- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 22-28 มีนาคม 2562
ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการ นบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก ตันละ 500 บาท ปรับเป็น “ให้เกษตรกรได้รับตันละ 1,000 บาท และสหกรณ์ได้รับตันละ 500 บาท”
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,641 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,694 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,654 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,616 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,450 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,410 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,141 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,873 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,142 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,887 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 14 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 411 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,916 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 408 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,821 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.73 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 95 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,670 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,570 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 100 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 414 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,016 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 411 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,916 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 100 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.4398
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย-บรูไน
ข้าวเป็นสินค้าสำคัญสำหรับการดำรงชีพของชาวบรูไน แต่ด้วยปริมาณการบริโภคในประเทศที่เกินศักยภาพการผลิต ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ เห็นได้จากในปี 2559 บรูไนเพาะปลูกข้าวเพียงร้อยละ 4.5 ของการบริโภค
ในประเทศ ส่งผลให้รัฐบาลมีแนวคิดส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวในประเทศ เพื่อการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร โดยตั้งเป้าเพิ่มผลผลิตให้ได้ร้อยละ 20 ในปี 2563
ปัจจุบัน บรูไนนำเข้าข้าวจากทั้งไทยและกัมพูชาซึ่งการนำเข้าข้าวจากไทยมีมานานกว่า 10 ปี ที่ผ่านมาภาคเอกชนผู้ส่งออกข้าว และหน่วยงานทางการเกษตรของไทย ให้ความช่วยเหลือด้านการเพาะปลูกข้าวและทำการปศุสัตว์ โดยให้ข้อแนะนำเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าว การจัดการน้ำ และพัฒนาดินแก่บรูไน ซึ่งนับว่าเป็นการช่วยรักษาตลาดข้าวของไทย ให้ยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคบรูไน ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้นในภูมิภาค และแสดงถึงไมตรีจิตในฐานะมิตรประเทศในอาเซียนที่จะส่งผลดีถึงความสัมพันธ์ระหว่างบรูไนและไทยต่อไปในอนาคต
จากความช่วยเหลือที่ผ่านมา บรูไนจึงมีความประสงค์ที่จะร่วมมือกับไทยต่อไปเพื่อเพิ่มผลผลิต โดยได้จัดตั้ง “โครงการ Kandol” ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการจำแนกพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสม สำหรับการทำนาข้าวเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ จากการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยละเอียดเมื่อปี 2554 พบว่า มีพื้นที่เหมาะสมสำหรับการทำนาทั้งหมด 500 เฮกตาร์ เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ ลักษณะเป็นดินตะกอนเกิดจากการทับถมจากแม่น้ำ 3 สาย
มีระบบจัดส่งน้ำ ระบบไฟฟ้า และถนนตัดสู่ถนนใหญ่ในระยะทาง 10 กิโลเมตร
รัฐบาลบรูไนจึงมีแผนลงทุนเตรียมพื้นที่ทั้งหมด จากเดิมซึ่งเป็นป่าไม้ให้เป็นที่ราบ ทำการก่อสร้างถนน รวมถึงระบบระบายน้ำและคันนา โดยมอบหมายให้บริษัท Darussaiam Assets ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนของรัฐบาลบรูไน ภายใต้กระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ จัดตั้งบริษัทใหม่ชื่อ PaddyCo เพื่อพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่ดังกล่าว และประสงค์จะแสวงหาพันธมิตรร่วมลงทุน (Technical Partner) เพื่อทำหน้าที่บริหารพื้นที่การเกษตรร่วมกับ Darussaiam Assets ในการให้คำปรึกษาทางวิชาการ ออกแบบจัดเตรียมพื้นที่เพาะปลูก รวมถึงเพาะปลูกข้าว และผลิตข้าวให้มีปริมาณตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรพื้นฐานและการท่องเที่ยวบรูไน ได้เชิญชวนให้ภาคเอกชนไทยมาร่วมลงทุนในบรูไน โดยเฉพาะในด้านการเกษตรและการเพาะปลูกข้าว เนื่องจากบรูไนยังไม่มีความเชี่ยวชาญทางการเกษตร ต้องการหาหุ้นส่วนที่มีศักยภาพ ซึ่งรัฐบาลบรูไนพร้อมจะให้สัมปทานที่ดินกับบริษัทที่สนใจ โดยเอกชนสามารถร่วมหุ้นกับ Darussaiam Assets เพื่อปลูกข้าว ซึ่งหากมีภาคเอกชนไทยที่สนใจจะลงทุนด้านการเกษตรในพื้นที่โครงการ ทางบรูไนยินดีที่จะสนับสนุนเพื่อสร้างความร่วมมือต่อไป
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจบรูไน แจ้งว่า ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนจากเวียดนามและกัมพูชาให้ความสนใจในโครงการดังกล่าว แต่เนื่องจากไทยเป็นประเทศชั้นนำทางการเกษตรและมีความชำนาญ ตลอดจนมีความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกัน ประกอบกับไทยให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรหลายด้าน จึงประสงค์ที่จะเชิญผู้ประกอบการด้านการเกษตรไทยเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการฯ ข้างต้น ซึ่งถือเป็นโอกาสของภาคธุรกิจการเกษตรของไทย
ที่จะมีความร่วมมือกับบรูไนทั้งในเชิงธุรกิจ และการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารของบรูไนต่อไป
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
เมียนมาร์
สหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ (The Myanmar Rice Federation; MRF) เรียกร้องให้รัฐบาลอำนวยความสะดวก
ในการทำข้อตกลงที่จะเพิ่มโควตาการส่งออกข้าวอย่างเป็นทางการไปยังประเทศจีน โดยขอให้รัฐบาลเร่งเจรจาเพื่อเพิ่ม
จำนวนโควตาข้าวของเมียนมาร์ที่จะส่งไปยังประเทศจีนในปริมาณมากขึ้นจากเดิมที่ได้โควตาปีละ 100,000 ตัน (ลงนามไว้เมื่อปี 2559) เป็น 400,000 ตัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนทางแนวชายแดนมีปัญหาค่อนข้างมาก และมีความไม่แน่นนอน ขณะที่บางส่วนต้องยอมส่งออกข้าวอย่างผิดกฎหมาย เพราะมีโควตาไม่เพียงพอ
มีรายงานว่า ทางการจีนระงับการนำเข้าข้าวหักจากประเทศเมียนมาร์ที่ผ่านแนวชายแดน ขณะที่ข้อเท็จจริงคือใบอนุญาตส่งออกข้าวสามารถแบ่งออกเป็นใบอนุญาตข้าวหัก ใบอนุญาตข้าวเมล็ดยาว และใบอนุญาตข้าวเมล็ดสั้น
ทั้งนี้ ทางการจีนอนุญาตให้มีการนำเข้าข้าวผ่านแนวชายแดน แต่ผู้ค้าข้าวเมียนมาร์ส่งออกข้าวภายใต้รายการข้าวหัก
ซึ่งจะเสียภาษี (the export tax) ในอัตราเพียงร้อยละ 5 (สำหรับข้าวหัก) ขณะที่อัตราภาษีของข้าวสารอยู่ที่ร้อยละ
50-60 ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ผู้ค้าข้าวอาศัยความแตกต่างของอัตราภาษีของข้าวทั้งสองชนิด โดยแจ้งว่าเป็นการส่งออกข้าวหักแทนที่จะเป็นข้าวสาร ดังนั้น ทางการจีนจึงระงับการนำเข้าข้าวหักในช่วงนี้เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว จึงอนุญาตให้นำเข้าได้เฉพาะข้าวสารเท่านั้น โดยต้องแจ้งให้ถูกต้อง เช่น ข้าวเมล็ดยาวก็ต้องแจ้งว่าเป็นข้าวเมล็ดยาวเท่านั้น จะแจ้งเป็นข้าวชนิดอื่นไม่ได้
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ปากีสถาน
ทางการปากีสถานระบุว่า จากการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศจีน ในปีงบประมาณ 2561/62 (1 กรกฎาคม 2561-30 มิถุนายน 2562) ปากีสถานจะส่งออกข้าวจำนวน 350,000 ตัน ไปยังประเทศจีน ซึ่งข้อตกลงนี้แยกออกจากความตกลงเขตการค้าเสรี (the Free Trade Agreement; FTA) ของทั้งสองประเทศ
ทั้งนี้ ตามข้อตกลงทางการค้าของสองฝ่าย ปากีสถานสามารถที่จะส่งออกน้ำตาล ข้าว และเส้นด้ายไปยัง ประเทศจีน โดยให้สิทธิ์แก่ผู้ที่มายื่นขอก่อน ซึ่งปากีสถานเรียกร้องมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยขอให้จีนให้สิทธิพิเศษ ในการนำเข้าผลิตภัณฑ์บางอย่างจากปากีสถาน ซึ่งจีนเคยให้แก่ประเทศบังคลาเทศ เวียดนาม อินเดีย และกลุ่มประเทศอาเซียนแล้ว
คาดว่าทั้งสองประเทศจะสามารถสรุปผลการเจรจาเขตการค้าเสรีได้ ในวันที่ 2 เมษายนนี้ ระหว่างการเดินทางเยือนของรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของจีน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการ นบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก ตันละ 500 บาท ปรับเป็น “ให้เกษตรกรได้รับตันละ 1,000 บาท และสหกรณ์ได้รับตันละ 500 บาท”
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,641 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,694 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,654 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,616 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,450 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,410 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,141 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,873 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,142 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,887 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 14 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 411 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,916 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 408 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,821 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.73 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 95 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,670 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,570 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 100 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 414 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,016 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 411 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,916 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 100 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.4398
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย-บรูไน
ข้าวเป็นสินค้าสำคัญสำหรับการดำรงชีพของชาวบรูไน แต่ด้วยปริมาณการบริโภคในประเทศที่เกินศักยภาพการผลิต ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ เห็นได้จากในปี 2559 บรูไนเพาะปลูกข้าวเพียงร้อยละ 4.5 ของการบริโภค
ในประเทศ ส่งผลให้รัฐบาลมีแนวคิดส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวในประเทศ เพื่อการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร โดยตั้งเป้าเพิ่มผลผลิตให้ได้ร้อยละ 20 ในปี 2563
ปัจจุบัน บรูไนนำเข้าข้าวจากทั้งไทยและกัมพูชาซึ่งการนำเข้าข้าวจากไทยมีมานานกว่า 10 ปี ที่ผ่านมาภาคเอกชนผู้ส่งออกข้าว และหน่วยงานทางการเกษตรของไทย ให้ความช่วยเหลือด้านการเพาะปลูกข้าวและทำการปศุสัตว์ โดยให้ข้อแนะนำเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าว การจัดการน้ำ และพัฒนาดินแก่บรูไน ซึ่งนับว่าเป็นการช่วยรักษาตลาดข้าวของไทย ให้ยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคบรูไน ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้นในภูมิภาค และแสดงถึงไมตรีจิตในฐานะมิตรประเทศในอาเซียนที่จะส่งผลดีถึงความสัมพันธ์ระหว่างบรูไนและไทยต่อไปในอนาคต
จากความช่วยเหลือที่ผ่านมา บรูไนจึงมีความประสงค์ที่จะร่วมมือกับไทยต่อไปเพื่อเพิ่มผลผลิต โดยได้จัดตั้ง “โครงการ Kandol” ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการจำแนกพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสม สำหรับการทำนาข้าวเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ จากการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยละเอียดเมื่อปี 2554 พบว่า มีพื้นที่เหมาะสมสำหรับการทำนาทั้งหมด 500 เฮกตาร์ เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ ลักษณะเป็นดินตะกอนเกิดจากการทับถมจากแม่น้ำ 3 สาย
มีระบบจัดส่งน้ำ ระบบไฟฟ้า และถนนตัดสู่ถนนใหญ่ในระยะทาง 10 กิโลเมตร
รัฐบาลบรูไนจึงมีแผนลงทุนเตรียมพื้นที่ทั้งหมด จากเดิมซึ่งเป็นป่าไม้ให้เป็นที่ราบ ทำการก่อสร้างถนน รวมถึงระบบระบายน้ำและคันนา โดยมอบหมายให้บริษัท Darussaiam Assets ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนของรัฐบาลบรูไน ภายใต้กระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ จัดตั้งบริษัทใหม่ชื่อ PaddyCo เพื่อพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่ดังกล่าว และประสงค์จะแสวงหาพันธมิตรร่วมลงทุน (Technical Partner) เพื่อทำหน้าที่บริหารพื้นที่การเกษตรร่วมกับ Darussaiam Assets ในการให้คำปรึกษาทางวิชาการ ออกแบบจัดเตรียมพื้นที่เพาะปลูก รวมถึงเพาะปลูกข้าว และผลิตข้าวให้มีปริมาณตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรพื้นฐานและการท่องเที่ยวบรูไน ได้เชิญชวนให้ภาคเอกชนไทยมาร่วมลงทุนในบรูไน โดยเฉพาะในด้านการเกษตรและการเพาะปลูกข้าว เนื่องจากบรูไนยังไม่มีความเชี่ยวชาญทางการเกษตร ต้องการหาหุ้นส่วนที่มีศักยภาพ ซึ่งรัฐบาลบรูไนพร้อมจะให้สัมปทานที่ดินกับบริษัทที่สนใจ โดยเอกชนสามารถร่วมหุ้นกับ Darussaiam Assets เพื่อปลูกข้าว ซึ่งหากมีภาคเอกชนไทยที่สนใจจะลงทุนด้านการเกษตรในพื้นที่โครงการ ทางบรูไนยินดีที่จะสนับสนุนเพื่อสร้างความร่วมมือต่อไป
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจบรูไน แจ้งว่า ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนจากเวียดนามและกัมพูชาให้ความสนใจในโครงการดังกล่าว แต่เนื่องจากไทยเป็นประเทศชั้นนำทางการเกษตรและมีความชำนาญ ตลอดจนมีความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกัน ประกอบกับไทยให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรหลายด้าน จึงประสงค์ที่จะเชิญผู้ประกอบการด้านการเกษตรไทยเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการฯ ข้างต้น ซึ่งถือเป็นโอกาสของภาคธุรกิจการเกษตรของไทย
ที่จะมีความร่วมมือกับบรูไนทั้งในเชิงธุรกิจ และการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารของบรูไนต่อไป
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
เมียนมาร์
สหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ (The Myanmar Rice Federation; MRF) เรียกร้องให้รัฐบาลอำนวยความสะดวก
ในการทำข้อตกลงที่จะเพิ่มโควตาการส่งออกข้าวอย่างเป็นทางการไปยังประเทศจีน โดยขอให้รัฐบาลเร่งเจรจาเพื่อเพิ่ม
จำนวนโควตาข้าวของเมียนมาร์ที่จะส่งไปยังประเทศจีนในปริมาณมากขึ้นจากเดิมที่ได้โควตาปีละ 100,000 ตัน (ลงนามไว้เมื่อปี 2559) เป็น 400,000 ตัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนทางแนวชายแดนมีปัญหาค่อนข้างมาก และมีความไม่แน่นนอน ขณะที่บางส่วนต้องยอมส่งออกข้าวอย่างผิดกฎหมาย เพราะมีโควตาไม่เพียงพอ
มีรายงานว่า ทางการจีนระงับการนำเข้าข้าวหักจากประเทศเมียนมาร์ที่ผ่านแนวชายแดน ขณะที่ข้อเท็จจริงคือใบอนุญาตส่งออกข้าวสามารถแบ่งออกเป็นใบอนุญาตข้าวหัก ใบอนุญาตข้าวเมล็ดยาว และใบอนุญาตข้าวเมล็ดสั้น
ทั้งนี้ ทางการจีนอนุญาตให้มีการนำเข้าข้าวผ่านแนวชายแดน แต่ผู้ค้าข้าวเมียนมาร์ส่งออกข้าวภายใต้รายการข้าวหัก
ซึ่งจะเสียภาษี (the export tax) ในอัตราเพียงร้อยละ 5 (สำหรับข้าวหัก) ขณะที่อัตราภาษีของข้าวสารอยู่ที่ร้อยละ
50-60 ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ผู้ค้าข้าวอาศัยความแตกต่างของอัตราภาษีของข้าวทั้งสองชนิด โดยแจ้งว่าเป็นการส่งออกข้าวหักแทนที่จะเป็นข้าวสาร ดังนั้น ทางการจีนจึงระงับการนำเข้าข้าวหักในช่วงนี้เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว จึงอนุญาตให้นำเข้าได้เฉพาะข้าวสารเท่านั้น โดยต้องแจ้งให้ถูกต้อง เช่น ข้าวเมล็ดยาวก็ต้องแจ้งว่าเป็นข้าวเมล็ดยาวเท่านั้น จะแจ้งเป็นข้าวชนิดอื่นไม่ได้
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ปากีสถาน
ทางการปากีสถานระบุว่า จากการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศจีน ในปีงบประมาณ 2561/62 (1 กรกฎาคม 2561-30 มิถุนายน 2562) ปากีสถานจะส่งออกข้าวจำนวน 350,000 ตัน ไปยังประเทศจีน ซึ่งข้อตกลงนี้แยกออกจากความตกลงเขตการค้าเสรี (the Free Trade Agreement; FTA) ของทั้งสองประเทศ
ทั้งนี้ ตามข้อตกลงทางการค้าของสองฝ่าย ปากีสถานสามารถที่จะส่งออกน้ำตาล ข้าว และเส้นด้ายไปยัง ประเทศจีน โดยให้สิทธิ์แก่ผู้ที่มายื่นขอก่อน ซึ่งปากีสถานเรียกร้องมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยขอให้จีนให้สิทธิพิเศษ ในการนำเข้าผลิตภัณฑ์บางอย่างจากปากีสถาน ซึ่งจีนเคยให้แก่ประเทศบังคลาเทศ เวียดนาม อินเดีย และกลุ่มประเทศอาเซียนแล้ว
คาดว่าทั้งสองประเทศจะสามารถสรุปผลการเจรจาเขตการค้าเสรีได้ ในวันที่ 2 เมษายนนี้ ระหว่างการเดินทางเยือนของรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของจีน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.07 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.46 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.39
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.03 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.16 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.23 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 295.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,294 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 298.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,383 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 89 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 376.52 เซนต์ (4,723 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 372.68 เซนต์ (4,674 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 49 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 31.55 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.62 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.33 ล้านไร่ ผลผลิต 29.37 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.53 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.68 ร้อยละ 7.42 และร้อยละ 2.55 ตามลำดับ โดยเดือนมีนาคม 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 8.25 ล้านตัน (ร้อยละ 26.15 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 21.14 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดมาก แต่ราคามันสำปะหลังยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง สำหรับลานมันเส้นเปิดดำเนินการไม่มาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.14 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.47
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.25 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.35 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.87
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.32 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.28 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.64
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.75 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.63 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.88
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 220 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,917 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (6,913 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 463 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,557 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 458 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,392 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.09
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.682 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.303 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.572 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.283 ล้านตัน ของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 7.00 และร้อยละ 7.07 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.17 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.12 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.36
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 14.90 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 14.78 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.81
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนมิถุนายน 2562 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 2,140 ริงกิตต่อตัน (526.19 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 1.3 ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลงมากที่สุดตั้งแต่ 14 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา สำหรับภาพรวมผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะเดียวกันสัญญาซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบในเดือนพฤษภาคม 2562 ของน้ำมันพืชถั่วเหลืองปรับตัวลดลงร้อยละ 1.2 และราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวลดลงร้อยละ 1.1 อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,041.67 ดอลลาร์มาเลเซีย (16.13 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,080.35 ดอลลาร์มาเลเซีย (16.39 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.86
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 518.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.50 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 524.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.71 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.24
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและการผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 จนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2562 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 112,570,547 ตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 12,252,487 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 9,722,334 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 2,530,153 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.47 ซี.ซี.เอส. ผลผลิต น้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 108.84 กก.ต่อตันอ้อย
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
คาดการณ์ผลผลิตอ้อยของบราซิล
บราซิล รายงานว่า ในปี 2562/2563 ทางภาคกลาง-ใต้ของบราซิลปริมาณอ้อยเข้าหีบอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 580-590 ล้านตัน จาก 572 ล้านตัน ในปี 2561/2562 เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและการผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 จนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2562 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 112,570,547 ตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 12,252,487 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 9,722,334 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 2,530,153 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.47 ซี.ซี.เอส. ผลผลิต น้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 108.84 กก.ต่อตันอ้อย
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
คาดการณ์ผลผลิตอ้อยของบราซิล
บราซิล รายงานว่า ในปี 2562/2563 ทางภาคกลาง-ใต้ของบราซิลปริมาณอ้อยเข้าหีบอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 580-590 ล้านตัน จาก 572 ล้านตัน ในปี 2561/2562 เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย
ถั่วเหลือง
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.19 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 23.96 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.96
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 889.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 889.40 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 825.60 ดอลลาร์สหรัฐ (25.96 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 825.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 793.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.95 บาท/กิโลกรัม) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ที่ราคาเฉลี่ยตันละ 793.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.94 บาท/กิโลกรัม) พบว่า ราคาในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐทรงตัว แต่ในรูปเงินบาทสูงขึ้นกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 473.40 ดอลลาร์สหรัฐ (14.88 บาท/กิโลกรัม) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนทั้งในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินบาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 883.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.76 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 883.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.75 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.19 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 23.96 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.96
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 889.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 889.40 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 825.60 ดอลลาร์สหรัฐ (25.96 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 825.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 793.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.95 บาท/กิโลกรัม) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ที่ราคาเฉลี่ยตันละ 793.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.94 บาท/กิโลกรัม) พบว่า ราคาในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐทรงตัว แต่ในรูปเงินบาทสูงขึ้นกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 473.40 ดอลลาร์สหรัฐ (14.88 บาท/กิโลกรัม) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนทั้งในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินบาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 883.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.76 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 883.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.75 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.16 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.40 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 6.77
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.16 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.40 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 6.77
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 76.97 เซนต์ (กิโลกรัมละ 54.06 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 75.82 เซนต์ (กิโลกรัมละ 53.24 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.82 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,681 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,620 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.77
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,347 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,315 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.43
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 842 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,347 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,315 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.43
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 842 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะอากาศที่เริ่มร้อนขึ้นทำให้สุกรเจริญเติบโตช้า ส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 67.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 66.52 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.46 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 68.08 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 70 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะอากาศที่เริ่มร้อนขึ้นทำให้สุกรเจริญเติบโตช้า ส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 67.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 66.52 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.46 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 68.08 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 70 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อใกล้เคียงและสอดรับกับผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.64 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.10 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อใกล้เคียงและสอดรับกับผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.64 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.10 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ภาวะตลาดไข่ไก่ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงและสอดคล้องกับความต้องการบริโภคไข่ไก่ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 261 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 260 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 294 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 244 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัปดาห์นี้ภาวะตลาดไข่ไก่ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงและสอดคล้องกับความต้องการบริโภคไข่ไก่ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 261 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 260 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 294 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 244 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 324 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 329 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.52 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 340 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 333 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 295 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 370 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 324 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 329 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.52 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 340 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 333 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 295 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 370 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.31 โดยเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.69 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.51 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 86.72 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.31 โดยเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.69 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.51 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 86.72 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.48 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.48 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 22 -28 มีนาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.80 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 71.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.43 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.39 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 88.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัมเฉลี่ยกิโลกรัมละ151.12 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 149.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.08 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.71 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.71 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.35 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 14.04 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 25.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.06 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.06 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 15 -21 มีนาคม 2562) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 22 -28 มีนาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.80 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 71.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.43 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.39 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 88.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัมเฉลี่ยกิโลกรัมละ151.12 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 149.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.08 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.71 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.71 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.35 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 14.04 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 25.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.06 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.06 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 15 -21 มีนาคม 2562) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา