- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 21-27 ธ.ค.58
ข่าวสัปดาห์ วันที่ 21-27 ธ.ค. 2558
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,647 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,630 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.04
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,275 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,000 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
21 - 27 ธันวาคม 2558
ยางพารา
1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ
ราคายางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควันปรับตัวลดลง โดยมีปัจจัยลบมาจากการแข็งค่าของเงินเยนและนักลงทุนชะลอการซื้อในช่วงวันหยุดคริสต์มาสและใกล้หยุดยาวในเทศกาลปีใหม่ รวมทั้งความกังวลของนักลงทุนเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและเงินบาทอยู่ในระดับอ่อนค่า ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.19 บาท ลดลงจาก 37.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.44 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.17
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.69 บาท ลดลงจาก 37.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.44 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.19
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.19 บาท ลดลงจาก 36.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.44 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.20
4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.98 บาท ลดลงจาก 19.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.58 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.97
5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.02 บาท ลดลงจาก 16.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.64 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.84
6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.27 บาท ลดลงจาก 32.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.39 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.19
ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4, ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และยางแผ่นดิบคละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมกราคม 2559
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.39 บาท ลดลงจาก 46.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.44 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.94
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.24 บาท ลดลงจาก 45.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.44 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.96
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.13 บาท ลดลงจาก 29.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.47 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.59
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.14 บาท ลดลงจาก 46.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.44 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.94
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.99 บาท ลดลงจาก 45.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.44 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.97
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.88 บาท ลดลงจาก 29.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.47 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.60
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคายางพาราซื้อขายล่วงหน้า ตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ลดลงเล็กน้อย เนื่องจาก นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และแนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง อาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับเป็นชวงเดือนสุดทายของป
ผูประกอบการชะลอการซื้อในช่วงวันหยุดคริสต์มาสและใกล้หยุดยาวในเทศกาลปีใหม่ ขณะที่ราคายางพาราซื้อขายล่วงหน้า ตลาดล่วงหน้าโตเกียวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจาก นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะมีมาตรการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2.0 รวมทั้งขานรับดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤศจิกายน ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากปีก่อนหน้า ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน และค่าเงินบาทที่อ่อนค่า
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.27 เซนต์สหรัฐฯ (44.25 บาท) ลดลงจาก 123.52 เซนต์สหรัฐฯ (44.19 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.25 เซนต์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 0.20
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 156.23 เยน (46.03 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 154.02 เยน (45.07 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 2.21 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.44
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเริ่มเข้าสู่เทศกาลคริสมาสต์เฉลิมฉลอง ส่งผลให้ความต้องการบริโภคมีมากกว่าช่วงที่ผ่านมา แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาและความต้องการจะสูงขึ้น เพราะเข้าสู่เทศกาลปีใหม่และมีวันหยุดหลายวัน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 64.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.94 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.02 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 65.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 61.43 ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,000 บาท (บวกลบ 65 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เริ่มเย็นเอื้ออำนวยให้ผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัม 38.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.80 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 39.65บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 36.24 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 39.64 บาท และภาคเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.80 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.00 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.92
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 271 บาทลดลงจากร้อยฟองละ 274 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 291 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 275 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 261 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 284 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 21.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 281 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 333 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 334 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 321 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 326 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 106.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 106.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 109.80 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 104.70 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 100.57บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 114.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 82.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.23 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.29 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ข่าวสัปดาห์ 21 - 27 ธ.ค. 58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.54 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.49 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.11 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.06 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.39 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.98 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 240.40 ดอลลาร์สหรัฐ (8,621 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 241.80 ดอลลาร์สหรัฐ (8,656 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 35.00 บาท
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2558/59 ว่ามี 970.20 ล้านตัน ลดลงจาก 975.55 ล้านตันในปี 2557/58 ร้อยละ 0.55 โดยสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป เม็กซิโก อินเดีย เกาหลีใต้ และยูเครน มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลก มี 127.74 ล้านตัน ลดลงจาก 127.80 ล้านตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 0.05 โดยสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ยูเครน ปารากวัย เซอร์เบีย และสหภาพยุโรป ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก เกาหลีใต้ อิหร่าน จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม เปรู และเวเนซุเอลา มีการนำเข้าลดลง (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2559 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 368.48 เซนต์ (5,263 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 375.04 เซนต์ (5,347 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 84.00 บาท
บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โลก
(คาดคะเนเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2558)
หน่วย : ล้านตัน
รายการ |
ปี 2558/59 |
ปี 2557/58 |
ผลต่างร้อยละ |
สต็อกต้นปี |
208.19 |
174.91 |
19.03 |
ผลผลิต |
973.87 |
1,008.82 |
-3.46 |
นำเข้า |
127.74 |
127.80 |
-0.05 |
ส่งออก |
127.74 |
127.80 |
-0.05 |
ใช้ในประเทศ |
970.20 |
975.55 |
-0.55 |
สต็อกปลายปี |
211.85 |
208.19 |
1.76 |
ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ