- หน้าแรก
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- รายละเอียดข่าว
ผู้อำนวยการ สศท.1 ประชุมหารือเพื่อให้คำแนะนำในการขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (FTA-Free Trade Area)
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563 เวลา 09.30 น. นายธวัชชัย เดชาเชษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 (สศท.1) ได้เข้าร่วมประชุมหารือกับสหกรณ์การเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ สหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แม่วาง จำกัด และสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่บ้านกาดพัฒนา จำกัด เพื่อให้คำปรึกษาเรื่องการขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (FTA-Free Trade Area ) ในการสร้างห้องเย็นเก็บหอมหัวใหญ่ ของสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แม่วางจำกัด และสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่บ้านกาดพัฒนา จำกัด ณ ห้องประชุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แม่วาง จำกัด อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ในการนี้ผู้อำนวยการ สศท.1 ได้ชี้แจงถึงที่มาของกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2547 จากการที่รัฐบาลมีนโยบายเปิดการค้าเสรีทั้งในกรอบทวิภาคี และพหุภาคี อาทิ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ไทย-จีน ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งการเปิดเขตการค้าเสรีดังกล่าวโดยรวมแล้วประเทศไทยได้รับประโยชน์ แต่เนื่องจากมีสินค้าเกษตรบางกลุ่มของไทยได้รับผลกระทบตามความสามารถในการแข่งขันของชนิดสินค้า ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ให้จัดตั้งกองทุน FTA ขึ้น โดยมีเลขาธิการ สศก. เป็นประธานกองทุน มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตลอดจนการแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งช่วยเหลือให้เกษตรกรผลิตสินค้าให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น
สำหรับการดำเนินงานของกองทุนฯ จะจ่ายเงินช่วยเหลือการผลิตสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบจาก FTA ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมในลักษณะจ่ายขาดหรือเงินหมุนเวียน โดยเงินจ่ายขาด จะให้เฉพาะกรณีค่าใช้จ่าย ค่าปัจจัยการผลิตในกรณีทดลอง/สาธิต/นำร่องค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับงานวิจัยต้องเป็นการวิจัยประยุกต์ ค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ค่าบริหารโครงการไม่เกินร้อยละ 3 ส่วนเงินหมุนเวียน ให้กรณีค่าใช้จ่ายลงทุน ค่าก่อสร้างโรงเรือน/โรงงาน ค่าเครื่องมืออุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในการผลิต
ในส่วนของผู้ที่จะเสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ จะต้องจัดทำโครงการ งานหรือกิจกรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมจากการเปิดเสรีทางการค้า (Free Trade Area: FTA) ซึ่งโครงการที่เสนอต้องเป็นโครงการช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับเกษตรกร มีความเป็นไปได้ทั้งการผลิตและการตลาดโดยใช้ตลาดนำการผลิตและคุ้มค่าในการลงทุน
ซึ่งผลการหารือในเบื้องต้น ทั้ง 2 สหกรณ์ฯ จะได้นำข้อชี้แนะและรายละเอียดของกองทุนฯ ไปหารือกับสมาชิก และสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ ในการจัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ต่อไป
ในการนี้ผู้อำนวยการ สศท.1 ได้ชี้แจงถึงที่มาของกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2547 จากการที่รัฐบาลมีนโยบายเปิดการค้าเสรีทั้งในกรอบทวิภาคี และพหุภาคี อาทิ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ไทย-จีน ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งการเปิดเขตการค้าเสรีดังกล่าวโดยรวมแล้วประเทศไทยได้รับประโยชน์ แต่เนื่องจากมีสินค้าเกษตรบางกลุ่มของไทยได้รับผลกระทบตามความสามารถในการแข่งขันของชนิดสินค้า ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ให้จัดตั้งกองทุน FTA ขึ้น โดยมีเลขาธิการ สศก. เป็นประธานกองทุน มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตลอดจนการแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งช่วยเหลือให้เกษตรกรผลิตสินค้าให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น
สำหรับการดำเนินงานของกองทุนฯ จะจ่ายเงินช่วยเหลือการผลิตสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบจาก FTA ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมในลักษณะจ่ายขาดหรือเงินหมุนเวียน โดยเงินจ่ายขาด จะให้เฉพาะกรณีค่าใช้จ่าย ค่าปัจจัยการผลิตในกรณีทดลอง/สาธิต/นำร่องค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับงานวิจัยต้องเป็นการวิจัยประยุกต์ ค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ค่าบริหารโครงการไม่เกินร้อยละ 3 ส่วนเงินหมุนเวียน ให้กรณีค่าใช้จ่ายลงทุน ค่าก่อสร้างโรงเรือน/โรงงาน ค่าเครื่องมืออุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในการผลิต
ในส่วนของผู้ที่จะเสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ จะต้องจัดทำโครงการ งานหรือกิจกรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมจากการเปิดเสรีทางการค้า (Free Trade Area: FTA) ซึ่งโครงการที่เสนอต้องเป็นโครงการช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับเกษตรกร มีความเป็นไปได้ทั้งการผลิตและการตลาดโดยใช้ตลาดนำการผลิตและคุ้มค่าในการลงทุน
ซึ่งผลการหารือในเบื้องต้น ทั้ง 2 สหกรณ์ฯ จะได้นำข้อชี้แนะและรายละเอียดของกองทุนฯ ไปหารือกับสมาชิก และสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ ในการจัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ต่อไป
แหล่งข้อมูล
https://web.facebook.com/pg/zone1chm/photos/?tab=album&album_id=2926900044070214