- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 25-31 ตุลาคม 2562
ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด และได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ จะประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกๆ 15 วัน จนถึงวันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามโครงการประกันรายได้ฯ โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่
1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,270 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,424 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,901 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,947 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 36,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,350 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,216 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,418 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,214 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,437 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 19 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 424 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,698 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,696 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 2 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,519 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,516 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,519 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,516 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.9492
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับสูงขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 เดือนครึ่ง เนื่องจากมีความต้องการจากประเทศในแถบแอฟริกา และคิวบา ขณะที่อุปทานข้าวในตลาดมีปริมาณจำกัด โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 350-355 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากตันละ 350 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (โดยก่อนหน้านี้ราคาปรับลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 12 ปี อยู่ที่ตันละ 325 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามเปิดเผยว่า เวียดนามกำลังริเริ่มการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี
(Free Trade Agreement: FTA) ระหว่างเวียดนามกับสหราชอาณาจักร เพื่อขยายการค้าและการลงทุนระหว่าง 2 ประเทศ ทั้งนี้ คาดว่าการเจรจาต่อรองอาจจะเริ่มในปีหน้า หากสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปในสิ้นเดือนนี้
ตามแผนที่วางไว้
นาย Tran Ngoc An เอกอัครราชทูตเวียดนาม ณ สหราชอาณาจักร เปิดเผยว่า นักลงทุนชาวอังกฤษมองว่าเวียดนามเป็นหนึ่งในปลายทางที่น่าสนใจที่สุดสำหรับธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และสหราชอาณาจักรทำงานร่วมกับเวียดนามในการส่งเสริมกลไกความร่วมมือทวิภาคีใหม่อย่างเชิงรุก โดยเฉพาะ FTA ทวิภาคีภายหลัง Brexit ทั้งนี้
นาย An เชื่อว่า หาก FTA ระหว่างทั้ง 2 ประเทศเกิดขึ้น การลงทุนจากสหราชอาณาจักรเข้ามาเวียดนาม และมูลค่าการค้า
สหราชอาณาจักร-เวียดนามจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ตามข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม มูลค่าการค้าระหว่างสหราชอาณาจักร-เวียดนาม
เมื่อปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 6.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.50 เมื่อเทียบกับปี 2560 และในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2562 อยู่ที่ 4.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ฟิลิปปินส์
มีรายงานว่า หลังจากที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ปฏิเสธข้อเสนอที่จะใช้มาตรการปกป้อง (safeguard duty)
โดยการกำหนดภาษีนำเข้าข้าวจากต่างประเทศสูงขึ้นเพื่อควบคุมการนำเข้าข้าวนั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์จะหันมาใช้
วิธีการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรเพิ่มขึ้น เพื่อแก้ปัญหาราคาข้าวในประเทศตกต่ำแทน
ทั้งนี้ องค์การอาหารแห่งชาติ (The National Food Authority; NFA) จะรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร เพิ่มขึ้นเป็น 1.14 ล้านตัน จากเป้าหมายเดิมที่วางไว้ที่ 389,000 ตัน โดยในขณะนี้ NFA สามารถรับซื้อข้าวได้เกินกว่าเป้าหมายใหม่ที่กำหนดแล้ว
ปัจจุบัน NFA ได้กำหนดราคารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่ 19 เปโซต่อกิโลกรัม (ประมาณตันละ 370 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 17 เปโซต่อกิโลกรัม (ประมาณตันละ 331 ดอลลาร์สหรัฐฯ) และนำข้าวดังกล่าว ออกจำหน่ายในราคา 23 เปโซต่อกิโลกรัม (ประมาณตันละ 448 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งลดลงจากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 25 เปโซต่อกิโลกรัม (ประมาณตันละ 486 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
ก่อนหน้านี้ กระทรวงเกษตรมีแผนผลักดันให้รัฐบาลใช้มาตรการปกป้องโดยการขึ้นภาษีนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดกับเกษตรกร เนื่องจากการใช้นโยบายเปิดเสรีนำเข้าข้าวของรัฐบาลเมื่อช่วงต้นปี
ที่ผ่านมา ทำให้มีการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศเป็นจำนวนกว่า 3 ล้านตัน (ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น) ทำให้ราคาข้าวในประเทศตกต่ำ โดยเฉพาะราคาข้าวเปลือก อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวถูกคัดค้านโดยหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ
ที่เกี่ยวข้อง (the Economic Planning Secretary) เพราะเกรงว่าการขึ้นภาษีนำเข้าข้าวจะยิ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อ
ในประเทศพุ่งสูงขึ้น เพราะราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the Philippine Statistics Agency; PSA) รายงานว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ 1 ของเดือนตุลาคม 2562 ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารยังคงปรับลดลงจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (ราคาข้าวเคยสูงขึ้นระดับสูงสุด
ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนกันยายน 2561) โดยราคาข้าวเปลือกเฉลี่ย (The average farm-gate paddy price)
อยู่ที่ 15.56 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 304.242 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก 15.82 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 307.11 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และลดลงประมาณร้อยละ 28.80 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ขณะที่ราคาขายส่งข้าวสารเกรดดี (The average wholesale price of the well-milled rice) อยู่ที่
38.02 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 743.39 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก 38.15 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 740.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 16.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนราคาขายปลีกข้าวสารเกรดดี (The average retail price of the well-milled rice) อยู่ที่ 42.03 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 820.045 ดอลลาร์สหรัฐฯ ใกล้เคียงกับ 42.03 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 815.92 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และลดลงประมาณร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ส่วนราคาขายส่งข้าวสารเกรดธรรมดา (The average wholesale price of the regular-milled rice) อยู่ที่ 33.86 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 662.06 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดจาก 34.04 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 660.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และลดลงประมาณร้อยละ 20.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และราคาขายปลีกข้าวสารเกรดธรรมดา (The average retail price of the regular-milled rice) อยู่ที่ 37.53 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 733.82 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากระดับ 37.63 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 730.51 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และลดลงประมาณร้อยละ 18.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในปีการตลาด 2562/63 ฟิลิปปินส์จะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 19.048 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 2 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก มากขึ้น ขณะที่การนำเข้าคาดว่าจะมีประมาณ 2.40 ล้านตัน ลดลงจาก 3.10 ล้านตัน ที่คาดว่าจะนำเข้าในปี 2561/62 เพราะหลังจากที่รัฐบาลเปิดเสรีนำเข้าข้าว ทำให้มีการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศจำนวนมากในปี 2561/62 ส่งผลให้อุปทานข้าวในประเทศมีมากขึ้น และมีสต็อกคงเหลือจำนวนมาก ทำให้ในปีถัดไปความต้องการนำเข้าข้าวลดลง
กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ร่วมมือกับบริษัทเคมีเกษตรและเมล็ดพันธุ์ของสหรัฐฯ จัดตั้งสถาบันการศึกษาด้านการเกษตรในข้าวและข้าวโพดที่มีผลผลิตตกต่ำในประเทศฟิลิปปินส์
นาย William Dar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้กระทรวงเกษตรและ Corteva Agriscience ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการความร่วมมือโดยมุ่งเน้นด้านสินค้าข้าว ข้าวโพด และ
การจัดการหนอนในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ทั้งนี้ การใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มผลผลิตและกำไรของเกษตรกร
ผู้ปลูกข้าวและข้าวโพด ซึ่งถือเป็นการยกระดับการเกษตรของฟิลิปปินส์ โดยเห็นว่าไม่มีประเทศใดที่จะสามารถแข่งขัน ในตลาดโลกได้ หากปราศจากการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่ต้องเน้นการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เกิดผล
ภายใต้บันทึกความเข้าใจ Corteva ได้วางแผนที่จะสร้าง 80 EduFarms ใน 25 เขตเทศบาล ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50,000 เฮกเตอร์ โดยตั้งเป้าหมายการปรับปรุงผลผลิต 1 ตันต่อเฮกตาร์ ใน 4 ฤดูกาลเพาะปลูกและจัดตั้งฟาร์มเทคโนโลยี 800 แห่ง ภายใน 2 ปี
นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวจะให้การฝึกอบรมเกษตรกรจำนวน 25,000 ราย คาดว่าจะสามารถเพิ่มผลผลิตอีก 50,000 ตัน ให้แก่ชาวฟิลิปปินส์บริโภคกว่า 400,000 คน โดยวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าวเพื่อปรับปรุงผลผลิตหลักทางการเกษตรของฟิลิปปินส์คือข้าวและข้าวโพด และช่วยให้เกษตรกรมีกำไรเพิ่มมากขึ้นผ่านการเข้าถึงการศึกษาทางการเกษตร รวมทั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์และการบริหารจัดการ โดยคาดว่าพื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์ในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ Nueva Ecija, Zamboanga del Sur, Pampanga, Lanao del Norte, Bataan, Kalinga, Tarlac, Cagayan, Pangasinan, Bulacan, Nueva Vizcaya, Laguna, Zambales, Quirino, Zambanga Sibugay, Camarines Sur, Negros Occidental, lloilo, Capiz, Antique, Surigao de Sur, Bohol และ Occidental Mindoro ซึ่งแต่ละ EduFarm จะดำเนินการฝึกอบรมตลอดฤดูกาล โดยมุ่งเน้นให้ความรู้แก่เกษตรกรในการเตรียมดินและเมล็ดพันธุ์ การใช้เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ การใช้เครื่องจักรกลการเกษตร การควบคุมวัชพืชและการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสม การควบคุมแมลงและโรค การเก็บเกี่ยวและการแปรรูป รวมทั้งการตลาดและการจัดการทางการเงิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยผลักดันการกระจายเมล็ดพันธุ์Hybrid และ Inbred จากผลการวิจัยที่เข้มงวด ซึ่งเมล็ดพันธุ์เหล่านี้จะแจกจ่ายให้กับเกษตรกรซึ่งเป็นการดำเนินการ
ส่วนหนึ่งภายใต้กองทุนเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันข้าว (The Rice Competitiveness Enhancement Fund)
ทั้งนี้ ในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน ความสามารถทางการเกษตรฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่ 5 เนื่องจากขาดแคลนเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ราคาส่งออกข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าเงินรูปีแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ความต้องการข้าวจากประเทศในแถบแอฟริกาลดลง เนื่องจากหลายประเทศยังคงมีสต็อกข้าวคงเหลือเพียงพอ
จึงยังไม่เร่งรีบที่จะนำเข้าในช่วงนี้ โดยข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ตันละ 368-372 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2-3 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากตันละ 365-370 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อน
ในเดือนกันยายน 2562 อินเดียส่งออกข้าวประมาณ 572,896 ตัน ลดลงร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ที่ส่งออกข้าวได้ประมาณ 644,249 ตัน ลดลงร้อยละ 23.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติประมาณ 367,174 ตัน และสาเหตุที่อินเดียส่งออกข้าวบาสมาติลดลงนั้นเนื่องจากความต้องการข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติจากประเทศในแถบแอฟริกาลดลง เพราะบางส่วนหันไปซื้อข้าวจากประเทศจีนที่มีราคาถูกกว่า ขณะที่วงการค้าคาดว่า ประเทศอิหร่านซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของอินเดียใกล้หยุดซื้อข้าวแล้ว เพราะอีกไม่นานจะเข้าสู่ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตในประเทศ ซึ่งคาดว่าอิหร่านจะกลับมาซื้ออีกครั้งในช่วงหลังเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงต้นปีหน้า
มีรายงานว่า ผู้ส่งออกข้าวบาสมาติของอินเดียกำลังประสบปัญหาการชำระเงินจากผู้นำเข้าข้าวของอิหร่าน เนื่องจากผลกระทบจากมาตรการแซงชั่นของสหรัฐฯ โดยประมาณการณ์ว่า ในขณะนี้ผู้ส่งออกยังไม่ได้รับชำระเงินประมาณ 212 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีข้าวที่คิดเป็นมูลค่าประมาณ 71-85 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ยังติดอยู่ในท่าเรือหรือโกดัง เนื่องจากปัญหาต่างๆ อีกด้วย
ทั้งนี้ จากมาตรการที่สหรัฐอเมริกาได้คว่ำบาตรประเทศอิหร่าน ทำให้อินเดียต้องดำเนินการค้าขายกับอิหร่านผ่านบัญชีเงินรูปีในธนาคาร UCO ภายใต้กลไกนี้ ฝ่ายอินเดียจะฝากเงินเป็นเงินรูปีเข้าบัญชีของธนาคารอิหร่านเพื่อซื้อ
น้ำมันจากนั้น ฝ่ายอิหร่านก็จะใช้เงินดังกล่าวชำระค่าสินค้าให้กับผู้ส่งออกสินค้าของอินเดีย
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว | ราคาประกันรายได้ | ครัวเรือนละไม่เกิน |
(บาท/ตัน) | (ตัน) | |
ข้าวเปลือกหอมมะลิ | 15,000 | 14 |
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ | 14,000 | 16 |
ข้าวเปลือกเจ้า | 10,000 | 30 |
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี | 11,000 | 25 |
ข้าวเปลือกเหนียว | 12,000 | 16 |
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ จะประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกๆ 15 วัน จนถึงวันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามโครงการประกันรายได้ฯ โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่
1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,270 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,424 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,901 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,947 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 36,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,350 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,216 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,418 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,214 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,437 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 19 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 424 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,698 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,696 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 2 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,519 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,516 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,519 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,516 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.9492
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับสูงขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 เดือนครึ่ง เนื่องจากมีความต้องการจากประเทศในแถบแอฟริกา และคิวบา ขณะที่อุปทานข้าวในตลาดมีปริมาณจำกัด โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 350-355 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากตันละ 350 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (โดยก่อนหน้านี้ราคาปรับลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 12 ปี อยู่ที่ตันละ 325 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามเปิดเผยว่า เวียดนามกำลังริเริ่มการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี
(Free Trade Agreement: FTA) ระหว่างเวียดนามกับสหราชอาณาจักร เพื่อขยายการค้าและการลงทุนระหว่าง 2 ประเทศ ทั้งนี้ คาดว่าการเจรจาต่อรองอาจจะเริ่มในปีหน้า หากสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปในสิ้นเดือนนี้
ตามแผนที่วางไว้
นาย Tran Ngoc An เอกอัครราชทูตเวียดนาม ณ สหราชอาณาจักร เปิดเผยว่า นักลงทุนชาวอังกฤษมองว่าเวียดนามเป็นหนึ่งในปลายทางที่น่าสนใจที่สุดสำหรับธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และสหราชอาณาจักรทำงานร่วมกับเวียดนามในการส่งเสริมกลไกความร่วมมือทวิภาคีใหม่อย่างเชิงรุก โดยเฉพาะ FTA ทวิภาคีภายหลัง Brexit ทั้งนี้
นาย An เชื่อว่า หาก FTA ระหว่างทั้ง 2 ประเทศเกิดขึ้น การลงทุนจากสหราชอาณาจักรเข้ามาเวียดนาม และมูลค่าการค้า
สหราชอาณาจักร-เวียดนามจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ตามข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม มูลค่าการค้าระหว่างสหราชอาณาจักร-เวียดนาม
เมื่อปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 6.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.50 เมื่อเทียบกับปี 2560 และในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2562 อยู่ที่ 4.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ฟิลิปปินส์
มีรายงานว่า หลังจากที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ปฏิเสธข้อเสนอที่จะใช้มาตรการปกป้อง (safeguard duty)
โดยการกำหนดภาษีนำเข้าข้าวจากต่างประเทศสูงขึ้นเพื่อควบคุมการนำเข้าข้าวนั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์จะหันมาใช้
วิธีการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรเพิ่มขึ้น เพื่อแก้ปัญหาราคาข้าวในประเทศตกต่ำแทน
ทั้งนี้ องค์การอาหารแห่งชาติ (The National Food Authority; NFA) จะรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร เพิ่มขึ้นเป็น 1.14 ล้านตัน จากเป้าหมายเดิมที่วางไว้ที่ 389,000 ตัน โดยในขณะนี้ NFA สามารถรับซื้อข้าวได้เกินกว่าเป้าหมายใหม่ที่กำหนดแล้ว
ปัจจุบัน NFA ได้กำหนดราคารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่ 19 เปโซต่อกิโลกรัม (ประมาณตันละ 370 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 17 เปโซต่อกิโลกรัม (ประมาณตันละ 331 ดอลลาร์สหรัฐฯ) และนำข้าวดังกล่าว ออกจำหน่ายในราคา 23 เปโซต่อกิโลกรัม (ประมาณตันละ 448 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งลดลงจากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 25 เปโซต่อกิโลกรัม (ประมาณตันละ 486 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
ก่อนหน้านี้ กระทรวงเกษตรมีแผนผลักดันให้รัฐบาลใช้มาตรการปกป้องโดยการขึ้นภาษีนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดกับเกษตรกร เนื่องจากการใช้นโยบายเปิดเสรีนำเข้าข้าวของรัฐบาลเมื่อช่วงต้นปี
ที่ผ่านมา ทำให้มีการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศเป็นจำนวนกว่า 3 ล้านตัน (ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น) ทำให้ราคาข้าวในประเทศตกต่ำ โดยเฉพาะราคาข้าวเปลือก อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวถูกคัดค้านโดยหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ
ที่เกี่ยวข้อง (the Economic Planning Secretary) เพราะเกรงว่าการขึ้นภาษีนำเข้าข้าวจะยิ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อ
ในประเทศพุ่งสูงขึ้น เพราะราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the Philippine Statistics Agency; PSA) รายงานว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ 1 ของเดือนตุลาคม 2562 ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารยังคงปรับลดลงจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (ราคาข้าวเคยสูงขึ้นระดับสูงสุด
ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนกันยายน 2561) โดยราคาข้าวเปลือกเฉลี่ย (The average farm-gate paddy price)
อยู่ที่ 15.56 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 304.242 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก 15.82 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 307.11 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และลดลงประมาณร้อยละ 28.80 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ขณะที่ราคาขายส่งข้าวสารเกรดดี (The average wholesale price of the well-milled rice) อยู่ที่
38.02 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 743.39 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก 38.15 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 740.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 16.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนราคาขายปลีกข้าวสารเกรดดี (The average retail price of the well-milled rice) อยู่ที่ 42.03 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 820.045 ดอลลาร์สหรัฐฯ ใกล้เคียงกับ 42.03 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 815.92 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และลดลงประมาณร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ส่วนราคาขายส่งข้าวสารเกรดธรรมดา (The average wholesale price of the regular-milled rice) อยู่ที่ 33.86 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 662.06 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดจาก 34.04 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 660.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และลดลงประมาณร้อยละ 20.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และราคาขายปลีกข้าวสารเกรดธรรมดา (The average retail price of the regular-milled rice) อยู่ที่ 37.53 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 733.82 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากระดับ 37.63 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 730.51 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และลดลงประมาณร้อยละ 18.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในปีการตลาด 2562/63 ฟิลิปปินส์จะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 19.048 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 2 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก มากขึ้น ขณะที่การนำเข้าคาดว่าจะมีประมาณ 2.40 ล้านตัน ลดลงจาก 3.10 ล้านตัน ที่คาดว่าจะนำเข้าในปี 2561/62 เพราะหลังจากที่รัฐบาลเปิดเสรีนำเข้าข้าว ทำให้มีการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศจำนวนมากในปี 2561/62 ส่งผลให้อุปทานข้าวในประเทศมีมากขึ้น และมีสต็อกคงเหลือจำนวนมาก ทำให้ในปีถัดไปความต้องการนำเข้าข้าวลดลง
กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ร่วมมือกับบริษัทเคมีเกษตรและเมล็ดพันธุ์ของสหรัฐฯ จัดตั้งสถาบันการศึกษาด้านการเกษตรในข้าวและข้าวโพดที่มีผลผลิตตกต่ำในประเทศฟิลิปปินส์
นาย William Dar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้กระทรวงเกษตรและ Corteva Agriscience ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการความร่วมมือโดยมุ่งเน้นด้านสินค้าข้าว ข้าวโพด และ
การจัดการหนอนในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ทั้งนี้ การใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มผลผลิตและกำไรของเกษตรกร
ผู้ปลูกข้าวและข้าวโพด ซึ่งถือเป็นการยกระดับการเกษตรของฟิลิปปินส์ โดยเห็นว่าไม่มีประเทศใดที่จะสามารถแข่งขัน ในตลาดโลกได้ หากปราศจากการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่ต้องเน้นการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เกิดผล
ภายใต้บันทึกความเข้าใจ Corteva ได้วางแผนที่จะสร้าง 80 EduFarms ใน 25 เขตเทศบาล ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50,000 เฮกเตอร์ โดยตั้งเป้าหมายการปรับปรุงผลผลิต 1 ตันต่อเฮกตาร์ ใน 4 ฤดูกาลเพาะปลูกและจัดตั้งฟาร์มเทคโนโลยี 800 แห่ง ภายใน 2 ปี
นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวจะให้การฝึกอบรมเกษตรกรจำนวน 25,000 ราย คาดว่าจะสามารถเพิ่มผลผลิตอีก 50,000 ตัน ให้แก่ชาวฟิลิปปินส์บริโภคกว่า 400,000 คน โดยวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าวเพื่อปรับปรุงผลผลิตหลักทางการเกษตรของฟิลิปปินส์คือข้าวและข้าวโพด และช่วยให้เกษตรกรมีกำไรเพิ่มมากขึ้นผ่านการเข้าถึงการศึกษาทางการเกษตร รวมทั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์และการบริหารจัดการ โดยคาดว่าพื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์ในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ Nueva Ecija, Zamboanga del Sur, Pampanga, Lanao del Norte, Bataan, Kalinga, Tarlac, Cagayan, Pangasinan, Bulacan, Nueva Vizcaya, Laguna, Zambales, Quirino, Zambanga Sibugay, Camarines Sur, Negros Occidental, lloilo, Capiz, Antique, Surigao de Sur, Bohol และ Occidental Mindoro ซึ่งแต่ละ EduFarm จะดำเนินการฝึกอบรมตลอดฤดูกาล โดยมุ่งเน้นให้ความรู้แก่เกษตรกรในการเตรียมดินและเมล็ดพันธุ์ การใช้เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ การใช้เครื่องจักรกลการเกษตร การควบคุมวัชพืชและการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสม การควบคุมแมลงและโรค การเก็บเกี่ยวและการแปรรูป รวมทั้งการตลาดและการจัดการทางการเงิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยผลักดันการกระจายเมล็ดพันธุ์Hybrid และ Inbred จากผลการวิจัยที่เข้มงวด ซึ่งเมล็ดพันธุ์เหล่านี้จะแจกจ่ายให้กับเกษตรกรซึ่งเป็นการดำเนินการ
ส่วนหนึ่งภายใต้กองทุนเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันข้าว (The Rice Competitiveness Enhancement Fund)
ทั้งนี้ ในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน ความสามารถทางการเกษตรฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่ 5 เนื่องจากขาดแคลนเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ราคาส่งออกข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าเงินรูปีแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ความต้องการข้าวจากประเทศในแถบแอฟริกาลดลง เนื่องจากหลายประเทศยังคงมีสต็อกข้าวคงเหลือเพียงพอ
จึงยังไม่เร่งรีบที่จะนำเข้าในช่วงนี้ โดยข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ตันละ 368-372 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2-3 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากตันละ 365-370 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อน
ในเดือนกันยายน 2562 อินเดียส่งออกข้าวประมาณ 572,896 ตัน ลดลงร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ที่ส่งออกข้าวได้ประมาณ 644,249 ตัน ลดลงร้อยละ 23.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติประมาณ 367,174 ตัน และสาเหตุที่อินเดียส่งออกข้าวบาสมาติลดลงนั้นเนื่องจากความต้องการข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติจากประเทศในแถบแอฟริกาลดลง เพราะบางส่วนหันไปซื้อข้าวจากประเทศจีนที่มีราคาถูกกว่า ขณะที่วงการค้าคาดว่า ประเทศอิหร่านซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของอินเดียใกล้หยุดซื้อข้าวแล้ว เพราะอีกไม่นานจะเข้าสู่ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตในประเทศ ซึ่งคาดว่าอิหร่านจะกลับมาซื้ออีกครั้งในช่วงหลังเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงต้นปีหน้า
มีรายงานว่า ผู้ส่งออกข้าวบาสมาติของอินเดียกำลังประสบปัญหาการชำระเงินจากผู้นำเข้าข้าวของอิหร่าน เนื่องจากผลกระทบจากมาตรการแซงชั่นของสหรัฐฯ โดยประมาณการณ์ว่า ในขณะนี้ผู้ส่งออกยังไม่ได้รับชำระเงินประมาณ 212 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีข้าวที่คิดเป็นมูลค่าประมาณ 71-85 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ยังติดอยู่ในท่าเรือหรือโกดัง เนื่องจากปัญหาต่างๆ อีกด้วย
ทั้งนี้ จากมาตรการที่สหรัฐอเมริกาได้คว่ำบาตรประเทศอิหร่าน ทำให้อินเดียต้องดำเนินการค้าขายกับอิหร่านผ่านบัญชีเงินรูปีในธนาคาร UCO ภายใต้กลไกนี้ ฝ่ายอินเดียจะฝากเงินเป็นเงินรูปีเข้าบัญชีของธนาคารอิหร่านเพื่อซื้อ
น้ำมันจากนั้น ฝ่ายอิหร่านก็จะใช้เงินดังกล่าวชำระค่าสินค้าให้กับผู้ส่งออกสินค้าของอินเดีย
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.46 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.42 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.95 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.86 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.54
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.05 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.10 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.65 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.06
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 298.40 ดอลลาร์สหรัฐ (8,937 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 304.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,152 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.84 และลดลง
ในรูปของเงินบาทตันละ 215 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 387.48 เซนต์ (4,636 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 388.08 เซนต์(4,666 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 30 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 31.474 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.53 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 30.995 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.56 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต สูงขึ้นร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.53 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.62 โดยเดือนตุลาคม 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.55 ล้านตัน (ร้อยละ 4.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 17.61 ล้านตัน (ร้อยละ 55.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มากนัก สำหรับราคาหัวมันสำปะหลังสดมีแนวโน้มลดต่ำลง เนื่องจากเชื้อแป้งในหัวมันสำปะหลังต่ำประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมีแนวโน้มลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.76 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.71 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.92
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.09 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.08 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.59
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.27 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.35 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.26
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.25 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 228 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,828 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,993 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.15
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,567 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,595 บาทต่อตัน)
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 31.474 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.53 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 30.995 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.56 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต สูงขึ้นร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.53 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.62 โดยเดือนตุลาคม 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.55 ล้านตัน (ร้อยละ 4.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 17.61 ล้านตัน (ร้อยละ 55.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มากนัก สำหรับราคาหัวมันสำปะหลังสดมีแนวโน้มลดต่ำลง เนื่องจากเชื้อแป้งในหัวมันสำปะหลังต่ำประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมีแนวโน้มลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.76 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.71 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.92
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.09 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.08 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.59
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.27 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.35 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.26
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.25 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 228 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,828 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,993 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.15
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,567 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,595 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.241 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.223 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.133 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.204 ล้านตัน ของเดือนกันยายน คิดเป็นร้อยละ 9.53 และร้อยละ 9.31 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.85 บาท ลดลงจาก กก.ละ 2.93 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ร้อยละ 2.73
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 17.23 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 16.69 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ร้อยละ 3.24
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,355.72 ดอลลาร์มาเลเซีย (17.27 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,222.47 ดอลลาร์มาเลเซีย (16.32 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.00
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 627.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19.07 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 579.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.65 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.28
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.80 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์การส่งออกถั่วเหลืองของบราซิล
สถานการณ์การส่งออกถั่วเหลืองของบราซิล
บราซิลได้ส่งออกถั่วเหลืองจำนวน 3.1 ล้านตัน ในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม 2562 และมียอดขายถั่วเหลืองเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 0.2 ล้านตัน ซึ่งภายใน 9 เดือนแรกของปี 2562 บราซิลส่งออกถั่วเหลืองจำนวน 60.75 ล้านตัน คิดเป็น 76% ไปยังประเทศจีน และแหล่งส่งออกที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ สเปน ตุรกี ไทย อิหร่าน และเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ ด้วยความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนและความไม่แน่นอนสำหรับการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองในสหรัฐฯ ทำให้บราซิลมีความได้เปรียบอย่างชัดเจนในตลาดถั่วเหลืองของจีน
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 918.32 เซนต์ (10.25 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 933.60 เซนต์ (10.45 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.64
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 303.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.22 บาท/กก.) ลดลง จากตันละ 307.46 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.37 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.33
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 30.89 เซนต์ (20.69 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 30.72 เซนต์ (20.62 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.80 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์การส่งออกถั่วเหลืองของบราซิล
สถานการณ์การส่งออกถั่วเหลืองของบราซิล
บราซิลได้ส่งออกถั่วเหลืองจำนวน 3.1 ล้านตัน ในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม 2562 และมียอดขายถั่วเหลืองเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 0.2 ล้านตัน ซึ่งภายใน 9 เดือนแรกของปี 2562 บราซิลส่งออกถั่วเหลืองจำนวน 60.75 ล้านตัน คิดเป็น 76% ไปยังประเทศจีน และแหล่งส่งออกที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ สเปน ตุรกี ไทย อิหร่าน และเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ ด้วยความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนและความไม่แน่นอนสำหรับการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองในสหรัฐฯ ทำให้บราซิลมีความได้เปรียบอย่างชัดเจนในตลาดถั่วเหลืองของจีน
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 918.32 เซนต์ (10.25 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 933.60 เซนต์ (10.45 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.64
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 303.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.22 บาท/กก.) ลดลง จากตันละ 307.46 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.37 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.33
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 30.89 เซนต์ (20.69 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 30.72 เซนต์ (20.62 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.83 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 19.07 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.23
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,033.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.996 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,031.75 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 933.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 931.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 966.80 ดอลลาร์สหรัฐ (28.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 964.75 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 597.60 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 596.00 ดอลลาร์สหรัฐ (17.89 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,094.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.78 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,091.75 ดอลลาร์สหรัฐ (32.77 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.98 บาท สูงขื้นจากกิโลกรัมละ 49.99 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 9.98
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.05 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 2.78
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.98 บาท สูงขื้นจากกิโลกรัมละ 49.99 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 9.98
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.05 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 2.78
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 64.91 เซนต์ (กิโลกรัมละ 43.49 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 64.80 เซนต์ (กิโลกรัมละ 43.51 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 64.91 เซนต์ (กิโลกรัมละ 43.49 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 64.80 เซนต์ (กิโลกรัมละ 43.51 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,784 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,741 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.48
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,417 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,381 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.65
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 779 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.75 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 57.05 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 60.76 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.61 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 64.10 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,300 บาท (บวกลบ 54 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.41
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 59.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.75 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 57.05 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 60.76 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.61 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 64.10 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,300 บาท (บวกลบ 54 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.41
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อเริ่มมีมากขึ้น ส่งผลให้ภาวะตลาดไก่เนื้อค่อนข้างคึกคัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.28บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.41 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.63 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.72 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อเริ่มมีมากขึ้น ส่งผลให้ภาวะตลาดไก่เนื้อค่อนข้างคึกคัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.28บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.41 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.63 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.72 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาสูงขึ้นเล็กน้อย จากความต้องการบริโภคไข่ไก่ที่อาจจะเพิ่มขึ้นในช่วงสถานศึกษาเปิดภาคเรียน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 295 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 297 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 279 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 298 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 326 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 331 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.51
สัปดาห์นี้สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาสูงขึ้นเล็กน้อย จากความต้องการบริโภคไข่ไก่ที่อาจจะเพิ่มขึ้นในช่วงสถานศึกษาเปิดภาคเรียน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 295 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 297 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 279 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 298 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 326 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 331 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.51
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 334 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 328 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.83 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 308 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 370 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 334 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 328 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.83 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 308 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 370 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.46 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.09 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.46 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.09 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.34 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.63 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.34 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.63 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 25 – 31 ตุลาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การ สะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.05 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.65 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.56 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.02 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 125.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.28 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 128.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.79 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 95.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 127.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 32.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 10.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 25 – 31 ตุลาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การ สะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.05 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.65 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.56 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.02 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 125.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.28 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 128.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.79 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 95.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 127.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 32.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 10.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา