- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 15-21 มีนาคม 2562
ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการ นบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
ตันละ 500 บาท ปรับเป็น “ให้เกษตรกรได้รับตันละ 1,000 บาท และสหกรณ์ได้รับตันละ 500 บาท”
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,694 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,720 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,616 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,620 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,410 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,250 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,142 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,887 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,144 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,965 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 78 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 408 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,821 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 405 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,773 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 48 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,570 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 398 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,512 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 58 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 411 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,916 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 405 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,732 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 184 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.4246
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2561/62 ณ เดือนมีนาคม 2562
ว่าจะมีผลผลิต 501.565 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 495.867 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.15
จากปี 2560/61
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2561/62 ณ เดือนมีนาคม 2562 มีปริมาณผลผลิต 501.565 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2560/61 ร้อยละ 1.15 การใช้ในประเทศ 491.972 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก ปี 2560/61 ร้อยละ 1.91 การส่งออก/นำเข้า 47.849 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2560/61ร้อยละ 0.58 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 172.190 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 2560/61 ร้อยละ 5.90
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ รัสเซีย อาร์เจนตินา จีน สหรัฐอเมริกา เวียดนาม อินเดีย
กายานา แอฟริกาใต้ อุรุกวัย สหภาพยุโรป และพม่า
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ บราซิล กัมพูชา ไทย ปากีสถาน และปารากวัย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บราซิล เบนิน เซเนกัล ฟิลิปปินส์ อิรัก มาเลเซีย ไนจีเรีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรส เบอร์กินา คาเมรูน เคนย่า เนปาล ไอเวอรี่โคสต์ สหรัฐอเมริกา ซาอุดิอาระเบีย เม็กซิโก กินี ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย เวเนซุเอลา โมแซมบิค อิหร่าน กานา และจีน
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ ไทย อินเดีย จีน และปากีสถาน
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย (นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์) เผยว่า ขณะนี้ผู้ส่งออกข้าวไทยได้หารือกับผู้ส่งออกข้าวเวียดนามเพื่อทำหนังสือให้รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ ยื่นประท้วงอินเดียกรณีใช้นโยบายการอุดหนุนการส่งออกข้าว 5% เช่น ข้าวกล้อง ข้าวนึ่ง ข้าวหัก ในอัตราร้อยละ 5 ของราคาส่งออก ซึ่งถือว่าเป็นการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากผู้ประกอบการจากอินเดียสามารถส่งออกข้าวได้ในราคาที่ต่ำ เพราะมีรัฐบาลช่วยเหลือ ดังนั้นหากภาครัฐและเอกชนไม่ร่วมกันกดดัน จะทำให้ไทยส่งออกข้าวลำบาก และกล่าวว่า “ที่ผ่านมาได้หารือกับผู้ส่งออกข้าวของเวียดนาม โดยมีความเห็นว่า การอุดหนุนผู้ส่งออกข้าวอินเดีย 5% นั้น ไม่เป็นธรรมต่อการแข่งขัน แม้ว่าอินเดียอ้างว่าจะไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การการค้าโลก (WTO) อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ส่งออกข้าวไทยได้ทำเรื่องไปยังกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศแล้ว คงต้องรอภาครัฐพิจารณาว่าผิดหลัก WTO หรือไม่ และภาครัฐจะยื่นประท้วงอินเดียได้หรือไม่”
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม) กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยร่วมกับสมาชิก WTO เช่น นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ได้สอบถามเจ้าหน้าที่จากอินเดียระหว่างประชุมคณะกรรมการเกษตรสมัยสามัญของ WTO ที่นครเจนีวา ถึงกรณีที่อินเดียใช้มาตรการกระตุ้นการส่งออกข้าวด้วยการให้เงินอุดหนุนร้อยละ 5 เพื่อจูงใจผู้ส่งออก โดยจะเริ่มใช้ระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 – 25 มีนาคม 2562 เนื่องจากไม่เป็นธรรมทางการค้า ซึ่งอินเดียได้ชี้แจงในที่ประชุมว่า มาตรการดังกล่าวเป็นการอุดหนุนการส่งออกเพื่อลดต้นทุนด้านการตลาดและค่าขนส่ง
ในประเทศ เป็นการอุดหนุนการส่งออก ที่ยกเว้นให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถทำได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ , หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวขาว 5% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาทรงตัวที่ตันละ 355 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่รัฐบาลยังคงมาตรการรับซื้อข้าวเพื่อเก็บสต็อกไว้ในช่วงที่ผลผลิตข้าวฤดูหนาวบริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงออกสู่ตลาดมาก โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดสูงสุดในช่วงนี้
สมาคมอาหารเวียดนาม (the Vietnam Food Association) คาดว่า ปีนี้อิรักจะซื้อข้าวจากเวียดนามประมาณ 300,000 ตัน หลังจากตกลงซื้อไปแล้วประมาณ 120,000 ตัน และเมื่อเร็วๆ นี้ มาเลเซียได้ตกลงซื้อข้าวขาว 5%
เพิ่มอีก 25,000 ตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เมียนมาร์
สหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ (Myanmar Rice Federation; MRF) เชิญชวนให้บริษัทที่เป็นสมาชิกสมัครเข้าร่วมโครงการส่งออกข้าวภายใต้สัญญาขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (government-to-government; G to G) โดยบริษัทสมาชิกที่สนใจสามารถยื่นสมัครได้ภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้ โดยบริษัทนั้นๆ ต้องแจ้งรายละเอียดที่ตั้งของคลังสินค้า ความสามารถในการเก็บรักษา และชนิดข้าวที่ต้องการจะส่งออกด้วย นอกจากนี้ สหพันธ์กำลังพยายามช่วยเหลือสมาชิก
ในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการส่งออกด้วย
ทั้งนี้ การประชุมสองฝ่ายระหว่างหน่วยงานของทั้งสองประเทศ (the Second China Myanmar Economic Corridor Forum) ณ มณฑลยูนานของจีน เมื่อเดือนที่ผ่านมา ผู้แทนการเจรจาของรัฐบาลเมียนมาร์ ได้ขอให้รัฐบาลจีนเพิ่มโควตานำเข้าข้าวจากเดิมปีละ 100,000 ตัน เป็น 400,000 ตัน ซึ่งได้ร่างข้อตกลงแล้ว แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด นอกจากนี้ ทางการเมียนมาร์ยังต้องการให้ทางการจีนปรับลดภาษีนำเข้าข้าวจากเมียนมาร์ จากเดิมที่ประมาณร้อยละ 60 เหลือเพียงร้อยละ 17-20 รวมทั้งขอให้มีการจัดสรรใบอนุญาตนำเข้าให้แก่เอกชนของจีน เพื่อนำเข้าข้าวจากเมียนมาร์ด้วย
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการ นบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
ตันละ 500 บาท ปรับเป็น “ให้เกษตรกรได้รับตันละ 1,000 บาท และสหกรณ์ได้รับตันละ 500 บาท”
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,694 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,720 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,616 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,620 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,410 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,250 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,142 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,887 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,144 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,965 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 78 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 408 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,821 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 405 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,773 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 48 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,570 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 398 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,512 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 58 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 411 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,916 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 405 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,732 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 184 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.4246
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2561/62 ณ เดือนมีนาคม 2562
ว่าจะมีผลผลิต 501.565 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 495.867 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.15
จากปี 2560/61
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2561/62 ณ เดือนมีนาคม 2562 มีปริมาณผลผลิต 501.565 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2560/61 ร้อยละ 1.15 การใช้ในประเทศ 491.972 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก ปี 2560/61 ร้อยละ 1.91 การส่งออก/นำเข้า 47.849 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2560/61ร้อยละ 0.58 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 172.190 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 2560/61 ร้อยละ 5.90
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ รัสเซีย อาร์เจนตินา จีน สหรัฐอเมริกา เวียดนาม อินเดีย
กายานา แอฟริกาใต้ อุรุกวัย สหภาพยุโรป และพม่า
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ บราซิล กัมพูชา ไทย ปากีสถาน และปารากวัย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บราซิล เบนิน เซเนกัล ฟิลิปปินส์ อิรัก มาเลเซีย ไนจีเรีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรส เบอร์กินา คาเมรูน เคนย่า เนปาล ไอเวอรี่โคสต์ สหรัฐอเมริกา ซาอุดิอาระเบีย เม็กซิโก กินี ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย เวเนซุเอลา โมแซมบิค อิหร่าน กานา และจีน
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ ไทย อินเดีย จีน และปากีสถาน
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย (นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์) เผยว่า ขณะนี้ผู้ส่งออกข้าวไทยได้หารือกับผู้ส่งออกข้าวเวียดนามเพื่อทำหนังสือให้รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ ยื่นประท้วงอินเดียกรณีใช้นโยบายการอุดหนุนการส่งออกข้าว 5% เช่น ข้าวกล้อง ข้าวนึ่ง ข้าวหัก ในอัตราร้อยละ 5 ของราคาส่งออก ซึ่งถือว่าเป็นการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากผู้ประกอบการจากอินเดียสามารถส่งออกข้าวได้ในราคาที่ต่ำ เพราะมีรัฐบาลช่วยเหลือ ดังนั้นหากภาครัฐและเอกชนไม่ร่วมกันกดดัน จะทำให้ไทยส่งออกข้าวลำบาก และกล่าวว่า “ที่ผ่านมาได้หารือกับผู้ส่งออกข้าวของเวียดนาม โดยมีความเห็นว่า การอุดหนุนผู้ส่งออกข้าวอินเดีย 5% นั้น ไม่เป็นธรรมต่อการแข่งขัน แม้ว่าอินเดียอ้างว่าจะไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การการค้าโลก (WTO) อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ส่งออกข้าวไทยได้ทำเรื่องไปยังกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศแล้ว คงต้องรอภาครัฐพิจารณาว่าผิดหลัก WTO หรือไม่ และภาครัฐจะยื่นประท้วงอินเดียได้หรือไม่”
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม) กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยร่วมกับสมาชิก WTO เช่น นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ได้สอบถามเจ้าหน้าที่จากอินเดียระหว่างประชุมคณะกรรมการเกษตรสมัยสามัญของ WTO ที่นครเจนีวา ถึงกรณีที่อินเดียใช้มาตรการกระตุ้นการส่งออกข้าวด้วยการให้เงินอุดหนุนร้อยละ 5 เพื่อจูงใจผู้ส่งออก โดยจะเริ่มใช้ระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 – 25 มีนาคม 2562 เนื่องจากไม่เป็นธรรมทางการค้า ซึ่งอินเดียได้ชี้แจงในที่ประชุมว่า มาตรการดังกล่าวเป็นการอุดหนุนการส่งออกเพื่อลดต้นทุนด้านการตลาดและค่าขนส่ง
ในประเทศ เป็นการอุดหนุนการส่งออก ที่ยกเว้นให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถทำได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ , หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวขาว 5% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาทรงตัวที่ตันละ 355 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่รัฐบาลยังคงมาตรการรับซื้อข้าวเพื่อเก็บสต็อกไว้ในช่วงที่ผลผลิตข้าวฤดูหนาวบริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงออกสู่ตลาดมาก โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดสูงสุดในช่วงนี้
สมาคมอาหารเวียดนาม (the Vietnam Food Association) คาดว่า ปีนี้อิรักจะซื้อข้าวจากเวียดนามประมาณ 300,000 ตัน หลังจากตกลงซื้อไปแล้วประมาณ 120,000 ตัน และเมื่อเร็วๆ นี้ มาเลเซียได้ตกลงซื้อข้าวขาว 5%
เพิ่มอีก 25,000 ตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เมียนมาร์
สหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ (Myanmar Rice Federation; MRF) เชิญชวนให้บริษัทที่เป็นสมาชิกสมัครเข้าร่วมโครงการส่งออกข้าวภายใต้สัญญาขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (government-to-government; G to G) โดยบริษัทสมาชิกที่สนใจสามารถยื่นสมัครได้ภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้ โดยบริษัทนั้นๆ ต้องแจ้งรายละเอียดที่ตั้งของคลังสินค้า ความสามารถในการเก็บรักษา และชนิดข้าวที่ต้องการจะส่งออกด้วย นอกจากนี้ สหพันธ์กำลังพยายามช่วยเหลือสมาชิก
ในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการส่งออกด้วย
ทั้งนี้ การประชุมสองฝ่ายระหว่างหน่วยงานของทั้งสองประเทศ (the Second China Myanmar Economic Corridor Forum) ณ มณฑลยูนานของจีน เมื่อเดือนที่ผ่านมา ผู้แทนการเจรจาของรัฐบาลเมียนมาร์ ได้ขอให้รัฐบาลจีนเพิ่มโควตานำเข้าข้าวจากเดิมปีละ 100,000 ตัน เป็น 400,000 ตัน ซึ่งได้ร่างข้อตกลงแล้ว แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด นอกจากนี้ ทางการเมียนมาร์ยังต้องการให้ทางการจีนปรับลดภาษีนำเข้าข้าวจากเมียนมาร์ จากเดิมที่ประมาณร้อยละ 60 เหลือเพียงร้อยละ 17-20 รวมทั้งขอให้มีการจัดสรรใบอนุญาตนำเข้าให้แก่เอกชนของจีน เพื่อนำเข้าข้าวจากเมียนมาร์ด้วย
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ตารางผลผลิตข้าวโลก ตารางบัญชีสมดุลข้าวโลก
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.09 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.46 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.57 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.67
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.14 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.23 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.33 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 298.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,383 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 302.50 ดอลลาร์สหรัฐ (9,510 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.29 แต่ลดลง ในรูปของเงินบาทตันละ 127 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2562/63 ว่ามี 1,133.79 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,085.71 ล้านตัน ในปี 2561/62 ร้อยละ 4.43 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ ญี่ปุ่น แคนนาดา เวียดนาม อาร์เจนตินา อินโดนีเซีย ไนจีเรีย อิหร่าน และเกาหลีใต้ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 164.63 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 150.67 ล้านตัน ในปี 2561/62 ร้อยละ 9.27 โดยบราซิล ยูเครน อาร์เจนตินา เซอร์เบีย และปารากวัย ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เม็กซิโก เวียดนาม เกาหลีใต้ อียิปต์ อิหร่าน โคลัมเบีย จีน ซาอุดิอาระเบีย แอลจีเรีย มาเลเซีย ชิลี บังกลาเทศ สาธารณรัฐโดมินิกัน กัวเตมาลา ตูนิเซีย สหรัฐอเมริกา และบราซิล มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 372.68 เซนต์ (4,674 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 365.68 เซนต์ (4,588 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.91 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 86 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.40 ล้านไร่ ผลผลิต 29.97 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.57 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.03 ล้านไร่ ผลผลิต 27.88 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.61 ร้อยละ 7.50 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ โดยเดือนมีนาคม 2562
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 7.84 ล้านตัน (ร้อยละ 26.15 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 20.08 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น แต่ราคามันสำปะหลังยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง สำหรับลานมันเส้นเปิดดำเนินการไม่มาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.14 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.13 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.47
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.43 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.47
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.28 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.19 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.45
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.63 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.55 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.45
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 220 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,913 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 218 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,853 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.92
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 458 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,392 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (14,399 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.682 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.303 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.572 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.283 ล้านตัน ของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 7.00 และร้อยละ 7.07 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.12 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 14.78 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 14.65 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.89
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มของมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้น
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 2,172 ริงกิตต่อตัน (534.98 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งส่งผลกระทบให้ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง ประกอบกับค่าเงินริงกิตของมาเลเซียแข็งค่าขึ้นส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวสูงขึ้น สำหรับการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียในช่วง 1- 20 วันแรกของเดือนมีนาคม 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบจะปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 2,190 - 2,227 ริงกิตต่อตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,080.35 ดอลลาร์มาเลเซีย (16.39 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,971.13 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.54
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 524.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.71 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 528.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.83 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.69
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
ถั่วเหลือง
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.96 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 24.66 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.84
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 889.40 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 888.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.01 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 825.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 824.60 ดอลลาร์สหรัฐ (25.99 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 793.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 792.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.99 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 473.40 ดอลลาร์สหรัฐ (14.88 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 473.20 ดอลลาร์สหรัฐ (14.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 883.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.75 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 882.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.81 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.96 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 24.66 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.84
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 889.40 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 888.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.01 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 825.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 824.60 ดอลลาร์สหรัฐ (25.99 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 793.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 792.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.99 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 473.40 ดอลลาร์สหรัฐ (14.88 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 473.20 ดอลลาร์สหรัฐ (14.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 883.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.75 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 882.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.81 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.16 บาท
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.88 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 2.09
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.16 บาท
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.88 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 2.09
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 75.82 เซนต์ (กิโลกรัมละ 53.24 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 74.31 เซนต์ (กิโลกรัมละ 52.21 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.03และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.03 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,620 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,613 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.43
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,315 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,302 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.00
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 842 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,315 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,302 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.00
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 842 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดสอดคล้องกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะ ทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 66.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 66.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.51 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.48 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 68.23 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 70 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดสอดคล้องกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะ ทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 66.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 66.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.51 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.48 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 68.23 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 70 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อใกล้เคียงและสอดคล้องกับผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.41 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.64 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.86 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์ไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อใกล้เคียงและสอดคล้องกับผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.41 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.64 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.86 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ค่อนข้างทรงตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 260 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 261 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 243 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ค่อนข้างทรงตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 260 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 261 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 243 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 324 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 325 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.31 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 333 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 305 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 344 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 324 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 325 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.31 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 333 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 305 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 344 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.92 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.32 โดยเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.63 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 84.90 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.41 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.92 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.32 โดยเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.63 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 84.90 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.41 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.02 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.02 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 15 -21 มีนาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.80 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.43 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.57 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.61 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัมเฉลี่ยกิโลกรัมละ149.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 150.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.17 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.82 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 78.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.51 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.06 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.19 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 15 -21 มีนาคม 2562) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 15 -21 มีนาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.80 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.43 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.57 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.61 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัมเฉลี่ยกิโลกรัมละ149.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 150.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.17 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.82 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 78.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.51 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.06 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.19 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 15 -21 มีนาคม 2562) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา