สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 29 พฤศจิกายน-5 ธันวาคม 2562

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด และได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ จะประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกๆ 15 วัน จนถึงวันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามโครงการประกันรายได้ฯ โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562
 
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่
1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,278 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,006 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.20
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,813 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,811 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 31,950 บาท ราคาลดลงจากตันละ 32,430 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,270 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.9838
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          ไทย: เมื่อข้าวไทยเสียแชมป์
          ข้าวไทยมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลกมาช้านาน โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่มีรสชาติถูกปาก กลิ่นหอมชวนรับประทาน แต่มาถึงวันนี้ ข้าวหอมมะลิของไทยต้องเสียแชมป์ให้แก่ข้าวพันธุ์เอสที 24 ของประเทศเวียดนามอีกครั้งในการจัดประกวดข้าวโลก 2019 ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากเมื่อปี 2018 เคยเสียแชมป์ให้แก่
ข้าวกัมพูชา การประกวดครั้งล่าสุดปีนี้ ข้าวหอมของไทยมาเป็นอันดับ 2 มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าวว่า หลักเกณฑ์การพิจารณาจะดูจากลักษณะทางกายภาพ รสชาติ มีกรรมการที่เป็นเชฟจากโรงแรมต่างๆ โดยลักษณะ
ข้าวเวียดนามใช้เวลาในการพัฒนาพันธุ์ 5 ปี จนได้ข้าวที่มีเมล็ดยาว แม้หอมน้อยกว่าข้าวไทยแต่ก็หวานกว่า
          ด้วยปัจจัยนานัปการ ส่งผลให้ข้าวหอมเวียดนามได้เปรียบข้าวไทยเกือบทุกด้าน นอกจากลักษณะเฉพาะของข้าวเวียดนามที่เหนือกว่าแล้ว ข้าวไทยยังมีราคาสูงกว่าคู่แข่งกว่าเท่าตัว บวกกับปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ข้าวไทย
มีราคาแพง ส่งออกยาก ขณะนี้ข้าวหอมมะลิไทยราคาส่งออกหรือเอฟโอบี อยู่ที่ตันละ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนราคาข้าวเวียดนามตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวกล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวและคุณภาพข้าวให้แข่งขันกับประเทศคู่แข่งให้ได้ เพราะหากปล่อยไปเช่นนี้ โดยไม่หันมาพัฒนาอย่างจริงจัง เชื่อว่าข้าวหอมมะลิไทยอาจเหลือเพียงตำนานภายในเวลาไม่เกิน 5 ปี
          ข้อเสนอแนะจากนักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ว่า ที่ผ่านมารัฐบาลหรือภาครัฐหลงทางในการพัฒนาข้าวไทย เพราะไปเน้นในเรื่องกลยุทธ์ด้านราคา ก่อให้เกิดนโยบายจำนำข้าว ประกันราคาข้าว ซึ่งมักจะเป็นการตอบโจทย์ในด้านการเมืองเสียมากกว่า โดยไม่มุ่งในเรื่องคุณภาพและผลิตภาพ อันจะทำให้ชาวนาสามารถผลิตข้าวคุณภาพให้ผลผลิตต่อไร่สูง รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องเหมาะสมและทันสมัยเพียงพอ ซึ่งจากการจัดอันดับเทคโนโลยีทางการเกษตร พบว่า การผลิตข้าวใช้เทคโนโลยีต่ำสุดรองจากพืชไร่อื่นๆ พืชผัก ผลไม้ ประมงและปศุสัตว์ซึ่งใช้เทคโนโลยีสูงสุด
          ไม่เพียงเฉพาะข้าวหอมมะลิเท่านั้นที่น่าเป็นห่วง พืชผลทางการเกษตรอื่นๆ ก็ต้องเร่งพัฒนาด้วยเช่นกัน
สภาพปัญหาในปัจจุบันคือ รัฐบาลยังคงอาศัยกลไกราชการที่พัฒนาได้ช้าหรือไม่พัฒนาเลย ไม่สามารถตอบโจทย์
การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้สามารถแข่งขันได้ ทางออกในเรื่องนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรจะเร่งระดมผู้เชี่ยวชาญและภูมิปัญญาชุมชนเข้ามาต่อยอดจากองค์ความรู้ที่พวกเขามีอยู่แล้ว โดยรัฐบาลเป็นเจ้าภาพและสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และไม่ยึดติดกับระบบราชการจนเกินไป ทั้งหมดนี้ รัฐบาลต้องลงมือทำอย่างจริงจัง ไม่ใช้นโยบายในลักษณะทำให้พืชผลทางการเกษตรเป็นสินค้าการเมือง ตกอยู่ในวังวนกับดักราคา
          ที่มา: หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.81 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.71 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.30 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.09 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.01 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.33
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.18 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.50 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.43 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 303.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,085 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 302.20 ดอลลาร์สหรัฐ (9,052 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 33 บาท  
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 377.88 เซนต์ (4,527 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 367.25 เซนต์ (4,396 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.89 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 131 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 31.474 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.53 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 30.995 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.56 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต สูงขึ้นร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.53 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.62 โดยเดือนพฤศจิกายน 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.07 ล้านตัน (ร้อยละ 6.57 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 17.61 ล้านตัน (ร้อยละ 55.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มากนัก สำหรับราคาหัวมันสำปะหลังสดมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.93 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.96 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.53
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.08 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.05 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.50
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.94 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 13.01 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.54
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,986 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (6,979 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤศจิกายนจะมีประมาณ 1.261 ล้านตันคิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.227 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.241 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.223 ล้านตัน ของเดือนตุลาคม คิดเป็นร้อยละ 1.61 และร้อยละ 1.79 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.05 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 3.95 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.53                 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 22.94 บาท ลดลงจาก กก.ละ 23.20 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.12       
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สต็อกน้ำมันปาล์มมาเลเซียคาดว่าจะลดลง 5.7 เปอร์เซ็นต์จากเดือนตุลาคมเหลือ 2.22 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตลดลง โดยคาดว่าผลผลิตลดลง 10.4 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนพฤศจิกายนจากเดือนตุลาคม เหลือ 1.61 ล้านตัน มาเลเซียส่งออก 1.56 ล้านตัน (ลดลง 5.2 เปอร์เซ็นต์ จากเดือนตุลาคม) ในเดือนพฤศจิกายน โดยส่งออกไปจีนสูงขึ้น 56 เปอร์เซ็นต์ แต่การเพิ่มขึ้นนี้ก็หักล้างกับการส่งออกไปแอฟริกา อินเดีย และ สหภาพยุโรปที่ลดลง ภาพรวมการบริโภคภายในประเทศคาดว่าจะสูงขึ้น เนื่องจากมาตรการผลักดันการเพิ่มสัดส่วนน้ำมันปาล์มในไบโอดีเซลของมาเลเซียและอินโดนีเซีย การบังคับใช้มาตรการไบโอดีเซลคาดว่าจะเพิ่มการบริโภคปาล์มน้ำมันเป็น 1.3 ล้านตัน และ 10 ล้านตันต่อปี ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย ตามลำดับ รวมถึงจะลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลวันละ 165,000 บาร์เรล ความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนผลผลิตผลักให้ราคาซื้อขายในตลาดซื้อขายล่วงหน้าสูงขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,703.71 ดอลลาร์มาเลเซีย (19.88 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,617.13 ดอลลาร์มาเลเซีย (19.23 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.31      
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 715.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21.76 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 697.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.51     
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

 

 
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 876.04 เซนต์ (9.79 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 888.90 เซนต์ (9.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.45
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8.94 บาท/กก.) ลดลง จากตันละ 296.45 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.91
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 30.19 เซนต์ (20.25 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 30.48 เซนต์ (20.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.95

 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.47 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 20.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.68
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.50 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 19.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.89
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.50 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 32.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.69
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,033.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,033.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 932.25 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 933.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,033.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,033.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 613.75 ดอลลาร์สหรัฐ (18.40 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 664.60 ดอลลาร์สหรัฐ (19.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.65 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.51 บาทจากสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,042.75 ดอลลาร์สหรัฐ (31.27 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,094.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.78 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.72 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.51 บาทจากสัปดาห์ก่อน


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.00 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 8.33
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.71 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.48 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 37.23
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 64.68 เซนต์ (กิโลกรัมละ 43.39 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 65.60 เซนต์ (กิโลกรัมละ 43.97 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.58 บาท
 
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,752 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,770 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 1.02
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,425 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,426 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.07
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 783 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
 


ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลท่องเที่ยวและมีวันหยุดนักขัตฤกษ์หลายวัน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเริ่มมีมากขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาและความต้องการบริโภคจะเพิ่มขึ้น เพราะอยู่ในช่วงเทศกาลท่องเที่ยว
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  60.39 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.80 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 56.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 60.04 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 60.221 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 62.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 61 บาท)  สูงขึ้นจากตัวละ 1,600 (บวกลบ 59 บาท)  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 12.50
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 2.17

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลท่องเที่ยวและมีวันหยุดนักขัตฤกษ์ ทำให้ภาวะตลาดไก่เนื้อค่อนข้างคึกคักและคล่องตัว ส่งผลให้ความต้องการบริโภคมีมากขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาและความต้องการบริโภคจะเพิ่มขึ้น เพราะอยู่ในช่วงเทศกาลท่องเที่ยว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.09  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.99 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.60 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้  ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไข่ไก่สอดรับกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 282 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา    โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 305 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 277 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 278 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 324 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 332 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.41 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 340 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 339 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 307 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.12  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.01 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.37 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 101.43 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.23 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.31 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา


 

 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 89.28 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 89.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.65 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.30 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 144.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.08 บาท
 สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 145.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.84 บาท ราคา ลดลงจากกิโลกรัมละ 74.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.24 บาท
 สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 144.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 138.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.00 บาท
 สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.62 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา