกิ่งได้มีการกระตุ้นผู้นำเข้าทั้งรัฐและเอกชนเพิ่มปริมาณพืชผลที่สำคัญ รวมถึงถั่วเหลืองด้วยเพื่อเตรียมความพร้อมในอนาคตสำหรับการหยุดชะงักจากการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 โดยเฉพาะประเทศสหรัฐฯ และบราซิล ซึ่งเป็นแหล่งผลิตหลักที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนัก
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 843.90 เซนต์ (9.94 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 841.5 เซนต์ (9.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.28
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 283.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.09 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 285.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.49
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 27.23 เซนต์ (19.25 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 27.09 เซนต์ (19.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.51
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.46 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 24.40 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,012.20 ดอลลาร์สหรัฐ (32.02 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,010.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.02 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 แต่ทรงตัวในรูปเงินบาทเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 916.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 914.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.00 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,044.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,042.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่ทรงตัวในรูปเงินบาทเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 630.40 ดอลลาร์สหรัฐ (19.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 629.00 ดอลลาร์สหรัฐ (19.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 แต่ทรงตัวในรูปเงินบาทเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,515.20 ดอลลาร์สหรัฐ (47.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,511.60 ดอลลาร์สหรัฐ (47.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.19 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 29.33
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.89 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.60
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 57.94 เซนต์(กิโลกรัมละ 40.96 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 58.30 เซนต์ (กิโลกรัมละ 41.30 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.34 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,842 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,852 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.54
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,527 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,506 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.39
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 958 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 881 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.74
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,527 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,506 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.39
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 958 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 881 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.74
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดในหลายพื้นที่ ทำให้สุกรกินอาหารได้น้อยและน้ำหนักตัวจับออกลดลง ส่งผลให้ผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 67.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.92 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.13 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 69.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 67.92 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.75 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 31.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.00 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 8.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 23.53
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.83 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 30.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.08 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค ภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาราคาไก่ไข่ตกต่ำเร่งด่วน ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1) การผลักดันการส่งออกไข่ไก่ โดยมอบหมายให้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ รับดำเนินการช่วยเหลือ สนับสนุนการส่งออกไข่ไก่ จำนวน 100 ล้านฟอง และผู้ประกอบการอีก 100 ล้านฟอง 2) ปลดไก่ไข่ยืนกรง 3 ล้านตัว มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ประสานขอความร่วมมือผู้เลี้ยงไข่ไก่รายใหญ่ในเบื้องต้น 3) จำหน่ายไข่ไก่ผ่านร้านธงฟ้าทั่วประเทศ และ 4)งดนำไข่เชื้อพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) เข้าฟัก 5-10 สัปดาห์ เพื่อลดต้นทางของไข่ โดยกรมปศุสัตว์จะศึกษาผลกระทบรอบด้าน และจะพิจารณาขอความร่วมมือผู้ประกอบการไก่ไข่พันธุ์ต่อไป แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 278 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 307 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 288 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 267 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 275บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 353 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 354 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.28 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 370 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 376บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 316 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 357 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 87.05 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.98 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.26 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.16 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.91 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดในหลายพื้นที่ ทำให้สุกรกินอาหารได้น้อยและน้ำหนักตัวจับออกลดลง ส่งผลให้ผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 67.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.92 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.13 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 69.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 67.92 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.75 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 31.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.00 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 8.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 23.53
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.83 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 30.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.08 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค ภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาราคาไก่ไข่ตกต่ำเร่งด่วน ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1) การผลักดันการส่งออกไข่ไก่ โดยมอบหมายให้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ รับดำเนินการช่วยเหลือ สนับสนุนการส่งออกไข่ไก่ จำนวน 100 ล้านฟอง และผู้ประกอบการอีก 100 ล้านฟอง 2) ปลดไก่ไข่ยืนกรง 3 ล้านตัว มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ประสานขอความร่วมมือผู้เลี้ยงไข่ไก่รายใหญ่ในเบื้องต้น 3) จำหน่ายไข่ไก่ผ่านร้านธงฟ้าทั่วประเทศ และ 4)งดนำไข่เชื้อพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) เข้าฟัก 5-10 สัปดาห์ เพื่อลดต้นทางของไข่ โดยกรมปศุสัตว์จะศึกษาผลกระทบรอบด้าน และจะพิจารณาขอความร่วมมือผู้ประกอบการไก่ไข่พันธุ์ต่อไป แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 278 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 307 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 288 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 267 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 275บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 353 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 354 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.28 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 370 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 376บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 316 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 357 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 87.05 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.98 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.26 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.16 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.91 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ตารางปศุสัตว์ ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 22 – 28 พฤษภาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.48 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 84.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.01 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.97 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 140.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.07 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 143.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.46 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 67.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.14 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 86.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.14 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.25 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 22 – 28 พฤษภาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.48 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 84.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.01 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.97 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 140.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.07 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 143.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.46 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 67.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.14 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 86.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.14 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.25 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา