- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 20-26 มิ.ย.59
ข่าวสัปดาห์ 20 - 26 มิ.ย. 59
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.26 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.02 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.38 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.39 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.82 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.78 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 283.40 ดอลลาร์สหรัฐ (9,909 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 283.80 ดอลลาร์สหรัฐ (9,928 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 19.00 บาท
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2559/60 ว่ามี 1,013.09 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 968.33 ล้านตันในปี 2558/59 ร้อยละ 4.62 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ และแคนาดา มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 132.25 ล้านตัน ลดลงจาก 134.59 ล้านตัน ในปี 2558/59 ร้อยละ 1.74 โดยบราซิล และปารากวัย ส่งออกลดลง ประกอบกับ ผู้นำเข้า เช่น ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป เวียดนาม ไต้หวัน อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา มีการนำเข้าลดลง (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2559 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 407.04 เซนต์ (5,672 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 428.72 เซนต์ (5,976 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.06 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 304.00 บาท
|
บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โลก(คาดคะเนเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2559) |
| |||
หน่วย : ล้านตัน | |||||
รายการ |
ปี 2559/60 |
ปี 2558/59 |
ผลต่างร้อยละ | ||
สต็อกต้นปี |
206.45 |
208.41 |
-0.94 | ||
ผลผลิต |
1,011.77 |
966.37 |
4.70 | ||
นำเข้า |
132.25 |
134.59 |
-1.74 | ||
ส่งออก |
132.25 |
134.59 |
-1.74 | ||
ใช้ในประเทศ |
1,013.09 |
968.33 |
4.62 | ||
สต็อกปลายปี |
205.12 |
206.45 |
-0.64 |
ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ
ข่าวสัปดาห์ 20-26 มิ.ย. 2559
ถั่วเขียว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,114.20 ดอลลาร์สหรัฐ (38.96 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้น
จากตันละ 1,113.40 ดอลลาร์สหรัฐ (38.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 941.80 ดอลลาร์สหรัฐ (32.93 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้น
จากตันละ 941.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,022.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.74 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,021.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.74 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข่าวรายสัปดาห์ 20-26 มิ.ย..59
ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก. ละ 14.20 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 17.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.47
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2..50
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
คาดการณ์ว่า ผลผลิตถั่วเหลืองของโลกจะสูงเป็นประวัติการณ์ โดยเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 3 การนำเข้าถั่วเหลืองเดือนนี้ไม่เปลี่ยนแปลง การส่งออกคาดว่าลดลงเนื่องจากปริมาณอุปทานที่สามารถส่งออกได้ของบราซิลและยูเครนลดลงมากกว่าปริมาณการส่งมอบล็อตใหญ่ของสหรัฐอเมริกา สต็อกทั่วโลกลดลงอย่างมีนัยสำคัญในเดือนนี้ เนื่องจากบราซิลและจีนจะเข้าสู่ตลาดโดยมีอุปทานลดลง
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,138.00 เซนต์ ( 14.79 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,164.80 เซนต์ ( 15.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.30
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 395.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 408.07 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 14.45 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.52 เซนต์ (.24.58 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 32.33 เซนต์ ( 25.22 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.51
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝนส่งผลให้หลายพื้นที่มีฝนตกชุก การซื้อขายไม่คล่องตัว ทำให้ความต้องการบริโภคชะลอตัว แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 72.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 70.63 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.53 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.08บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.47 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,600 (บวกลบ 76 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 77.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.58
สัปดาห์นี้สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อยังคงค่อนข้างเงียบเหงา ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝนส่งผลให้หลายพื้นที่มีฝนตกชุก การซื้อขายไม่คล่องตัว ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.55 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.39บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 38.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.77 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.42 บาท และภาคเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.41 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.06
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคสอดรับและใกล้เคียงกับปริมาณผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 304 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 317 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 283 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 309 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 303 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 351 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 359 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 358 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 372 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 338 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 406 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 400 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 390 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.56
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 101.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 102.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.57 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 109.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 102.82 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 98.25 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.00 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.31บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 82.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.39 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.50 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ข่าวสัปดาห์ 20-26 มิ.ย.2559
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฏาคม 2559 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 63.93 เซนต์ (กิโลกรัมละ 49.88 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 63.50 เซนต์ (กิโลกรัมละ 49.56 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.32 บาท
ข่าวสัปดาห์ วันที่ 20 - 26 มิ.ย. 2559
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,638 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,631 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.43
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,355บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,350 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.37
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,000 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,043 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.12
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี