- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 5-11 มิ.ย.60
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคอยู่ในภาวะปกติ แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 64.74 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.01 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 60.74 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.28 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.93 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 68.37 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 66 บาท) ลดลงจากตัวละ 1,900 บาท (บวกลบ 69 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.26
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 บาท บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.96
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ทรงตัว แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.16 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.24 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.55 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.69 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.50 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.67
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคที่เริ่มมีมากขึ้นและใกล้เคียงกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 271 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 270 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.37 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 263 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 270 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 291 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 339 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 338 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 360 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 318 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 96.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 96.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 93.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.95 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 95.97 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 96.45 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.99 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.50 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ข่าวสัปดาห์ วันที่ 5 - 11 มิถุนายน 2560
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,675 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,667 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.50
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,344 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,354 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.74
สับปะรด
ผลผลิต ลดลง
ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดในเดือนมิถุนายน 2560 ประมาณ 0.219 ล้านตัน หรือร้อยละ 10.72 ของปริมาณผลผลิตรวม 2.040 ล้านตัน ลดลงจากปริมาณ 0.264 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 17.09 แต่เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.204 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 7.43
การส่งออก ลดลง
ปี 2560 (มกราคม-เมษายน) มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 0.703 ล้านตันสด ลดลงจากปริมาณ 0.711 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2559 หรือลดลงร้อยละ 1.13
ราคา ลดลง
ช่วงนี้มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณวันละ 7,000 ตัน ขณะที่ความต้องการของโรงงานแปรรูปลดลง เนื่องจาก ตลาดต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สับปะรดของไทย ส่งผลให้ราคาสับปะรดโรงงานลดลง สำหรับราคาสับปะรดบริโภคลดลง เนื่องจากช่วงนี้ผลไม้ชนิดอื่นออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
โดยราคาที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ มีดังนี้
- สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 4.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.56
และลดลงจากกิโลกรัมละ 11.62 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ ผ่านมาร้อยละ 63.42
ผ่านมาร้อยละ 29.90
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี