- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 1-7 มีนาคม 2562
ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการดังนี้
(1) ด้านการผลิต*ได้แก่
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการนบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิสัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,874 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,723 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,446 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,542 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,250 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,290 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.5394
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
กัมพูชา
นายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เปิดเผยว่า ผู้ส่งออกข้าวในกัมพูชาควรหันมาส่งออกไปยังจีนและเวียดนาม เพื่อทดแทนตลาดในสหภาพยุโรปที่กำหนดใช้ภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าประเภทข้าวจากกัมพูชาและเมียนมาร์ รวมถึงระงับสถานะด้านสิทธิพิเศษทางการค้าชั่วคราวในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อปกป้องชาวนาในสหภาพยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณข้าวกัมพูชาและเมียนมาร์
นอกจากนี้ สหภาพยุโรปจะเก็บภาษีรูปแบบใหม่ในปีแรกจำนวน 199.5 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ก่อนจะลดลงเป็น 171 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ในปีถัดมา เมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 มาตรการดังกล่าวเป็นผลให้การส่งออกข้าวของกัมพูชาในเดือนมกราคมมีปริมาณ 59.63 ลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
นายฮุนเซน กล่าวว่า ได้กำชับกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและการค้าให้มุ่งเน้นการส่งออกข้าวไปยังจีนและเวียดนามเพื่อช่วยพยุงราคา โดยผู้ส่งออกข้าวต้องให้ความสำคัญกับการผลิตให้เพียงพอต่อการส่งออกข้าวไปยังจีน ซึ่งในปีนี้รัฐบาลจีนได้ขยายโควตาการนำเข้าข้าวจากกัมพูชาเป็น 4 แสนตัน จากเดิม 3 แสนตัน”
ทั้งนี้ ในปี 2561 กัมพูชาส่งออกข้าวจำนวน 626,225 ตัน ในตลาดโลก ลดลงจากปี 2560 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.5 โดยตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่สุดของกัมพูชา ได้แก่ สหภาพยุโรปที่มีปริมาณการนำเข้ากว่า 2.7 แสนตัน คิดเป็นร้อยละ 42.98 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด รองลงมาเป็นจีน 170,000 ตัน ตามด้วยฝรั่งเศสจำนวน 90,000 ตัน มาเลเซีย 40,000 ตัน สาธารณรัฐกาบอง จำนวน 30,000 ตัน และเนเธอร์แลนด์ 26,000 ตัน
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
เมียนมาร์
สำนักข่าวเมียนมาร์ไทม์ส รายงานอ้างเจ้าหน้าที่สมาพันธ์ข้าวเมียนมาร์รายหนึ่งว่า ทางการเมียนมาร์และจีนได้หารือกันเพื่อเพิ่มโควตาส่งออกข้าวจากเมียนมาร์ไปจีนเป็น 400,000 ตัน
เมื่อปี 2559 รัฐบาลจีนให้โควตาเมียนมาร์ส่งออกข้าวได้ 100,000 ตัน แต่ปัจจุบันบรรดาผู้ค้าข้าวเมียนมาร์ต้องการให้เพิ่มโควตาดังกล่าวอีก 300,000 ตัน
กระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ ระบุว่า ระหว่างเดือนเมษายน – ธันวาคมปีที่แล้ว ประเทศส่งออกข้าวและหักรวม 1.7 ล้านตัน มูลค่า 578 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ฮ่องกง
รายงานข้าวแจ้งว่า กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมฮ่องกงรายงานว่า ในเดือนมกราคม 2562 ฮ่องกงนำเข้าข้าวจากต่างประเทศรวมประมาณ 3.04 หมื่นตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.56 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2561 ที่นำเข้า 2.88 หมื่นตัน โดยนำเข้าจากไทยประมาณ 1.55 หมื่นตัน ลดลงร้อยละ 14.83 ประกอบด้วยข้าวขาว 700 ตัน ข้าวหอม 1.41 หมื่นตัน และข้าวชนิดอื่นๆ 700 ตัน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 51 ของปริมาณนำเข้าทั้งหมดของฮ่องกง โดยลดลงร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบกับส่วนแบ่งตลาดในช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 63.2
ทั้งนี้ ฮ่องกงนำเข้าข้าวจากเวียดนาม รองลงมาคือจากไทยซึ่งมีปริมาณ 8,700 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.35 ประกอบด้วยข้าวหอม 7,500 ตัน ข้าวขาวและข้าวชนิดอื่นๆ รวม 1,200 ตัน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 28.6 จีน ประมาณ 2,500 ตัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 8.2 กัมพูชาประมาณ 1,800 ตัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.9 โดยฮ่องกงนำเข้าข้าวจากกัมพูชาปริมาณลดลงร้อยละ 14.28 และสัดส่วนลดลงร้อยละ 19.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ออสเตรเลียประมาณ 1,100 ตัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.6 สหรัฐ 200 ตัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.7 และประเทศอื่นๆ 600 ตัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.0
สำหรับการส่งต่อข้าวของฮ่องกง (Re-export) ไปยังประเทศอื่นนั้น ในเดือนมกราคม 2562 มีปริมาณ 1,459 ตัน ลดลงร้อยละ 12.84 โดยส่งไปยังมาเก๊าจำนวน 1,323 ตัน สหรัฐฯ 71 ตัน แคนาดา 19 ตัน เป็นต้น ส่วนการเก็บข้าวในสต็อก [Closing stock (excluding reserve stock)] ฮ่องกงมีขาวอยู่ในสต็อก ณ เดือนมกราคม 2562 รวม 1.14 หมื่นตัน และมีสต็อกสำรอง (Reserve stock) จำนวน 1.37 หมื่นตัน
อย่างไรก็ตาม ในปี 2561 ฮ่องกงนำเข้าข้าวจากประเทศต่างๆ รวมประมาณ 3.08 แสนตัน ลดลงร้อยละ 1.62 โดยนำเข้าจากไทยประมาณ 1.71 แสนตัน ลดลงร้อยละ 17.1 ประกอบด้วยข้าวขาว 6,200 ตัน ข้าวหอม 1.56 แสนตัน และข้าวชนิดอื่นๆ 9,000 ตัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 55.5 ของปริมาณนำเข้าข้าวทั้งหมดหรือลดลงร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับส่วนแบ่งตลาดในช่วงเดียวกันของปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 65.9 รองลงมาคือ เวียดนาม ซึ่งฮ่องกงนำเข้าประมาณ 7.61 หมื่นตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.5 ประกอบด้วยข้าวหอม 6.78 หมื่นตัน ข้าวขาวและข้าวชนิดอื่นๆ รวม 8,300 ตัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 24.7
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการดังนี้
(1) ด้านการผลิต*ได้แก่
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการนบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิสัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,874 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,723 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,446 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,542 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,250 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,290 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.5394
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
กัมพูชา
นายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เปิดเผยว่า ผู้ส่งออกข้าวในกัมพูชาควรหันมาส่งออกไปยังจีนและเวียดนาม เพื่อทดแทนตลาดในสหภาพยุโรปที่กำหนดใช้ภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าประเภทข้าวจากกัมพูชาและเมียนมาร์ รวมถึงระงับสถานะด้านสิทธิพิเศษทางการค้าชั่วคราวในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อปกป้องชาวนาในสหภาพยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณข้าวกัมพูชาและเมียนมาร์
นอกจากนี้ สหภาพยุโรปจะเก็บภาษีรูปแบบใหม่ในปีแรกจำนวน 199.5 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ก่อนจะลดลงเป็น 171 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ในปีถัดมา เมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 มาตรการดังกล่าวเป็นผลให้การส่งออกข้าวของกัมพูชาในเดือนมกราคมมีปริมาณ 59.63 ลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
นายฮุนเซน กล่าวว่า ได้กำชับกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและการค้าให้มุ่งเน้นการส่งออกข้าวไปยังจีนและเวียดนามเพื่อช่วยพยุงราคา โดยผู้ส่งออกข้าวต้องให้ความสำคัญกับการผลิตให้เพียงพอต่อการส่งออกข้าวไปยังจีน ซึ่งในปีนี้รัฐบาลจีนได้ขยายโควตาการนำเข้าข้าวจากกัมพูชาเป็น 4 แสนตัน จากเดิม 3 แสนตัน”
ทั้งนี้ ในปี 2561 กัมพูชาส่งออกข้าวจำนวน 626,225 ตัน ในตลาดโลก ลดลงจากปี 2560 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.5 โดยตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่สุดของกัมพูชา ได้แก่ สหภาพยุโรปที่มีปริมาณการนำเข้ากว่า 2.7 แสนตัน คิดเป็นร้อยละ 42.98 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด รองลงมาเป็นจีน 170,000 ตัน ตามด้วยฝรั่งเศสจำนวน 90,000 ตัน มาเลเซีย 40,000 ตัน สาธารณรัฐกาบอง จำนวน 30,000 ตัน และเนเธอร์แลนด์ 26,000 ตัน
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
เมียนมาร์
สำนักข่าวเมียนมาร์ไทม์ส รายงานอ้างเจ้าหน้าที่สมาพันธ์ข้าวเมียนมาร์รายหนึ่งว่า ทางการเมียนมาร์และจีนได้หารือกันเพื่อเพิ่มโควตาส่งออกข้าวจากเมียนมาร์ไปจีนเป็น 400,000 ตัน
เมื่อปี 2559 รัฐบาลจีนให้โควตาเมียนมาร์ส่งออกข้าวได้ 100,000 ตัน แต่ปัจจุบันบรรดาผู้ค้าข้าวเมียนมาร์ต้องการให้เพิ่มโควตาดังกล่าวอีก 300,000 ตัน
กระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ ระบุว่า ระหว่างเดือนเมษายน – ธันวาคมปีที่แล้ว ประเทศส่งออกข้าวและหักรวม 1.7 ล้านตัน มูลค่า 578 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ฮ่องกง
รายงานข้าวแจ้งว่า กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมฮ่องกงรายงานว่า ในเดือนมกราคม 2562 ฮ่องกงนำเข้าข้าวจากต่างประเทศรวมประมาณ 3.04 หมื่นตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.56 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2561 ที่นำเข้า 2.88 หมื่นตัน โดยนำเข้าจากไทยประมาณ 1.55 หมื่นตัน ลดลงร้อยละ 14.83 ประกอบด้วยข้าวขาว 700 ตัน ข้าวหอม 1.41 หมื่นตัน และข้าวชนิดอื่นๆ 700 ตัน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 51 ของปริมาณนำเข้าทั้งหมดของฮ่องกง โดยลดลงร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบกับส่วนแบ่งตลาดในช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 63.2
ทั้งนี้ ฮ่องกงนำเข้าข้าวจากเวียดนาม รองลงมาคือจากไทยซึ่งมีปริมาณ 8,700 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.35 ประกอบด้วยข้าวหอม 7,500 ตัน ข้าวขาวและข้าวชนิดอื่นๆ รวม 1,200 ตัน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 28.6 จีน ประมาณ 2,500 ตัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 8.2 กัมพูชาประมาณ 1,800 ตัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.9 โดยฮ่องกงนำเข้าข้าวจากกัมพูชาปริมาณลดลงร้อยละ 14.28 และสัดส่วนลดลงร้อยละ 19.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ออสเตรเลียประมาณ 1,100 ตัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.6 สหรัฐ 200 ตัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.7 และประเทศอื่นๆ 600 ตัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.0
สำหรับการส่งต่อข้าวของฮ่องกง (Re-export) ไปยังประเทศอื่นนั้น ในเดือนมกราคม 2562 มีปริมาณ 1,459 ตัน ลดลงร้อยละ 12.84 โดยส่งไปยังมาเก๊าจำนวน 1,323 ตัน สหรัฐฯ 71 ตัน แคนาดา 19 ตัน เป็นต้น ส่วนการเก็บข้าวในสต็อก [Closing stock (excluding reserve stock)] ฮ่องกงมีขาวอยู่ในสต็อก ณ เดือนมกราคม 2562 รวม 1.14 หมื่นตัน และมีสต็อกสำรอง (Reserve stock) จำนวน 1.37 หมื่นตัน
อย่างไรก็ตาม ในปี 2561 ฮ่องกงนำเข้าข้าวจากประเทศต่างๆ รวมประมาณ 3.08 แสนตัน ลดลงร้อยละ 1.62 โดยนำเข้าจากไทยประมาณ 1.71 แสนตัน ลดลงร้อยละ 17.1 ประกอบด้วยข้าวขาว 6,200 ตัน ข้าวหอม 1.56 แสนตัน และข้าวชนิดอื่นๆ 9,000 ตัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 55.5 ของปริมาณนำเข้าข้าวทั้งหมดหรือลดลงร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับส่วนแบ่งตลาดในช่วงเดียวกันของปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 65.9 รองลงมาคือ เวียดนาม ซึ่งฮ่องกงนำเข้าประมาณ 7.61 หมื่นตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.5 ประกอบด้วยข้าวหอม 6.78 หมื่นตัน ข้าวขาวและข้าวชนิดอื่นๆ รวม 8,300 ตัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 24.7
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.09 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.01 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.65 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.61 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.49 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 304.20 ดอลลาร์สหรัฐ (9,594 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 309.80 ดอลลาร์สหรัฐ (9,630 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 36 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 372.16 เซนต์ (4,683 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 367.48 เซนต์ (4,558 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 125 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.40 ล้านไร่ ผลผลิต 29.97 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.57 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.03 ล้านไร่ ผลผลิต 27.88 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.61 ร้อยละ 7.50 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ โดยเดือนมีนาคม 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 7.84 ล้านตัน (ร้อยละ 26.15 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 20.08 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังปรับตัวลดลง แต่ราคามันสำปะหลังยังอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้ลานมันเส้นเปิดดำเนินการไม่มาก เนื่องจากเมื่อผลิตเป็นมันเส้นแล้วไม่คุ้มกับการลงทุน ส่งผลให้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.20 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.21 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.90
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.09 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.18
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.08 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.33
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.55 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.49 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.44
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 215 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,781 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (6,683 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 458 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,445 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,081 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.10
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.682 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.303 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.572 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.283 ล้านตัน ของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 7.00 และร้อยละ 7.07 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.22 บาท ลดลงจาก กก.ละ 2.38 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.72
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 14.68 บาท ลดลงจาก กก.ละ 15.58 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.78
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลง
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนพฤษภาคม 2562 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,134 ริงกิตต่อตัน (522.27 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 1.1 เนื่องจากความต้องการผู้นำเข้าชะลอตัวลดลง และการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจากการสำรวจผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์ 2562 อยู่ที่ 1.6 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 8 ขณะเดียวกันสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในเดือนกุมภาพันธ์ปริมาณปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 2.95 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 1.7 และคาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 2,240 – 2,360 ริงกิตต่อตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,986.12 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.70 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,996.18 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.58 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.50
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 546.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.45 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 552.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.39 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.09
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและการผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 จนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 81,315,040 ตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 8,589,500 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 6,859,224 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 1,730,276 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.15 ซี.ซี.เอส. ผลผลิต น้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 105.63 กก.ต่อตันอ้อย
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
รายงานการส่งออกน้ำตาลของบราซิล
กระทรวงการค้าของบราซิล รายงานว่าบราซิลส่งออกน้ำตาลในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 จำนวน 1.21 ล้านตัน (มูลค่าน้ำตาลทรายดิบ) เพิ่มขึ้นจาก 1.10 ล้านตัน ในเดือนมกราคม 2562 ร้อยละ 10.00 แต่ลดลงจาก 1.47 ล้านตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.69
ถั่วเหลือง
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.27 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 23.26 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.34
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 24.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.17
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 25.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.00
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 28.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.57
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 886.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 899.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 822.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 802.40 ดอลลาร์สหรัฐ (24.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.54 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 790.80 ดอลลาร์สหรัฐ (24.94 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 835.00 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.29 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 471.80 ดอลลาร์สหรัฐ (14.88 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 478.80 ดอลลาร์สหรัฐ (14.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 แต่ในรูปเงินทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 880.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.76 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 925.40 ดอลลาร์สหรัฐ (28.76 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.88 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.00 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.27 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 23.26 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.34
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 24.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.17
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 25.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.00
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 28.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.57
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 886.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 899.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 822.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 802.40 ดอลลาร์สหรัฐ (24.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.54 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 790.80 ดอลลาร์สหรัฐ (24.94 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 835.00 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.29 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 471.80 ดอลลาร์สหรัฐ (14.88 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 478.80 ดอลลาร์สหรัฐ (14.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 แต่ในรูปเงินทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 880.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.76 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 925.40 ดอลลาร์สหรัฐ (28.76 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.88 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.00 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.98 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 0.75
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.98 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 0.75
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,746 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,704 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.46
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,451 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,421 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.11
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 842 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,451 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,421 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.11
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 842 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรสอดคล้องกับปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะ ทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 66.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 66.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 66.38 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.82 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.66 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 69.55 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 70 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรสอดคล้องกับปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะ ทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 66.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 66.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 66.38 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.82 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.66 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 69.55 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 70 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.86 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.69 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.86 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.86 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.69 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.86 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้เริ่มเงียบเหงา ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดหลักของไข่ไก่ คือ สถานศึกษาทยอยปิดภาคเรียน ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมากและเริ่มสะสม แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 266 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 271 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.85 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 297 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 252 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ลดลงจากตัวละ 15.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 33.33
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 271 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.69
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้เริ่มเงียบเหงา ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดหลักของไข่ไก่ คือ สถานศึกษาทยอยปิดภาคเรียน ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมากและเริ่มสะสม แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 266 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 271 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.85 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 297 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 252 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ลดลงจากตัวละ 15.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 33.33
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 271 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.69
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 329 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 332 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.90 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 307 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 344 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 329 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 332 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.90 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 307 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 344 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.49 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.03 แยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.63 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.10 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 84.43 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.49 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.03 แยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.63 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.10 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 84.43 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.08 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.08 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 1 – 7 มีนาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.95 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 47.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.05 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.74 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 85.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.89 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัมเฉลี่ยกิโลกรัมละ151.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 160.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.99 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.63 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.53 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.41 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 1-7 มีนาคม 2562) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 25.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 1 – 7 มีนาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.95 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 47.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.05 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.74 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 85.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.89 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัมเฉลี่ยกิโลกรัมละ151.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 160.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.99 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.63 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.53 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.41 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 1-7 มีนาคม 2562) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 25.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท