- หน้าแรก
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- รายละเอียดข่าว
สศก. แจงต้นทุนสินค้าเกษตรสำคัญ ปี 62
ข่าวที่ 71/2562 วันที่ 25 มิถุนายน 2562
สศก. แจงต้นทุนสินค้าเกษตรสำคัญ ปี 62
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แจงรายละเอียดข้อมูลต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งการคิดคำนวณต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรของ สศก. จะประกอบด้วย ต้นทุนที่เป็นเงินสด คือ ต้นทุนที่เกษตรกรจ่ายด้วยเงินสด ได้แก่ ค่าพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่ายาและสารเคมี ค่าจ้างแรงงาน และค่าน้ำมัน และต้นุทนที่ไม่เป็นเงินสด คือ ต้นทุนที่เกษตรกรไม่ได้ใช้เงินจ่าย เช่น แรงงานในครัวเรือน ปุ๋ยคอกในฟาร์ม ค่าใช้ที่ดินของตนเอง ค่าเสียโอกาสและค่าเสื่อมอุปกรณ์การเกษตร ซึ่งเมื่อนำต้นทุนทั้ง 2 ประเภทมารวมกัน จะเรียกว่า ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ โดยทุกครั้งที่มีการเผยแพร่ข้อมูลต้นทุนในเอกสารต่างๆ จะมีการระบุหมายเหตุให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบว่า เป็นต้นทุนเงินสด หรือเป็นต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ ไว้ด้วยทุกครั้ง
สำหรับการคิดคำนวณต้นทุนแบบเงินสด จะทำให้ทราบว่าค่าใช้จ่ายในช่วงระยะเวลาการผลิตที่เกษตรกรจ่ายในรูปแบบเงินสดเป็นเท่าใด และสามารถนำมาใช้วางนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายเงินสดบางอย่างอาจจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น ค่าจ้างแรงงาน ซึ่ง สศก. จะคิดแบบค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ ยกตัวอย่างกรณีการคำนวณต้นทุนยางพาราแผ่นดิบคุณภาพ 3 ที่เป็นต้นทุนเงินสด ปี 2562 อยู่ที่ 31.59 บาท/กิโลกรัม และหากคำนวณแบบต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ จะพบว่า ต้นทุนเฉลี่ยทั้งประเทศจะอยู่ที่ 55.01 บาท/กิโลกรัม
ต้นทุนเงินสด และ ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ ปี 2562
หมายเหตุ : คำนวณโดย ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ข้อมูล ณ 19 มิถุนายน 2562
ต้นทุนเงินสด ประกอบด้วย ค่าพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่ายาและสารเคมี ค่าแรงงานจ้าง และค่าน้ำมัน (ไม่รวมค่าเสียโอกาสและค่าเสื่อมอุปกรณ์การเกษตร)
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึงการประเมินค่าใช้จ่ายทุกขั้นตอนกิจกรรมการผลิตทั้งที่เป็นเงินสดและไม่เป็นเงินสด ที่เกษตรกรได้ใช้จ่ายจริงในช่วง
ระยะเวลาการผลิต
ทั้งนี้ สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลด้านต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรชนิดต่างๆ สามารถสอบถามรายละเอียดที่ได้ส่วนปฏิบัติการข้อมูลการเกษตร ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โทร. 0 2561 2870 หรือ อีเมล prcai@oae.go.th
สำหรับการคิดคำนวณต้นทุนแบบเงินสด จะทำให้ทราบว่าค่าใช้จ่ายในช่วงระยะเวลาการผลิตที่เกษตรกรจ่ายในรูปแบบเงินสดเป็นเท่าใด และสามารถนำมาใช้วางนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายเงินสดบางอย่างอาจจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น ค่าจ้างแรงงาน ซึ่ง สศก. จะคิดแบบค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ ยกตัวอย่างกรณีการคำนวณต้นทุนยางพาราแผ่นดิบคุณภาพ 3 ที่เป็นต้นทุนเงินสด ปี 2562 อยู่ที่ 31.59 บาท/กิโลกรัม และหากคำนวณแบบต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ จะพบว่า ต้นทุนเฉลี่ยทั้งประเทศจะอยู่ที่ 55.01 บาท/กิโลกรัม
ต้นทุนเงินสด และ ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ ปี 2562
ต้นทุนสินค้าเกษตร ปี 2562 | ต้นทุนเงินสด | ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ |
ยางพาราแผ่นดิบคุณภาพ 3 (บาท/กก.) | 31.59 | 55.01 |
ข้าวนาปีเจ้าอื่นๆ (บาท/ตัน) | 6,243 | 7,701 |
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (บาท/กก.) | 3.93 | 5.84 |
สับปะรดโรงงาน (บาท/กก.) | 2.43 | 3.84 |
ทุเรียน (บาท/กก.) | 9.23 | 13.84 |
ปาล์มน้ำมัน (บาท/กก.) | 1.97 | 3.01 |
ต้นทุนเงินสด ประกอบด้วย ค่าพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่ายาและสารเคมี ค่าแรงงานจ้าง และค่าน้ำมัน (ไม่รวมค่าเสียโอกาสและค่าเสื่อมอุปกรณ์การเกษตร)
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึงการประเมินค่าใช้จ่ายทุกขั้นตอนกิจกรรมการผลิตทั้งที่เป็นเงินสดและไม่เป็นเงินสด ที่เกษตรกรได้ใช้จ่ายจริงในช่วง
ระยะเวลาการผลิต
ทั้งนี้ สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลด้านต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรชนิดต่างๆ สามารถสอบถามรายละเอียดที่ได้ส่วนปฏิบัติการข้อมูลการเกษตร ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โทร. 0 2561 2870 หรือ อีเมล prcai@oae.go.th
***********************************
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์ / ข้อมูล : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร