- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สศก. ระบุทิศทางสินค้าเกษตรสดใส หลังพ้นวิกฤตภัยธรรมชาติคลี่คลายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
สศก. เผย สินค้าเกษตรมีทิศทางดีขึ้น โดยดัชนีรายได้เกษตรกรในปี 2560 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.97 จากปี 2559 หลังผ่านพ้นช่วงประสบภัยแล้งและน้ำท่วมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คาดปี 2561 ดัชนีรายได้ภาคเกษตรยังคงขยายต่อเนื่อง ย้ำชัด กระทรวงเกษตรฯ ยังคงเฝ้าระวัง และเดินหน้าแก้ปัญหาผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรต่อเนื่อง
นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร และดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ นับเป็นตัวชี้วัดทางด้านเศรษฐกิจการเกษตรที่สำคัญ สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์การผลิตและราคาสินค้าเกษตรในภาพรวม ซึ่งประกอบด้วยหมวดพืชผล หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง
จากที่ สศก. ได้วิเคราะห์ดัชนีรายได้เกษตรกรในปี 2560 พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.97 เมื่อเทียบกับปี 2559 ซึ่งเป็นผลจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.87 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ลดลงร้อยละ 2.74โดยเมื่อพิจารณาถึงรายได้เกษตรกรในแต่ละหมวดสินค้า พบว่า หมวดพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.42ซึ่งรายได้เกษตรกรมาจากสินค้าพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง ยางพารา อ้อยโรงงาน ทุเรียน และมังคุด ขณะที่รายได้เกษตรกรในหมวดปศุสัตว์ ลดลงร้อยละ 4.03 เนื่องจากผลผลิตสินค้าปศุสัตว์หลัก ทั้งไก่เนื้อ สุกร และไข่ไก่ ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาสินค้าปศุสัตว์ส่วนใหญ่อ่อนตัวลง และหมวดประมง (กุ้งขาวแวนนาไม) ลดลงร้อยละ 1.66
หากพิจารณาช่วงครึ่งแรกของปี 2560 พบว่า ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.72 โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร และดัชนีราคาสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.89 และ 4.46 ตามลำดับ ส่วนในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 พบว่า ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 5.62 โดยดัชนีผลผลิตสินค้าสินค้าเกษตรขยายตัวชะลอลงจากช่วงครึ่งแรกของปี 2560 ที่ร้อยละ 2.97 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 9.61
สำหรับแนวโน้มดัชนีรายได้เกษตรกรทั้งปี 2561 สศก.คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 จากผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่เพิ่มขึ้น อาทิ ข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพอากาศและยังมีน้ำต้นทุนเหลือมากพอสำหรับการทำเกษตรจากการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การเพาะปลูกทำได้มากยิ่งขึ้น ประกอบกับการดำเนินนโยบายและมาตรการด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง
เลขาธิการ สศก. กล่าวต่อไปว่า หากมองถึงทิศทางสินค้าเกษตรช่วงปี 2560 จะเห็นได้ว่ามีทิศทางดีขึ้นกว่าปี 2556 – 2559 เนื่องจากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาประสบปัญหาในเรื่องภัยธรรมชาติที่ค่อนข้างรุนแรงทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมมาโดยตลอด โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมพื้นที่การผลิตทางการเกษตรเป็นวงกว้าง ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศ ทำให้ปริมาณน้ำใช้การได้ในเขื่อนหลักต่างๆ อยู่ในเกณฑ์น้อยมาก มีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกพืช ส่งผลให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจหลักหลายชนิด อาทิ ข้าวนาปรัง พืชไร่ และผลไม้ต่างๆ ได้รับความเสียหายอย่างมากและมีผลผลิตต่อไร่ลดลง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2559 เริ่มปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ เนื่องจากปัญหาภัยแล้งคลี่คลาย โดยการผลิตทางการเกษตรได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติในปี 2560 และราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ ในช่วงปี 2555 – 2560 พบว่า ค่อนข้างผันผวนและมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสินค้าเกษตรหลายชนิดต้องพึ่งพิงการส่งออกเป็นสำคัญ อาทิ ยางพารา มันสำปะหลัง ไก่เนื้อ และกุ้งขาวแวนนาไม
ดังนั้น ปัจจัยหลักที่กำหนดราคาสินค้าเกษตรภายในประเทศ จึงเป็นปัจจัยทางด้านภาวะเศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศคู่ค้าที่สำคัญซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเรื่องราคาข้าวที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากส่วนหนึ่งถูกกดดันมาจากสต็อกข้าวของรัฐบาลที่มีปริมาณมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงปลายปี 2560 สามารถระบายสต็อกข้าวได้หมด ส่งผลให้ราคาข้าวเริ่มปรับตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้เดินหน้าแก้ปัญหาผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินนโยบายและมาตรการด้านการเกษตรต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง อาทิ ดำเนินการส่งเสริมและปรับเปลี่ยนผลผลิตให้เกษตรกรได้รับรู้และตัดสินใจที่จะผลิตตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก หรือ Agri-Map โดยผ่าน ศพก. 882 ศูนย์ และใช้ตลาดนำการผลิตในรูปแบบการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการ โรงานแปรรูป และร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนโยบายและมาตรการเหล่านี้ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้ และเน้นการดำเนินการเป็นทีมบูรณาการทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรได้ครบทุกด้าน รวดเร็ว และทันต่อความต้องการมากยิ่งขึ้น ส่งผลดัชนีรายได้ภาคเกษตรในปี 2561 ยังคงขยายต่อเนื่อง
*********************
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์ / ข้อมูล : ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร
นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร และดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ นับเป็นตัวชี้วัดทางด้านเศรษฐกิจการเกษตรที่สำคัญ สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์การผลิตและราคาสินค้าเกษตรในภาพรวม ซึ่งประกอบด้วยหมวดพืชผล หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง
จากที่ สศก. ได้วิเคราะห์ดัชนีรายได้เกษตรกรในปี 2560 พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.97 เมื่อเทียบกับปี 2559 ซึ่งเป็นผลจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.87 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ลดลงร้อยละ 2.74โดยเมื่อพิจารณาถึงรายได้เกษตรกรในแต่ละหมวดสินค้า พบว่า หมวดพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.42ซึ่งรายได้เกษตรกรมาจากสินค้าพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง ยางพารา อ้อยโรงงาน ทุเรียน และมังคุด ขณะที่รายได้เกษตรกรในหมวดปศุสัตว์ ลดลงร้อยละ 4.03 เนื่องจากผลผลิตสินค้าปศุสัตว์หลัก ทั้งไก่เนื้อ สุกร และไข่ไก่ ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาสินค้าปศุสัตว์ส่วนใหญ่อ่อนตัวลง และหมวดประมง (กุ้งขาวแวนนาไม) ลดลงร้อยละ 1.66
หากพิจารณาช่วงครึ่งแรกของปี 2560 พบว่า ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.72 โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร และดัชนีราคาสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.89 และ 4.46 ตามลำดับ ส่วนในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 พบว่า ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 5.62 โดยดัชนีผลผลิตสินค้าสินค้าเกษตรขยายตัวชะลอลงจากช่วงครึ่งแรกของปี 2560 ที่ร้อยละ 2.97 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 9.61
สำหรับแนวโน้มดัชนีรายได้เกษตรกรทั้งปี 2561 สศก.คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 จากผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่เพิ่มขึ้น อาทิ ข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพอากาศและยังมีน้ำต้นทุนเหลือมากพอสำหรับการทำเกษตรจากการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การเพาะปลูกทำได้มากยิ่งขึ้น ประกอบกับการดำเนินนโยบายและมาตรการด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง
เลขาธิการ สศก. กล่าวต่อไปว่า หากมองถึงทิศทางสินค้าเกษตรช่วงปี 2560 จะเห็นได้ว่ามีทิศทางดีขึ้นกว่าปี 2556 – 2559 เนื่องจากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาประสบปัญหาในเรื่องภัยธรรมชาติที่ค่อนข้างรุนแรงทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมมาโดยตลอด โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมพื้นที่การผลิตทางการเกษตรเป็นวงกว้าง ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศ ทำให้ปริมาณน้ำใช้การได้ในเขื่อนหลักต่างๆ อยู่ในเกณฑ์น้อยมาก มีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกพืช ส่งผลให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจหลักหลายชนิด อาทิ ข้าวนาปรัง พืชไร่ และผลไม้ต่างๆ ได้รับความเสียหายอย่างมากและมีผลผลิตต่อไร่ลดลง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2559 เริ่มปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ เนื่องจากปัญหาภัยแล้งคลี่คลาย โดยการผลิตทางการเกษตรได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติในปี 2560 และราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ ในช่วงปี 2555 – 2560 พบว่า ค่อนข้างผันผวนและมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสินค้าเกษตรหลายชนิดต้องพึ่งพิงการส่งออกเป็นสำคัญ อาทิ ยางพารา มันสำปะหลัง ไก่เนื้อ และกุ้งขาวแวนนาไม
ดังนั้น ปัจจัยหลักที่กำหนดราคาสินค้าเกษตรภายในประเทศ จึงเป็นปัจจัยทางด้านภาวะเศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศคู่ค้าที่สำคัญซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเรื่องราคาข้าวที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากส่วนหนึ่งถูกกดดันมาจากสต็อกข้าวของรัฐบาลที่มีปริมาณมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงปลายปี 2560 สามารถระบายสต็อกข้าวได้หมด ส่งผลให้ราคาข้าวเริ่มปรับตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้เดินหน้าแก้ปัญหาผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินนโยบายและมาตรการด้านการเกษตรต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง อาทิ ดำเนินการส่งเสริมและปรับเปลี่ยนผลผลิตให้เกษตรกรได้รับรู้และตัดสินใจที่จะผลิตตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก หรือ Agri-Map โดยผ่าน ศพก. 882 ศูนย์ และใช้ตลาดนำการผลิตในรูปแบบการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการ โรงานแปรรูป และร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนโยบายและมาตรการเหล่านี้ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้ และเน้นการดำเนินการเป็นทีมบูรณาการทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรได้ครบทุกด้าน รวดเร็ว และทันต่อความต้องการมากยิ่งขึ้น ส่งผลดัชนีรายได้ภาคเกษตรในปี 2561 ยังคงขยายต่อเนื่อง
*********************
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์ / ข้อมูล : ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร