- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 19-24ก.ย.60
สับปะรด
ผลผลิต เพิ่มขึ้น
ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดเดือนกันยายน 2560 ประมาณ 0.074 ล้านตัน หรือร้อยละ 3.61 ของปริมาณผลผลิตรวม 2.040 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.043 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 72.09 และลดลงจากปริมาณ 0.085 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 12.94การส่งออก เพิ่มขึ้น
ปี 2560 (มกราคม-กรกฎาคม) มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 1.250 ล้านตันสด เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 1.185 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2559 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.48
ราคาสับปะรด สับปะรดโรงงาน ลดลง
สับปะรดบริโภค เพิ่มขึ้น
ช่วงนี้ผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาดประมาณวันละ 2,500-2,800 ตัน ประกอบกับภาวะแล้ง ทำให้ผลแคระแกร็นคุณภาพผลผลิตไม่ตรงกับความต้องการของโรงงาน ดังนั้นโรงงานแปรรูปสับปะรดที่เปิดทำการผลิตจึงปรับราคารับซื้อสับปะรดลดลง โดยราคาที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ มีดังนี้
- สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 4.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.58 และลดลงจากกิโลกรัมละ 10.57 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 59.22
ผ่านมาร้อยละ 32.32
ข่าวสัปดาห์ วันที่ 18 - 24 กันยายน 2560
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,523 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,571 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.06
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,283 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,323 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.02
ข่าวสัปดาห์ 18 - 24 ก.ย. 60
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
- สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.94 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 252.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,275 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 252.60 ดอลลาร์สหรัฐ (8,301 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 26.00 บาท
- สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2560/61 ว่ามี 1,057.12 ล้านตัน ลดลงจาก 1,058.13 ล้านตันในปี 2559/60 ร้อยละ 0.10 โดยแอฟริกาใต้
มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลก มี 152.29 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 144.51 ล้านตัน ในปี 2559/60 ร้อยละ 5.38 โดย บราซิล อาร์เจนตินา ยูเครน รัสเซีย ปารากวัย และเมียนมาร์ ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เม็กซิโก เวียดนาม เกาหลีใต้ อิหร่าน อียิปต์ โคลัมเบีย แอลจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย และมาเลเซีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
ข่าวสัปดาห์ 18-24 ก.ย. 2560
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกันยายน 2560 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 69.91 เซนต์(กิโลกรัมละ 51.25 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 71.95 เซนต์ (กิโลกรัมละ 52.79 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.84 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.54 บาท
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากแทบทุกพื้นที่มีฝนตก การซื้อขายไม่คล่องตัว ประกอบกับมีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบริโภคชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 60.42 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.42 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.58 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 57.74 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 57.31 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.95 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 61.77 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,700 บาท (บวกลบ 60 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 63.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.57
สถานการณ์ไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดและใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ชะลอตัวลงจากภาวะฝนตกแทบทุกพื้นที่ แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.15 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.17 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.35 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.60 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวเท่ากับจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคที่มีมากขึ้น ขณะที่ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดในภาวะปกติ แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 281 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 281 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 271 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 284 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 301 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 338 บาท ลดลงร้อยฟองละ 338 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.29 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 363 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 340 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 314 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 372 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 94.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 94.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 93.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 95.05 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 94.09 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 96.45 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 73.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 73.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 71.13 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคาข่าวรายสัปดาห์ 18 - 24 ก.ย. 60
ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์การผลิตถั่วเหลืองโลก (กันยายน 2560)
กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ปี 2560/2561 จะส่งออกถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้นและราคาลดต่ำลง สืบเนื่องจากผลผลิตที่ตกค้างจากการส่งออกรวมกับผลผลิตที่ออกมาใหม่จำนวนมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของบราซิล มีผลให้ราคาเมล็ดถั่วเหลือต่ำลง แต่อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาก็ยังสามารถเผชิญกับปัญหาราคาตกต่ำได้และยังคงแข่งขันในตลาดโลกได้ แม้ว่าราคาถั่วเหลืองที่เกษตรกรขาย ณ หน้าฟาร์มของสหรัฐอเมริกายังคงที่ ที่ 9.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บุชเชล
ประเทศที่นำเข้าถั่วเหลืองในปริมาณเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ จีน และไทย ส่วนประเทศที่นำเข้าลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรป อัฟริกาใต้ และเกาหลีใต้ ในด้านการส่งออก มีประเทศที่ส่งออกเพิ่มขึ้นคือ บราซิล ส่วนที่ส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนติน่า ยูเครน และอุรุกวัย
แนวโน้มปี 2560/2561
ภาพรวมผลผลิตถั่วเหลืองมีปริมาณเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกาและโบลิเวีย ส่วนประเทศที่ผลผลิตลดลง ได้แก่ อุรุกวัย และเซอเบีย
สหรัฐอเมริกา ส่งออกถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น 680,000 ตัน เป็น 61.2 ล้านตัน เป็นไปตามแนวโน้มของผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
อุรุกวัย ส่งออกถั่วเหลืองลดลง 450,000 ตัน เหลือ 2.4 ล้านตัน
จีน นำเข้าถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น 1 ล้านตัน เป็น 90 ล้านตัน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.15 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.51 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.86 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข่าวสัปดาห์ 18-24 ก.ย.60
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.77 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 29.88 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี