- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 1-7 พฤศจิกายน 2562
ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด และได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ จะประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกๆ 15 วัน จนถึงวันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามโครงการประกันรายได้ฯ โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่
1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,182 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,270 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,835 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,901 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 35,850 บาท ราคาลดลงจากตันละ 36,050 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,350 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,215 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,394 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,216 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,418 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 24 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,581 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 424 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,698 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 117 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 414 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,401 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,519 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 118 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,491 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,519 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 28 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.9538
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย-ฟิลิปปินส์
นายกีรติ รัชโน ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ประกาศยุติเปิดไต่สวนการใช้มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าข้าวไทย (เซฟการ์ด)
อย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากที่กรมการค้าต่างประเทศได้ส่งหนังสือเพื่อแสดงท่าทีและเหตุผลโต้แย้งของไทยต่อการเปิดไต่สวนดังกล่าวของฟิลิปปินส์ไปตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2562 เนื่องจากที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ เห็นว่าการแก้ปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำโดยการนำมาตรการปกป้องฯ มาใช้ เช่น ขึ้นภาษีนำเข้าข้าวสารจากต่างประเทศ อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นจนกระทบต่อผู้บริโภคและประชาชนโดยรวม “เดิมฟิลิปปินส์เข้มงวดในการนำเข้าข้าวเพื่อคุ้มครองเกษตรกร โดยกำหนดให้องค์การอาหารแห่งชาติเป็นผู้ควบคุมการนำเข้า แต่ในปี 2562 ได้เปลี่ยนเป็นการนำเข้าแบบเสรีโดยภาคเอกชน อย่างไรก็ตามเมื่อราคาข้าวในประเทศตกต่ำ ดังนั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์ตัดสินใจช่วยเหลือเกษตรกรภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายการเปิดเสรีข้าวในรูปของการให้เงินช่วยเหลือแทนการนำมาตรการปกป้อง เพราะหากจะขึ้นภาษีนำเข้าข้าวเพิ่มจะทำให้ราคาสินค้าหลายชนิดต้องปรับตัวเช่นกัน”
“การประกาศยุติการไต่สวนฯ และผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ (Economic Development Cluster) ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์จะไม่นำมาตรการปกป้องฯ มาใช้กับสินค้าข้าวสารนำเข้า ซึ่งถือเป็นข่าวดีต่อการส่งออกข้าวไทยไปยังตลาดฟิลิปปินส์ หลังจากที่อยู่ในภาวะสับสนมาตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน เนื่องจากผู้นำเข้าฟิลิปปินส์กังวลว่าหากรัฐบาลฟิลิปปินส์บังคับใช้มาตรการปกป้องจะทำให้มีภาระอากรปกป้องเติมจากภาษีนำเข้าปกติเมื่อมีการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดการชะลอคำสั่งซื้อเพื่อดูสถานการณ์”
นายกีรติ กล่าวว่า กรมมีแผนที่จะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในตลาดฟิลิปปินส์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มข้าวพรีเมี่ยม เช่น ข้าวหอมมะลิและข้าวไรซ์เบอรี่ ซึ่งที่ผ่านมาไทยส่งออกข้าวไปฟิลิปปินส์เฉลี่ยปีละ 543,344 ตัน โดยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2562 (ม.ค.-ก.ย.) ปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 297,812 ตัน ลดลงร้อยละ 61.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออก 776,591 ตัน โดยข้าวที่ส่งออกไปยังตลาดฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว 5% รองลงมาได้แก่ ข้าวขาว 25% และข้าวขาว 15%
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, หนังสือพิมพ์มติชน
กัมพูชา
สหพันธ์ข้าวของกัมพูชา (the Cambodia Rice Federation; CRF) ระบุว่ากัมพูชากำลังวางแผนขยาย
การส่งออกข้าวหอมไปยังตลาดจีนมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายการส่งออกข้าว
1 ล้านตัน ภายในปี 2565 นอกจากนี้ยังเป็นการชดเชยส่วนแบ่งตลาดข้าวหอมในตลาดสหภาพยุโรปที่ลดลงด้วย
ซึ่งขณะนี้ความต้องการข้าวหอมในตลาดจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันข้าวหอมของกัมพูชามีส่วนแบ่งตลาดในจีนประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น โดยกัมพูชามีแผนที่จะเข้าร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ ที่จะจัดขึ้นในจีน รวมทั้งการเข้าพบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าด้วย
ทั้งนี้ สหพันธ์ข้าวกัมพูชาเชื่อว่า ข้าวหอมจากกัมพูชาสามารถแข่งขันในตลาดได้ เพราะขณะนี้ราคาข้าวหอม
ของกัมพูชาอยู่ที่ประมาณตันละ 920 - 930 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนราคาข้าวหอมของไทยประมาณตันละ 1,150 - 1,200 ดอลลาร์สหรัฐฯ
เมื่อสัปดาห์ก่อน สหพันธ์ข้าวของกัมพูชาได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ปี 2563-2566 ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมหลายภาคส่วน เช่น สมาชิกของสหพันธ์ผู้แทนจากกระทรวงเกษตร หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงการอุตสาหกรรมข้าวเข้าร่วม โดยตั้งเป้าส่งออกข้าว 1 ล้านตัน ภายในปี 2565
ทั้งนี้ สหพันธ์ตั้งเป้าที่จะขยายสัดส่วนการส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังตลาดจีนเป็นร้อยละ 35 ของการส่งออก ข้าวทั้งหมด ตลาดเอเชียร้อยละ 30 และตลาดยุโรปร้อยละ 30 ส่วนอีกร้อยละ 5 จะเป็นตลาดอื่นๆ โดยสัดส่วนข้าว
ที่ส่งออก ประกอบด้วย ข้าวหอมเกรดพรีเมียมร้อยละ 30 ข้าวหอมเกรดทั่วไปร้อยละ 40 และข้าวขาวอีกร้อยละ 30
สำหรับมาตรการที่จะออกมาเพื่อช่วยขยายการส่งออกให้มากขึ้นนั้น เช่น การจัดหาเงินกู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อรับซื้อข้าวในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะสามารถรับซื้อข้าวเปลือกหอมได้ประมาณ 500,000 ตัน ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
มาเลเซีย
กระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรมาเลเซีย (Ministry of Agriculture and Agro-Based Industries : MOA) อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลบริษัทที่ประสงค์จะทำสัญญานำเข้าข้าวในเดือนมกราคม 2564
โดย Datuk Seri Salahuddin Ayub รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรมาเลเซียระบุว่า กระทรวงฯ ได้ออกหนังสือเชิญบริษัทที่ได้รับคัดเลือกในเบื้องต้นเพื่อจัดทำข้อเสนอ (Request for Proposal : RFP) ซึ่งบริษัทที่จะทำสัญญาต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ รวมถึงมีเงินทุนหมุนเวียนที่มั่นคงอย่างน้อย 300 ล้านริงกิต สำหรับการนำเข้า การสีข้าว การจัดจำหน่าย และการทำตลาดข้าวในประเทศมาเลเซีย
บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลจะมีบทบาทเช่นเดียวกับ Padiberas Nasional Bhd (Bernas) เช่น
การดูแลสต็อกข้าวของประเทศ และกระทรวงฯ จะนำเงินจำนวน 300 ล้านริงกิต ที่เคยจัดสรรให้กับ Bernas ไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆ อาทิ โครงการช่วยเหลือกลุ่มชาวประมงและเกษตรกร ซึ่งอยู่ในกลุ่ม B40 (กลุ่มประชาชนฐานรากที่
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40) เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา Datuk Seri Salahuddin ได้ประกาศเชิญชวนบริษัทที่สนใจเป็นผู้นำเข้าสินค้าข้าวแทน Bernas ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาการนำเข้าในเดือนมกราคม 2564 ให้จัดส่ง RFP เพื่อรับการประเมินจากรัฐบาล
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว | ราคาประกันรายได้ | ครัวเรือนละไม่เกิน |
(บาท/ตัน) | (ตัน) | |
ข้าวเปลือกหอมมะลิ | 15,000 | 14 |
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ | 14,000 | 16 |
ข้าวเปลือกเจ้า | 10,000 | 30 |
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี | 11,000 | 25 |
ข้าวเปลือกเหนียว | 12,000 | 16 |
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ จะประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกๆ 15 วัน จนถึงวันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามโครงการประกันรายได้ฯ โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่
1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,182 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,270 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,835 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,901 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 35,850 บาท ราคาลดลงจากตันละ 36,050 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,350 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,215 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,394 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,216 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,418 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 24 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,581 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 424 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,698 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 117 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 414 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,401 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,519 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 118 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,491 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,519 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 28 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.9538
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย-ฟิลิปปินส์
นายกีรติ รัชโน ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ประกาศยุติเปิดไต่สวนการใช้มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าข้าวไทย (เซฟการ์ด)
อย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากที่กรมการค้าต่างประเทศได้ส่งหนังสือเพื่อแสดงท่าทีและเหตุผลโต้แย้งของไทยต่อการเปิดไต่สวนดังกล่าวของฟิลิปปินส์ไปตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2562 เนื่องจากที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ เห็นว่าการแก้ปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำโดยการนำมาตรการปกป้องฯ มาใช้ เช่น ขึ้นภาษีนำเข้าข้าวสารจากต่างประเทศ อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นจนกระทบต่อผู้บริโภคและประชาชนโดยรวม “เดิมฟิลิปปินส์เข้มงวดในการนำเข้าข้าวเพื่อคุ้มครองเกษตรกร โดยกำหนดให้องค์การอาหารแห่งชาติเป็นผู้ควบคุมการนำเข้า แต่ในปี 2562 ได้เปลี่ยนเป็นการนำเข้าแบบเสรีโดยภาคเอกชน อย่างไรก็ตามเมื่อราคาข้าวในประเทศตกต่ำ ดังนั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์ตัดสินใจช่วยเหลือเกษตรกรภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายการเปิดเสรีข้าวในรูปของการให้เงินช่วยเหลือแทนการนำมาตรการปกป้อง เพราะหากจะขึ้นภาษีนำเข้าข้าวเพิ่มจะทำให้ราคาสินค้าหลายชนิดต้องปรับตัวเช่นกัน”
“การประกาศยุติการไต่สวนฯ และผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ (Economic Development Cluster) ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์จะไม่นำมาตรการปกป้องฯ มาใช้กับสินค้าข้าวสารนำเข้า ซึ่งถือเป็นข่าวดีต่อการส่งออกข้าวไทยไปยังตลาดฟิลิปปินส์ หลังจากที่อยู่ในภาวะสับสนมาตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน เนื่องจากผู้นำเข้าฟิลิปปินส์กังวลว่าหากรัฐบาลฟิลิปปินส์บังคับใช้มาตรการปกป้องจะทำให้มีภาระอากรปกป้องเติมจากภาษีนำเข้าปกติเมื่อมีการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดการชะลอคำสั่งซื้อเพื่อดูสถานการณ์”
นายกีรติ กล่าวว่า กรมมีแผนที่จะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในตลาดฟิลิปปินส์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มข้าวพรีเมี่ยม เช่น ข้าวหอมมะลิและข้าวไรซ์เบอรี่ ซึ่งที่ผ่านมาไทยส่งออกข้าวไปฟิลิปปินส์เฉลี่ยปีละ 543,344 ตัน โดยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2562 (ม.ค.-ก.ย.) ปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 297,812 ตัน ลดลงร้อยละ 61.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออก 776,591 ตัน โดยข้าวที่ส่งออกไปยังตลาดฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว 5% รองลงมาได้แก่ ข้าวขาว 25% และข้าวขาว 15%
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, หนังสือพิมพ์มติชน
กัมพูชา
สหพันธ์ข้าวของกัมพูชา (the Cambodia Rice Federation; CRF) ระบุว่ากัมพูชากำลังวางแผนขยาย
การส่งออกข้าวหอมไปยังตลาดจีนมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายการส่งออกข้าว
1 ล้านตัน ภายในปี 2565 นอกจากนี้ยังเป็นการชดเชยส่วนแบ่งตลาดข้าวหอมในตลาดสหภาพยุโรปที่ลดลงด้วย
ซึ่งขณะนี้ความต้องการข้าวหอมในตลาดจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันข้าวหอมของกัมพูชามีส่วนแบ่งตลาดในจีนประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น โดยกัมพูชามีแผนที่จะเข้าร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ ที่จะจัดขึ้นในจีน รวมทั้งการเข้าพบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าด้วย
ทั้งนี้ สหพันธ์ข้าวกัมพูชาเชื่อว่า ข้าวหอมจากกัมพูชาสามารถแข่งขันในตลาดได้ เพราะขณะนี้ราคาข้าวหอม
ของกัมพูชาอยู่ที่ประมาณตันละ 920 - 930 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนราคาข้าวหอมของไทยประมาณตันละ 1,150 - 1,200 ดอลลาร์สหรัฐฯ
เมื่อสัปดาห์ก่อน สหพันธ์ข้าวของกัมพูชาได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ปี 2563-2566 ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมหลายภาคส่วน เช่น สมาชิกของสหพันธ์ผู้แทนจากกระทรวงเกษตร หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงการอุตสาหกรรมข้าวเข้าร่วม โดยตั้งเป้าส่งออกข้าว 1 ล้านตัน ภายในปี 2565
ทั้งนี้ สหพันธ์ตั้งเป้าที่จะขยายสัดส่วนการส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังตลาดจีนเป็นร้อยละ 35 ของการส่งออก ข้าวทั้งหมด ตลาดเอเชียร้อยละ 30 และตลาดยุโรปร้อยละ 30 ส่วนอีกร้อยละ 5 จะเป็นตลาดอื่นๆ โดยสัดส่วนข้าว
ที่ส่งออก ประกอบด้วย ข้าวหอมเกรดพรีเมียมร้อยละ 30 ข้าวหอมเกรดทั่วไปร้อยละ 40 และข้าวขาวอีกร้อยละ 30
สำหรับมาตรการที่จะออกมาเพื่อช่วยขยายการส่งออกให้มากขึ้นนั้น เช่น การจัดหาเงินกู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อรับซื้อข้าวในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะสามารถรับซื้อข้าวเปลือกหอมได้ประมาณ 500,000 ตัน ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
มาเลเซีย
กระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรมาเลเซีย (Ministry of Agriculture and Agro-Based Industries : MOA) อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลบริษัทที่ประสงค์จะทำสัญญานำเข้าข้าวในเดือนมกราคม 2564
โดย Datuk Seri Salahuddin Ayub รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรมาเลเซียระบุว่า กระทรวงฯ ได้ออกหนังสือเชิญบริษัทที่ได้รับคัดเลือกในเบื้องต้นเพื่อจัดทำข้อเสนอ (Request for Proposal : RFP) ซึ่งบริษัทที่จะทำสัญญาต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ รวมถึงมีเงินทุนหมุนเวียนที่มั่นคงอย่างน้อย 300 ล้านริงกิต สำหรับการนำเข้า การสีข้าว การจัดจำหน่าย และการทำตลาดข้าวในประเทศมาเลเซีย
บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลจะมีบทบาทเช่นเดียวกับ Padiberas Nasional Bhd (Bernas) เช่น
การดูแลสต็อกข้าวของประเทศ และกระทรวงฯ จะนำเงินจำนวน 300 ล้านริงกิต ที่เคยจัดสรรให้กับ Bernas ไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆ อาทิ โครงการช่วยเหลือกลุ่มชาวประมงและเกษตรกร ซึ่งอยู่ในกลุ่ม B40 (กลุ่มประชาชนฐานรากที่
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40) เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา Datuk Seri Salahuddin ได้ประกาศเชิญชวนบริษัทที่สนใจเป็นผู้นำเข้าสินค้าข้าวแทน Bernas ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาการนำเข้าในเดือนมกราคม 2564 ให้จัดส่ง RFP เพื่อรับการประเมินจากรัฐบาล
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.42 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.46 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.95 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.91 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.86 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.46 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.39 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 300.20 ดอลลาร์สหรัฐ (8,992 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 298.40 ดอลลาร์สหรัฐ (8,937 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60 และเพิ่มขึ้น
ในรูปของเงินบาทตันละ 55 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 381.56 เซนต์ (4,566 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 387.48 เซนต์ (4,636 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 70 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 31.474 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.53 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 30.995 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.56 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต สูงขึ้นร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.53 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.62 โดยเดือนพฤศจิกายน 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.07 ล้านตัน (ร้อยละ 6.57 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 17.61 ล้านตัน (ร้อยละ 55.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มากนัก สำหรับราคาหัวมันสำปะหลังสดมีแนวโน้มลดต่ำลง เนื่องจากเชื้อแป้งในหัวมันสำปะหลังต่ำประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมีแนวโน้มลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.76 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.28 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.09 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.73
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.27 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.48
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.25 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 228 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,830 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (6,828 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,569 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,567 บาทต่อตัน)
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 31.474 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.53 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 30.995 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.56 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต สูงขึ้นร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.53 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.62 โดยเดือนพฤศจิกายน 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.07 ล้านตัน (ร้อยละ 6.57 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 17.61 ล้านตัน (ร้อยละ 55.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มากนัก สำหรับราคาหัวมันสำปะหลังสดมีแนวโน้มลดต่ำลง เนื่องจากเชื้อแป้งในหัวมันสำปะหลังต่ำประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมีแนวโน้มลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.76 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.28 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.09 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.73
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.27 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.48
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.25 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 228 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,830 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (6,828 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,569 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,567 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤศจิกายนจะมีประมาณ 1.261 ล้านตันคิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.227 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.241 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.223 ล้านตัน ของเดือนตุลาคม คิดเป็นร้อยละ 1.61 และร้อยละ 1.79 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.01 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.85 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.61
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.67 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 17.23 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.36
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ใบอนุญาตการปลูกปาล์มน้ำมันขาดความโปร่งใสเมื่อเดือนกันยายน ปีพ.ศ. 2561 รัฐบาลอินโดนีเซียสั่งหยุดการออกใบอนุญาตปลูกปาล์มน้ำมันเป็นเวลา 3 ปี เพื่อให้ป่าไม้ฟื้นตัว ป้องกันการทำลายป่า และตรวจสอบความถูกต้องของใบอนุญาตที่ออกไปแล้วอีกครั้ง แต่ในปีที่ผ่านมา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังขาดการรับรู้ขั้นตอนความก้าวหน้าของแผนงาน และข้อมูลไม่มีความโปร่งใส ทำให้ยากที่จะวัดประสิทธิผลของแผนงานนี้
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,458.90 ดอลลาร์มาเลเซีย (18.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,355.72 ดอลลาร์มาเลเซีย (17.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.38
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 667.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20.29 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 627.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.37
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2.สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
รายงานผลผลิตน้ำตาลของอินเดีย
สมาคมโรงงานน้ำตาลของอินเดีย (ISMA) ได้ปรับลดประมาณการณ์ผลผลิตน้ำตาลในปี 2562/2563 เหลือ 26.85 ล้านตัน จาก 28.20 ล้านตัน ร้อยละ 4.79 ที่ประมาณการณ์เมื่อเดือนกรกฎาคม และลดลงจาก 33.16 ล้านตัน ในปี 2561/2562 ร้อยละ 19.03
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
จีนนำเข้าถั่วเหลืองในเดือนตุลาคม 2562 ลดลง
จีนนำเข้าถั่วเหลืองในเดือนตุลาคม 2562 จำนวน 6.18 ล้านตัน ลดลง จาก 6.92 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาร้อยละ 10.70 และมีการนำเข้าลดลง 24.6% ซึ่งต่ำกว่า 8.20 ล้านตัน ของเดือนกันยายน 2562 เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรทำให้จำนวนสุกรมีจำนวนลดลง 41% (ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรของจีน) ส่งผลให้ความต้องการกากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารสัตว์ลดลง
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 922.28 เซนต์ (10.30 บาท/กก.) สูงขึ้น จากบุชเชลละ 918.32 เซนต์ (10.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.43
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 302.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.20 บาท/กก.) ลดลง จากตันละ 303.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.22 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.36
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.53 เซนต์ (21.13 บาท/กก.) สูงขึ้น จากปอนด์ละ 30.89 เซนต์ (20.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.07
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
จีนนำเข้าถั่วเหลืองในเดือนตุลาคม 2562 ลดลง
จีนนำเข้าถั่วเหลืองในเดือนตุลาคม 2562 จำนวน 6.18 ล้านตัน ลดลง จาก 6.92 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาร้อยละ 10.70 และมีการนำเข้าลดลง 24.6% ซึ่งต่ำกว่า 8.20 ล้านตัน ของเดือนกันยายน 2562 เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรทำให้จำนวนสุกรมีจำนวนลดลง 41% (ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรของจีน) ส่งผลให้ความต้องการกากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารสัตว์ลดลง
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 922.28 เซนต์ (10.30 บาท/กก.) สูงขึ้น จากบุชเชลละ 918.32 เซนต์ (10.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.43
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 302.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.20 บาท/กก.) ลดลง จากตันละ 303.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.22 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.36
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.53 เซนต์ (21.13 บาท/กก.) สูงขึ้น จากปอนด์ละ 30.89 เซนต์ (20.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.07
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 20.83 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 28.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.14
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 17.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.76
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,033.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.96 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,033.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 933.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) อัตราเฉลี่ยทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 933.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.94 บาท/กิโลกรัม) แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,033.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.96 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 966.80 ดอลลาร์สหรัฐ (28.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.91 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 664.80 ดอลลาร์สหรัฐ (19.91 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 597.60 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.24 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,094.20 ดอลลาร์สหรัฐ (32.78 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,094.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.78 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.99 บาท สูงขื้นจากกิโลกรัมละ 54.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 0.02
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.41 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 5.80
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.99 บาท สูงขื้นจากกิโลกรัมละ 54.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 0.02
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.41 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 5.80
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 63.95 เซนต์ (กิโลกรัมละ 42.85 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 64.91 เซนต์ (กิโลกรัมละ 43.49 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.64 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 63.95 เซนต์ (กิโลกรัมละ 42.85 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 64.91 เซนต์ (กิโลกรัมละ 43.49 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.64 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,791 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,784 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.39
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,421 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,417 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.28
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 779 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 59.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.63 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 57.45 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 60.38 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.24 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 62.40 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,300 บาท (บวกลบ 56 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 59.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.63 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 57.45 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 60.38 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.24 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 62.40 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,300 บาท (บวกลบ 56 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคสอดรับกับผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.673 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.72 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคสอดรับกับผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.673 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.72 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ค่อนข้างทรงตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 294 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 295 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.34 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 299 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 278 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 321 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 326 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.53
สัปดาห์นี้สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ค่อนข้างทรงตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 294 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 295 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.34 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 299 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 278 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 321 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 326 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.53
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 333 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 334 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 341 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 307 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 370 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 333 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 334 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 341 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 307 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 370 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.06 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.53 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.06 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.53 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.72 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.16 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.57 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.72 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.16 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.57 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ตารางปศุสัตว์ ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 1 – 7 พฤศจิกายน 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การ สะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 77.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.39 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 129.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.63 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 125.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.22 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 68.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.57 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 113.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 95.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 18.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.94 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 10.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.10 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 1 – 7 พฤศจิกายน 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การ สะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 77.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.39 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 129.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.63 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 125.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.22 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 68.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.57 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 113.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 95.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 18.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.94 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 10.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.10 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา