- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 19-25 พ.ค.57
ข่าวสัปดาห์ 19-25 พ.ค.57
ฝ้าย
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนผลผลิตฝ้ายโลกปี 2556/57 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2557 มี 25.14 ล้านตัน ลดลงจาก 26.77 ล้านตัน ของปี 2555/56 ร้อยละ 6.09
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ฝ้ายโลก ปี 2556/57 ว่ามี 24.35 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 23.25 ล้านตันของปี 2555/56 ร้อยละ 4.73 ด้านการนำเข้า คาดว่าจะมี 7.90 ล้านตัน ลดลงจาก 10.06 ล้านตันของปี 2555/56 ร้อยละ 21.47 ด้านการส่งออก คาดว่าจะมี 7.90 ล้านตัน ลดลงจาก 10.17 ล้านตันของปี 2555/56 ร้อยละ 22.32
บัญชีสมดุลฝ้ายโลก
(คาดคะเนเมื่อวันที่ 10 เดือน พฤษภาคม 2557)
รายการ |
ปี 2556/57 |
ปี 2555/56 |
ผลต่างร้อยละ |
19.60 |
16.00 |
22.50 | |
ผลผลิต |
25.14 |
26.77 |
-6.09 |
นำเข้า |
7.90 |
10.06 |
-21.47 |
ส่งออก |
7.90 |
10.17 |
-22.32 |
ใช้ในประเทศ |
24.35 |
23.25 |
4.73 |
สต็อกปลายปี |
22.13 |
19.60 |
12.91 |
ที่มา : Cotton World markets and trade, USDA ประจำเดือนพฤษภาคม 2557
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2557 ทำสัญญาสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 88.81 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 63.89 บาท ลดลงจากปอนด์ละ 91.45 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 65.82 บาทในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.88 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.93 บาท
ถั่วลิสง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้งคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.62 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.69
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ (ชนิดดี) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา (ชนิดรอง) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานภาวะการผลิตถั่วลิสงโลก ปี 2556/57 ประจำเดือนพฤษภาคม 2557 ว่ามีผลผลิต 40.86 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 40.11 ล้านตัน ของปี 2555/56 คิดเป็นร้อยละ 1.87 หรือคิดเป็นร้อยละ 7.93 ของผลผลิตพืชน้ำมันของโลกรองจากถั่วเหลือง เรปซีด และเมล็ดฝ้าย ซึ่งมีปริมาณ 299.82 ล้านตัน 68.64 ล้านตัน และ 43.29 ล้านตัน ตามลำดับ
ผลผลิตและการกระจายผลผลิตถั่วลิสงโลก
รายการ |
2556/57 |
2555/56 |
ผลต่างร้อยละ |
40.86 |
40.11 |
1.87 | |
นำเข้า |
2.28 |
2.30 |
-0.87 |
ส่งออก |
2.85 |
2.68 |
6.34 |
สกัดน้ำมัน |
18.24 |
17.34 |
5.19 |
สต็อกปลายปี |
2.15 |
2.09 |
2.87 |
ผลผลิตถั่วลิสงของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ
ประเทศ |
2556/57 |
2555/56 |
ผลต่างร้อยละ |
สาธารณรัฐประชาชนจีน |
17.20 |
16.69 |
3.06 |
อินเดีย |
5.80 |
5.00 |
16.00 |
อื่น ๆ |
17.86 |
18.42 |
-3.04 |
รวม |
40.86 |
40.11 |
1.87 |
ที่มา : Oilseeds : World Market and Trade, May, 2014.
ข่าวสัปดาห์ 19 - 25 พ.ค.57
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.38 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.20 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.31 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.13 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.97 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.18 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.98 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.51
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 296.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,568 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 292.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,430 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 138 บาท
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2557/58 ว่ามี 965.77 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 948.73 ล้านตันในปี 2556/57 ร้อยละ 1.79 เนื่องจาก จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ ยูเครน อาร์เจนตินา รัสเซีย และฟิลิปปินส์ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 117.94 ล้านตัน ลดลงจาก 118.35 ล้านตันในปี 2556/57 ร้อยละ 0.35 เนื่องจาก สหรัฐอเมริกา ยูเครน และอินเดีย ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก อิหร่าน โคลัมเบีย จีน อินโดนีเซีย อิสราเอล ชิลี มีการนำเข้าลดลง (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2557 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุซเชลละ 477.00 เซนต์ (6,128 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 497.80 เซนต์ (6,402 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.18 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 274 บาท
บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โลก
(คาดคะเนเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2557)
หน่วย : ล้านตัน
รายการ |
ปี 2557/58 |
ปี 2556/57 |
ผลต่างร้อยละ |
สต็อกต้นปี |
168.42 |
138.19 |
21.88 |
ผลผลิต |
979.08 |
979.02 |
0.01 |
นำเข้า |
117.94 |
118.35 |
-0.35 |
ส่งออก |
117.94 |
118.35 |
-0.35 |
ใช้ในประเทศ |
965.77 |
948.78 |
1.79 |
สต็อกปลายปี |
181.73 |
168.42 |
7.90 |
ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ
ถั่วเขียว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่ชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันชนิดเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันชนิดเกรดบี และถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันชนิดเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,239.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,239.20 ดอลลาร์สหรัฐ (40.00 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวมันชนิดเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,145.00 ดอลลาร์สหรัฐ (36.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,145.80 ดอลลาร์สหรัฐ (36.98 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
สุกร
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ไก่เนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ไข่เป็ด
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 374 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 372 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.63 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 363 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 401 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 357 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 358 บาท
โคเนื้อ
กระบือ
19 - 25 พฤษภาคม 2557
ยางพารา
1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ
นายวิชัย จิราธิยุต ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์คนใหม่ เปิดเผยภายหลังการรับตำแหน่งว่า จะยังคงผลักดันนโยบายสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยรักษาการเป็นฐานการผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งในอาเซียนและต้องการผลิตรถยนต์ปี 2560 ให้ได้ถึง 3 ล้านคันตามเป้าหมายของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะนโยบายส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์เฟส 2) ปัจจุบันนี้ ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งของอาเซียน เป็นอันดับ 9 ของโลกและส่งออกรถยนต์เป็นอันดับ 13 ของโลก อย่างไรก็ตาม ไทยต้องพัฒนาการผลิตเพื่อรักษาฐานการผลิตเนื่องจากปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียมีอัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์สูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.08 บาท เพิ่มขึ้นจาก 59.28 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.80 บาท หรือร้อยละ 1.35
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.58 บาท เพิ่มขึ้นจาก 58.78 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.80 บาท หรือร้อยละ 1.36
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.08 บาท เพิ่มขึ้นจาก 58.28 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.80 บาท หรือร้อยละ 1.37
4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.08 บาท เพิ่มขึ้นจาก 27.81 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.27 บาท หรือร้อยละ 0.97
5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.50 บาท ลดลงจาก 24.69 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.19 บาท หรือร้อยละ 0.77
6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.85 บาท เพิ่มขึ้นจาก 56.89 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.96 บาท หรือร้อยละ 1.69
ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคายางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 , ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และ ยางแผ่นดิบคละ
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมิถุนายน 2557
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.43 บาท เพิ่มขึ้นจาก 68.22 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.21 บาทหรือร้อยละ 1.77
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.28 บาท เพิ่มขึ้นจาก 67.07 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.21 บาทหรือร้อยละ 1.80
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.98 บาท เพิ่มขึ้นจาก 46.32 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.66 บาท หรือร้อยละ 1.42
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.40 บาท เพิ่มขึ้นจาก 67.97 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.43 บาท หรือร้อยละ 2.10
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.40 บาท เพิ่มขึ้นจาก 67.00 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.40 บาท หรือร้อยละ 2.09
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.95 บาท เพิ่มขึ้นจาก 46.60 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.35 บาท หรือร้อยละ 0.75
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
อินเดียเรียกร้องรัฐบาลยกเลิกเก็บเงิน Cess
Niraj Thakkar ประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมยางพาราอินเดีย (All India Rubber Industries Association: AIRIA) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลอินเดียทบทวนการยกเลิกการเก็บเงิน Cess ในการนำเข้ายางพารา เนื่องจากอินเดียจำเป็นต้องนำเข้ายางพาราจากต่างประเทศทุกปีอันเกิดจากผลผลิตยางพาราภายในประเทศ ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ โดยปี 2556-2557(ปัจจุบัน) อินเดียขาดแคลนยางพารา (Deficit Demand)สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศถึง 133,400 ตัน ทำให้ต้องมีการนำเข้ายางพาราจากต่างประเทศ
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 210.45 เซนต์สหรัฐฯ (67.93 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 207.75 เซนต์สหรัฐฯ (67.19 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 2.70 เซนต์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 1.30
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,602 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,302 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,064 บาท เพิ่มขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 1,060 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี