- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 9-15 ก.พ. 61
ข่าวรายสัปดาห์ 9-15 ก.พ. 61
ถั่วเหลือง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,007.52 เซนต์ (11.74 บาท/กก.) สูงขึ้น จากบุชเชลละ 981.00 เซนต์ ( 11.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.70
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 362.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.48 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 333.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.57 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.59
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.78 เซนต์ (22.21 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 32.59 เซนต์ (22.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 76.10 เซนต์
(กิโลกรัมละ 53.21 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 76.53 เซนต์ (กิโลกรัมละ 53.47 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.26 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,616 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,261 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,263 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.16
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,151 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,147 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.35
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้จะเข้าสู่ช่วงเทศกาลวันตรุษจีนคาดว่าความต้องการบริโภคจะเพิ่มขึ้น แต่จากสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็นส่งผลให้สุกรเจริญเติบโตดี ทำให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดมาก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.39 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 47.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 47.84 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 49.65 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.52 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,300 (บวกลบ 46 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคมีมากขึ้นในช่วงเทศกาลวันตรุษจีน ส่งผลให้ภาวะตลาดไก่เนื้อค่อนข้างคึกคักและคล่องตัว แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.05 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.71 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 37.01 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.00 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ลดลงจากตัวละ 13.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 14.81
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่ช่วงเทศกาลวันตรุษจีน ส่งผลให้ภาวะตลาดไข่ไก่ค่อนข้างคึกคักกว่าช่วงที่ผ่านมา แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 264 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 262 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.76 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 277 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 279 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 254 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 271 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 336 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 334 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 347 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 309 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 351 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 370 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 91.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 91.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 92.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 88.19 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.71 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 99.56 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 73.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 73.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.32 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.28 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.97
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.07 ล้านไร่ ผลผลิต 28.57 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.54 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 30.94 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตลดลงร้อยละ 9.43 และ 7.66 ตามลำดับ ส่วนผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นร้อยละ 2.02 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2561
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.32 ล้านตัน (ร้อยละ 18.61 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 - มกราคม 2561) ปริมาณ 9.60 ล้านตัน (ร้อยละ 33.56 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นด้วย
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.08 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.07 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.48
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.04 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.99 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.00
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.37 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.33 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.63
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.72 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.54 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.33
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 219 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 6,853 บาท
ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 460 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 14,395 บาท
ราคาสูงขึ้นในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตันละ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 163 บาท