- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 16-22 ก.พ.61
สับปะรด
ผลผลิต เพิ่มขึ้น
ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ประมาณ 0.229 ล้านตัน หรือร้อยละ 9.29 ของปริมาณผลผลิตรวม 2.462 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.129 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 77.51 และเพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.192 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 19.27การส่งออก เพิ่มขึ้น
ปี 2560 มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 1.944 ล้านตันสด เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 1.790 ล้านตันสด ในปี 2559 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.60
ราคา เพิ่มขึ้น
ช่วงนี้สภาพอากาศแปรปรวน ทำให้ผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่โรงงานแปรรูปสับปะรดมีความต้องการวัตถุดิบอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามคุณภาพผลผลิตบางส่วนไม่ตรงกับความต้องการของโรงงานแปรรูป ทำให้โรงงานแปรรูปปรับราคารับซื้อเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเล็กน้อย โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ ดังนี้
- สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 4.34 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.23 และลดลงจากกิโลกรัมละ 6.28 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 30.89
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,654 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,616 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.35
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,261 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,154 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,151 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.26
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 77.90 เซนต์
(กิโลกรัมละ 54.25 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 76.10 เซนต์ (กิโลกรัมละ 53.21 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.37 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.04 บาท
ปศุสัตว์
สุกร
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคมีไม่มากนักหลังผ่านเทศกาลวันตรุษจีน ขณะที่ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดมาก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 46.90 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 47.42 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 49.35 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.83 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,300 (บวกลบ 46 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.04
ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคมีไม่มากนักหลังผ่านช่วงเทศกาลตรุษจีน แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.82 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.26 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงและสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 264 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 276 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 254 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 271 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 338 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 336 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 347 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 350 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 315 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 352 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 370 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 91.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 91.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 92.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 88.19 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 89.98 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 99.56 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 73.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 73.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.23 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.60 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,028.5 เซนต์ (11.94 บาท/กก.) สูงขึ้น จากบุชเชลละ 1,007.52 เซนต์ ( 11.74 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.08
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 376.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.88 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 362.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.48 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.89
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.88 เซนต์ (22.19 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 31.78 เซนต์ (22.21 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.31
ถั่วลิสง
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.00 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.56
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.14 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 18.10 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 800.50 ดอลลาร์สหรัฐ (24.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 793.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.83 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.12 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 671.50 ดอลลาร์สหรัฐ (20.93 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 665.20 ดอลลาร์สหรัฐ (20.82 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 542.25 ดอลลาร์สหรัฐ (16.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 537.20 ดอลลาร์สหรัฐ (16.81 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 413.25 ดอลลาร์สหรัฐ (12.88 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 409.40 ดอลลาร์สหรัฐ (12.81 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 794.00 ดอลลาร์สหรัฐ (24.75 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 787.00 ดอลลาร์สหรัฐ (24.63 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.12 บาท
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.24 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.90 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.36 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.65 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.01 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.05 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.49
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 323.25 ดอลลาร์สหรัฐ (10,076 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 317.80 ดอลลาร์สหรัฐ (9,945 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.71 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 131.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2560/61 ว่ามี 1,068.41 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,061.17 ล้านตัน ในปี 2559/60 ร้อยละ 0.68 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ แคนาดา เวียดนาม อิหร่าน และอาร์เจนตินา มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 151.52 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 141.71 ล้านตัน ในปี 2559/60 ร้อยละ 6.92 โดยบราซิล อาร์เจนตินา ปารากวัย และเมียนมาร์ ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก สหภาพยุโรป อียิปต์ เกาหลีใต้ เวียดนาม อิหร่าน โคลัมเบีย แอลจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย ไต้หวัน มาเลเซีย และเปรู มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 366.25 เซนต์ (4,555 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 366.08 เซนต์ (4,571 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 16.00 บาท
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2560/61
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี 2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่) 3) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์4) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 5) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 25616) โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 7) โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ 8) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
(2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร 2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร 3) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี และ 4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ปีการผลิต 2560
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้ สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการข้าวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงเนื่องจากอยู่ในช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,572 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,354 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,515 ราคาลดลงจากตันละ 7,709 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.51
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,810 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 33,610 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,690 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,930 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.01
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,132 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,286 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,138 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,613 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 327 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,874 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 428 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,394 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 520 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 401 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,500 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,924 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.90 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 424 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,185 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 437 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,675 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.20 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 490 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.1711 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2560/61 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ว่าจะมีผลผลิต 484.331 ล้านตันข้าวสาร (722.6 ล้านตันข้าวเปลือก) ลดลงจาก 486.783 ล้านตันข้าวสาร (726.5 ล้านตันข้าวเปลือก) หรือลดลงร้อยละ 0.50 จากปี 2559/60
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2560/61 ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ว่าผลผลิต ปี 2560/61 จะมี 484.331 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2559/60 ร้อยละ 0.50 การใช้ในประเทศจะมี 480.778 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.29 การส่งออก/นำเข้าจะมี 47.357 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.40 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 140.794 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.59
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล เมียนมาร์ กัมพูชา จีน กายานา อินเดีย ปากีสถาน ปารากวัย และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อียู รัสเซีย อุรุกวัย สหรัฐอเมริกา และไทย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แองโกลา คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ คิวบา อียู กินี อินโดนีเซีย อิรัก เคนย่า เนปาล ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล และสหรัฐอาหรับเอมิเรส ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ บราซิล อิหร่าน มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังกลาเทศ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย ญี่ปุ่น ไทย และสหรัฐอเมริกา
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์) เปิดเผยว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไปฮ่องกงในปริมาณสูงถึง 2.06 แสนตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.18 จากปี 2559 ที่ส่งออกปริมาณ 1.87 แสนตัน นับเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี จากที่เคยทำได้ 2.02 แสนตัน ในปี 2550 เป็นผลจากความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน
ทั้งระบบ และที่สำคัญคือ นโยบายรัฐบาลที่ช่วยพยุงราคาข้าวให้มีเสถียรภาพสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ซื้อ อีกทั้งการขยายฐานการตลาดข้าวชนิดใหม่ๆ ทั้งข้าวออร์แกนิค ข้าวไรซ์เบอรี่ ส่งผลให้ยอดการส่งออกข้าวไปยังฮ่องกงเติบโตต่อเนื่อง 4 ปี ทำให้ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในฮ่องกงร้อยละ 65 รองจากสหรัฐฯ และจีน
ปี 2561 แม้ว่าราคาข้าวหอมมะลิไทยยังอยู่ในระดับสูงกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน แต่ความต้องการยังมี
อย่างต่อเนื่อง เพราะตลาดฮ่องกงของข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดี มีความหอม จึงคาดว่าปีนี้จะส่งออกข้าวไปฮ่องกงเพิ่มขึ้นเป็น 2.15 แสนตัน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร) เปิดเผยว่า ไทยเตรียมเข้าร่วมประมูลขายข้าวขาวปริมาณ 2.5 แสนตัน ซึ่งหน่วยงานองค์การอาหารแห่งชาติ (NFA) ฟิลิปปินส์ จะเปิดประมูลช่วงเดือนมีนาคม 2561 หากไทยได้คำสั่งซื้อข้าวจากฟิลิปปินส์จะเป็นผลดีต่อราคาผลผลิตข้าวนาปรัง ปี 2561 ที่จะทยอยออกตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป
สำหรับการส่งออกข้าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 6 กุมภาพันธ์ 2561 ส่งออกข้าวได้ 1 ล้านตัน สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยเป็นข้าวขาว 7.7 แสนตัน ราคาส่งออก 422 – 470 เหรียญสหรัฐ/ตัน คิดเป็นราคาข้าวเปลือก 7,558 – 8,200 บาท/ตัน
โดยหลังจากนี้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งส่งเสริมการผลิตข้าวขาวพื้นนิ่ม ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศ จีน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จะขายได้ราคาดีกว่าข้าวขาวพื้นแข็งที่ขายปกติประมาณ 50 – 70 เหรียญสหรัฐ/ตัน ด้านการส่งออกข้าวชนิดอื่นๆ ของไทย ได้แก่ ข้าวหอมมะลิไทย และข้าวคุณลักษณะพิเศษ เช่น ข้าวอินทรีย์ (organic) ข้าวสีชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นข้าวคุณภาพสูง ทำให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาสูงขึ้น
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ในระดับทรงตัว เนื่องจากเข้าสู่ช่วงเทศกาลตรุษ Tet ของเวียดนาม (the Lunar New Year) ที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวันในช่วงวันที่ 14-20 กุมภาพันธ์นี้ โดยราคาเอฟโอบีข้าวขาว 5% อยู่ที่ประมาณ 420-425 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในเดือนธันวาคม 2560 เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 361,410 ตัน ลดลงร้อยละ 4.57 เมื่อเทียบกับจำนวน 378,723 ตัน ในพฤศจิกายน 2560 และลดลงร้อยละ 16.49 เมื่อเทียบกับจำนวน 432,784 ตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2559
โดยตลาดส่งออกที่สำคัญในเดือนธันวาคม 2560 ประกอบด้วย ตลาดเอเชียจำนวน 287,541 ตัน
ตลาดแอฟริกาจำนวน 35,427 ตัน ตลาดอเมริกาจำนวน 32,100 ตัน ตลาดยุโรปและเครือรัฐเอกราช (Europe and CIS countries) จำนวน 2,584 ตัน และตลาดออสเตรเลียจำนวน 3,658 ตัน ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคม 2560 เวียดนามส่งออกข้าวขาว 5% จำนวน 102,783 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 665 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 6,177 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 1,015 ตัน ปลายข้าวขาว 100% จำนวน 19,011 ตัน ข้าวหอม (Jasmine rice) 132,077 ตัน ข้าวเหนียว 76,687 ตัน และข้าวชนิดอื่นๆ จำนวน 22,995 ตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เมียนมาร์
สหพันธ์ข้าวของเมียนมาร์ (the Myanmar Rice Federation; MRF) ระบุว่า ในปีงบประมาณปัจจุบัน
เมียนมาร์ส่งออกข้าวไปแล้วประมาณ 3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ส่งออกได้ประมาณ 1.8 ล้านตัน ซึ่งถือเป็นสถิติส่งออกมากที่สุดในรอบ 60 ปี
กระทรวงพาณิชย์ (the Ministry of Commerce) รายงานว่า ในปีงบประมาณปัจจุบันนี้ เมียนมาร์ส่งออกข้าวไปยัง 62 ประเทศ โดยเป็นประเทศรายใหม่ประมาณ 22 ราย โดยที่ประเทศเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ประกอบด้วย จีน
บังคลาเทศ ประเทศในแถบแอฟริกาตะวันตก ศรีลังกา เซเนกัล อาฟกานิสถาน และโปแลนด์เป็นต้น ซึ่งตลาดแอฟริกาถือเป็นตลาดใหญ่ของเมียนมาร์โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งเมียนมาร์ส่งออกข้าวคุณภาพต่ำและปลายข้าวไปยังประเทศเหล่านี้ขณะที่ข้าวคุณภาพสูงจะส่งไปยังประเทศในสหภาพยุโรป
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.07 ล้านไร่ ผลผลิต 28.57 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.54 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 30.94 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตลดลงร้อยละ 9.43 และ 7.66 ตามลำดับ ส่วนผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นร้อยละ 2.02 โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2561
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.32 ล้านตัน (ร้อยละ 18.61 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 - มกราคม 2561) ปริมาณ 9.60 ล้านตัน (ร้อยละ 33.56 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นด้วย
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.08 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.37
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.07 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.04 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.60
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.37 บาท ราคาทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.98 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.72 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.90
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 220 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 6,858 บาท ราคาสูงขึ้นในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตันละ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 5 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 475 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 14,806 บาท ราคาสูงขึ้นในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตันละ 15 ดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 411 บาท
ประมง
- สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 16 – 22 กุมภาพันธ์ 2561 ) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.73 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.33 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจาก
กิโลกรัมละ 84.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 189.01 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 190.00บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 188.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.58 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 170.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.06 บาท ราคาราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 16 – 22 ก.พ. 2561) ราคา
เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปาล์มน้ำมัน
- สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.163 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 0.998 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.170 ล้านตัน ของเดือนมกราคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 4.21 และร้อยละ 4.12 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.60 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 3.46 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.05
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 21.75 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 21.20 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.59
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้น
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนพฤษภาคม 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 2,515 ริงกิตต่อตัน (646.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เนื่องจากความต้องการของประเทศผู้นำเข้าเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียในช่วง 15 วันแรกของเดือนกุมภาพันธ์ 2561 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา ขณะเดียวกันราคาน้ำมันปาล์มดิบได้รับผลกระทบจากพืชน้ำมันอื่นที่เป็นพืชแข่งขันกับปาล์มน้ำมันในตลาดโลกยังคงมีสูง ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียจะทรงตัวอยู่ที่ระดับ 2,486-2,518 ริงกิตต่อตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,512.83 ดอลลาร์มาเลเซีย (20.56 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,519.84 ดอลลาร์มาเลเซีย (20.55 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.28
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 659.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20.82 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 652.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.00
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน