สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 28 ก.ย.-4 ต.ค. 61

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการ นบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561
ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,881 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,161 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,616 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,550 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.1346
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          เวียดนาม
          ภาวะราคาข้าวขาว 5% ปรับตัวอยู่ที่ตันละ 400-405 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นจากตันละ 395-405 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากช่วงนี้เริ่มมีความต้องการข้าวจากประเทศฟิลิปปินส์เข้ามา ขณะที่วงการค้าคาดว่าราคาข้าวยังมีแนวโน้มปรับตัว
สูงขึ้นจากภาวะอุปทานข้าวในตลาดมีจำกัด และคาดว่าจะมีความต้องการข้าวจากต่างประเทศอย่างต่อเนี่อง
          สำนักข่าว Reuters รายงานว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-กันยายน) เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 4.93 ล้านตัน มูลค่า 2.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 และร้อยละ 22 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 400,000 ตัน ลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับ 516,000 ตัน ในเดือนกันยายน 2560
          สำนักงานพัฒนาการตลาดและสินค้าเกษตรแปรรูป (the Agro Processing and Market Development Authority) ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (the Ministry of Agriculture and Rural Development) คาดว่า การส่งออกข้าว
จะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายปีนี้จากการที่ภาวะความต้องการข้าวในตลาดโลกมีทิศทางดีขึ้น ประกอบกับเวียดนามมีการปรับโครงสร้างการผลิตข้าวที่เน้นการผลิตข้าวคุณภาพสูงและข้าวหอม เพื่อตอบสนองความต้องการ
ของตลาดมากขึ้น ซึ่งการส่งออกข้าวคุณภาพสูงคิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อย 80 ของการส่งออกทั้งหมด โดยที่ราคาส่งออกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งมีการกระจายการส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ โดยพิจารณาจากความต้องการของตลาดนั้นๆ ด้วย
          ทั้งนี้ หลังจากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้ปรับขึ้นภาษีนำเข้าข้าวภายใต้กรอบ FTA ASEAN-CHINA ซึ่งทำให้การนำเข้าข้าวจากเวียดนามมีภาษีนำเข้าเพิ่มเป็นร้อยละ 50 จากอัตราเดิมร้อยละ 5 นั้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกข้าวเหนียวไปยังประเทศจีน และทำให้ราคาข้าวเหนียวของเวียดนามลดลงมาอยู่ที่ประมาณตันละ 380 ดอลลาร์สหรัฐ จากช่วงต้นปีอยู่ที่ประมาณตันละ 530-540 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เวียดนามต้องมองหาตลาดส่งออกอื่นๆแทนที่จะพึ่งพาตลาดจีนเพียงตลาดเดียว เช่น อิรัก ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไอวอรี่โคสต์ และสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ส่งผล
ให้ขณะนี้ราคาข้าวเหนียวเริ่มปรับตัวดีขึ้น อยู่ที่ตันละประมาณ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ
          สำหรับภาวะตลาดในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้คาดว่า ความต้องการข้าวจากหลายประเทศจะมีมากขึ้น เช่น ฟิลิปปินส์คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มอีกประมาณ 500,000-800,000 ตัน ขณะที่ตลาดอินโดนีเซีย และประเทศในแถบแอฟริกาอื่นๆ ก็คาดว่าจะมีความต้องการนำเข้าเพิ่มขึ้นเช่นกัน
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          เมียนมาร์
          สหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ (Myanmar Rice Federation (MRF) ระบุว่า เมียนมาร์และจีนได้ตกลงขยายเวลา ข้อตกลงด้านพิธีสารสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary-SPS Protocol) ออกไปจนถึงปี 2563 (ทั้งสอง ประเทศลงนามพิธีสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2557) ซึ่งทำให้เมียนมาร์ยังคงสามารถส่งออกข้าวไปยังจีนได้
โดยส่งออกผ่านทางแนวชายแดนคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ส่วนการส่งออกทางเรือมีเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น
ซึ่งประเทศจีนถือเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของเมียนมาร์
          กระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ (the Commerce Ministry) รายงานว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึงวันที่ 14 กันยายน 2561 ในปีงบประมาณปัจจุบัน 2561/62 (1 เมษายน 2561-31 มีนาคม 2562) เมียนมาร์ส่งออกข้าวแล้วประมาณ 1.07 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 371.123 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบด้วยข้าวสารจำนวน 853,403 ตัน มูลค่าประมาณ 305.728 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และข้าวหักจำนวน 217,583 ตัน มูลค่าประมาณ 65.395 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่งออกทางแนวชายแดนคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 55.87 และส่งออกทางเรือในสัดส่วนร้อยละ 44.13
ซึ่งปัจจุบันเมียนมาร์ส่งออกข้าวไปยัง 42 ประเทศทั่วโลก
          ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2555/56 มีการส่งออกข้าวประมาณ 1.423 ล้านตัน มูลค่า 551 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2556/57 มีการส่งออกข้าวประมาณ 1.262 ล้านตัน มูลค่า 475 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2557/58 มีการส่งออกข้าวประมาณ 1.84 ล้านตัน มูลค่า 660 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2558/59 มีการ ส่งออกข้าวประมาณ 1.493 ล้านตัน มูลค่า 526 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2559/60 มีการส่งออกข้าวประมาณ 1.75 ล้านตัน มูลค่า 553 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และปีงบประมาณ 2560/61 มีการส่งออกข้าวประมาณ 3.576 ล้านตัน มูลค่า 1,136 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสมาพันธ์ข้าวแห่งเมียนมาร์ (Myanmar Rice Federation) คาดว่าภายในระยะเวลา 3 ปี เมียนมาร์จะส่งออกข้าวได้ถึง 4 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          ในปีงบประมาณ 2555/56 มีการส่งออกข้าวผ่านทางชายแดนคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของการ ส่งออกทั้งหมด ปีงบประมาณ 2556/57 การส่งออกข้าวผ่านทางชายแดนคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 72 ปีงบประมาณ 2557/58 การส่งออกข้าวผ่านทางชายแดนคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 77 ปีงบประมาณ 2558/59 การส่งออกข้าวผ่านทางชายแดนคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 82 และปีงบประมาณ 2559/60 การส่งออกข้าวผ่าน ทางชายแดนคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 72 ขณะที่ในปีงบประมาณ 2560/61 ที่ผ่านมา สัดส่วนการส่งออกผ่านทาง ทะเลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 48
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          ฟิลิปปินส์
          สำนักงานอาหารแห่งชาติ (The National Food Authority; NFA) ประกาศเปิดประมูลนำเข้าข้าวขาว 25% (well-milled long grain white rice) จำนวน 250,000 ตัน จากประเทศใดก็ได้ โดยหน่วยงานรัฐบาลและเอกชนสามารถเข้าร่วมการประมูลครั้งนี้ได้ ซึ่งจะมีการประชุมชี้แจงในวันที่ 5 ตุลาคม และกำหนดรับข้อเสนอในวันที่ 18 ตุลาคม ส่วนการส่งมอบข้าวจะต้องแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน
          เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สภาสำนักงานอาหารแห่งชาติ (The National Food Authority Council; NFA Council) อนุมัติให้มีการนำเข้าข้าวเพิ่มอีก 500,000 ตัน เพิ่มเติมจากที่เคยอนุมัติไปก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 4 กันยายนที่ผ่านมา
จำนวน 250,000 ตัน (รวมเป็น 750,000 ตัน) โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในปีนี้ ขณะเดียวกัน สภา NFA ยังอนุมัติให้เตรียมการนำเข้าข้าวสำหรับปีหน้าอีก 1 ล้านตัน
          ทั้งนี้ การนำเข้าข้าวจำนวน 250,000 ตัน ที่อนุมัติไปก่อนหน้านี้ (จะเปิดประมูลเป็นการทั่วไป หรือ open tender
คาดว่า จะจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้) ต้องส่งมอบแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ส่วนการประมูล
จำนวน 500,000 ตัน ก็จะเปิดประมูลเป็นการทั่วไป (open tender) เช่นเดียวกัน ซึ่งชนิดข้าวที่นำเข้าเป็นข้าวขาว 25% เท่านั้น
          สำนักงานอาหารแห่งชาติ (NFA) คาดว่า ราคาข้าวในตลาดภายในประเทศจะเริ่มอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพในช่วงสองสัปดาห์ถึง 1 เดือน นับจากนี้ โดยคาดว่าราคาขายปลีกข้าวลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 37 – 39 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 685-722 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน จากปัจจุบันที่อยู่ที่ประมาณ 40 – 42 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณ
741 – 778 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
          ปัจจุบันข้าวของ NFA ที่วางขายในตลาดคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมที่มี สัดส่วนประมาณร้อยละ 13 โดย NFA มีสต็อกข้าวอยู่ประมาณ 2.3 ล้านถุง ซึ่งเพียงพอสำหรับบริโภคประมาณ 17 วัน และคาดว่าหลังจากที่มีการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศแล้ว จะทำให้มีสต็อกข้าวเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 6 ล้านถุง
          รัฐบาลได้พยายามเรียกร้องให้ภาคเอกชนไม่ควรเก็บสต็อกข้าวไว้เพื่อเก็งกำไร แต่ควรระบายข้าวในสต็อกของตนออกมาให้เร็วที่สุด เพื่อบรรเทาภาวะขาดแคลนข้าวในประเทศ
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.69 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.53 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.45 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.33 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.19 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.70
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.02 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.78 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.73 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.52 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.34 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.16
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 289.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,306 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 284.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,142 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.97 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 164 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2
สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 364.24 เซนต์ (4,670 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 361.76 เซนต์ (4,645 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 25.00 บาท

 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.40 ล้านไร่ ผลผลิต 29.98 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.57 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.03 ล้านไร่ ผลผลิต 27.88 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.61 ร้อยละ 7.53 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ โดยเดือนตุลาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.20 ล้านตัน (ร้อยละ 4.01 ของผลผลิตทั้งหมด) ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562
จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 20.08 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.56 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.51 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.99  
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.34 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.62 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 4.98   
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.84 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.83 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.15  
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.45 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.39 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.39
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,487 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (7,500 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 508 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,324 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 505 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,256 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.59

 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกันยายนจะมีประมาณ 1.274   
ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.217 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.137 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.193 ล้านตัน ของเดือนสิงหาคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 12.05  และร้อยละ 12.44 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.85 บาท ลดลงจาก กก.ละ 3.01 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.32                                                           
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.05 บาท ลดลงจาก กก.ละ 18.30 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.37           
    
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สต็อกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียลดลงในรอบ 7 เดือน
แหล่งข่าวจากรอยเตอร์รายงานว่า เดือนกันยายน 2561 สต็อกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 2 อยู่ที่ 1.65 ล้านตัน เมื่อเทียบจากเดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 2.47 ล้านตัน จากระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน ซึ่งมีการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมาเลเซียได้ปรับลดภาษีส่งออกตั้งแต่เดือนกันยายน 2561 ลดลงเหลือร้อยละ 0 จากร้อยละ 4.5 รวมทั้งความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประเทศผู้นำเข้าประกอบกับราคาในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียจะเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม 2561 และจากการสำรวจผลผลิตปาล์มน้ำมันในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 จากเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 1.86 ล้านตัน และผลผลิตจะเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 4 ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มของมาเลเซียปรับตัวอยู่ที่ระดับ 2,100 – 2,200 ริงกิตต่อตัน 
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,126.41 ดอลลาร์มาเลเซีย  (16.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,132.66 ดอลลาร์มาเลเซีย  (16.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.29        
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 524.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (17.08 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 527.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (17.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.59              
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล 
 
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน 
  1. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ


 

 
ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
         
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 857.92 เซนต์ (10.27 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 847.76 เซนต์ (10.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.20
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 308.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.05 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 306.54 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.67
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 29.17 เซนต์ (20.94 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 28.41 เซนต์ (20.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.68


 

 
ยางพารา
 

 

 
สับปะรด
 

 
 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.20 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 26.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.08
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.80 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 12.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.67
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 813.20 ดอลลาร์สหรัฐ (26.13 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 837.00 ดอลลาร์สหรัฐ (26.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.84 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.81 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 744.60 ดอลลาร์สหรัฐ (23.93 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 743.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 588.20 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 587.20 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 425.40 ดอลลาร์สหรัฐ (13.67 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 399.80 ดอลลาร์สหรัฐ (12.87 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.40 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.80 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 800.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.73 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 799.60 ดอลลาร์สหรัฐ (25.74 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท

 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.67 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.79
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
 ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 76.27 เซนต์(กิโลกรัมละ 54.76 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 78.62 เซนต์ (กิโลกรัมละ 56.53 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.77 บาท

 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,641 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,681 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 2.38
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,378 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,383 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 0.36
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,131 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,167 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.10

 


ปศุสัตว์

 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่  ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเริ่มอ่อนตัวลงเล็กน้อย เพราะสถานศึกษาต่างๆ ทยอยปิดภาคเรียน แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย เพราะเข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  59.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.68  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 57.02 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 60.39 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 61.89 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,700 บาท (บวกลบ 60 บาท)  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานศึกษาต่างๆ เริ่มทยอยปิดภาคเรียน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไก่เนื้อลดลงเล็กน้อย  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะลดลงเล็กน้อย เพราะเข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.27 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.23  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.18 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.32 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ลดลงจากตัวละ 11.50 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 8.70
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  32.50 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ  2.02 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรยังคงทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไข่ไก่สอดรับกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะลดลงเล็กน้อย  เพราะเข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ อีกทั้งตลาดหลักไข่ไก่สถานศึกษาปิดภาคเรียน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  282 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 295 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 279 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 291 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 307 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.21

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 328 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 329 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ  0.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 350 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 3387 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 301 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  348 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.11  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.26 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 83.70 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.15 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท


 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 70.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.15  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.82 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.24 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 


 
ประมง

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 28 กันยายน – 4 ตุลาคม 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด

ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 37.17 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.17
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 89.01 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 90.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม และราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.81 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 134.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.99 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 129.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 169.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 168.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 21- 27 ก.ย. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา