- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 17-23 เมษายน 2563
ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,642 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,391 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,546 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,485 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,170 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,230 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่ ) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,113 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,867 บาท/ตัน) ราคา
ลดลงจากตันละ 1,142 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,046 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.53 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 1,179 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 553 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,821 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 569 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,458 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.81 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 637 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 528 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,015 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 539 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,485 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.04 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 470 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 550 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,724 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 566 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,361 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.82 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 637 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.2258
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2562/63 ณ เดือนเมษายน 2563
มีผลผลิต 496.081 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 499.070 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2561/62 หรือลดลงร้อยละ 0.60
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2562/63 ณ เดือนเมษายน 2563 มีปริมาณผลผลิต 496.081 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2561/62 ร้อยละ 0.60 การใช้ในประเทศ 490.189 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2561/62 ร้อยละ 0.88 การส่งออก/นำเข้า 42.795 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2561/62 ร้อยละ 1.65 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 181.603 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2561/62 ร้อยละ 3.35
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อียู กายานา อินเดีย แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล เมียนมา กัมพูชา ปากีสถาน ปารากวัย ไทย อุรุกวัย และเวียดนาม
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน บราซิล เบอร์กินา คาเมรูน อียู กินี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เคนย่า เกาหลีใต้ เม็กซิโก โมแซมบิค เนปาล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหรัฐอเมริกา คิวบา
ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน ไอเวอรี่โคสต์ อิหร่าน อิรัก ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย และเซเนกัล
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังคลาเทศ จีน และอินเดีย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไทย และสหรัฐอเมริกา
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
รัฐบาลเวียดนามได้ตั้งทีมตรวจสอบเพื่อทำงานกับผู้ส่งออกข้าวและพิจารณาปริมาณข้าวที่ยังคงตกค้างอยู่ที่ท่าเรือ หลังจากรัฐบาลได้ระงับการส่งออกชั่วคราวเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งทีมงานดังกล่าวประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้า (the Deputy Trade Minister) และอธิบดีและรองอธิบดีของกรมการนำเข้าและส่งออก (the Director and Deputy Director of the Import and Export Department) รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ จากกระทรวงเกษตรฯ (Ministry of Agricultural and Rural development) กระทรวงการคลัง (Ministry of Finance) กระทรวงความมั่นคงสาธารณะ (Ministry of Public Security) รวมทั้งสมาคมอาหารเวียดนามด้วย
ทั้งนี้ ในช่วงระหว่างวันที่ 20-24 เมษายนนี้ ทีมงานดังกล่าวจะร่วมกับหน่วยงานศุลกากรและผู้เกี่ยวข้องทำการตรวจสอบปริมาณข้าวที่ตกค้างที่ท่าเรือ และจะมีการรายงานสถานการณ์ภายในสิ้นเดือนนี้ เพื่อที่จะแนะนำมาตรการควบคุมการส่งออกข้าวในเดือนพฤษภาคมต่อไป
ขณะที่สมาคมอาหารเวียดนาม (the Vietnam Food Association; VFA) รายงานว่า ณ วันที่ 15 เมษายน
มีข้าวประมาณ 300,000 ตัน ที่ติดอยู่ในท่าเรือหลังจากที่นายกรัฐมนตรีตัดสินใจระงับการส่งออกข้าวชั่วคราว
การจัดตั้งทีมตรวจสอบเกิดขึ้นหลังจากที่มีความวุ่นวายเกิดขึ้นเมื่อกรมศุลกากร (the General Department of Customs) ได้เปิดรับการลงทะเบียนของผู้ส่งออกข้าวเพื่อแจ้งปริมาณข้าวที่ต้องการส่งออกเมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา หลังจากที่รัฐบาลได้อนุมัติให้เริ่มส่งออกข้าวอีกครั้ง แต่กำหนดปริมาณไว้ที่ 400,000 ตัน สำหรับเดือนเมษายน แต่ปรากฏว่าผู้ส่งออกข้าวหลายรายต้องผิดหวัง เนื่องจากโควตาที่กำหนดไว้ 400,000 ตัน ถูกแจ้งปริมาณครบตามที่กำหนดไว้ภายในเวลาเพียง 3 ชั่วโมง และหลายบริษัทที่ได้เตรียมการส่งมอบข้าวที่มีข้าวติดอยู่ที่ท่าเรือไม่สามารถเข้าระบบแจ้งรายงานได้
ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (the Ministry of Industry and Trade) ได้รับเอกสารจำนวนมากจากผู้ส่งออกข้าว โดยกล่าวว่าการเปิดระบบแจ้งข้อมูลของศุลกากรทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ยังไม่โปร่งใส เนื่องจากหลายบริษัทยังไม่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้า ขณะที่บางรายแจ้งว่าพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงระบบได้เนื่องจากข้อผิดพลาดของระบบ นอกจากนี้บางบริษัทได้มีการส่งแบบฟอร์มได้สำเร็จ แต่ปรากฏว่าแบบฟอร์มนั้นหายไปในระบบ e-Customs
สำนักข่าว Bloomberg รายงาน โดยอ้างข้อมูลจากเว็บไซต์ของรัฐบาลเวียดนาม ซึ่งระบุว่าจะให้มีการส่งออกข้าวเหนียวต่อไป ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีได้สั่งให้กระทรวงการค้าฯ และกระทรวงเกษตรฯ ไปดำเนินการตรวจสอบอุปสงค์และอุปทานของข้าวในตลาดภายในประเทศ รวมถึงการส่งออกเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีปัญหาการขาดแคลน
ก่อนหน้านี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลอนุญาตให้มีการส่งออกข้าวเหนียวที่เก็บเกี่ยวจากฤดูการผลิตฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิของปีการผลิต 2562/63 (the 2019-20 winter-spring season) ต่อไปได้เนื่องจากไม่ใช่ชนิดข้าวที่ต้องมีการสำรองไว้ในคลังของรัฐบาล เพราะรัฐบาลต้องการที่จะสำรองแค่ข้าวเปลือกและข้าวสารธรรมดาเท่านั้ น (รัฐบาลกำหนดให้มีการสำรองข้าวไว้ 190,000 ตัน ภายในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ ซึ่งในจำนวนนี้ ต้องเป็นข้าวเปลือกประมาณ 80,000 ตัน)
ด้านกรมสำรองของรัฐ (Vietnam's General Department of State Reserves; GDSR) ระบุว่า ณ วันที่ 14 เมษายน 2563 ทางการเวียดนามสามารถซื้อข้าวเพียง 7,700 ตันจากเป้าหมาย 190,000 ตัน
ทั้งนี้ กรมสำรองของรัฐจะจัดซื้อข้าวผ่านการประมูลในประเทศ ซึ่ง GDSR ได้จัดประกวดราคาตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2563 ซึ่งแม้ว่าจะมีการเสนอข้าวประมาณ 178,000 ตัน แต่ข้อเสนอที่ชนะการประมูลนั้น ผู้เสนอปฏิเสธที่จะเจรจาสัญญาเหล่านี้ และถอนตัวจากการเซ็นสัญญา โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากสถานการณ์การะบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
กรมศุลกากร (the General Department of Customs) รายงานว่า ในเดือนมีนาคม 2563 เวียดนาม ส่งออกข้าว 591,407 ตัน มูลค่าประมาณ 271.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงประมาณร้อยละ 14.8 และร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11 และร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์2563 (เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เวียดนามส่งออกข้าว 532,836 ตัน มูลค่าประมาณ 238.13 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยราคาส่งออกเฉลี่ยในเดือนมีนาคม 2563 อยู่ที่ประมาณ 459.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-มีนาคม 2563) เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 1,517,387 ตัน มูลค่าประมาณ 700.808 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.96 และร้อยละ 14.89 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 461.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรก ประเทศที่เวียดนามส่งออกข้าวไปมากที่สุดเป็นประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเวียดนามส่งออกประมาณ 0.594 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 257.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.15 และร้อยละ 19.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 39.16 และร้อยละ 36.7 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามล้าดับ
ตามด้วยมาเลเซียประมาณ 0.174 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 70.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็นสัดส่วน ประมาณร้อยละ 11.52 และร้อยละ 10.07 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลำดับ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.39 และร้อยละ 67.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) จีนประมาณ 0.162 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 90.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 10.68 และร้อยละ 12.98 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลำดับ ปริมาณและ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 274.59 และร้อยละ 337.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)
กาน่าประมาณ 0.107 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 52.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.75 และร้อยละ 68.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) อิรักประมาณ 0.09 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 47.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 25 และร้อยละ 19.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) ไอวอรี่โคสต์ 39,703 ตัน มูลค่าประมาณ 16.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 68.83 และร้อยละ 70.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) สิงคโปร์ประมาณ 39,709 ตัน มูลค่าประมาณ 16.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.15 และร้อยละ 45.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)
ฮ่องกงประมาณ 21,822 ตัน มูลค่าประมาณ 11.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 50.17 และร้อยละ 45.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) โมซัมบิกประมาณ 18,681 ตัน มูลค่าประมาณ 9.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.63 และร้อยละ 74.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) อินโดนีเซียประมาณ 14,625 ตัน มูลค่าประมาณ 7.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.84 และร้อยละ 92.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ประมาณ 12,510 ตัน มูลค่าประมาณ 6.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณลดลงร้อยละ 0.2 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)
ก่อนหน้านี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ (Vietnam's General Statistics Office; GSO) รายงานว่า ในเดือน มีนาคมที่ผ่านมา มีการส่งออกข้าวประมาณ 480,000 ตัน มูลค่าประมาณ 222 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณ ส่งออกลดลงประมาณร้อยละ 30 และมูลค่าส่งออกลดลงประมาณร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 1.409 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 653 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1 และมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กัมพูชา
สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (the Cambodia Rice Federation; CRF) ระบุว่า ภายหลังจากที่กระทรวงการค้า (the Cambodian Ministry of Trade) สหพันธ์ข้าวกัมพูชา และบริษัท Green Trade Company ได้หารือกับ เอกอัครราชทูตของประเทศติมอร์ตะวันออก ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันที่จะให้มีการค้าขายข้าวระหว่างสองประเทศ โดยกัมพูชาเตรียมที่จะส่งออกข้าวไปยังติมอร์ตะวันออกตามที่รัฐบาลของติมอร์ตะวันออกแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับชนิดข้าว ปริมาณ เงื่อนไขการส่งมอบ และช่วงเวลาที่ต้องการน้าเข้า ซึ่งกัมพูชาตั้งเป้าที่จะส่งออกข้าวไปยัง ติมอร์ตะวันออกคิดเป็นมูลค่าประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในเดือนพฤษภาคมนี้
ทั้งนี้ ประเทศติมอร์ตะวันออกได้หันมาเจรจาเพื่อที่จะน้าเข้าข้าวจากกัมพูชา หลังจากที่ประเทศเวียดนาม
มีมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวในช่วงที่เหลือของปีนี้
สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (Cambodia Rice Federation; CRF) รายงานราคาส่งออกข้าวประจำวันที่ 14 เมษายน 2020 โดยข้าวหอม Jasmine (Malys Angkor) ชนิด 5% ราคา 930 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ข้าวหอม Fragrant Rice (Sen Kra Ob - SKO) ชนิด 5% ราคา 820 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ข้าวนึ่ง (Parboiled Rice) ชนิด 5% ราคา 595 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ข้าวหอมอินทรีย์ (Organic Jasmine - Malys Angkor) ชนิด 5% ราคา 1,350 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน
เมื่อสัปดาห์ก่อน เว็บไซต์ Mekong Oryza รายงานราคาข้าวของกัมพูชาระหว่างวันที่ 13-26 เมษายน 2563 โดยข้าวหอมเกรดพรีเมี่ยม 5% (Premium Jasmine Rice (Rumduol) Purity >90% Wet Season) ราคาที่ 915 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เอฟโอบี [Phnom Penh or Sihanouk Ville Port (Min Order 10 Containers)] ข้าวหอมเกรดพรีเมี่ยม 10% (Premium Jasmine Rice (Rumduol) Purity >90% Wet Season) ราคาที่ 910 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เอฟโอบีข้าวหอม 5% (Jasmine Rice (Rumduol) Purity >85% Wet Season) ราคาที่ 905 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เอฟโอบีข้าวหอม 10% (Jasmine Rice (Rumduol) Purity >85% Wet Season) ราคาที่ 900 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เอฟโอบีข้าวหอม Sen Kra Ob 5% (Fragrant Rice (Sen Kra Ob) Purity >85% Dry Season) ราคาที่ 860 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เอฟโอบีและข้าวหอม Sen Kra Ob 10% (Fragrant Rice (Sen Kra Ob) Purity >85% Dry Season) ราคาที่ 855 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เอฟโอบี
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว | ราคาประกันรายได้ | ครัวเรือนละไม่เกิน |
(บาท/ตัน) | (ตัน) | |
ข้าวเปลือกหอมมะลิ | 15,000 | 14 |
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ | 14,000 | 16 |
ข้าวเปลือกเจ้า | 10,000 | 30 |
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี | 11,000 | 25 |
ข้าวเปลือกเหนียว | 12,000 | 16 |
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,642 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,391 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,546 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,485 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,170 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,230 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่ ) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,113 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,867 บาท/ตัน) ราคา
ลดลงจากตันละ 1,142 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,046 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.53 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 1,179 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 553 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,821 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 569 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,458 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.81 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 637 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 528 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,015 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 539 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,485 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.04 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 470 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 550 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,724 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 566 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,361 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.82 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 637 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.2258
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2562/63 ณ เดือนเมษายน 2563
มีผลผลิต 496.081 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 499.070 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2561/62 หรือลดลงร้อยละ 0.60
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2562/63 ณ เดือนเมษายน 2563 มีปริมาณผลผลิต 496.081 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2561/62 ร้อยละ 0.60 การใช้ในประเทศ 490.189 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2561/62 ร้อยละ 0.88 การส่งออก/นำเข้า 42.795 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2561/62 ร้อยละ 1.65 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 181.603 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2561/62 ร้อยละ 3.35
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อียู กายานา อินเดีย แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล เมียนมา กัมพูชา ปากีสถาน ปารากวัย ไทย อุรุกวัย และเวียดนาม
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน บราซิล เบอร์กินา คาเมรูน อียู กินี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เคนย่า เกาหลีใต้ เม็กซิโก โมแซมบิค เนปาล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหรัฐอเมริกา คิวบา
ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน ไอเวอรี่โคสต์ อิหร่าน อิรัก ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย และเซเนกัล
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังคลาเทศ จีน และอินเดีย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไทย และสหรัฐอเมริกา
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
รัฐบาลเวียดนามได้ตั้งทีมตรวจสอบเพื่อทำงานกับผู้ส่งออกข้าวและพิจารณาปริมาณข้าวที่ยังคงตกค้างอยู่ที่ท่าเรือ หลังจากรัฐบาลได้ระงับการส่งออกชั่วคราวเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งทีมงานดังกล่าวประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้า (the Deputy Trade Minister) และอธิบดีและรองอธิบดีของกรมการนำเข้าและส่งออก (the Director and Deputy Director of the Import and Export Department) รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ จากกระทรวงเกษตรฯ (Ministry of Agricultural and Rural development) กระทรวงการคลัง (Ministry of Finance) กระทรวงความมั่นคงสาธารณะ (Ministry of Public Security) รวมทั้งสมาคมอาหารเวียดนามด้วย
ทั้งนี้ ในช่วงระหว่างวันที่ 20-24 เมษายนนี้ ทีมงานดังกล่าวจะร่วมกับหน่วยงานศุลกากรและผู้เกี่ยวข้องทำการตรวจสอบปริมาณข้าวที่ตกค้างที่ท่าเรือ และจะมีการรายงานสถานการณ์ภายในสิ้นเดือนนี้ เพื่อที่จะแนะนำมาตรการควบคุมการส่งออกข้าวในเดือนพฤษภาคมต่อไป
ขณะที่สมาคมอาหารเวียดนาม (the Vietnam Food Association; VFA) รายงานว่า ณ วันที่ 15 เมษายน
มีข้าวประมาณ 300,000 ตัน ที่ติดอยู่ในท่าเรือหลังจากที่นายกรัฐมนตรีตัดสินใจระงับการส่งออกข้าวชั่วคราว
การจัดตั้งทีมตรวจสอบเกิดขึ้นหลังจากที่มีความวุ่นวายเกิดขึ้นเมื่อกรมศุลกากร (the General Department of Customs) ได้เปิดรับการลงทะเบียนของผู้ส่งออกข้าวเพื่อแจ้งปริมาณข้าวที่ต้องการส่งออกเมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา หลังจากที่รัฐบาลได้อนุมัติให้เริ่มส่งออกข้าวอีกครั้ง แต่กำหนดปริมาณไว้ที่ 400,000 ตัน สำหรับเดือนเมษายน แต่ปรากฏว่าผู้ส่งออกข้าวหลายรายต้องผิดหวัง เนื่องจากโควตาที่กำหนดไว้ 400,000 ตัน ถูกแจ้งปริมาณครบตามที่กำหนดไว้ภายในเวลาเพียง 3 ชั่วโมง และหลายบริษัทที่ได้เตรียมการส่งมอบข้าวที่มีข้าวติดอยู่ที่ท่าเรือไม่สามารถเข้าระบบแจ้งรายงานได้
ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (the Ministry of Industry and Trade) ได้รับเอกสารจำนวนมากจากผู้ส่งออกข้าว โดยกล่าวว่าการเปิดระบบแจ้งข้อมูลของศุลกากรทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ยังไม่โปร่งใส เนื่องจากหลายบริษัทยังไม่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้า ขณะที่บางรายแจ้งว่าพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงระบบได้เนื่องจากข้อผิดพลาดของระบบ นอกจากนี้บางบริษัทได้มีการส่งแบบฟอร์มได้สำเร็จ แต่ปรากฏว่าแบบฟอร์มนั้นหายไปในระบบ e-Customs
สำนักข่าว Bloomberg รายงาน โดยอ้างข้อมูลจากเว็บไซต์ของรัฐบาลเวียดนาม ซึ่งระบุว่าจะให้มีการส่งออกข้าวเหนียวต่อไป ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีได้สั่งให้กระทรวงการค้าฯ และกระทรวงเกษตรฯ ไปดำเนินการตรวจสอบอุปสงค์และอุปทานของข้าวในตลาดภายในประเทศ รวมถึงการส่งออกเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีปัญหาการขาดแคลน
ก่อนหน้านี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลอนุญาตให้มีการส่งออกข้าวเหนียวที่เก็บเกี่ยวจากฤดูการผลิตฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิของปีการผลิต 2562/63 (the 2019-20 winter-spring season) ต่อไปได้เนื่องจากไม่ใช่ชนิดข้าวที่ต้องมีการสำรองไว้ในคลังของรัฐบาล เพราะรัฐบาลต้องการที่จะสำรองแค่ข้าวเปลือกและข้าวสารธรรมดาเท่านั้ น (รัฐบาลกำหนดให้มีการสำรองข้าวไว้ 190,000 ตัน ภายในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ ซึ่งในจำนวนนี้ ต้องเป็นข้าวเปลือกประมาณ 80,000 ตัน)
ด้านกรมสำรองของรัฐ (Vietnam's General Department of State Reserves; GDSR) ระบุว่า ณ วันที่ 14 เมษายน 2563 ทางการเวียดนามสามารถซื้อข้าวเพียง 7,700 ตันจากเป้าหมาย 190,000 ตัน
ทั้งนี้ กรมสำรองของรัฐจะจัดซื้อข้าวผ่านการประมูลในประเทศ ซึ่ง GDSR ได้จัดประกวดราคาตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2563 ซึ่งแม้ว่าจะมีการเสนอข้าวประมาณ 178,000 ตัน แต่ข้อเสนอที่ชนะการประมูลนั้น ผู้เสนอปฏิเสธที่จะเจรจาสัญญาเหล่านี้ และถอนตัวจากการเซ็นสัญญา โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากสถานการณ์การะบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
กรมศุลกากร (the General Department of Customs) รายงานว่า ในเดือนมีนาคม 2563 เวียดนาม ส่งออกข้าว 591,407 ตัน มูลค่าประมาณ 271.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงประมาณร้อยละ 14.8 และร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11 และร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์2563 (เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เวียดนามส่งออกข้าว 532,836 ตัน มูลค่าประมาณ 238.13 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยราคาส่งออกเฉลี่ยในเดือนมีนาคม 2563 อยู่ที่ประมาณ 459.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-มีนาคม 2563) เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 1,517,387 ตัน มูลค่าประมาณ 700.808 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.96 และร้อยละ 14.89 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 461.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรก ประเทศที่เวียดนามส่งออกข้าวไปมากที่สุดเป็นประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเวียดนามส่งออกประมาณ 0.594 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 257.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.15 และร้อยละ 19.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 39.16 และร้อยละ 36.7 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามล้าดับ
ตามด้วยมาเลเซียประมาณ 0.174 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 70.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็นสัดส่วน ประมาณร้อยละ 11.52 และร้อยละ 10.07 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลำดับ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.39 และร้อยละ 67.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) จีนประมาณ 0.162 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 90.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 10.68 และร้อยละ 12.98 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลำดับ ปริมาณและ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 274.59 และร้อยละ 337.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)
กาน่าประมาณ 0.107 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 52.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.75 และร้อยละ 68.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) อิรักประมาณ 0.09 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 47.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 25 และร้อยละ 19.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) ไอวอรี่โคสต์ 39,703 ตัน มูลค่าประมาณ 16.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 68.83 และร้อยละ 70.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) สิงคโปร์ประมาณ 39,709 ตัน มูลค่าประมาณ 16.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.15 และร้อยละ 45.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)
ฮ่องกงประมาณ 21,822 ตัน มูลค่าประมาณ 11.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 50.17 และร้อยละ 45.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) โมซัมบิกประมาณ 18,681 ตัน มูลค่าประมาณ 9.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.63 และร้อยละ 74.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) อินโดนีเซียประมาณ 14,625 ตัน มูลค่าประมาณ 7.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.84 และร้อยละ 92.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ประมาณ 12,510 ตัน มูลค่าประมาณ 6.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณลดลงร้อยละ 0.2 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)
ก่อนหน้านี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ (Vietnam's General Statistics Office; GSO) รายงานว่า ในเดือน มีนาคมที่ผ่านมา มีการส่งออกข้าวประมาณ 480,000 ตัน มูลค่าประมาณ 222 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณ ส่งออกลดลงประมาณร้อยละ 30 และมูลค่าส่งออกลดลงประมาณร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 1.409 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 653 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1 และมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กัมพูชา
สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (the Cambodia Rice Federation; CRF) ระบุว่า ภายหลังจากที่กระทรวงการค้า (the Cambodian Ministry of Trade) สหพันธ์ข้าวกัมพูชา และบริษัท Green Trade Company ได้หารือกับ เอกอัครราชทูตของประเทศติมอร์ตะวันออก ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันที่จะให้มีการค้าขายข้าวระหว่างสองประเทศ โดยกัมพูชาเตรียมที่จะส่งออกข้าวไปยังติมอร์ตะวันออกตามที่รัฐบาลของติมอร์ตะวันออกแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับชนิดข้าว ปริมาณ เงื่อนไขการส่งมอบ และช่วงเวลาที่ต้องการน้าเข้า ซึ่งกัมพูชาตั้งเป้าที่จะส่งออกข้าวไปยัง ติมอร์ตะวันออกคิดเป็นมูลค่าประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในเดือนพฤษภาคมนี้
ทั้งนี้ ประเทศติมอร์ตะวันออกได้หันมาเจรจาเพื่อที่จะน้าเข้าข้าวจากกัมพูชา หลังจากที่ประเทศเวียดนาม
มีมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวในช่วงที่เหลือของปีนี้
สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (Cambodia Rice Federation; CRF) รายงานราคาส่งออกข้าวประจำวันที่ 14 เมษายน 2020 โดยข้าวหอม Jasmine (Malys Angkor) ชนิด 5% ราคา 930 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ข้าวหอม Fragrant Rice (Sen Kra Ob - SKO) ชนิด 5% ราคา 820 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ข้าวนึ่ง (Parboiled Rice) ชนิด 5% ราคา 595 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ข้าวหอมอินทรีย์ (Organic Jasmine - Malys Angkor) ชนิด 5% ราคา 1,350 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน
เมื่อสัปดาห์ก่อน เว็บไซต์ Mekong Oryza รายงานราคาข้าวของกัมพูชาระหว่างวันที่ 13-26 เมษายน 2563 โดยข้าวหอมเกรดพรีเมี่ยม 5% (Premium Jasmine Rice (Rumduol) Purity >90% Wet Season) ราคาที่ 915 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เอฟโอบี [Phnom Penh or Sihanouk Ville Port (Min Order 10 Containers)] ข้าวหอมเกรดพรีเมี่ยม 10% (Premium Jasmine Rice (Rumduol) Purity >90% Wet Season) ราคาที่ 910 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เอฟโอบีข้าวหอม 5% (Jasmine Rice (Rumduol) Purity >85% Wet Season) ราคาที่ 905 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เอฟโอบีข้าวหอม 10% (Jasmine Rice (Rumduol) Purity >85% Wet Season) ราคาที่ 900 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เอฟโอบีข้าวหอม Sen Kra Ob 5% (Fragrant Rice (Sen Kra Ob) Purity >85% Dry Season) ราคาที่ 860 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เอฟโอบีและข้าวหอม Sen Kra Ob 10% (Fragrant Rice (Sen Kra Ob) Purity >85% Dry Season) ราคาที่ 855 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เอฟโอบี
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.52 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.43 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.21 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.98 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.97 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.82 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.45 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.37 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 276.60 ดอลลาร์สหรัฐ (8,914 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 272.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,824 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69 และเพิ่มขึ้น
ในรูปของเงินบาทตันละ 90 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2562/63 มีปริมาณ 1,130.79 ล้านตัน ลดลงจาก 1,144.30 ล้านตัน ในปี 2561/62 ร้อยละ 1.18 โดยสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อินเดีย และแคนาดา มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลกมี 174.11 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 171.88 ล้านตัน ในปี 2561/62 ร้อยละ 1.29 โดยบราซิล อาร์เจนตินา ยูเครน รัสเซีย และแอฟริกาใต้ ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก เกาหลีใต้ เวียดนาม อิหร่าน อียิปต์ จีน โคลอมเบีย มาเลเซีย เปรู ซาอุดีอาระเบีย ตุรกี โมร็อกโก ชิลี อิสราเอล บราซิล บังกลาเทศ กัวเตมาลา เคนยา สหรัฐอเมริกา และตูนิเซีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 316.44 เซนต์ (4,067 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 324.05 เซนต์ (4,194 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.35 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 127 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.74 ล้านไร่ ผลผลิต 29.493 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.38 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.67 ล้านไร่ ผลผลิต 31.080 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.81 แต่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 5.11 และร้อยละ 5.85 ตามลำดับ โดยเดือนเมษายน 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.86 ล้านตัน (ร้อยละ 6.32 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 19.02 ล้านตัน (ร้อยละ 64.50 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง แต่ตลาดมันสำปะหลังอยู่ในภาวะชะงักงัน และหัวมันสำปะหลัง มีคุณภาพต่ำ ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังลดต่ำลง ทั้งนี้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง สำหรับลานมันเส้นเปิดดำเนินการไม่มาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.73 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.82 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.74 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.69
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.98 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.97 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.17
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.65 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 215 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,922 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่าสัปดาห์ก่อน (6,974 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,683 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่าสัปดาห์ก่อน (13,787 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนเมษายนจะมีประมาณ 1.702
ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.306 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.482 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.267 ล้านตัน ของเดือนมีนาคม คิดเป็นร้อยละ 14.84 และร้อยละ 14.61 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.98 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.77 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.58
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 21.93 บาท ลดลงจาก กก.ละ 23.85 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.05
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซีย ณ วันที่ 24 เมษายน 2563 ลดลงต่ำสุดในรอบ 6 อาทิตย์ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบถูกลง ทำให้ลดแรงจูงใจในการนำน้ำมันปาล์มไปผลิตไบโอดีเซล ราคาอ้างอิง ณ เดือนกรกฎาคม 2563 ตลาด Bursa Malaysia ลดลง 1.5 เปอร์เซ็นต์ เป็น 2,090 ริงกิต/ตัน แต่ราคาสัญญาซื้อขายถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก เพิ่มขึ้น 0.23 เปอร์เซ็นต์ และอัตราแลกเปลี่ยนมาเลเซียอ่อนค่าลง ปัจจัยสองอย่างนี้มีส่วนช่วยพยุงราคาน้ำมันปาล์ม
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,171.77 ดอลลาร์มาเลเซีย (16.35 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,281.28 ดอลลาร์มาเลเซีย (17.47 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.80
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 528.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.26 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 573.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.84
หมายเหตุ: ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
สำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อย และการผลิตน้ำตาลทรายประจำปีการผลิต 2562/63 ฉบับปิดหีบ ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลจำนวน 74,893,175 ตัน แยกเป็นอ้อยสด 37,709,700 ตัน (ร้อยละ 50.35) และอ้อยไฟไหม้ 37,183,475 ตัน (ร้อยละ 49.65) ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 8,294,329 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 6,331,644 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 1,962,685 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.68 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 110.75 กก.ต่อตันอ้อย
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.56 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.23
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 832.64 เซนต์ (9.99 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 844.95 เซนต์ (10.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.46
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 287.98 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.40 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 290.1 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.54 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.73
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 25.76 เซนต์ (18.54 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 26.62 เซนต์ (19.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.23
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.56 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.23
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 832.64 เซนต์ (9.99 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 844.95 เซนต์ (10.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.46
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 287.98 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.40 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 290.1 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.54 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.73
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 25.76 เซนต์ (18.54 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 26.62 เซนต์ (19.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.23
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.79 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 961.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.98 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 953.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 867.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 860.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 992.40 ดอลลาร์สหรัฐ (31.98 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 984.80 ดอลลาร์สหรัฐ (31.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 586.80 ดอลลาร์สหรัฐ (18.91 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 580.00 ดอลลาร์สหรัฐ (18.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,392.00 ดอลลาร์สหรัฐ (44.86 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,381.00 ดอลลาร์สหรัฐ (44.80 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.68 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 8.19
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.90 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 53.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 4.49
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 2.94
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.68 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 8.19
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.90 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 53.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 4.49
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 2.94
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.65 เซนต์(กิโลกรัมละ 39.34 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 52.70 เซนต์ (กิโลกรัมละ 38.19 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.70 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.15 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,785 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,782 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.17
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,467 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,461 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.41
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 888 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,467 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,461 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.41
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 888 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรลดลงผลจากการเตรียมสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ทำให้ภาวะเศรษฐกิจค่อนข้างซบเซา ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยลดลง ส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปซื้ออาหารประเภทโปรตีนที่ราคาถูกกว่าเนื้อหมู แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 65.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 68.43 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.10 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 63.69 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 64.53 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,700 บาท ลดลงจากตัวละ 1,800 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.56
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดค่อนข้างมากและเริ่มสะสม ขณะที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยลดลง เพราะจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ส่งผลให้ภาวะตลาดไก่เนื้อค่อนข้างเงียบเหงา แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 9.67 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 34.63 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.23 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.48 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผลจากการสภาวะการเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ของไข่ไก่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่ค่อนข้างทรงตัว ขณะที่ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมากและเริ่มสะสม
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 298 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 304 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.97 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 320 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 298 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 293 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 295บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 315 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.34
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 360 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 373 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 387 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 328 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 342 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.46 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.78 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.78 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.50 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.54 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.19 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรลดลงผลจากการเตรียมสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ทำให้ภาวะเศรษฐกิจค่อนข้างซบเซา ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยลดลง ส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปซื้ออาหารประเภทโปรตีนที่ราคาถูกกว่าเนื้อหมู แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 65.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 68.43 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.10 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 63.69 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 64.53 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,700 บาท ลดลงจากตัวละ 1,800 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.56
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดค่อนข้างมากและเริ่มสะสม ขณะที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยลดลง เพราะจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ส่งผลให้ภาวะตลาดไก่เนื้อค่อนข้างเงียบเหงา แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 9.67 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 34.63 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.23 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.48 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผลจากการสภาวะการเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ของไข่ไก่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่ค่อนข้างทรงตัว ขณะที่ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมากและเริ่มสะสม
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 298 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 304 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.97 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 320 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 298 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 293 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 295บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 315 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.34
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 360 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 373 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 387 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 328 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 342 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.46 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.78 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.78 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.50 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.54 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.19 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 17 – 23 เมษายน 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 85.23 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.64 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 124.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.55 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.34 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 69.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.71 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.47 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 9.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.26 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.40 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.40 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 17 – 23 เมษายน 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 85.23 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.64 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 124.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.55 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.34 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 69.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.71 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.47 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 9.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.26 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.40 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.40 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท