- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 1-7ม.ค.61
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2560 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 78.37 เซนต์
(กิโลกรัมละ 56.39 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 78.26 เซนต์ (กิโลกรัมละ 56.79 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.40 บาท
ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 958.80 เซนต์ (11.44 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 952.95 เซนต์ ( 11.52 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.61
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 315.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 313.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.70
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 33.63 เซนต์ (24.07 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 32.96 เซนต์ (23.90 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.03
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.07 ล้านไร่ ผลผลิต 28.57 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.54 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 30.94 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตลดลงร้อยละ 9.43 และ 7.66 ตามลำดับ ส่วนผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นร้อยละ 2.02 โดยเดือนมกราคม 2561
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.24 ล้านตัน (ร้อยละ 14.84 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2560) ปริมาณ 5.36 ล้านตัน (ร้อยละ 18.72 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงแป้งมันสำปะหลัง และลานมันเส้น ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.28 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.26 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.32
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.09 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.46
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2560/61
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 11 โครงการ ดังนี้
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 เห็นชอบโครงการที่ (1) ถึง (3) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบโครงการที่ (4) เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 เห็นชอบโครงการที่ (5) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการที่ (6) ถึง (8) และเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการที่ (9) และ (11)
(1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี (กข.)
(2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่) (กข.)
(3) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (กข.)
(4) โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 (ธ.ก.ส.)
(5) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (กข.)
(6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (ธ.ก.ส.)
(7) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว และปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี (ธ.ก.ส.)
(8) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก (ธ.ก.ส.)
(9) โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 (กสก.)
(10) โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561 (พด.)
(11) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561 (ปศ.)
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ -
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 30,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.2306 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การส่งออกข้าวไทยในช่วง 12 เดือนของปี 2560 (ม.ค.-ธ.ค.) ซึ่งมีสถิติล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-27 ธ.ค.2560 สามารถส่งออกได้แล้วปริมาณ 11.25 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.77 มูลค่า 4,970 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 1.68 แสน ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.83 โดยปริมาณการส่งออกดังกล่าวแม้จะยังไม่เต็มทั้งปี แต่ก็ถือเป็นสถิติการส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่ไทยมีการส่งออกข้าวมา
ทั้งนี้ ในด้านราคาส่งออกข้าวยังปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยข้าวหอมมะลิราคาตันละ 1,040 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นราคาที่สูงสุดในรอบ 5 ปี ข้าวขาว 5% ราคาตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิตันละ 14,000-17,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้าเฉลี่ยตันละ 7,600-7,800 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเฉลี่ยตันละ 9,200-11,000 บาท
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า แผนการขยายตลาดข้าวปี 2561 จะให้ความสำคัญกับการขยายตลาดข้าวในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) โดยจะเร่งรัดให้จีนรับมอบข้าวภายใต้สัญญาปัจจุบันอีก 6 แสนตันให้ครบโดยเร็ว และผลักดันให้ซื้อเพิ่มอีก 1 ล้านตัน เพราะตอนนี้รถไฟไทย-จีนก็เริ่มต้นแล้ว จีนก็น่าที่จะซื้อข้าวไทยเพิ่ม ส่วนประเทศอื่นๆ จะเน้นขายให้กับอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา บังกลาเทศ อิรัก อิหร่าน และไนจีเรีย เป็นต้น และยังมีแผนขยายตลาดข้าว โดยเน้นข้าวนวัตกรรมให้เพิ่มมากขึ้น เพราะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
จีน
กระทรวงเกษตรเผยจีนเพิ่มโควตาส่งออกข้าวจากกัมพูชาจาก 2 แสนตัน เป็น 3 แสนตัน ในปี 2561
สำนักข่าวท้องถิ่นพนมเปญโพสต์ รายงานว่า กระทรวงเกษตรของจีนได้เพิ่มโควตาการส่งออกข้าวให้กัมพูชา
จำนวน 3 แสนตัน ในปี 2561 ขณะที่ปี 2560 กัมพูชาได้รับโควตาส่งออกข้าวไปยังจีนจำนวน 2 แสนตัน ซึ่งโควตา
ในปี 2560 เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปี 2559
ทั้งนี้ ตัวเลขการส่งออกข้าวของกัมพูชาประจำปี 2560 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559
นายเฮียน แวนฮาน ผู้อำนวยการทั่วไป กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรกัมพูชา เปิดเผยว่า ปี 2560 กัมพูชา ส่งออกข้าวทั้งสิ้น 6.35 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ซึ่งส่งออกข้าวทั้งสิ้น 5.42 แสนตัน
นอกจากนี้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกข้าวของกัมพูชาเติบโตร้อยละ 67.78 จากปี 2556 ที่กัมพูชาส่งออกข้าวประมาณ 3.78 แสนตัน
นายจเรย สน รองผู้อำนวยการแคปปิตอล ฟู้ด กัมพูชา ผู้ส่งออกข้าว จ.พระตะบอง กล่าวว่า การส่งออกข้าว
ของกัมพูชาไปยังประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ยุโรปเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับการเติบโตในอนาคต อย่างไรก็ดี แม้ว่า กัมพูชาจะส่งออกข้าวเพิ่มมากขึ้น แต่ยังน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านและยังต้องพัฒนาด้านคุณภาพของ เมล็ดพันธุ์ การสร้างโกดังเก็บข้าว และการพัฒนาระบบชลประทาน ซึ่งกัมพูชาตั้งเป้าเพิ่มการส่งออกข้าวถึง 1 ล้านตัน/ปี
ขณะที่ ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบท (อาร์ดีบี) ประเทศกัมพูชา ได้จัดหาเงินสนับสนุนวงเงิน 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างโกดังเก็บผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และสร้างโรงงานอบแห้งข้าว ซึ่งได้ปล่อยเงินกู้ให้กับบริษัท 2 แห่งไปแล้ว ได้แก่ บริษัท Amru Rice สร้างโรงงาน 1 แห่ง ในจังหวัดกำปงธม และบริษัทขะแมร์ ฟู้ด กรุ๊ป สร้างโรงงาน 2 แห่ง ในจังหวัดเปรย แวง และจังหวัดตาแก้ว ทั้งนี้ คาดว่าโรงงานทั้ง 3 แห่ง จะสร้างแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ