- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 17-23 ส.ค. 61
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(2) ด้านการตลาด มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,182 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,191 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,478 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,533 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,250 บาท ราคาลดลงจากตันละ 34,400 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,810 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,850 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,138 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,187 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,116 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,879 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.97 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 308 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 410 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,398 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 402 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,284 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.99 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 114 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 397 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,973 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 389 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,855 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.06 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 118 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 407 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,300 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 399 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,185 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.01 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 115 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.6771
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2561/62 ประจำเดือนสิงหาคม 2561 ว่าจะมีผลผลิต 487.565 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 488.540 ล้านตันข้าวสาร หรือลดลงร้อยละ 0.20 จาก
ปี 2560/61
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2561/62 ณ เดือนสิงหาคม 2561 ว่าผลผลิต ปี 2561/62 จะมี 487.565 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2560/61 ร้อยละ 0.20 การใช้ในประเทศจะมี 487.809 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.31 การส่งออก/นำเข้าจะมี 49.449 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.20 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 143.574 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.17
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา เมียนมาร์ กัมพูชา จีน ไทย และสหรัฐอเมริกา
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ บราซิล อินเดีย และอุรุกวัย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน บราซิล เบอร์กินา คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ อียู กินี อิหร่าน อิรัก เคนย่า มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล และสหรัฐอาหรับเอมิเรส ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ กานา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังคลาเทศ จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และสหรัฐอเมริกา
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย และญี่ปุ่น
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
แม้ปีนี้เป็นปีที่สดใสยิ่งสำหรับข้าวไทยซึ่งตลาดโลกมีความต้องการซื้อสูง โดยเฉพาะ "ข้าวหอมมะลิ" ที่เป็นข้าว
พรีเมียมที่มีปริมาณการส่งออกเกือบ 20% ของสินค้าข้าวไทยทุกชนิด ทำให้ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ส่งผลดีต่อราคาข้าวในประเทศ แต่จากการที่สหรัฐอเมริกาได้พัฒนา "ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่" ถึง 3 สายพันธุ์ คือ จัสมิน "Aroma17, จัสมิน "CLJ 01" และจัสมิน "Calaroma 201" ที่มีคุณภาพเยี่ยม ความนุ่มหอมอร่อยทัดเทียมข้าวหอมมะลิไทย แต่ให้ผลผลิตต่อไร่
สูงกว่าถึงไร่ละ 1,600 กก. และเริ่มให้ชาวนาปลูกแล้ว จึงส่งผลให้ปริมาณส่งออกข้าวไทยไปสหรัฐลดลงทุกปี ในอนาคต "ข้าวหอมสหรัฐ" ที่ผลิตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อาจกลายเป็นคู่แข่งสำคัญยิ่งของหอมมะลิไทยในตลาดสำคัญๆ ทั่วโลกได้
ส่วนตลาดข้าวไทยในประเทศจีน กระทรวงพาณิชย์ได้ลงพื้นที่ ระหว่างวันที่ 14-16 ส.ค.ที่ผ่านมา ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ เมืองหางโจว และเมืองหนิงโป ในมณฑลเจ้อเจียงตอนเหนือของจีน เพื่อติดตามสถานการณ์ด้านการตลาด ตลอดจนปัญหาอุปสรรค และแสวงหาโอกาสส่งเสริมข้าวไทยในตลาดจีน พบว่าตลาดข้าวไทยในจีนตอนเหนือโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ
เริ่มมีความต้องการลดลง และมีแนวโน้มจะต่อเนื่องไปยังจีนตอนใต้ที่ปัจจุบันข้าวไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งนี้
มีสาเหตุมาจากหลายประการ เช่น ระบบปกป้องข้าวในประเทศของจีนด้วยการให้โควตาและการคุมเข้มข้าวที่นำเข้า
การที่คนจีนเริ่มคลายความนิยมต่อข้าวหอมมะลิไทย เนื่องจากระยะหลังๆ ข้าวมีความ "หอมน้อยลง" หรือ "ไม่หอมเลย" ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องคุณภาพหรือการควบคุมมาตรฐานความหอมของข้าวไทย และการที่จีนสามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ชื่อ "อู๋ ชาง (Wu Chang Rice)" ขึ้น เพื่อตอบสนองรสนิยมคนจีนแทนข้าวหอมมะลิไทยได้เป็นอย่างดี โดยเป็นข้าวแบบ "4 ดี" คือ นิ่มดี, เหนียวดี, กลิ่นหอมดี และ มี GI ดี (Geographical Indications สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง) คือ เป็นข้าวที่ผลิตที่เมือง "อู๋ ชาง" ในมณฑลเฮย์หลงเจียง (เหมือนข้าวหอมมะลิไทยที่ได้ GI อย่างหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้หรือหอมมะลิสุรินทร์) นับเป็นความภาคภูมิใจของจีน นอกจากคุณภาพสูงแล้ว ข้าว"อู๋ ชาง" ยังให้ผลผลิตสูงมากถึงไร่ละ 1.8 ตัน หรือ 1,800 กก. และสามารถเพาะปลูกในพื้นที่มณฑลเฮย์หลงเจียงที่มีสภาพอากาศ
หนาวมากและดินเค็มได้ โดยข้าวอู๋ ชาง มีราคาใกล้เคียงหรือถูกกว่าข้าวหอมมะลิไทยที่ขายในจีน ทำให้กำลังเป็นที่นิยมแทนหอมมะลิไทยอย่างรวดเร็ว และจีนกำลังขยายพื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์นี้ รวมถึงได้นำเอาเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์นี้
เข้าไปร่วมพัฒนาปลูกในประเทศต่างๆ เช่น ในกัมพูชาเพื่อส่งกลับไปขายจีน หรือส่งขายตลาดโลกด้วย ดังนั้น ในอนาคตนอกจากไทยอาจจะเสียตลาดข้าวหอมในจีนแล้ว ข้าวชนิดนี้อาจจะแย่งตลาดข้าวจากประเทศอื่นๆ อีกด้วย
ทั้งนี้ ทั้งสหรัฐและจีนล้วนเคยเป็นตลาดสำคัญที่ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิปริมาณมาก แต่ตอนนี้ไม่เพียงส่งไปได้น้อยลง ในอนาคตยังมีแนวโน้มที่ข้าวหอมจาก 2 ประเทศนี้ จะขึ้นมาเป็นคู่แข่งรายใหญ่ข้าวหอมจากไทยในตลาดโลกได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า
เมียนมาร์
สหพันธ์ข้าวแห่งเมียนมาร์ (Myanmar Rice Federation) รายงานว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึงวันที่ 2 สิงหาคม ของปีงบประมาณปัจจุบัน 2561/62 (1 เมษายน 2018-31 มีนาคม 2019) เมียนมาร์ส่งออกข้าวแล้วประมาณ 833,663.82 ตัน มูลค่า 288.986 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกข้าวสารและข้าวหักผ่านทางทะเลประมาณ 363,878.42 ตัน มูลค่า 121.121 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่งผ่านทางแนวชายแดนประมาณ 469,785 ตัน มูลค่า 167.865 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2555/56 มีการส่งออกข้าวประมาณ 1.423 ล้านตัน มูลค่า 551 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2556/67 มีการส่งออกข้าวประมาณ 1.262 ล้านตัน มูลค่า 475 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2014/15 มีการส่งออกข้าวประมาณ 1.84 ล้านตัน มูลค่า 660 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2558/59 มีการ ส่งออกข้าวประมาณ 1.493 ล้านตัน มูลค่า 526 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2559/60 มีการส่งออกข้าว ประมาณ 1.75 ล้านตัน มูลค่า 553 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และปีงบประมาณ 2560/61 มีการส่งออกข้าวประมาณ 3.576 ล้านตัน มูลค่า 1,136 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสมาพันธ์ข้าวแห่งเมียนมาร์ (Myanmar Rice Federation) คาดว่า
ภายในระยะเวลา 3 ปี เมียนมาร์จะส่งออกข้าวได้ถึง 4 ล้านตัน มูลค่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ในปีงบประมาณ 2555/56 มีการส่งออกข้าวผ่านทางชายแดนคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของการ ส่งออกทั้งหมด ปีงบประมาณ 2556/67 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 72 ปีงบประมาณ 2557/58 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 77 ปีงบประมาณ 2558/59 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 82 และปีงบประมาณ 2559/60 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 72
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ผลผลิตข้าวโลก บัญชีสมดุลข้าวโลก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.95 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.61 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.54 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.46 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.47
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.64 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.20 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.09 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 270.20 ดอลลาร์สหรัฐ (8,829 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 271.50 ดอลลาร์สหรัฐ (8,972 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 143.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2561/62 ว่ามี 1,098.90 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,067.80 ล้านตัน ในปี 2560/61 ร้อยละ 2.91 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อียิปต์ แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา เกาหลีใต้ และอิหร่าน มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 157.03 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 149.66 ล้านตัน ในปี 2560/61 ร้อยละ 4.92 โดยอาร์เจนตินา บราซิล ยูเครน เซอร์เบีย และเม็กซิโก ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ อียิปต์ เวียดนาม อิหร่าน โคลัมเบีย ซาอุดิอาระเบีย จีน แอลจีเรีย และมาเลเซีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 356.96 เซนต์ (4,653 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 360.56 เซนต์ (4,752 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 99.00 บาท
บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โลก
มันสำปะหลัง
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64 ร้อยละ 10.69 และร้อยละ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.18 ล้านตัน (ร้อยละ 4.35 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – กรกฎาคม 2561) ปริมาณ 24.93 ล้านตัน (ร้อยละ 91.52 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.36 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.34 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.85
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.85 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.83 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.34
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.78 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.90 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.74
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 225 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,352 บาท
ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 83 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 15,848 บาท
ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 179 บาท
ปาล์มน้ำมัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
ถั่วเหลือง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 867.52 เซนต์ (10.55 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 861.32 เซนต์ (10.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.72
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 323.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.71 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 330.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.96
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.32 เซนต์ (20.67 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 28.07 เซนต์ (20.71 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.89
ยางพารา
1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1 ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.05 บาท ลดลงจาก 42.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.04 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.10
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.55 บาท ลดลงจาก 41.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.04 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.10
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.05 บาท ลดลงจาก 41.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.04 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.10
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.64 บาท ลดลงจาก 18.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.19 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.01
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.86 บาท เพิ่มขึ้นจาก 15.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.03 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.19
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.29 บาท ลดลงจาก 37.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.63 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.66
1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกันยายน
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1) ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.33 บาท ลดลงจาก 50.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.26 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.52
2) ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.18 บาท ลดลงจาก 49.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.26 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.53
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.03 บาท ลดลงจาก 45.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.40 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.88
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.70 บาท ลดลงจาก 34.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.15 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.43
ณ ท่าเรือสงขลา
1) ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.08 บาท ลดลงจาก 50.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.26 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.52
2) ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.93 บาท ลดลงจาก 49.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.26 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.53
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.78 บาท ลดลงจาก 45.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.40 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.89
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.45 บาท ลดลงจาก 34.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.15 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.43
2. ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.05 เซนต์สหรัฐฯ (48.13 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 146.48 เซนต์สหรัฐฯ (48.41 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.57 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.39
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 163.20 เยน (47.87 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 162.54 เยน (48.04 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.66 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.41
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.06 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 824.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 814.50 ดอลลาร์สหรัฐ (26.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 732.20 ดอลลาร์สหรัฐ (23.93 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 723.50 ดอลลาร์สหรัฐ (23.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 578.40 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 571.50 ดอลลาร์สหรัฐ (18.89 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.21 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 394.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12.87 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 389.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12.85 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.29 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 818.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.74 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 808.50 ดอลลาร์สหรัฐ (26.72 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วลิสง
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.56 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 82.72 เซนต์(กิโลกรัมละ 60.38 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 83.12 เซนต์ (กิโลกรัมละ 61.19 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.81 บาท
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,378 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,335 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.22
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,166 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,146 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.75
สุกร
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าในช่วงนี้จะมีฝนตกชุกและบางพื้นที่เกิดน้ำท่วมขังซึ่งคาดว่าความต้องการบริโภคจะมีไม่มากนัก แต่จากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรมีมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 59.59 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 58.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.71 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.10 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 56.10 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.35 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 59.08 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,700 บาท (บวกลบ 62 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.05
ไก่เนื้อ
ประเทศภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคที่มีมากขึ้นและใกล้เคียงกับผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.50 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.39 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.32 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 12.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 16.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.80 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.12
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมามา เนื่องจากความต้องการบริโภคที่มีมากขึ้น เพราะบางพื้นที่มีฝนตกชุกและเกิดภาวะน้ำท่วมได้สำรองซื้อไข่ไก่ไว้รับประทาน ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 281 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 279 บาท ของกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.71 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 289 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 279 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 324 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 326 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.61 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 340 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 296 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 339 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 82.57 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 93.78 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.54 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท
กระบือ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.16 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.17 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.91 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี